พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศวร พระพิฆเนตรเทพฮินดู รูปภาพ งานศิลปะ พระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ

"เทวกำเนิด"
โดย อ.กิตติ วัฒนะมหาตม์
(ขอขอบพระคุณ : www.aromamodaka.com)

 สิ่งที่ผู้ศึกษาค้นคว้าเรื่องเทพเจ้าจำนวนมากยังสับสนกันอยู่ก็คือ เหตุกำเนิดและทิพยภาวะที่แท้จริงขององค์เทพ

ในเมื่อผู้มีวิจารณญาณทุกคนย่อมประจักษ์ว่า เทพนิยาย (Mythology) และเทวตำนานต่างๆ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเชื่อถือได้จนกว่าจะมีการกลั่นกรองสังเคราะห์เอาความจริงที่ซ่อนอยู่ออกมา แต่สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้รับการศึกษาทางเทวศาสตร์อย่างเป็นระบบ ก็ยากยิ่งที่จะรู้วิธีการสังเคราะห์ดังกล่าว

ผู้เขียนจึงขอใช้บทความนี้เพื่อให้พวกเราเข้าใจหลักการทางเทววิทยาตามระบบที่เป็นสากล ที่ทั่วโลกใช้ร่วมกันเฉพาะในส่วนนี้เสียก่อน เมื่อเข้าใจในหลักที่ว่านี้ ก็จะสามารถต่อยอดไปทำความเข้าใจกับเรื่องปลีกย่อยต่างๆ ได้ต่อไปอีกมาก

หลักของเทวกำเนิด ก่อนอื่นต้องทำความตกลงใจกันเสียก่อนว่า โลกนี้ไม่มีพระผู้สร้าง ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยการผสมผสานกันของธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุทั้งสี่นี้ทำให้เกิดสรรพสิ่งทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งสัตว์และพืช ล้วนเกิดไปตามลำดับวิวัฒนาการ ค่อยๆ ปรับแต่งให้เหมาะสมกับการที่จะดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้ และสืบเผ่าพันธุ์ต่อไป โดยเฉพาะสัตว์บางพวก ก็มีวิวัฒนาการจนกลายเป็นมนุษย์ในที่สุด ตามกระบวนการทางธรรมชาติ

เพราะฉะนั้น มนุษย์จึงเกิดขึ้นมาในโลกนี้ก่อนเทวะทั้งหลาย และมนุษย์นั้นเอง เป็นปัจจัยให้เกิดเทพเจ้าขึ้น แต่มิได้หมายความตามทฤษฎีของพวกนักศาสนศาสตร์ฝ่ายมิจฉาทิฏฐิที่มักสั่งสอนกันว่า เทพเจ้าและสิ่งเร้นลับเหนือธรรมชาติเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือปรุงแต่งกันไปเอง แท้จริงแล้ว มนุษย์มิได้สร้างเทพเจ้า เพราะมนุษย์ไม่สามารถสร้างสิ่งที่เหนือกว่าตนได้ แต่มนุษย์เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดเทพเจ้า โดยเกิดจากตัวมนุษย์เอง

ดังในสมัยแรกสุด ที่มนุษย์รู้จักการอยู่ร่วมกัน พึ่งพาอาศัยกัน และให้ความไว้วางใจเชื่อถือในบุคคลคนหนึ่งที่เก่งที่สุด มีความสามารถมากที่สุดในกลุ่มโดยยกย่องให้เป็นผู้นำ ผู้นำหรือหัวหน้าเผ่าเหล่านี้ บางคนสร้างคุณงามความดีไว้มาก เป็นเหตุให้เมื่อตายแล้วทุกคนในเผ่ามีความเคารพรักและอาลัย ยังคงให้การนับถือบูชาคอยเซ่นสรวงประหนึ่งยังมีชีวิต

วิญญาณของอดีตหัวหน้านั้น เมื่อได้รับพลังจิตความยึดมั่นจากคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ประกอบกับคุณงามความดีที่ทำไว้มาก ก็ทำให้มีพลังแก่กล้า สามารถดำรงชีวิตหลังความตายอยู่ได้ด้วยผลแห่งการปฏิบัติบูชาของคนรุ่นหลัง และสามารถใช้พลังอำนาจที่มีอยู่ช่วยเหลือคนที่บูชาตนได้ระดับหนึ่ง พลังอำนาจเช่นนี้เมื่อใช้ไป เกิดผลที่ดีต่อคนที่ได้รับความช่วยเหลือ ก็กลายเป็นผลบุญย้อนกลับไปสู่ดวงวิญญาณนั้นเอง ดังนั้น ยิ่งได้รับการบูชามาก ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะช่วยเหลือผู้คนได้มาก เมื่อช่วยเหลือผู้คนได้มาก ผลบุญที่ย้อนกลับก็ทำให้สถานะทางวิญญาณยิ่งแก่กล้าขึ้น จากผีธรรมดาก็กลายเป็นผีชั้นสูง สูงขึ้นไปตามกาล มีอิทธิฤทธิ์เหนือกว่าวิญญาณเร่ร่อนสัมภเวสีทั่วไป นี่คือเหตุปัจจัยที่จะทำให้เกิดมีเทพเจ้าขึ้น

นอกจากผู้นำเผ่าในอดีต บุคคลศักดิ์สิทธิ์ เช่น พ่อมดหมอผีประจำเผ่า เป็นผู้สั่งสมความรู้ในพลังลี้ลับต่างๆ ไว้มาก เมื่อตายไปแล้วได้รับการบูชาเช่นกัน ก็กลายเป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่จะเลื่อนฐานะขึ้นไปเรื่อยๆ ตามกาล และประพฤติเหตุเช่นนี้ก็ทำให้เกิดประเพณีการบูชาบรรพบุรุษ ซึ่งคนทั่วโลกทำกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ รวมทั้งชาวจีนด้วย

แต่วิญญาณที่มีพลังอำนาจกล้าแข็ง ไม่ใช่ว่าจะเป็นวิญญาณที่ดีเสมอไป ขึ้นอยู่กับตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ว่าเป็นคนอย่างไรด้วย ถ้าเป็นคนดี ตายแล้วก็เป็นผีที่ดี ฤทธานุภาพที่แสดงออกก็หนักไปทางพระคุณ จะใช้พระเดชก็ใช้อย่างมีเหตุมีผล ผีเช่นนี้ก็ได้รับความนับถือที่ความดี คนก็ยกย่องว่าเป็นเทวะ (Deva)

ขณะที่คนไม่ดีแต่มีอำนาจ ตายแล้วก็เป็นผีที่ไม่ดี ฤทธานุภาพที่แสดงออกก็หนักไปทางพระเดช บังคับให้ผู้คนหวาดกลัวยอมเซ่นสรวงบูชาด้วยกลัวภยันตราย คนก็พากันนับถือกันด้วยความจำเป็นเพราะถูกบังคับ เพราะถ้าไม่นับถือก็ได้รับความวิบัติเป็นสิ่งตอบแทน ผีเช่นนี้คนไม่ยกย่องว่าเป็นเทวะ แต่เรียกว่าเป็นอสูร และปีศาจ

การนับถือวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ใดให้เป็นเทวะนั้น เมื่อสังคมมนุษย์มีวิวัฒนาการขึ้น ซับซ้อนขึ้น ก็พลอยมีพัฒนาการมากขึ้นไปด้วย เมื่อสมัยยังเป็นยุคหิน รู้จักแต่เข้าป่าล่าสัตว์ ก็นับถือกันแต่อดีตผู้นำ หรืออดีตหมอผีที่จะปกป้องคุ้มครองเผ่าพันธุ์ให้อยู่รอด แต่เมื่อเริ่มเจริญขึ้นเป็นบ้านเป็นเมือง เกิดมีผู้ชำนาญการหรือมีความรู้ความสามารถเฉพาะอย่างแยกย่อยกันเป็นเรื่องๆ ไป คนเหล่านี้เมื่อช่วยเหลือบ้านเมืองให้เจริญ ก็ได้รับการยกย่องนับถือจากคนทั่วไป เมื่อมีลูกศิษย์ก็ได้นับการนับถือบูชาจากลูกศิษย์ หรือผู้ที่ได้สืบทอดความเชี่ยวชาญนั้นๆ

คนเหล่านี้เมื่อตายไป วิญญาณจึงอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดียวกับวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่กล่าวมาแล้ว ยิ่งได้รับการบูชาต่อเนื่อง ก็ยิ่งมีอำนาจบารมีสูงขึ้นไป โดยสรุปเทวะในชั้นแรกเริ่มที่สุดตั้งแต่มนุษย์ยังป่าเถื่อนจนกระทั่งเจริญเป็นบ้านเมืองมีอารยธรรมซับซ้อน จึงอาจแบ่งได้ ๕ ประเภท

1) เทพประจำเผ่า หมู่บ้าน หรือเมือง หรืออาณาจักร เกิดมาจากหัวหน้าเผ่าหรือผู้นำในยุคแรกๆ และมีทิพยฐานะสูงขึ้นไปตามการเจริญเติบโตของสังคมและวัฒนธรรม

2) เทพผู้ควบคุมสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ มาจากพ่อมด แม่มดหมอผีผู้สำเร็จวิชาที่จะควบคุม หรือบังคับเปลี่ยนแปลง ธาตุทั้งสี่ ในธรรมชาติให้เป็นไปตามความต้องการของตนได้ระดับหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีอยู่เพียง ๔ องค์ ตามจำนวนธาตุ หากแต่ละธาตุก็มีเทพหลายองค์ซึ่งสมัยมีชีวิตอยู่ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการที่จะควบคุมอาการอย่างหนึ่งอย่างใดของธาตุนั้นๆ ได้ในลักษณะที่หลากหลายแตกต่างกันไป

เช่น แม่หมอผู้สำเร็จวิชาควบคุมธาตุดิน เมื่อตายไปและได้รับการนับถือบูชา ก็จะกลายเป็นพระแม่ธรณี ซึ่งมีหลายองค์แตกต่างกันไปตามเผ่าพันธุ์ต่างๆ ทั่วโลก พระแม่ธรณีนี้เมื่อเป็นมนุษย์มีลักษณะนิสัยอย่างไร มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านใด เมื่อเป็นเทพก็ทรงมีเทวานุภาพในด้านนั้นเป็นพิเศษ

พระแม่ธรณีของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง หรือเกิดธรณีพิบัติบ่อยครั้ง ก็มักเป็นเทพที่ดุและเด็ดขาด เพราะต้องทรงใช้เทวานุภาพคอยยับยั้งความรุนแรงเหล่านั้นเสมอ พระแม่ธรณีที่เกิดขึ้นในดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ ผู้คนมีความสุข ก็มักเป็นเทพที่ใจดีอ่อนหวาน เพราะจะใช้เทวานุภาพก็เพื่อความผาสุกของผู้คนที่นับถือพระนาง

ยกตัวอย่างอีกก็เช่นธาตุน้ำ เราจะเห็นว่าในอินเดียมีเทพแห่งน้ำอยู่หลายองค์ ที่ทรงมีเทวฐานะสูงสุดก็คือพระวรุณ ซึ่งเป็นเทพแห่งน้ำและฝน แต่ก็ยังมีพระแม่คงคา เป็นเทวีประจำแม่น้ำคงคา มีพระมณีเมขลา เป็นเทวีแห่งฝนและเป็นเทวีผู้รักษาพระสมุทร เทวะเหล่านี้มิใช่บุคลาธิษฐานอันเกิดจากความไม่เข้าใจในปรากฏการณ์ธรรมชาติ ตามคำอธิบายของพวกมิจฉาทิฏฐิ แต่เกิดมาจากผู้ที่มีความรู้ความชำนาญในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นๆ ทั้งสิ้น

คนโบราณมิใช่เป็นผู้โง่เขลาเบาปัญญา ขาดความรู้แท้ในธรรมชาติตามที่นักมิจฉาทิฏฐิสมัยใหม่กล่าวหากัน เพราะแม้ว่าในชั้นต้นจะไม่รู้อะไรมากก็จริง แต่เวลาล่วงเลยมานับพันนับหมื่นปี คนเหล่านั้นมีเวลาพอเพียงที่จะสั่งสมความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติที่ถูกต้องและละเอียดกว่าเรา

3) เทพบรมครู หรือเทพปรมาจารย์ มาจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ ดังจะเห็นจากเทววิทยาจีน เต็มไปด้วยเทพปรมาจารย์ในแทบทุกสาขาวิชาที่เป็นความรู้ของมนุษย์ ในขณะที่บางองค์มีความโดดเด่นในหลายๆ วิชาก็มี เพราะเมื่อสมัยเป็นมนุษย์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาที่หลากหลาย แต่เทวานุภาพของเทพประเภทหลังนี้ ที่จะอำนวยให้เกิดผลสำเร็จแก่ผู้บูชาในวิชาแขนงใดแขนงหนึ่งโดยเฉพาะนั้น จะให้ทัดเทียมกับเทพผู้เป็นบิดามารดาของศาสตร์นั้นๆ มาแต่แรกเลยมิได้

4) เทพแห่งดวงดาว หรือเทพนพเคราะห์ ก็เช่นเดียวกับเทพประจำสภาวะต่างๆ ในธรรมชาติ คือในอดีตเมื่อยังมีชีวิตอยู่ เป็นมนุษย์ผู้หยั่งถึงหรือสำเร็จในวิชาที่จะควบคุมดัดแปลงพลังและอิทธิพลจากดวงดาวต่างๆ ในสุริยจักรวาลที่มีอิทธิผลต่อสรรพสิ่งในโลกได้ระดับหนึ่ง มิได้หมายความว่า ดวงดาวเหล่านั้นกลายเป็นเทพเจ้าขึ้นมาภายหลัง ตามที่นักศาสนศาสตร์ฝ่ายมิจฉาทิฏฐิคิดกัน

แต่เทพประเภทนี้ เท่าที่ยอมรับกันในทางเทวศาสตร์ทั่วโลก มีเพียงพระสุริยเทพ และพระจันทรเทวี คือผู้สำเร็จวิชาที่เกี่ยวกับพระอาทิตย์และพระจันทร์เท่านั้น และก็เหมือนธาตุทั้งสี่ในธรรมชาติ ที่ผู้สำเร็จวิชาในแต่ละธาตุเหล่านั้นย่อมมีมากแตกต่างกันไปตามแต่วัฒนธรรมและภูมิภาคต่างๆ ผู้สำเร็จวิชาที่เกี่ยวกับพระอาทิตย์พระจันทร์ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลกก็มีหลายคนในหลายภูมิภาคและหลายยุคสมัย

คนเหล่านี้เมื่อตายไปแล้ว ย่อมได้รับการยกย่องเป็นเทวะในระดับที่แตกต่างกัน ตามพลังอำนาจที่ตนมีอยู่ มิใช่ว่าเป็นสุริยเทพแล้ว จะต้องมีพลังสุริยะที่ทัดเทียมกันหมด ไม่ว่าจะเป็นสุริยเทพของอินเดีย (Surya) ญี่ปุ่น (Amaterasu) กรีก (Helios) โรมัน (Apollo) อียิปต์ (Ra) ฯลฯ โดยเฉพาะอียิปต์ มีเทพที่เกี่ยวข้องกับพระอาทิตย์อยู่หลายองค์ กล่าวคือเทพสำคัญๆ มักมีความเกี่ยวข้องกับพระอาทิตย์ทั้งสิ้น และแต่ละองค์ก็มีเทวานุภาพไม่เท่ากัน

ส่วนดาวนพเคราะห์อื่นๆ ที่มีคัมภีร์ระบุว่าเป็นเทพนั้น ส่วนมากยังไม่เป็นที่ยอมรับกันในทางเทววิทยาว่าเป็นเทพจริง มักจะเป็นแต่บุคลาธิษฐานที่โบราณาจารย์ผูกขึ้น เพื่อรวบรวมความรู้ทางโหราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติและอิทธิพลด้านดี-ร้ายของดาวดวงนั้นๆ มากกว่า เพราะสิ่งเหล่านี้ถ้ามีการถอดรหัสออกมา ก็จะเป็นองค์ความรู้ในทางโหราศาสตร์ในเรื่องของดาวนั้นๆ ทั้งสิ้น

เช่น พระศุกร์ ตามตำราว่าเป็นอาจารย์ของพวกอสูรต่างๆ เพราะดาวศุกร์เป็นดาวที่ส่งอิทธิพลในด้านของโลกียะ ความรัก ความลุ่มหลง และกามารมณ์ แต่ตำราเดียวกันนั้นก็ว่าพระศุกร์เป็นเทพฤาษีด้วย นั่นก็เพราะอิทธิพลของดาวศุกร์สามารถกล่อมเกลาจิตใจให้ประณีต ทำให้เกิดสมาธิ และความฉลาดโดยเฉพาะในทางศิลปวิทยาต่างๆ พระอิศวรสร้างพระศุกร์ขึ้นจากโค ๒๑ ตัว ก็เพราะว่า ดาวศุกร์นั้นเกี่ยวข้องกับสัตว์ประเภทโค และกำลังของดาวศุกร์ที่ใช้คำนวณกันในทางโหราศาสตร์นั้นมีกำลัง ๒๑

ที่ยกตัวอย่างมานี้ จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำไว้ให้ตีความในแง่โหราศาสตร์ทั้งสิ้น ไม่ใช่องค์ความรู้ที่พรรณนาถึงความเป็นเทพ (Divinity)

แล้วเหตุใดนักเทววิทยาจึงไม่คิดเผื่อว่า อาจจะมีปรมาจารย์บางท่านในอดีต ที่สำเร็จวิชาเกี่ยวแก่อานุภาพและอิทธิพลของดวงดาวต่างๆ ที่มีต่อโลกมนุษย์ เช่นเดียวกับผู้ที่สำเร็จวิชาเกี่ยวกับพระอาทิตย์-พระจันทร์ได้เหมือนกัน?

คำตอบก็คือ ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่จะทำให้คิดไปในแง่นั้น วิชามายาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับพลังแห่งพระอาทิตย์ พระจันทร์นั้นมีมาแต่โบราณกาล และตกทอดมาถึงคนรุ่นเรานับสิบๆ สายวิชา คนที่เป็นเอตะทัคคะในวิชาเหล่านี้ ย่อมมีตัวตนจริงอย่างไม่ต้องสงสัย

แต่วิชาที่เกี่ยวกับดาวนพเคราะห์อื่นๆ ไม่มีตกทอดมาถึงเรานอกจากวิชาโหราศาสตร์ ที่เน้นการศึกษาให้เข้าใจกฎธรรมชาติของดวงดาวบนท้องฟ้า เพื่อการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับกฎนั้นๆ ไม่ใช่มายาศาสตร์ที่จะควบคุม เปลี่ยนแปลง ลดเพิ่มพลังอำนาจของดวงดาวด้วยเวทมนต์คาถา ด้วยพลังจิต หรือด้วยพิธีกรรมใดๆ เมื่อไม่มีองค์ความรู้ในส่วนนี้สืบทอดต่อๆ กันมา ก็หมายความว่า ไม่มีการนับถือเทพในสายนี้สืบต่อกันมาด้วย เทววิทยาในระดับโลก จึงยอมรับการมีตัวตนของเทพนพเคราะห์แต่เพียงพระสุริยเทพ และพระจันทรเทวีเท่านั้น

ความจริงโหราศาสตร์ก็พูดถึงพระอาทิตย์และพระจันทร์เช่นเดียวกับดาวนพเคราะห์ต่างๆ และมีองค์ความรู้ในการดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับอิทธิพลของดาวทั้งสองดวงนี้ด้วย แต่พึงเข้าใจว่า พระอาทิตย์ และพระจันทร์ในทางโหราศาสตร์นั้น เป็นดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ ในขณะที่เทวศาสตร์นั้น หมายถึงผู้ที่สำเร็จวิชาเกี่ยวกับพระอาทิตย์และพระจันทร์ จนได้รับการยกย่องเป็นสุริยเทพและจันทรเทวี

5) เทพที่เกิดจากคัมภีร์ พระสูตร และคาถาต่างๆ เดิมก็คือปรมาจารย์ผู้แต่งหรือผู้สำเร็จคัมภีร์ พระสูตร และพระคาถาเหล่านั้นในสมัยแรกสุดนั่นเอง เทพเหล่านี้ จะเข้าถึงได้โดยการบำเพ็ญภาวนาตามคัมภีร์หรือพระสูตรนั้นๆ จนเกิดนิมิต เช่น พระโพธิสัตว์และเทพเจ้าต่างๆ ของทางมหายาน หรือแม้แต่พระสุนทรีวาณีของเราก็เป็นไปในลักษณาการเดียวกันนี้

เพียงแต่เทพประเภทนี้ มิได้มีจริงไปเสียทั้งหมดทุกองค์ ตามที่คัมภีร์หรือพระสูตรต่างๆ กล่าวอ้าง โดยเฉพาะพระสูตรของทางมหายานซึ่งเมื่อได้รับอิทธิพลตันตระเข้าไปมากก็เฟ้อจนเกิดมีเทพต่างๆ ขึ้นมามากมาย ในจำนวนนั้น มีไม่กี่องค์เท่านั้นที่มีตัวตนจริง องค์ใดบ้างที่มีตัวตนจริง ก็อาจแลเห็นได้จากพระโพธิสัตว์และเทพเพียงไม่กี่องค์ที่ยอมรับนับถือกันอยู่ทั่วไป ในขณะที่ทำเนียบเทวดาของศาสนาพุทธมหายานนั้น กล่าวถึงเทพไว้มากกว่าร้อยองค์

ในบรรดาเทพทั้ง ๕ ประเภทนี้ เทพประเภทแรกสุดคือเทพประจำเผ่า หมู่บ้าน หรือเมือง หรืออาณาจักร มักเป็นเทพที่ถูกปรุงแต่งให้กลายเป็นผู้สร้างโลก ตามคติที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว หรือ เอกเทวนิยม ดังเช่นชนชาติยิว นับถือพระยะโฮวาเป็นเทพประจำเผ่าของตนมาแต่เดิม ต่อมาก็ยกย่องเป็นพระเจ้าผู้สร้างโลก และสร้างชาวยิวขึ้นมาเป็นพิเศษ ด้วยอุปาทานว่า เผ่าพันธุ์ของตนเป็นเผ่าพันธุ์ที่ดีที่สุด

อุปาทานเช่นนี้ เกิดขึ้นเพราะชาวยิวในสมัยแรกๆ นั้นแม้จะเป็นพวกที่ฉลาดหลักแหลม แต่มีนิสัยเห็นแก่ตัว พยายามช่วงชิงผลประโยชน์ของผู้อื่นและเบียดเบียนแก่งแย่งให้ร้ายกันเองโดยตลอดมา ไม่มีน้ำใจเอื้ออาทรหรือรู้จักการเสียสละ จึงเป็นเผ่าพันธุ์ที่ฉลาดแต่หาความเจริญมั่นคงมิได้ ต้องถูกชนชาติอื่น เช่น อียิปต์ บาบิโลเนีย ควบคุมเป็นทาสถูกใช้งานลำบากแสนสาหัส

เมื่อลำบากมากเข้าก็พยายามย้อมใจตัวเองว่า พระเจ้าที่ตนนับถือเป็นพระเจ้าผู้สร้างโลกทั้งปวง ที่จะเมตตาช่วยเหลือพวกตนแต่เพียงพวกเดียว และจะส่งผู้มาไถ่พวกตนให้พ้นจากความทุกข์ยากที่ได้รับ ศาสนายิวที่ยึดมั่นในพระเจ้าผู้สร้างโลกและพระเจ้าองค์เดียวจึงกลายเป็นรากฐานของศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามต่อมา

ซึ่งถ้าจะพูดกันอย่างแท้จริงแล้ว พระยะโฮวาผู้สร้างโลกในศาสนายิว ก็คือเทพประจำเผ่าเผ่าหนึ่งในบรรดาเผ่าเร่ร่อนนับสิบนับร้อย ที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วดินแดนเมโสโปเตเมียเมื่อหลายพันปีมาแล้ว ซึ่งแต่ละเผ่าก็มีเทพประจำเผ่าของตนเองทั้งสิ้น และก็ไม่ใช่เฉพาะแต่ชาวยิวเท่านั้นด้วยที่คิดว่าเทพประจำเผ่าของตนเป็นเทพผู้สร้างโลก

ในศาสนาอาซาทรู แห่งภูมิภาคสแกนดิเนเวียเช่นกัน จอมเทพโอดินเป็นเทพประจำเผ่าใดเผ่าหนึ่งมาก่อน เทวประวัติของพระองค์นั้นชัดเจนว่าพระองค์เคยเป็นผู้วิเศษที่ชำนาญทางเวทมนต์และญาณทิพย์ อีกทั้งเป็นผู้ค้นพบเทพพยากรณ์ซึ่งเรียกกันว่า รูนส์ (Runes) ด้วย แต่เมื่อภูมิภาคสแกนดิเนเวียเริ่มเผชิญกับการคุกคามของศาสนาคริสต์ เรื่องของกำเนิดโลก การสร้างโลก (Creation) ซึ่งไม่เคยอยู่ในความสนใจของชาวนอร์สมาก่อนถูกนำมาพูดกันในหมู่นักบวชอาซาทรู ลงท้ายจอมเทพโอดินซึ่งเป็นเทพสูงสุดของชาวนอร์สก็จึงกลายเป็นเทพเจ้าผู้สร้างโลกไป และเมื่ออิทธิพลทางศาสนาคริสต์แผ่เข้าไปมาก ความเชื่อในแง่นี้ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

บรรดากลุ่มชนที่นับถือเทพองค์ใดองค์หนึ่งเป็นเทพสูงสุดนั้น อาจแบ่งได้เป็น ๒ พวกใหญ่ๆ พวกแรกไม่ปฏิเสธศรัทธาหรือเทพเจ้าของชนชาติอื่นหรือเผ่าพันธุ์อื่น เมื่อทำสงครามกันได้ชัยชนะ และยึดครองชนชาติอื่นได้ ก็รับเอาเทพประจำเผ่านั้นๆ หรือเทพอื่นใดที่ผู้ถูกครอบครองนับถืออยู่เข้ามาเป็นบริวารของเทพฝ่ายตน และยกย่องเทพฝ่ายตนขึ้นเป็นเทพสูงสุดเหนือเทพเหล่านั้น

การเอาเทพอื่นมาเป็นบริวาร ทำได้โดยผูกตำนานใหม่ คืออธิบายว่า เทพหรือเทวีของเผ่าหรือเมืองที่ถูกครอบครองนั้น เป็นชายา เป็นโอรส เป็นธิดา ของเทพสูงสุดที่ผู้ชนะนับถืออยู่ ยกตัวอย่างง่ายๆ ว่า เมื่อเผ่าที่นับถือพระศิวะ ได้ครอบครองเผ่าที่นับถือพระอุมา ก็บัญญัติเสียใหม่ว่า พระอุมาเป็นชายาของพระศิวะ และเมื่อเผ่าเดียวกันนี้ได้ครอบครองเผ่าที่นับถือพระคเณศ พระสกันท์ ก็บัญญัติว่า พระคเณศ พระสกันท์เป็นโอรสของพระศิวะ กับพระอุมา เป็นการยกย่องให้เกียรติกันในระดับหนึ่ง ขณะเดียวกันก็อาศัยบารมีของเทพเหล่านี้ยกฐานะพระศิวะให้สูงส่งขึ้นไปอีก

การที่เทพของเผ่าหนึ่ง เป็นบริวารของเทพของอีกเผ่าหนึ่ง บางทีก็ไม่เกิดจากการแพ้สงครามเสมอไป แต่อาจเกิดจากการสวามิภักดิ์ของเผ่าที่เล็กกว่า เช่นกรณีของพระหนุมานและพระราม พระหนุมานเป็นหัวหน้าเผ่าที่นับถือลิง ซึ่งสวามิภักดิ์และช่วยเหลือพระราม ซึ่งเป็นผู้นำชนชาติทมิฬเผ่าใหญ่เผ่าหนึ่งในการทำสงครามกับเหล่าอสูรแห่งเกาะลังกา เมื่อทั้งพระรามและพระหนุมานหมดอายุขัย ทั้งสองก็เป็นเทวะไปตามลักษณาการนั้นๆ

บางที ผู้ชนะได้ครอบครองผู้แพ้ก็จริง แต่ผู้แพ้นั้นมีกำลังอำนาจมาก อาจกระด้างกระเดื่องหรือหวนกลับมาเล่นงานผู้ชนะเอาเมื่อไรก็ได้ที่สบโอกาส เมื่อเป็นเช่นนี้ วิธีการอ้างว่าเทพของผู้แพ้เป็นเมียเป็นลูก หรือเป็นบริวารของผู้ชนะก็ไม่พอ จำจะต้องให้เกียรติแด่เทพของผู้แพ้ให้มากขึ้นไปอีก

นั่นก็คือการบัญญัติเสียใหม่ว่า เทพของผู้แพ้นั้น เป็นเทพองค์เดียวกับเทพสูงสุดของผู้ชนะนั่นเอง เพียงแต่แบ่งภาค หรืออวตารไปในลักษณะต่างๆ เพื่อกระทำสิ่งสำคัญให้ลุล่วง

กรณีนี้เห็นได้ชัดจากผู้นับถือพระวิษณุ ได้รวมเอาเทพพื้นเมืองต่างๆ ที่มีคนนับถืออยู่แล้วเป็นอันมาก มีลัทธินิกายของตนเองทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นพระวราหะ (เทพหมูป่า) พระนรสิงห์ พระปรศุราม พระกฤษณะ พระราม หรือแม้แต่พระพุทธเจ้าของศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศาสนาใหญ่ที่ประชันกันศาสนาฮินดูอย่างไม่ได้เปรียบเสียเปรียบกัน ก็พลอยถูกนำไปรวมเข้าเป็นองค์อวตารของพระวิษณุด้วย

ศักดิ์ศรีแห่งองค์อวตารนี้ ย่อมเสมอกับพระเป็นเจ้าที่ผู้ชนะอ้างว่าเป็นเทพสูงสุด ดังนั้นจึงเป็นที่พอใจแก่ผู้นับถือเทพเหล่านั้นมาแต่เดิม ในขณะเดียวกัน เทพของผู้ชนะก็พลอยได้รับการนับถือไปด้วย แต่ในศาสนาที่มีหลักการแตกต่างออกไป เช่นศาสนาพุทธ วิธีการนี้ก็ไม่ได้ผล

จะเห็นว่า การรวมเอาเทพของผู้อื่นมาเป็นชายา โอรส ธิดา บริวาร หรือการอ้างว่าเป็นองค์อวตารเช่นนี้ เป็นวิธีที่ทำให้ปกครองง่าย และนิยมใช้กันทั่วไปในชนชาติที่ประนีประนอมยืดหยุ่น ไม่ดูหมิ่นศรัทธาของผู้อื่น ทำให้เกิดคติการนับถือเทพหลายองค์ (พหุเทวนิยม) ดังจะเห็นได้จากในศาสนาอียิปต์ กรีก-โรมัน เมโสโปเตเมีย สแกนดิเนเวีย ฮินดูและจีน เป็นต้น สังคมของชนชาติเหล่านี้ แม้จะมีปัญหาพื้นฐานเช่นเดียวกับมนุษย์ปุถุชนทั่วไป แต่ปัญหาส่วนใหญ่ก็มิได้มีสาเหตุมาจากเรื่องศาสนา

แต่ถ้าเป็นพวกที่แข็งกร้าว ไม่ประนีประนอม ลุแก่อำนาจ พอใจแต่จะควบคุมบังคับกดขี่ผู้อื่นเป็นสำคัญ พวกนี้เมื่อพิชิตเผ่าพันธุ์หรือชนชาติใดก็เอาแต่จะล้มล้างเทพของผู้แพ้ และบังคับให้ผู้แพ้ต้องนับถือแต่เทพของตนเท่านั้น พวกนี้มักเป็นศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียว คือพวกยิว คริสต์ และอิสลามดังกล่าวแล้ว ซึ่งมักจะเกิดการกระทบกระทั่งกับผู้อื่นที่มีลัทธิความเชื่อแตกต่างกันได้ง่าย ดังที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

(ขอขอบพระคุณ : บทความจาก aromamodaka.com )

คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกประเทศอินเดียและพระพิฆเนศ


---------------- อ่านเรื่องเทพเจ้าเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

-------------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อการกราบไหว้ขอพร --------------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง











วิธีการบูชาเจ้าแม่กาลี พระแม่กาลี การไหว้พระแม่การี
จำหน่ายหนังสือบูชาองค์เทพ คู่มือบูชาเทพ
หนังสือบูชาพระพิฆเณศวร์ หนังสือธรรมะศาสนาพุทธ ธรรมะในศาสนาฮินดู
ความรู้เรื่องการบูชาองค์เทพของอินเดีย หนังสือศาสนาพราหมณ์


สั่งพิมพ์หนังสือสวดมนต์ พิมพ์หนังสือธรรมะ
สั่งพิมพ์หนังสือองค์เทพ เพื่อแจกจ่าย ทำบุญด้วยหนังสือสวดมนต์













ตำนานองค์เทพ วิธีบูชา แนวทางการปฏิบัติ พิธีกรรมบูชา คำสอนต่างๆ
รวมรูปภาพองค์เทพ รูปองค์เทพต่างๆ
แหล่งสักการะ ศาลพระพรหม เทวาลัย ศาลพระพิฆเนศต่างๆ
งานบุญ การทำบุญ กิจกรรมการกุศลต่างๆ
ตำนานพระเกจิ ประวัติหลวงพ่อต่างๆ
รวมข้อมูลวัดไทย การเดินทางไปวัด การท่องเที่ยว ไหว้พระ 9 วัด แผนที่วัด

ข่าวงานบุญ การทำบุญ พระราชพิธีต่างๆ / บทความ ศาสนาพราหมณ์ งานวิจัย โบราณคดี เทววิทยา /
รูปภาพพระพิฆเณศวร์ พระคเณศวร องค์พระพิฆเณศ / รูปภาพพระศิวะ พระอิศวร /
รูปพระแม่อุมาเทวี พระแม่กาลีเทวี พระแม่ทุรกา พระแม่ทุรคาเทวี /
รูปภาพพระแม่ลักษมีเทวี พระลักษมี / รูปพระวิษณุ พระนารายณ์
รูปภาพในศาสนาพราหมณ์ พิธีกรรมของศาสนาฮินดู ชาวอินเดีย ชาวฮินดู พราหมณ์ /
ความรู้เรื่องเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ การประกอบพิธีกรรมวิธีบูชาองค์เทพ / ความรู้เรื่ององค์เทพ การบูชาเทพ


ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
ขออำนาจแห่งพระคเนศโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.