พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ

คัมภีร์มหากาพย์
ขอขอบคุณ : หนังสือตำราเทวรูปของพราหมณ์
เขียนโดย : วรพล สุทธินันท์ / ราคาเล่มละ 175 บาท
สำนักพิมพ์: สยามความรู้ / หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป

มหากาพย์ นั้นเป็นบทประพันธ์ที่ใช้กาพย์แต่งขึ้น โดยใช้เรื่องราวปรัมปราเล่าสืบต่อกันมา เรียกว่า อิติหาส (อิติ+หา+อาส แปลว่า เป็นเช่นนั้นจริงๆ หมายถึงวิชาประวัติศาสตร์นั่นเอง) ซึ่งมีมหากาพย์ที่รู้จักกันดีคือ..

มหากาพย์รามายณะ เป็นมหากาพย์ชิ้นแรกของโลกที่รจนาโดย ฤาษีวาลมีกิ แต่งจำนวน ๒๔,๐๐๐ โศลก มีทั้งหมด ๗ กานฑ (กัณฑ์) หรือ ๗ ตอน เป็นเรื่องราวของพระรามและนางสีดา

รามายณะ แปลว่า การไปของพระราม ซึ่งหมายถึงการเดินทางบุกป่าฝ่าดงของพระรามในการติดตามหานางสีดานั่นเอง ต่อมาเรื่องราวของมหากาพย์นี้ได้เผยแพร่ไปในประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ ทำให้เกิดการแต่งวรรณคดีเรื่องนี้ขึ้นในหลายชาติเช่น อินโดนิเซีย มลายู กัมพูชา ลาว พม่า และไทย สำหรับไทยนั้นได้แต่งเติมและสร้างเรื่องใหม่ให้เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมฝ่ายกรุงศรีอยุธยาในชื่อว่า รามเกียรติ์ สำหรับใช้ในการแสดงโขน เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวของ พระราม กษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยอาศัยเค้าโครงมาจากคัมภีร์รามายณะ

สำหรับคัมภีร์รามายณะนั้น ได้ใช้เป็นหลักในการสร้างศรัทธาของกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรของชนชาติสยามมาแต่โบราณ สำรวจพบแหล่งโบราณสถานหลายแห่งเชื่อว่า ได้มีการนับถือพระวิษณุ พระอิศวร และพระพิฆเนศขึ้นในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะดินแดนทางตอนใต้ จนในที่สุดชนชาติไทยได้สร้างวรรณคดีเรื่อง "รามเกียรติ์" ขึ้นเองจากเค้าโครงเรื่องรามายณะ และแต่งให้รามเกียรติ์เป็นต้นแบบของ พระนารายณ์ (พระวิษณุ) พระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ฝ่ายไทยโดยเฉพาะ จึงแตกต่างจากต้นฉบับรามายณะที่ชาวฮินดูหรือพราหมณ์ใช้เป็นบทสวด (โศลก) ในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้นได้มีการเรียนรู้ถึงเรื่อง พระนารายณ์สิบปาง เพิ่มเติมอีกด้วย

นอกจากนั้นยังมีกาพย์ที่แต่งสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าโดยเฉพาะพระราม (คือ พระนารายณ์อวตาร) โดยพรรณนาชีวประวัติและยกย่องคุณความดีอีกหลายเล่ม

มหากาพย์มหาภารตะ เป็นมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ แต่งเป็นฉันท์โดย ฤาษีเวทวยาส หรือ กฤษณะ ไทวปายนะ แต่งจำนวน ๑ แสนโศลก มีทั้งหมด ๑๘ บรรพ (ปรว) หรือประมาณ ๒๒๐,๐๐๐ บรรทัด เนื้อเรื่องเป็นการพรรณนาถึงการทำสงครามที่ขับเคี่ยวกันระหว่างพี่น้องสองตระกูล คือ ตระกูลเการพ (โกรพ) กับ ตระกูลปาณฑพ ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน คือ ท้าวภรต (โอรสท้าวทัศยันต์กับนางศกุนตลา) เพื่อแย่งชิงราชสมบิติหรือแย่งกันปกครองแผ่นดินซึ่งเป็นเรื่องปกติของประเทศต่างๆทุกแห่ง

ชาวฮินดูนั้นถือว่ามหาภารตะนี้ คือสงครามระหว่างฝ่ายธรรมะที่ชนะอธรรม ณ ทุ่งกุรุเกษตร ต่างสู้รบกันนานถึง ๑๘ วัน ต่างสูญเสียรี้พลมากมายจนเป็น "มหายุทธ" ที่ดุเดือดบ้าคลั่ง สงครามเรื่องนี้เกิดก่อนพระพุทธเจ้าประสูติ ๕๐๐ ปี นับเป็นงานวรรณกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่รวบรวมเรื่องปรัมปราขนบธรรมเนียมประเพณี และนานาปรัชญาจากพหุเทวนิยม เทวนิยม เอกนิยม ที่ต็มไปด้วยพลังทางสร้างสรรค์ นอกจากนั้นยังใช้เป็นธรรมศาสตร์ อรรถศาสตร์ นิติศาสตร์และโมกศาสตร์ด้วย มหากาพย์นี้มีโศลกยกย่องว่า

"สิ่งใดที่มีอยู่ในมหากาพย์นี้ สิ่งนั้นอาจมีให้เป็นในที่อื่นได้...
แต่สิ่งใดที่ไม่มีอยู่ในมหากาพย์นี้ สิ่งนั้นย่อมจะหาไม่ได้เลยในที่แห่งนี้"

ในมหากาพย์มหาภารตะเรื่องนี้ปรากฎมีชื่อ พระอาจารย์โทรณะ ว่าเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างยอดเยี่ยมในศิลปะทั้งหลาย รวมทั้งวิชาการณรงค์สงครามด้วย ด้วยเหตุนี้ บรรดาเจ้าชายทั้งหลายต้องศึกษาและเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์ผู้นี้ทั้งสิ้น ผู้รจนานั้นได้แต่งกาพย์หริวงศ์ เพื่อสรรเสริญพระเกียรติคุณของพระกฤษณะผู้ที่ชาวฮินดูเคารพนับถือว่า เป็นอวตารปางหนึ่งของ พระวิษณุเทพเจ้า จนมีชื่อเรียกว่า พระคัมภีร์พระเวทที่ ๕ อีกชื่อหนึ่ง

ศรียวาหระลาล เนห์รู ประธานาธิบดีอินเดียได้กล่าวถึงมหากาพย์สองเล่มนี้ใน "พบถิ่นอินเดีย" ว่า "ข้าพเจ้าไม่รู้จักหนังสือเรื่องใดที่ไหนจะมีอิทธิพลเหนือจิตใจของมวลชนอย่างต่อเนื่อง และแผ่ไพศาลมากเท่ากับหนังสือสองเล่มนี้ แม้หนังสือนี้จะมีอายุเก่าแก่ดึกดำบรรพ์แล้ว หนังสือสองเล่มนี้ยังสร้างพลังอย่างจริงจังในวิถีชีวิตของประชาชนชาวอินเดีย"

สังคมชีวิตของอินเดียโบราณ จึงมึ่งเน้นการศึกษาศาสตร์และพระคัมภีร์ต่างๆมากมายสำหรับการสร้างอาณาจักรให้มั่นคง โดยยึดเอาความเชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการนำศาสนามาใช้ครองตนครองแผ่นดินและเป็นหลักของการสร้างอาณาจักรให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

มหากาพย์สองเล่มนี้ ต่อมาได้ถูกพราหมณ์นำเดินทางเข้ามาเผยแพร่ และมีบทบาทสำคัญของการสร้างอาณาจักในดินแดนสุวรรณภูมิและประเทศอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย

ขอขอบคุณ : หนังสือตำราเทวรูปของพราหมณ์
เขียนโดย : วรพล สุทธินันท์ / ราคาเล่มละ 175 บาท
สำนักพิมพ์: สยามความรู้ / หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป


หนังสือนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเทวรูปต่างๆ บทความหลากหลายในแง่ของโบราณคดี วิวัฒนาการของศาสนาพราหมณ์ เส้นทางของศาสนาพราหมณ์ในการเข้าสู่ดินแดนต่างๆ เรื่องของคัมภีร์ต้นแบบอินเดียโบราณ ที่สำคัญคือรวมรูปภาพของเทวรูป โดยมีผู้ร่างเป็นลายเส้นจากต้นร่างของอินเดีย แล้วคัดลอกไว้ในสมุดไทย ซึ่งได้มีการจัดพิมพ์เมื่อ 70 ปีมาแล้ว...
โฆษณาหนังสือฟรี!!! สำหรับสำนักพิมพ์ที่ต้องการโปรโมทหนังสือเกี่ยวกับเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ติดต่อได้ที่ siamganesh@gmail.com

คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.