พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู ประเทศอินเดีย พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุ พระแม่อุมาเทวี

สุริยัน จันทรา และราหู ที่ปราสาทพนมรุ้ง
ข้อสังเกตทางโบราณดาราศาสตร์

(บทความจาก วารสารเมืองโบราณ)
Asger Mollerup (ทอง): เรื่อง/ภาพ ศรัณย์ ทองปาน : แปลและเรียบเรียง


ปราสาทพนมรุ้ง

ความนำ

เท่าที่ผ่านมา ปราสาทพนมรุ้งมักได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อต่างๆ ว่าเป็นศาสนสถานเขมรโบราณ ที่ซึ่งแสงแดดสามารถสาดส่องผ่านทะลุช่องประตูทั้ง ๑๕ ช่องเข้าไปต้องพระศิวลึงค์ที่ประดิษฐานภายในองค์ปราสาทประธานได้ โดยจุดสนใจจะอยู่ที่ช่วงอาทิตย์ขึ้นในเดือนเมษายนเป็นหลัก

ต่อมา เมื่อผลการสังเกตการณ์ของผู้เขียนในช่วงอาทิตย์ตกเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ และการคำนวณปรากฏการณ์เดียวกันที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ และนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทำให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมา ปราสาทพนมรุ้งจึงได้รับการประชาสัมพันธ์ว่ามี “ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์” เกิดขึ้นถึงปีละสี่ครั้ง

ทว่า อีกสิ่งหนึ่งซึ่งสาธารณชนยังมิได้รับรู้กันก็คือ ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ที่ปราสาทพนมรุ้งนี้ ยังเกี่ยวเนื่องกับดวงจันทร์ด้วย ดังนั้น จึงสมควรต้องเรียกว่า “ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ – ดวงจันทร์”

นั่นก็คือในวันที่ดวงอาทิตย์ตกตรงกับช่องประตูทั้งหมดของพนมรุ้ง จากนั้นในช่วงค่ำ ให้สังเกตตำแหน่งดวงจันทร์บนทรงกลมท้องฟ้า (celestial sphere) ว่าอยู่ใกล้ดาวฤกษ์ใด หรืออยู่ในจักรราศีใด อีกสี่สัปดาห์ต่อมา ในวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงกับช่องประตูของพนมรุ้ง เช้ามืดก่อนอาทิตย์ขึ้น ดวงจันทร์จะกลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิมอีกครั้งหนึ่ง

นอกจากนั้นแล้ว ปรากฏการณ์ท้องฟ้าที่พนมรุ้งก็ยังรวมถึงการเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคา ด้วย ในกรณีนี้ ระยะห่างระหว่างปรากฏการณ์ทั้งสองอาจมีได้ตั้งแต่ ๑๔ วัน ๒๘ วัน ๖ เดือน ๑๙ ปี ฯลฯ ในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๙ เกิดจันทรุปราคาบางส่วนขึ้น และในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๔๙ ดวงอาทิตย์ขึ้นตรง ๑๕ ช่องประตูของพนมรุ้ง อีก ๖ เดือนต่อมา เช้าตรู่วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๐ เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง อีก ๓ วันต่อมา ดวงอาทิตย์ขึ้นตรง ๑๕ ช่องประตู ในวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐



เสาประดับกรอบประตูของปราสาทอิฐ

ปราสาทพนมรุ้ง

ปราสาทพนมรุ้งเป็นศาสนสถานเขมรโบราณใน ศาสนาฮินดู สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระศิวะ ตัวปราสาทตั้งอยู่บนปากปล่องภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้วในจังหวัดบุรีรัมย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำเลที่ตั้งซึ่งอยู่สูงกว่าบริเวณโดยรอบทำให้สามารถแลเห็นพื้นราบเบื้องล่าง ได้กว้างไกล เฉกเช่นเดียวกับที่อาจสังเกตการณ์ปรากฏการณ์บนฟากฟ้าได้ชัดเจน


โบราณดาราศาสตร์

โบราณดาราศาสตร์ (Archaeo-astronomy) เป็นสาขาวิชาสหวิทยาการที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นานมานี้ คำว่า “โบราณดาราศาสตร์” เกิดจากการรวมคำว่า “โบราณคดี” กับ “ดาราศาสตร์” เข้าด้วยกัน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนวิชานี้ในระดับปริญญาเฉพาะที่มหาวิทยาลัยเลสเตอร์ (University of Leicester) ในประเทศอังกฤษเท่านั้น

ส่วนผู้เขียนบทความนี้สนใจศึกษาโบราณดาราศาสตร์ด้วยตนเอง เริ่มเก็บข้อมูลภาคสนามของโบราณสถานเขมรด้วยระบบ GPS (๑) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เคยเดินทางไปสำรวจโบราณสถานเขมรมาแล้วราว ๒๔๐ แห่ง นอกจากนั้น ยังสนใจค้นคว้าทดลองด้านดาราศาสตร์ และมีสถานที่ทดลองอยู่ในเขตเทือกเขาภูพาน จังหวัดมุกดาหาร โดยในขั้นแรก ผู้เขียนได้ทดลองสร้างปฏิทินสุริยคติ (solar calendar) ขึ้น จากนั้นจึงวางระบบกำหนดทิศทางด้วยการใช้เฉพาะดวงอาทิตย์เท่านั้น

การศึกษาโบราณดาราศาสตร์ในสถานที่หนึ่งๆ ข้อมูลสำคัญที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณ ประกอบด้วยตำแหน่งที่ตั้ง ทิศทางการหันหน้า และกำหนดอายุของแหล่งนั้นๆ

ตำแหน่งที่ตั้ง : ประตูทิศตะวันออกของปราสาทพนมรุ้ง ตั้งอยู่ที่พิกัด ๑๔.๕๓๑๙๘ องศาเหนือ และ ๑๐๒.๙๔๐๘๖ องศาตะวันออก (๒)

ทิศทางการหันหน้าประตูทั้ง ๑๕ ช่องของปราสาทพนมรุ้ง : ๘๔.๕ องศาจากขั้วท้องฟ้าเหนือ (celestial north) (๓)

กำหนดอายุการก่อสร้างปราสาทพนมรุ้ง : ยังไม่อาจระบุได้แน่ชัด ปราสาทประธานและประตูทั้ง ๑๕ ช่อง ตลอดจนระเบียงคด มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ทว่า สิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในบริเวณปราสาท คือซากปราสาทอิฐภายในวงระเบียงคด ซึ่งหันหน้าไปยังทิศทางเดียวกับอาคารรุ่นต่อๆ มา ปราสาทอิฐองค์นี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ โดยกำหนดอายุจากรูปแบบศิลปะของเสาประดับกรอบประตู ส่วนอาคารรุ่นก่อนหน้านั้น ซึ่งคงก่อสร้างด้วยวัสดุที่เสื่อมสลายไปหมดแล้ว (เช่นไม้) ยังไม่ปรากฏหลักฐานแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี จากตำแหน่งที่ตั้งบนยอดเขาอาจสันนิษฐานได้ว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ประกอบ พิธีกรรมมาก่อนหน้าการก่อสร้างปราสาทอิฐดังกล่าวแล้ว

ต่อไปนี้ ผู้เขียนจะทดลองคำนวณปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เช่นอุปราคา
ซึ่งจะสังเกตเห็นได้จากบนพนมรุ้ง ตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๒ เป็นต้นมา



ภาพลายเส้นที่ ๑ ดวงอาทิตย์ตก ๗ มีนาคม



ภาพลายเส้นที่ ๒ ดวงอาทิตย์ขึ้น ๔ เมษายน

ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์

กฎตายตัวของปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ที่ปราสาทพนมรุ้ง คือจะเกิดขึ้น ๑๔ วันก่อนและหลังวันวิษุวัต (equinoxes) (๔) โดยในแต่ละรอบของปรากฏการณ์นี้ จะสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ผ่านช่องประตูทั้ง ๑๕ ช่องของพนมรุ้งได้ติดต่อกัน ๓ วัน โดยวันที่สองดวงอาทิตย์จะอยู่ตรงแนวแกนของปราสาทมากที่สุด

ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๐ ดวงอาทิตย์จะตกตรงช่องประตูในวันที่ ๖, ๗ และ ๘ (วันที่ ๗ มีนาคม จะตกตรงกลางประตู เวลา ๑๘.๑๓.๕๕ น.) ส่วนในเดือนเมษายน ๒๕๕๐ ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงช่องประตูปราสาทพนมรุ้งในวันที่ ๓, ๔ และ ๕ (วันที่ ๔ เมษายน จะขึ้นตรงกลางประตูเวลา ๐๖.๐๗.๕๔ น. (ดูภาพลายเส้นที่ ๑ และ ๒)




เดือนดาราคติ (sidereal month) ระหว่างช่วงวสันตวิษุวัต พ.ศ. ๒๕๕๐ แสดงดวงจันทร์ในนักษัตรจิตรา
ภาพลายเส้นที่ ๓ ช่วงหัวค่ำ ๗ มีนาคม ๒๕๕๐



ภาพลายเส้นที่ ๔ ช่วงเย็นก่อนอาทิตย์ตก ๔ เมษายน ๒๕๕๐

ปรากฏการณ์ดวงจันทร์

ในทางดาราศาสตร์จะมีระบบเดือนของดวง จันทร์ถึงห้าแบบ
ทว่ามีเพียงสามแบบที่จะเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ – ดวงจันทร์ ที่ปราสาทพนมรุ้ง :

- เดือนจันทรคติ (Synodic month) มีระยะ ๒๙.๕ วัน (๕) สังเกตเห็นได้ง่าย และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป นับจากวันเพ็ญหนึ่งถึงอีกวันเพ็ญหนึ่ง

- เดือนดาราคติ (Sidereal month) มีระยะ ๒๗.๓ วัน (๖) เป็นช่วงเวลาที่ดวงจันทร์จะกลับไปยังตำแหน่งเดิมบนทรงกลมท้องฟ้า

ทุกคืน ดวงจันทร์จะเปลี่ยนตำแหน่งไป เมื่ออ้างอิงตำแหน่งกับดาวฤกษ์ที่อยู่ประจำที่ และภายในหนึ่งเดือนดาราคติ ดวงจันทร์จะโคจรกลับมายังตำแหน่งเดิมใน ๑๒ จักรราศีอีกครั้งหนึ่ง (ภาพลายเส้นที่ ๓ และ ๔) จักรราศีเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของโลกไปรอบดวงอาทิตย์ บัณฑิตเขมรโบราณน่าจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับ “นักษัตร” (naksatras) หรือ “เรือนจันทร์” (lunar houses) ทั้ง ๒๗ (๗) ชาวเขมรโบราณใช้ระบบนักษัตรแบบอินเดีย ทั้งในการคำนวณปฏิทินและการทำนายทางโหราศาสตร์ สุริยวิถี (ecliptic) จะถูกแบ่งออกเป็น ๒๗ ส่วนเท่าๆ กัน แต่ละส่วนประมาณ ๑๓ องศา ๒๐ ลิปดา (๒๐ อาร์คมินิต)

ดวงจันทร์และดาวเคราะห์ทั้งหมด (ยกเว้นพลูโต) จะอยู่ภายในพื้นที่สองข้างสุริยวิถีที่มีความกว้างด้านละแปดองศา แถบนี้เรียกกันว่า “จักรราศี” (rasicakra ในภาษาสันสกฤต) จักรราศีจะถูกแบ่งเป็น ๒๗ นักษัตรเท่าๆ กัน เพื่อใช้ระบุตำแหน่งดวงจันทร์ที่สัมพันธ์กับดาวฤกษ์อื่นๆ ในแต่ละวัน กลุ่มดาวนักษัตรแต่ละกลุ่ม (๘) จะได้รับชื่อตามดาวดวงสำคัญที่เรียกว่า “โยคะตารา” (yogataras) เช่น โยคะตาราของนักษัตรจิตรา คือ Spica-? Virginis (Sen, p. 274).

คัมภีร์สตปาถพรหม (Satapatha Brahmana) (๙) ระบุว่ากลุ่มดาวนักษัตรทั้ง ๒๗ นี้คือชายา ๒๗ องค์ของพระจันทร์ ซึ่งในแต่ละเดือน พระจันทร์จะอยู่กับชายาแต่ละองค์ได้เพียงหนึ่งคืน หลังจากดวงอาทิตย์ตกในวันที่ ๗ มีนาคม ดวงจันทร์อยู่ในนักษัตรจิตรา ๒๗.๒ วัน ต่อมา ในวันที่ ๔ เมษายน ดวงจันทร์ก็กลับมาสถิตในนักษัตรจิตราอีกครั้งหนึ่ง

- เดือนมังกรหรือเดือนราหู (Draconic month) ระยะเวลา ๒๗.๒ วัน (๑๐) เป็นระบบเดือนแบบที่สามที่เกี่ยว ข้องกับทิศทางการหันหน้าของปราสาทพนมรุ้ง เดือนมังกรจำเป็นสำหรับการคำนวณอุปราคา เนื่องจากเป็นเดือนที่นับเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่กลับมาสู่โหนด (node) เดิม โหนดคือจุดตัดระหว่างวงโคจรของดวงจันทร์กับระนาบสุริยวิถี (ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้) อุปราคาจะเกิดขึ้นได้เฉพาะเมื่อดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้กับโหนดใดโหนดหนึ่ง เมื่อดวงจันทร์โคจรผ่านขึ้นมาทางเหนือระนาบ จากจุดนั้นจะเรียกว่าโหนดขึ้น (ascending node) และเมื่อโคจรผ่านระนาบสุริยวิถีไปทางใต้ จะเรียกว่าโหนดลง (descending node) (๑๑)

เดือนมังกรนี้ “แฝงฝัง” ตัวอยู่ในทิศทางการหันหน้าของปราสาทพนมรุ้งด้วยเช่นกัน ดังจะเห็นได้จากจันทรุปราคาบางส่วนในเดือนกันยายน ๒๕๔๙ และจันทรุปราคาเต็มดวงในเดือนมีนาคม ๒๕๕๐

ราวสี่ชั่วโมงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๙ เกิดจันทรุปราคาบางส่วน จากนั้นเมื่อดวงอาทิตย์ขึ้น ก็สามารถมองเห็นได้ผ่านประตู ๑๕ ช่องของปราสาทพนมรุ้ง สิบนาทีต่อมา ดวงจันทร์ลับฟ้า และคงสามารถมองเห็นผ่านประตูทั้ง ๑๕ ช่องของพนมรุ้งได้เช่นกัน (หากไม่มีเมฆบัง) จากนั้นในวันที่ ๙ กันยายน ดวงอาทิตย์ก็ขึ้นตรงกับแนวแกนปราสาท

หกวันเพ็ญต่อมา เช้ามืดวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๐ เกิดจันทรุปราคาเต็มดวงในช่วงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ๐๕.๐๕ น. (หนึ่งชั่วโมงก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น) คราสกำลังจะจับเต็มดวง ดวงจันทร์จะถูกบังหมดเวลา ๐๖.๒๑ น. และอีกห้านาทีต่อมาก็จะลับฟ้าเมื่ออาทิตย์ขึ้นพอดี จึงสามารถสังเกตเห็นดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่ตรงข้ามกันได้

เย็นวันเดียวกันนั้น แสงอาทิตย์ที่กำลังลับขอบฟ้าจะส่องเข้ามาต้องพระศิวลึงค์ในปราสาทประธาน ๒๐ นาทีต่อมา ดวงจันทร์ข้างแรมที่เกือบเต็มดวงก็จะส่องแสงเข้ามาแทน อย่างไรก็ดี ในวันนี้จะยังไม่สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ผ่านช่องประตูทั้ง ๑๕ ช่องได้ กว่าที่แสงอาทิตย์ตกจะส่องตรงกับประตูทั้งหมดได้ก็ต้องรออีกสามวันถัดมา

“ระยะห่าง ๖ เดือนระหว่างจันทรุปราคาเต็มดวง” นี้ เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักดาราศาสตร์ตั้งแต่สมัยโบราณ “ชาวบาบิโลเนียนสามารถสังเกตเห็นมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์แล้วว่า จันทรุปราคาแต่ละครั้งจะห่างกัน ๖ เดือนจันทรคติ หรือไม่เช่นนั้น ก็อาจเป็นการทวีคูณของรอบ ๖ เดือนจันทรคติ หักออกด้วยหนึ่ง (อันเป็นระยะห่าง ๕ เดือนที่มีในบางครั้ง)” (Goldstein, p. 2)

จากหลักฐานการจดบันทึกตั้งแต่เมื่อ ๒,๕๐๐ ปีก่อน ชาวบาบิโลเนียนยังพบด้วยว่า วงรอบการเกิดขึ้นของอุปราคานั้นจะซ้ำกันทุกๆ ระยะ ๑๘ ปี กับ ๑๐.๓๓ วัน พวกเขาตั้งชื่อเรียกวงรอบนี้ว่า ซารอส (Saros) หมายถึงการซ้ำ

อุปราคาที่เกิดขึ้นในระยะใกล้เคียงกับปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ที่ ปราสาทพนมรุ้งมักจะมาเป็น “กระจุก” ที่มีระยะห่างกันราว ๘ – ๑๐ ปี : ในช่วงปี ๒๕๔๙ – ๒๕๕๐ ก็ได้แก่จันทรุปราคาที่กล่าวถึงไปแล้วข้างต้น (๑๒) “กระจุก” ต่อไปคือจันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ และหกเดือนต่อมา คือจันทรุปราคาเต็มดวงในวันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ จากนั้น ในวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๘ และวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๙ ก็จะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงขึ้นอีก โดยเกิดขึ้นห่างกันหกเดือนเช่นเดียวกัน


จันทรุปราคาบางส่วน วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๔๙ และจันทรุปราคาเต็มดวง ขณะเมื่อคราสเริ่มจับ วันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๐ บันทึกจากบนพนมรุ้ง


การสร้างปราสาทพนมรุ้งเกี่ยวข้องกับสุริยุปราคาหรือไม่?

ผู้เขียนมักได้รับคำถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่พนมรุ้งจะวางศิลาฤกษ์ในวันที่ดวงอาทิตย์ขึ้นตรงแนวกับ แนวแกนหลักของปราสาท และเป็นวันเดียวกับที่เกิดสุริยุปราคา

หากคำถามนี้หมายถึงสุริยุปราคาเต็มดวง ผู้เขียนสามารถปฏิเสธได้ทันทีว่า “เป็นไปไม่ได้ !”

สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดขึ้นน้อยครั้งกว่าจันทรุปราคาเต็มดวงมาก เช่นในระยะตั้งแต่ พ.ศ. ๑๒๔๓ (ค.ศ. ๗๐๐) ถึง พ.ศ. ๑๔๗๔ (ค.ศ. ๙๑๓) (๑๓) มีสุริยุปราคาเต็มดวงเพียงครั้งเดียวที่สามารถมองเห็นได้จาก ปราสาทพนมรุ้ง นั่นก็คือในวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๑๓๑๑ (ค.ศ. ๗๖๘) ซึ่งก็มิได้เป็นวันเดียวกันกับที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงแนวกับประตูของปราสาท อิฐบนยอดพนมรุ้ง หากแต่อีก ๑๘ เดือนเพ็ญต่อมา คือวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๑๓๑๒ (ค.ศ. ๗๖๙) ดวงอาทิตย์ซึ่งกำลังเกิดสุริยุปราคาบางส่วน (๖%) จะขึ้นเกือบตรงแนวกับตัวปราสาท

ต่อมาในช่วงระหว่าง พ.ศ. ๑๓๔๓ – ๑๔๔๒ (คริสต์ศตวรรษที่ ๙) (๑๔) เรามี “ตัวเลือก” เพียงสองเท่านั้น และทั้งสองครั้งก็เป็นเพียงสุริยุปราคาบางส่วน สุริยุปราคาทั้งสองครั้งเกิดขึ้นหนึ่งวันหลังจากที่ดวงอาทิตย์ส่องตรงกับแนว แกนหลักของปราสาท ดังนั้น สุริยุปราคาทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ จึงไม่ควรจะมีนัยสำคัญเพียงพอสำหรับการวางศิลาฤกษ์สถาปนาปราสาทพนมรุ้ง

หรือแม้จะปรับเปลี่ยนคำถามข้างต้นให้ครอบคลุมถึงจันทรุปราคา ผู้เขียนก็ยังต้องปฏิเสธเช่นเดิม เพราะแม้ว่าจะสามารถสังเกตเห็นจันทรุปราคาได้บ่อยครั้งกว่า แต่ก็ไม่น่าจะมีจันทรุปราคาครั้งใดในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. ๑๒๔๓ – ๑๔๔๒ (คริสต์ศตวรรษที่ ๘ – ๙) ที่สำคัญเพียงพอสำหรับการสถาปนาปราสาทพนมรุ้ง ทิศทางการหันหน้าของปราสาทน่าจะเกี่ยวข้องกับ “ระยะห่าง ๖ เดือนระหว่างจันทรุปราคาเต็มดวง” ดังกล่าวมาแล้วมากกว่า



พระราหูและพระเกตุ ศิลปะอินเดีย พุทธศตวรรษที่ ๑๖ พระราหูจับดวงจันทร์ไว้ในมือ ส่วนพระเกตุมีหางเหมือนงูหรือมังกร (๑๗) ?
The John C. and Susan L. Huntington Archive of Buddhist and Related Art

พระราหูและพระเกตุ

ตามเทพปกรณัมของเขมร โหนดของดวงจันทร์จะมีบุคลาธิษฐานเป็นพระราหู (โหนดขึ้น - ascending node) และพระเกตุ (โหนดลง - descending node) พระราหูนั้นเป็นอสูร (๑๕) ผู้ลักลอบดื่มน้ำอมฤตที่เกิด ขึ้นในระหว่างการกวนเกษียรสมุทร แต่พระอาทิตย์และพระจันทร์สังเกตเห็นเข้า จึงไปฟ้องพระนารายณ์ (พระวิษณุ) พระองค์จึงขว้างจักรไปตัดพระราหูขาดเป็นสองท่อน (๑๖) แต่ด้วยฤทธิ์ของน้ำอมฤตที่ทำ ให้ผู้ดื่มเป็นอมตะ พระราหูกลับไม่ตาย ทว่าเหลือเพียงศีรษะ ซึ่งจะคอยแก้แค้นพระอาทิตย์และพระจันทร์ด้วยการกลืนไว้ในปาก ซึ่งก็ปรากฏเป็นสุริยุปราคาและจันทรุปราคานั่นเอง

พระราหูและพระเกตุนับเป็นเทพในกลุ่มของเทวดานพเคราะห์ (navagraha ดาวเคราะห์ทั้งเก้า) ในศิลปะอินเดีย ภาพเทวดานพเคราะห์จะเริ่มด้วยพระอาทิตย์ที่ด้านซ้ายสุด ถัดมาคือพระจันทร์ ดาวเคราะห์ทั้งห้า (๑๘) ปิดท้ายด้วยพระราหูและพระเกตุ ภาพสลักชุดนี้มักพบในเทวสถานที่สร้างอุทิศแก่พระศิวะ

ส่วนภาพชุดเทวดานพเคราะห์ในศิลปะเขมรนั้น จะต่างไปจากต้นแบบในศิลปะอินเดีย กล่าวคือแม้จะเริ่มต้นด้วยพระอาทิตย์ พระจันทร์ และจบด้วยพระราหู พระเกตุเหมือนกัน ทว่า ภาพเทวดาประจำดาวเคราะห์ห้าองค์จะถูกแทนที่ด้วยทิกปาลก (dikpalaka เทพประจำทิศ) (๑๙) โดยมีพระอินทร์ เทพผู้รักษาทิศตะวันออก และหัวหน้าแห่งทิกปาลก อยู่ตรงกลาง ภาพสลักพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณยังมักพบเหนือประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก ของศาสนสถานเขมรด้วย

นอกจากนั้น ยังพบภาพสลักชุดเทวดานพเคราะห์ที่พนมรุ้ง สภาพชำรุดมาก เหลือเพียงเทพสี่องค์ ซึ่งสามารถระบุได้เพียงสององค์ คือพระราหูจับดวงจันทร์ไว้ในมือ และพระเกตุทรงสิงห์ (๒๐)


พระราหูและพระเกตุ ทับหลังเทวดานพเคราะห์จากกู่เปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น พุทธศตวรรษที่ ๑๖ ปัจจุบันอยู่ในวัดแห่งหนึ่ง
ราหูมีกายท่อนล่างเป็นพายุหมุน ในมือถือดวงจันทร์ ส่วนพระเกตุทรงสิงห์เป็นพาหนะ


ประตูของปราสาทพนมรุ้ง

ศาสนสถานเขมรโบราณที่สร้างขึ้นในศาสนา ฮินดูมักหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เพื่อให้แสงอาทิตย์แรกขึ้นสาดส่องเข้ามาต้ององค์รูปเคารพประธานภายใน

ศาสนสถานเขมรราวหนึ่งในสามจะหันหน้าตรงไปทางทิศตะวันออก หรือมีแนวแกนหลักของอาคารตามแนวที่ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกในช่วงวันวิษุวัต วันวสันตวิษุวัต (Spring equinox) ถือเป็นวันปีใหม่ตามสุริยคติของพราหมณ์ ในศิลาจารึกเขมรจะระบุวันเดือนปีตามปฏิทินสุริยคติ – จันทรคติ โดยเริ่มนับจากข้างขึ้นก่อนหน้าวันวิษุวัต

ปราสาทพนมรุ้งหันหน้าเฉียง ๕.๕ องศาจากทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกันกับศาสนสถานเขมรอื่นอีกราว ๒๐ % (๒๑) ลักษณะพิเศษของพนมรุ้งก็คือที่ตั้งที่อยู่บนยอดเขา และการมีแนวประตูตามแนวทิศตะวันออก – ตะวันตก ซึ่งทำให้แสงอาทิตย์ช่วงอาทิตย์ขึ้นและตกสามารถสาดส่องเข้าไปต้องรูปเคารพใน ปราสาทประธาน อันได้แก่พระศิวลึงค์ สัญลักษณ์องคชาติของพระศิวะได้

ประเด็นทางด้านดาราศาสตร์ของปราสาทพนมรุ้งจึงได้แก่

* ๑. ดวงอาทิตย์ : กำหนด ที่แสงอาทิตย์จะส่องเข้าไปต้องศิวลึงค์ภายในปราสาทประธานนั้น คือ ๑๔ วันก่อนและหลังวันวิษุวัตทั้งสองครั้ง ดังนั้น ในแต่ละปีจะมีปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์สี่ครั้ง ซึ่งในแต่ละช่วง จะสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ตรงช่องประตูทั้งหมดได้ในวันก่อนหน้าและวันต่อมา อีกหนึ่งวันด้วย โดยในแต่ละครั้ง จะมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ประมาณ ๘ นาที
* ๒. ดวงอาทิตย์ – ดวงจันทร์ : ช่วงระหว่างปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ ก่อนและหลังวันวิษุวัตนั้น จะมีระยะห่างประมาณหนึ่งเดือนจันทรคติ ดังนั้น ดวงจันทร์จะอยู่ในนักษัตรเดียวกันทั้งสองครั้ง
* ๓. อุปราคา : เมื่อเกิดสุริยุปราคา หรือจันทรุปราคาขึ้น มักจะเกิดซ้ำอีกครั้งหนึ่งในระยะเวลาใกล้ๆ กัน ส่วนใหญ่ที่พบมักจะเกิดขึ้นห่างกัน ๖ เดือนจันทรคติ (ประมาณ ๑๖๔ วัน)


โคนนทิ พาหนะของพระศิวะ และศิวลึงค์ที่ต้องแสงอาทิตย์ ในปราสาทพนมรุ้ง


ข้อสรุป :

ไม่ปรากฏหลักฐานว่าการก่อสร้างปราสาทพนมรุ้งจะเกิดขึ้นร่วมกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ใด (เช่นอุปราคา)

ช่องประตูทั้ง ๑๕ ช่องของปราสาทพนมรุ้ง เปรียบเสมือนอุโมงค์ยาว ๗๖ เมตร ซึ่งอาจใช้เป็นที่วางระบบปฏิทินสำหรับผู้สังเกตการณ์ที่มีความรู้ด้านดารา ศาสตร์ได้ อย่างไรก็ดี เราไม่มีหลักฐานว่าสิ่งนี้เป็นเจตนาของผู้สร้างหรือไม่ จากศิลาจารึกเท่าที่ค้นพบก็มิได้ปรากฏหลักฐานว่านักบวชที่พำนักอยู่ ณ ศาสนสถานแห่งนี้จะให้ความสนใจกับปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ ทิศทางการหันหน้าของปราสาทพนมรุ้ง

อย่างไรก็ดี ศิลาจารึกเขมรร่วมสมัยหลักอื่นๆ ก็มักกล่าวสรรเสริญกษัตริย์และพราหมณ์ว่าเป็นผู้มีความรู้ลึกซึ้งในศาสตร์ แขนงต่างๆ ซึ่งดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในศิลปศาสตร์เหล่านั้น

ดังนั้น เมื่อพิจารณาร่วมกับประติมากรรมเทพผู้รักษาทิศ และเทวดานพเคราะห์ที่ปรากฏให้เห็นอยู่มากมาย น่าจะส่อแสดงว่า ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่างๆ นั้น ย่อมไม่อาจเล็ดรอดสายตาของนักบวชผู้ไตร่ตรอง ผู้ซึ่งสักการะพระศิวลึงค์เป็นประจำทุกวัน ณ เทวาลัยบนยอดเขาแห่งนี้

ผู้เขียนหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ท่านไม่พลาดปรากฏการณ์บนฟากฟ้าที่น่าสนใจหลายครั้งในรอบปี พ.ศ. ๒๕๕๐ นี้


ขอขอบพระคุณ : วารสารเมืองโบราณ



บทความจาก - อ.ส.ท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ศูนย์รวมโบราณวัตถุ วัฒนธรรมภาคตะวันออก


- หุ่นละครเล็ก ฟื้นฟูชีวิตหุ่นละครเล็ก ณ โรงละครโจหลุยส์

- อรรธนารีศวร ศิลปะชิ้นเยี่ยม
ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี


- พระพิฆเนศทรงช้างเอราวัณ ที่บ้าน ๑๐๐ อัน ๑๐๐๐ อย่าง
ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่


- พระอิศวร มหาเทพนับพันชื่อ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


- โขนชักรอก สมบัติศิลป์ที่เกือบจะสูญสิ้น

บทความจาก - วารสารเมืองโบราณ

- มหาภารตะในอารยธรรมเขมร
และภาพสลักที่ระเบียงคด ปราสาทนครวัด


- สุริยัน จันทรา และราหู ที่ปราสาทพนมรุ้ง
ข้อสังเกตทางโบราณดาราศาสตร์


- ตาควาย - ปราสาทร้างกลางความคลุมเครือ

- มัณฑละเชิงเขาหลวง :
หนึ่งในฐานเศรษฐกิจของรัฐตามพรลิงค์


- ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ กับความเป็นสากล

- บูชาดาวนพเคราะห์ที่ "วัดญวนบางโพ"

- ชุมชนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดทองนาปรัง
ย่านบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี


- วัดวิษณุ - พลิกปูมวัดวิษณุ สมาคมฮินดูธรรมสภา
ศูนย์กลางชุมชนชาวอุตตรประเทศในกรุงเทพมหานคร


- วัดวิษณุ - นวราตรี : ทุรคาบูชา ณ วัดวิษณุ ยานนาวา

- เขายักษ์ - แหล่งภาพสลักพระศิวะกลางป่าตาพระยา

- เทวาลัยไม้สมัยคุปตะที่หิมาจัลประเทศ

- ศาลาแก้วกู่ : มหัศจรรย์สถานแห่งหนองคาย


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.