บทที่
1. คณะนายะกา ษะฏากามะ ศรีคเณศายะ นามะนะ เอกทันตัง มหากายัง
ตัปตะกายาจะนะสันนิภัง ลัมโพทะรัง วิศาลากะสัง วันเทหัง
คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก
ผู้ซึ่งมีงาข้างเดียว มีพระวรกายอันยิ่งใหญ่ มีผิวพรรณเปร่งประกายเสมือนทองคำ
มีพระอุทร (ท้อง) ใหญ่โต มีเนตรอันไพศาล
บทที่ 2. เมายะชี กฤษณาชินะรัง นาคายะโชญาปวีตินัง
พาเลนทุศกะลัง เมาเลาวันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก
พระองค์ทรงคาดบั้นพระองค์ (เอว) ไว้ด้วยหญ้าคาและหนังกวางดำ
มีงูเป็นยัชโญปวีต พระนลาฏ (หน้าผาก) ปรากฏเป็นพระจันทร์เสี้ยว
บทที่ 3. จิตระรัตนะ วิจิตรางคัง จิตระมาลาวิภูษิตัง
กามะรูปาธะรัง เทวัง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก
พระองค์ทรงประดับเพชร พลอยและอัญมณีอันสวยงาม
สวมมาลัยไว้อย่างสะดุดตา สามารถแปลงรูปร่างได้ตามความประสงค์
บทที่ 4. คัชวักตะรัง สุรเศระษาถัง กัรณาจามะระภูษิตัม
ปาศางะกุศะธะรัง เทวัง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก
พระองค์มีพระพักตร์เป็นช้าง เป็นมหาเทพที่สูงส่ง
พระกรรณ (หู) ของพระองค์ใช้โบกสะบัดดั่งแส้จามรี พระองค์ทรงอาวุธปาศ
และอังกุศ
บทที่ 5. มูษาโกตตะมะมารุหะยา เทวาสุระมหาหะเว
โยท-ธุ กามัง มหาวีระยัง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก
พระองค์มีความเก่งกาจยอดเยี่ยม
พระองค์ทรงร่วมทำสงครามระหว่างเทพกับอสูร โดยทรงหลังหนูมุสิกะเป็นพาหนะ
บทที่ 6. ยักษะ กินนาระ คณะธารวะสิทธะวิทยาธะ
ไรสะสัททา สะตูนะมานัง มหาพาหุง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก
พระองค์ผู้มีพระกรยาว
และได้รับการกราบบูชาจากเหล่ายักษ์ กินนร คนธรรพ์ สิทธิและเหล่าวิทยาธร
ด้วยความเคารพสูงสุดตลอดมา
บทที่ 7. อัมพิกา หฤทะยานานะทัง มตูฤภิ ปริเวษะติ
ตัง ภักตะปะริยัง มโทนนามัตตัง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก
พระองค์ผู้เป็นที่พึ่ง มีความจงรักภักดีและเป็นผู้ประทานความสุขแก่พระแม่อุมา
พระองค์ห้อมล้อมไปด้วยมาตฤกาทั้งหลายและมีน้ำมันบริสุทธิ์ปริ่มจากศีรษะ
บทที่ 8. สะระวะวิฆนะหะรังเทวัง สะระวะวิฆวิวะระบะชิตตัง
สะระวะสิทธิ ปะระทาตารัง วันเทหัง คณะนายะกัง
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก
พระองค์คือเทพผู้ขจัดอุปสรรคทั้งปวง
คือเทพผู้ปราศจากอุปสรรคทั้งปวง คือเทพประทานความสำเร็จทุกประการ
บทสรุป. คะณาษะตะกามิทัง ปุณยัง ยะปะเถตสะตะตัง
นะระสิทธะ ยันติ สะระวะการะยานิ วิทยาวานะ ธะนะวานะ ภะเวตุ
คำแปล : บทสวดทั้งแปดโศลกนี้ ผู้ใดสวดเป็นประจำ
ผู้นั้นจะได้รับปัญญา ทรัพย์สมบัติ และประสบความสำเร็จดั่งใจปรารถนาทุกประการ
บทต่อท้ายที่ 1. นะมัสเต พรหมรูปายะ วิษณูรูปายะเตนะมะ
นะมัสเต รูปายะ กริรูปายะ เตนะมะ
คเณศะปูเนกรมะ ยันนะยูนะมะ ธิกังกะฤติ
คำแปล : ข้าพเจ้าขอนมัสการต่อพระคณนายก
เทพเจ้าซึ่งอยู่ในรูปช้าง อยู่ในรูปพระพรหม อยู่ในรูปพระวิษณุ
อยู่ในรูปพระศิวะ
บทต่อท้ายที่ 2. เตนะสรเวนะ สะระวาตะมา ประสะนะโนสะตุ
สะทามะมะ
คำแปล : และในการสวดบูชาต่อพระคณนายกครั้งนี้
ขอพระสรวาตมาพระพิฆเนศ ทรงประทานพรแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ |