พิธีโล้เสาชิงช้า
(ขอขอบคุณ : ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
ขณะทำพิธีโล้ชิงช้า ตึกทางซ้ายมือเป็นตึกตลาดเสาชิงช้าที่สร้างในสมัยรัชกาลที่
5 รื้อหมดแล้ว กลายเป็นลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
เสาชิงช้าใช้ในพิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์
เป็นส่วนหนึ่งของพิธีตรียัมปวาย เป็นการต้อนรับพระอิศวรซึ่งเป็นหนึ่งในสามเทพเจ้า
ของศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดูเชื่อกันว่าพระอิศวรจะเสด็จลงสู่โลกในวันขึ้นเจ็ดค่ำเดือนยี่
วันนั้นจะมีการแห่พระเป็นเจ้าไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว
เมื่อพระเป็นเจ้าเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ก็ได้เชิญเทวดาองค์อื่น
ๆ มาเฝ้าและมาร่วมพิธีด้วย ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์
พระคงคา และพระธรณี พราหมณ์จะแกะรูปสัญลักษณ์ของเทวดาแต่ละองค์เป็นเทวรูปลงในไม้กระดานสามแผ่น
เพื่อทำการบูชาในเทวสถานแล้วจากนั้นจะนำไปปักในหลุมหน้าโรงพิธีนั่งดูโล้ชิงช้า
หันหน้ากระดานเข้าหาตำแหน่งที่มีพระยายืนชิงช้านั่ง เรียกว่ากระดานลงหลุม
ในวันขึ้น 8 ค่ำ เดือนยี่
พระราชพิธีตรียัมปวายนี้จะกระทำในเทวสถานสำหรับพระนคร
3 เทวสถาน คือ เทวสถานพระอิศวร เทวสถานพระมหาวิฆเนศวร
และเทวสถานพระนารายณ์ โลกบาลทั้งสี่ (พระยายืนชิงช้า และนาลิวัน)
จึงต้องโล้ชิงช้าถวายและรับน้ำเทพมนตร์
แต่เดิมนั้นพระราชพิธีตรียัมปวายจะจัดในเดือนอ้าย(ธันวาคม)
ครั้นล่วงเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาจัดในเดือนยี่
(มกราคม) พิธีนี้ถือเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของพราหมณ์ซึ่งในหนึ่งปีพระอิศวรจะเสด็จมาเยี่ยมโลก
10 วัน พราหมณ์จะประชุมที่เทวสถานพระอิศวร แล้วผูกพรตชำระกายสระเกล้าเตรียมรับเสด็จพระอิศวร
ตำนานพิธีตรียัมปวาย
พิธีโล้ชิงช้ามีที่มาจากคัมภีร์เฉลิมไตรภพกล่าวไว้ว่าพระอุมาเทวีทรงมีความปริวิตกว่าโลกจะถึงกาลวิบัติ
พระนางจึงทรงพนันกับพระอิศวร โดยให้พญานาคขึงตนระหว่างต้นพุทราที่แม่น้ำ
แล้วให้พญานาคแกว่งไกวตัวโดยพระอิศวรทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง
เมื่อพญานาคไกวตัว เท้าพระอิศวรไม่ตกลงแสดงว่าโลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคงแข็งแรง
พระอิศวรจึงทรงชนะพนัน
ดังนั้นพิธีโล้ชิงช้าจึงเปรียบเสาชิงช้าเป็น'ต้นพุทรา'
ช่วงระหว่างเสาคือ'แม่น้ำ' นาลีวันผู้โล้ชิงช้าคือ'พญานาค'
โดยมีพระยายืนชิงช้านั่งไขว่ห้างอยู่บนไม้เบญจมาศ
พิธีโล้ชิงช้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีได้ยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่
7 ปัจจุบันการประกอบพระราชพิธีนี้จะกระทำเป็นการภายในเทวสถานเท่านั้น |