บนเส้นทางถนนสุขุมวิทสายเก่า เลยทางแยกบางพลี ตำบลบางเมืองใหม่
จังหวัดสมุทรปราการ มาไม่ไกลนัก จะแลเห็นตึกรูปทรงช้างสามเศียรขนาดใหญ่แต่ไกล
และเมื่อมาถึงบริเวณด้านหน้า จะเห็นคนขายดอกไม้ เครื่องบูชา
และผู้คนที่มากราบไหว้ขอโชคลาภและความคุ้มครองกันอย่างหนาตาเป็นประจำ
เพราะเชื่อกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาคารที่ว่านี้ก็คือ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
สถานที่รวบรวมงานศิลปะอันวิจิตรตระการตานานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นประติมากรรมทองแดงบริสุทธิ์รูปช้างสามเศียรที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ในโลก ลวดลายปูนปั้นประดับด้วยกระเบื้องเบญจรงค์อย่างประณีตสวยงามไม่มีที่ติ
เสาขนาดใหญ่ประดับด้วยดีบุกดุนลายเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาต่าง
ๆ ที่สำคัญและโบราณวัตถุอันล้ำค่าของตระกูลวิริยะพันธุ์
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณแห่งนี้ เกิดขึ้นจากความคิดและจินตนาการของคุณเล็ก
วิริยะพันธุ์ หรือเสี่ยเล็ก ผู้สรรค์สร้างเมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ
และปราสาทสัจธรรม เมืองพัทยา สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะให้เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ เก็บรักษาโบราณวัตถุมีค่าควรเมือง
อันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสิริมงคลและความอุดมสมบูรณ์แก่บ้านเมืองและแผ่นดิน
โดยจะจัดพื้นที่บริเวณโดยรอบอีกหลายสิบไร่ ให้เป็นสวนขนาดใหญ่
ที่มีทั้งต้นไม้น้ำตก ลำคลอง เพื่อให้ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ
ได้มาพักผ่อนหย่อนใจ อาคารแห่งนี้ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างมาตั้งแต่ปี
พ.ศ. ๒๕๓๗ ขณะนี้แล้วเสร็จสมบูรณ์ไปมาก และเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมได้ส่วนพิธิเปิดอย่างเป็นทางการนั้น
ผู้สร้างมีเจตนารมณ์จะเปิดในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๖ เนื่องในวโรกาสวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ภายในพื้นที่ด้านหน้าตัวอาคาร ทางพิพิธภัณฑ์ฯ ได้จัดเตรียมพวงมาลัย
ดอกไม้ ธูป และแผ่นทอง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้เชื่อถือ
นำไปกราบไหว้และปิดทองรูปจำลองช้างเอราวัณ ลอยในสระน้ำรอบพิพิธภัณฑ์ฯ
เพื่อบูชาพระโพธิสัตว์ กวนอิมที่ประดิษฐานอยู่ในอาคารชั้นสอง
รวมทั้งนำไปสักการะพระพิฆเนศ ที่อยู่ด้านนอกตัวอาคารด้วย ทั้งนี้เพราะคนไทยมีความเชื่อตามคติทางพระพุทธศาสนาว่า
ช้างเอราวัณคือเทวดาที่มีนามว่า เอราวัณเทพบุตร เป็นบริวารของพระอินทร์ที่สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เมื่อใดที่พระอินทร์จะเสด็จไปในงานพิธีที่มีเกียรติ เทวดาองค์นี้จะกลายเป็น
ช้างเผือกให้พระอินทร์ทรงไปทุกครั้ง
ลักษณะสำคัญของช้างเชือกนี้ก็คือ มี ๓๓ เศียร กายสีขาวสูง
๑๕๐ โยชน์ เศียรอยู่ตรงกลางมีขนาดใหญ่ เป็นที่ประทับของพระอินทร์และพระสหาย
แต่ละเศียรมี ๗ งา แต่ละงามี ๗ สระ แต่ละสระมีกอบัว ๗ กอ แต่ละกอบัวมีดอกบัว
๗ ดอก แต่ละดอกมี ๗ กลีบ แต่ละกลีบมีเทพธิดา ๗ องค์ และแต่ละองค์ก็มีบริวารอีก
๗ นาง แต่ในงานศิลปะของไทยโดยทั่วไป จะทำรูปช้างเอราวัณเพียง
๓ เศียรเท่านั้น
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ มีความสูงเท่ากับตึกสูงประมาณ
๑๗ ชั้น ความสูงจากพื้นดินถึงยอด ๕๐ เมตร ตัวอาคารด้านล่างมีระเบียงรอบเป็นวงกลม
มีทางเข้าภายในอาคารได้หลายทาง ภายในแบ่งการจัดแสดงเป็น ๓
ส่วน ตามลักษณะไตรภูมิ คือชั้นล่างสุดเป็นชั้นบาดาล มีรูปปั้นมนุษยนาคตั้งอยู่เหนือน้ำตรงกึ่งกลางเป็นสัญลักษณ์
แวดล้อมด้วยโบราณวัตถุอันมีค่าที่ตั้งแสดงประกอบ และมีการจัดนิทรรศการการก่อสร้างเมืองโบราณปราสาทสัจธรรม
และพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณอยู่โดยรอบ
ส่วนที่สอง คือ ชั้นมนุษย์โลก เป็นชั้นที่ตกแต่งวิจิตรงดงามที่สุดด้วยลวดลายปูนปั้นประดับเบญจรงค์
ฝีมือศิลปินและช่างจากจังหวัดเพชรบุรี มีซุ้มพระเกตุประดิษฐานพระโพธิสัตว์กวนอิมอายุเก่าแก่ถึง
๑,๓๐๐ ปี เป็นสัญลักษณ์ บนเพดานเป็นกระจกสีออกแบบเป็นรูปแผนที่โลกโดยศิลปินจากประเทศเยอรมนี
และส่วนที่สาม คือ ชั้นสวรรค์ เป็นชั้นที่อยู่ในตัวช้าง สามารถขึ้นไปได้โดยทางบันไดวนที่ขาหลังช้างด้านขวา
หรือขึ้นลิฟต์ที่ขาหลังช้างด้านซ้าย ชั้นนี้จะเป็นที่ตั้งแสดงโบราณวัตถุศักดิ์สิทธิ์ที่มีค่า
เช่น พระพุทธรูปและเทวรูป ส่วนบนผนังท้องช้าง หรือเพดานเป็นภาพเขียนสีฝุ่นรูปสุริยจักรวาลบนแผ่นกระจก
เป็นรูปทวีปทั้ง ๕ และกลุ่มจักรราศี ผลงานของศิลปินชาวเยอรมันผู้ออกแบบกระจกสีบนเพดานชั้นสองเช่นเดียวกัน
ผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ จะได้รับความรู้ในเชิงช่างหลายอย่าง
ได้ชมศิลปะเชิงช่างที่หาชมได้ยาก ได้ชมโบราณวัตถุที่มีค่าควรเมือง
และได้รับการพักผ่อนหย่อนใจในทัศนียภาพโดยรอบ
สนใจเข้าชมพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณติดต่อสอบถามได้ที่โทรศัพท์
๐ ๒๓๗๑ ๓๑๓๖ ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ ๑๕๐ บาท เด็ก ๕๐ บาท
ข้อมูลการเขียน
๑. สูจิบัตรและเอกสารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
๒. หนังสือชีวิตและผลงาน เล็ก วิริยะพันธุ์
๓. คุณพูลพล ศรีภิรมย์
ที่มา : อ.ส.ท. ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๒ เดือนกันยายน
๒๕๔๖
อ่านต่อแบบ
"เจาะลึก" เรื่อง "พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ"
โดย : นิตยสารสารคดี คลิกที่นี่
-----รูปภาพโดย สยามคเณศ-----
อ่านบทความแบบ "เจาะลึก" เรื่อง "พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ"
โดย : นิตยสารสารคดี
คลิกที่นี่
---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม
----------------
หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
,
พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
,
พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
,
ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
--------- สถานที่ ศาล
เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
-
พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
-
พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม
พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
-
พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย
อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
-
รวมรูปองค์เทพ | -
รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | -
รวมความรู้การบูชาองค์เทพ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
----------------- เทศกาล
งานสำคัญต่างๆ -----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์
วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี
เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า
]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ
วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
-
สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์
| -
ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
-
ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก
| -
ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
-
พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้
| -
พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
-
พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี
| -
อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
-
คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี
เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก
-
การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
-
บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ
| -
พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
-
พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ
| -
พญานาค การบูชาองค์พญานาค | -
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
-
รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี
การบูชาพระแม่อุมาเทวี | -
องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
-
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ
ปางของพระวิษณุ | -
องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี
-
ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ
| -
พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ |
-
การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
-
การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า
| -
พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
-
ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
-
พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ
| -
การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
-
เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม
พระแม่กวนอิมปางต่างๆ
[ เรื่องร่างทรง
]
เรื่องร่างทรง
1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง
มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
2 - คนมีองค์
กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง
ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า
หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
4 - การรับขันธ์
อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
5 - ตอบคำถามร่างทรง
(รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์
การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
6 -
ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
7 -
รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)
[ พระศิวะมหาเทพ
]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์
แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช
พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด
, นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์
พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร
,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู
พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|