|
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ |
รวมสถานที่สักการะ
ศาล เทวาลัย วัด โบสถ์
องค์เทพพราหมณ์ฮินดู
"พื้นที่เขตภาคใต้" |
|
เชิญร่วมส่งภาพถ่าย
ศาล เทวาลัย วัด ที่มีองค์เทวรูปใกล้บ้านท่าน
รูปภาพที่ผ่านการคัดเลือกจะได้ลงแนะนำในหมวด
"สถานที่สักการะทั่วประเทศไทย"
พร้อม ชื่อ-นามสกุล ของผู้ถ่ายภาพ ติดอยู่กับภาพนั้นๆ
ด้วย
วัตถุประสงค์เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ศรัทธา เป็นเสมือนคู่มือการเดินทางไปสักการะยังที่ต่างๆ
อาจจะเป็นไปได้ที่ในจังหวัดของท่านจะมีเทวรูปพระพิฆเนศหรือเทพเจ้าองค์สวยๆตั้งอยู่
โดยที่ไม่มีใครรู้
และจะดีกว่าไหม..ถ้าเราได้รวบรวมมาลงในเว็บไซต์ให้มากที่สุด
เพื่อเป็นคู่มือการเดินทางแสวงบุญให้กับผู้ศรัทธา...
ท่านที่อยู่ในจังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้านต่างๆ
หากท่านพบเห็นหรือทราบว่าแถวบ้านของท่านมีเทวรูปประดิษฐานอยู่
(เฉพาะเทวรูปเทพเจ้าของพราหมณ์)
ขอเชิญถ่ายภาพแล้วส่งเมล์มาให้เราด้วยครับ จะได้นำลงเว็บ
เพื่อแบ่งให้ผู้ศรัทธาท่านอื่นๆชม
ถ่ายมาได้เลยครับ ทั้งศาลพระพิฆเนศ เทวาลัยพระศิวะ ศาลพระแม่ต่างๆ
เทวรูปพระนารายณ์ ศาลเจ้าต่างๆ ฯลฯ
วัดตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลความเจริญ อาจจะมีเทวาลัยเทพเจ้าขนาดเล็กๆ
ตั้งอยู่ แต่ไม่มีคนสนใจ ถูกละเลยปล่อยทิ้งไว้
เมื่อเราได้ลงรูปในเว็บสยามคเณศนี้ อาจจะมีผู้สนใจไปกราบไหว้
ตลอดจนมีคนไปทำบุญ
หรือมีสมาชิกไปช่วยกันทำความสะอาด บูรณะซ่อมแซมเทวรูปหรือศาลนั้นๆให้ดูดีและสวยงามขึ้นก็ได้ครับ
วิธีการร่วมมือ : ถ่ายภาพด้วยวิธีใดก็ได้ครับ
(กล้องดิจิตอล, กล้องมือถือ) เอาชัดๆอย่าเล็กเกินไปนะครับ
ถ่ายมาหลายๆมุมเลยครับ ด้านหน้า ด้านข้าง ป้ายชื่อเทวาลัย
บริเวณโดยรอบ ฯลฯ
แล้วส่ง E-mail มาที่ siamganesh@gmail.com พร้อมแจ้งข้อมูลดังนี้...
- ชื่อ-นามสกุล ของผู้ถ่ายภาพ เพื่อเราจะได้ติดชื่อของท่านไว้บนรูปภาพทุกรูปครับ
- ชื่อสถานที่ เช่น ชื่อวัด ชื่อเทวาลัย ถนน สี่แยก หมู่บ้าน
ตำบล อำเภอ จังหวัด
- วิธีเดินทางไปสักการะ เวลาเปิดปิดของวัดหรือสถานที่นั้นๆ
ฯลฯ (เอาเท่าที่จะหาข้อมูลได้ก็พอครับ)
- หากได้ข้อมูลมาจากหนังสือหรือเว็บใดโปรดแจ้งชื่อหนังสือหรือบอกชื่อเว็บนั้นๆกับเราด้วยครับจะได้ลงขอบคุณไปด้วย
เรายังยินดีลงประชาสัมพันธ์ศาลหรือเทวาลัยที่มีผู้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อสาธารณะ
หรือที่อยู่ในวัดต่างๆ
รวมทั้งศาลพระพิฆเนศ ศาลพระพรหม ฯลฯ ที่ตั้งอยู่บริษัทเอกชน
หรืออยู่ในหน่วยงานราชการ
โรงพยาบาล โรงเรียน โรงแรม สนามกีฬา มหาวิทยาลัย สถาบันองค์กรหน่วยงานต่างๆ
เราก็ยินดีลงให้เต็มที่ครับ
เชิญส่งมาได้เลยนะครับ การแนะนำสถานที่สักการะแก่ผู้อื่นถือว่าได้กุศลด้วยครับ
(แต่ถ้าเป็นเทวรูปของตำหนักทรง เราอาจจะพิจารณาไม่ลงให้ครับ
ยังไงลองส่งมาดูก่อนครับ)
ขอบพระคุณครับ / siamganesh
มีของรางวัลและวัตถุมงคลมอบให้ทุกท่านที่ส่งรูปภาพมาลงในหน้านี้ครับ!!
......................................................................................................................................................
|
ภาพโดย : Phuketindex.com |
ชื่อสถานที่ : มูลนิธิภูเก็ตตันดายูดาปานี
(วัดอินเดีย) จ.ภูเก็ต |
ข้อมูลสถานที่ : ชาวอินเดียในภูเก็ตได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานประมาณ
ค.ศ.1340 เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ส่วนหนึ่งมาจากอินเดียโดยตรง ส่วนหนึ่งเดินทางมาจากมาเลเซีย
การนับถือศาสนาฮินดูเป็นการนับถือกันอยู่ในเฉพาะกลุ่มของชาวอินเดียเท่า
นั้น ต่อมาเมื่อชาวอินเดียอพยพมาเพิ่มมากขึ้น และได้ตั้งหลักแหล่งที่มั่นคงจึงจัดให้มีวัดขึ้นบริเวณแถวน้ำ
(ถนนภูเก็ต) เป็นห้องแถวไม้ บริเวณร้านปืนสุทินในปัจจุบัน
ต่อมาชาวอินเดียเหล่านี้ได้ร่วมกันบริจาคเงินในการสร้างวัดแห่งใหม่ที่มี
บริเวณกว้างขวางกว่าเดิม ประกอบกับนายจินนาย่า เจ๊ะตี
ประกอบอาชีพให้เงินกู้และรับซื้อเศษเหล็ก ซึ่งมีฐานะดี
เป็นผู้ที่ชาวอินเดียในภูเก็ตให้ความไว้วางใจ ได้นำเงินมาฝากนายจินนาย่า
เจ๊ะตี เพราะสมัยนั้นธนาคารยังไม่แพร่หลาย มีเฉพาะที่ชาร์เตอร์แบงค์เพียงแห่งเดียว
เงินจำนวนมากที่นายจินนาย่า เจ๊ะตี ได้รับฝากไว้ส่วนหนึ่งรวมกับเงินบริจาคซื้อที่ดินบริเวณถนนสุทัศน์
ซึ่งเป็นที่ดินที่สร้างวัดอินเดีย ตันดายูดาปานีในปัจจุบัน
ชาวอินเดียในภูเก็ตนับถือพระพิฆเนศวร์ พระขันฑกุมาร พระลักษมี
การประกอบพิธีทางศาสนาที่สำคัญ คือวันประสูตรของเทพทั้ง
3 พระองค์ และพิธีทำบุญให้กับผู้ตาย ซี่งชาวฮินดูเรียกว่า
วันเดือนสิบอินเดีย ประธานมูลนิธิในปัจจุบัน คือ นายเอ็ม
วี ลู เป็นผู้นำในการสวดมนต์ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และอุปการะวัดอินเดียแห่งนี้
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก Phuketindex.com) |
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระพิฆเนศวร์
พระขันทกุมาร พระลักษมี และรูปภาพเทพพระองค์อื่นๆ |
ตั้งอยู่ที่ : วัดอินเดีย ถนนสุทัศน์
ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต |
เวลาเปิด : ทุกวัน |
................................................................................................................................................... |
|
ภาพโดย : www.thai-tour.com |
ชื่อสถานที่ : หอพระอิศวร / หอพระนารายณ์
อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช |
ข้อมูลสถานที่ : ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน
ตำบลในเมือง อำเภอเมือง ตรงข้ามหอพระนารายณ์ หอพระอิศวรเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพพระอิศวร
อันเป็นเทพองค์หนึ่งของพราหมณ์ ใช้เป็นเทวสถานสำหรับประกอบพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยา แต่ของเดิมชำรุดไปหมดแล้วอาคารที่ปรากฏทุกวันนี้
เป็นอาคารที่กรมศิลปากรบูรณะขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2509 ทางด้านเหนือของหอพระอิศวรเป็นวัดเสมาเมือง
ทางด้านใต้เป็นเสาชิงช้า ซึ่งสร้างขึ้นใหม่แทนของเก่าซึ่งใช้ในพิธียัมปวาย
และตรีปวาย ของพราหมณ์ เมืองนครศรีธรรมราช โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าในกรุงเทพฯ
แต่มีขนาดเล็กกว่า และ เพิ่งเลิกไปเมื่อ พ.ศ. 2468 เดิมหอพระอิศวรเป็นที่ประดิษฐานเทวรูป
พระอิศวรหลายองค์ เป็นปางหรือภาคต่างๆ กัน ซึ่งเป็นเทพสูงสุดตามความเชื่อของพราหณ์ลัทธิไศวนิกาย
แต่เดิมใกล้ๆ กับเสาชิงช้า มีโบสถ์พราหมณ์อยู่หลังหนึ่ง
แต่ปัจจุบันผุพังลงจนไม่เหลือซากแล้ว ภายในบริเวณโบสถ์เป็นแหล่งที่พบชิ้นส่วนเทวรูปที่หล่อด้วยสำริดอายุระหว่าง
พุทธศตวรรษที่ 18 - 25 หลายองค์ด้วยกัน อาทิ พระพิฆเนศวร
พระศิวะนาฏราช พระอุมา และรูปหงส์ นับว่าเก่าแก่มีค่ายิ่งนัก
ซี่งต่อมาได้ย้ายมาไว้ในหอพระอิศวรชั่วคราว และจากนั้นทางพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเกรงว่าจะสูญหายไป
จึงได้ย้ายมาเก็บรักษาไว้ในห้องจัดแสดงของทางพิพิธภัณฑ์
โดยหล่อรูปจำลองไว้แทนที่ในหอพระอิศวร
โบราณวัตถุที่ตั้งแสดงอยู่ในหอพระนารายณ์ขณะนี้คือ เทวรูปปูนปั้นลักษณะคล้ายพระพุทธรูปทรงเครื่อง
พระกรสองข้างหักหายไปประดิษฐานอยู่แทน ทั้งหอพระอิศวรและหอพระนารายณ์สันนิษฐานว่า
สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 13-14 (สมัยศรีวิชัย) แต่ทรงที่เห็นในปัจจุบันไม่เหมือนของเดิม
เพราะได้รับการบูรณะมาหลายครั้ง
ในทุกวันที่ 14 เมษายน เทศกาลสงกรานต์ของทุกปี จะมีการจัดพิธีบวงสรวงบูชาพระอิศวร
มีการแห่นางกระดานและิพิธีกรรมต่างๆที่คล้ายกับเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ที่กรุงเทพ
การแห่นางกระดานและการโล้ชิงช้าเป็นพิธีส่งพระอิศวร พระนารายณ์และพระพรหม
กลับขึ้นสู่วิมานบนสรวงสวรรค์ ซึ่งประชาชนผู้ศรัทธาสามารถแต่งชุดขาวและเข้าร่วมในพิธีต่างๆได้ตลอดทั้งวัน
(ขอบคุณข้อมูลจาก www.thai-tour.com)
|
เทวรูปที่ประดิษฐาน : พระนารายณ์
(ในหอพระนารายณ์) สลักจากหินทรายสีเทาทรงหมวกรูปกระบอกปลายสอบและพระหัตถ์ขวาทรงสังข์
และเทวรูปพระนารายณ์ พระลักษมี ขนาดเล็กๆ ตั้งอยู่บนแท่นบูชา
พระอิศวร (ในหอพระอิศวร)
และเทวรูปพระอิศวร พระอุมา ขนาดเล็กตั้งอยู่บนแท่นบูชา |
ตั้งอยู่ที่ : ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง
อำเภอเมือง จ.นครศรีธรรมราช |
เวลาเปิด : ทุกวัน |
................................................................................................................................................... |
|
อัพเดตสถานที่ล่าสุด
คลิกที่นี่ |
ยังขาดรูปภาพอีกเยอะครับ
ท่านที่ต้องการแนะนำศาลพระพิฆเนศหรือองค์เทพแห่งอื่นๆ
เพื่อเป็นวิทยาทานกับผู้ศรัทธาทั่วไป
สามารถส่งภาพถ่ายสถานที่พร้อมข้อมูลมาได้ตามอีเมล์นี้ครับ
siamganesh@gmail.com |
ลิขสิทธิ์ภาพถ่ายเป็นของช่างภาพผู้ถ่ายภาพนั้นๆ การนำไปใช้ทางการค้ากรุณาติดต่อไปยังช่างภาพตามชื่อที่ปรากฎ
การนำรูปภาพในหน้านี้ไปใช้ที่อื่นกรุณาอ้างอิงหรือขอบคุณเว็บไซต์สยามคเณศ
พร้อมทั้งระบุชื่อช่างภาพ
และทำลิงก์กลับมาที่ http://www.siamganesh.com
ด้วยครับ
|
---------------- อ่านเรื่องเทพเจ้าเพิ่มเติม
---------------- หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ) ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ , พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ , ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี , พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
, พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
, พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร , หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
, ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
-------------- สถานที่
ศาล เทวาลัย เพื่อการกราบไหว้ขอพร --------------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
----------------- เทศกาล
งานสำคัญต่างๆ -----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์
วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี
เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า
]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
[ เรื่องร่างทรง
]
เรื่องร่างทรง
1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง
มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
2 - คนมีองค์
กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง
ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า
หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
4 - การรับขันธ์
อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์
คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
5 - ตอบคำถามร่างทรง
(รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า
องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
6 -
ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
7 -
รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)
[ พระศิวะมหาเทพ
]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์
แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช
พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด
, นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ
(พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร
,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู
พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|
|
|
|