ศาสดา
และ ผู้เขียนตำรา และ ผู้ก่อตั้งลัทธิต่างๆ
ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูไม่มีศาสดาจริงจังเหมือนศาสนาอื่นๆ
เพราะคำสอนต่างๆ กลุ่มพราหมณ์หรือพระฤๅษีผู้ศักดิ์สิทธิ์
ได้ยินหรือฟังจากเสียงทิพย์หรือเสียงสวรรค์ (ศรุติ) ด้วยตนเอง
แล้วมีการจดจำไว้หรือถ่ายทอดต่อกันทางความทรงจำ (สมฤติ)
ต่อมามีหัวหน้าลัทธิหรือผู้แต่งตำราทำให้คำสอนแพร่หลายยั่งยืนมาจนปัจจุบันนี้
ฉะนั้นในที่นี้ใคร่ขอรวบรวมสรุป กล่าวถึงผู้แต่งตำราหรือหัวหน้าลัทธิแทนชื่อประวัติของศาสดา
1. ฤาษีวยาสะ หรือ วยาส ท่านผู้นี้ตามตำนานใน
คัมภีร์วิษณุปุราณะ เล่ม 3 กล่าวไว้ว่าเป็นผู้รวบรวมเรียบเรียง
คัมภีร์พระเวท, คัมภีย์อิติหาสะ, คัมภีร์อุปราณะ
และ มหากาพย์มหาภารตะ เป็นอันรวมความได้อย่างหนึ่งว่า
ท่านวยาสะผู้เป็นฤาษี คนสำคัญมีส่วนแต่งหรือรวบรวมเรียบเรียงคัมภีร์ของศาสนาฮินดูไว้มากที่สุด
ท่านผู้นี้ในตำนานกล่าวว่ามิใช่ฤๅษีธรรมดา แต่เป็น เทพฤาษี
(Divine sage) ไม่ปรากฏเดือนปีที่เกิดแน่นอนเพราะเป็นอดีตหลายพันปี
2. วาลมีกิ เป็นชื่อของพระฤๅษีผู้แต่ง
มหากาพย์รามายณะ สันนิษฐานว่าประมาณปลายศตวรรษที่
4 และต้นศตวรรษที่ 3 ก่อน คริสต์ศักราช
3. โคตมะ หรือ เคาตมะ
ผู้ก่อตั้ง ลัทธินยายะ สันนิษฐานว่าเกิดประมาณ
550 ปี ก่อน ค.ศ.
4. กณาทะ ผู้ก่อตั้ง ลัทธิไวเศษิกะ
สันนิษฐานว่าเกิดประมาณศตวรรษที่ 3 ก่อน ค.ศ.
5. กปิละ ผู้ก่อตั้ง ลัทธิสางขยะ
สันนิษฐานว่าเกิดในสมัยศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ.
6. ปตัญชลี ผู้ก่อตั้ง ลัทธิโยคะ
สันนิษฐานว่าเกิดในสมัยศตวรรษที่ 3 หรือ 4 ก่อน ค.ศ.
7. ไชมินิ ผู้ก่อตั้ง ลัทธิมีมางสา
หรือ ปูรวมีมางสา สันนิษฐานว่าเกิดระหว่างศตวรรษที่
6 ถึงศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ.
8. พาทรายณะ ผู้ตั้ง ลิทธิเวทานตะ
หรือ อุตตรมีมางสา มีผู้กล่าวว่าเป็นครเดียวกับ
วยาสะ และเกิดระหว่างศตวรรษที่ 6 ถึงศตวรรษที่
2 ก่อน ค.ศ. บางท่านก็สันนิษฐานว่าเกิดระหว่างศตวรรษที่
5 ถึงศตวรรษที่ 2 ก่อน ค.ศ.
9. มนู ผู้แต่ง คัมภีร์ธรรมศาสตร์
สันนิษฐานว่าเกิดในสมัยศตวรรษที่ 5 ก่อน ค.ศ.
10. จารวากะ ผู้ให้กำเนิด ลัทธิโลกายตะ
หรือ วัตถุนิยม ไม่มีประวัติแน่นอน มีแต่นิยายใน
คัมภีร์มหาภารตะ ว่าเป็น รากษส
ปลอมเป็นพราหมณ์ไปแสดงลัทธินี้แล้วถูกฆ่าตาย ฉะนั้นจะว่าเป็นศาสดาก็ไม่ถนัดนักเพราะถูกกล่าวถึงในทาง
เป็นผู้ร้ายมากกว่า
11. สังกราจารย์ ผู้แต่งอรรถกถาหรือคำอธิบาย
ลัทธิเวทานตะ สันนิษฐานว่าเกิดระหว่าง
ค.ศ. 788 ถึง ค.ศ. 820 แต่ เรื่องเล่ากล่าวกับสืบมาว่า
ท่านผู้นี้เกิดในสมัย 200 ปี ก่อน ค.ศ. ซึ่งนับว่าห่างไกลกันมากท่าผู้นี้แต่งหนังสือไว้มากเรื่อง
ด้วยกัน และถือกันว่าเป็นผู้ตั้งลัทธิ อัทไวตะ
หรือ เอกนิยม คือ นับถือพระเจ้าองค์เดียวขึ้น
12. นาถมุนี (ค.ศ.824-ค.ศ.924) ถือกันว่าเป็นผู้นำคนแรกของ
ลัทธิไวษณวะ
13. รามานุชาจารย์ (เกิด ค.ศ.1027 สิ้นชีพ
ค.ศ.1137) ถือกันว่าเป็นคนสำคัญยิ่งของ ลัทธิไวษณวะ
และเจ้าของ ปรัชญาวิศิษฏาทไวตะ (เอกนิยมแบบพิเศษ)
อันสืบเนื่องมาจาก ลัทธิเวทานตะ
14. มัธวาจารย์ (ค.ศ.1199-ค.ศ.1277)
เป็นผู้นำท่านหนึ่งแห่ง ลัทธิไวษณะ และเจ้าของ
ปรัชญาทไวตะ หรือ ทวินิยม อันสืบเนื่องมาจาก
ลัทธิเวทานตะ
15. ลกุลีสะ (สมัยของท่านผู้นี้ยังไม่แน่)
เป็นอาจารย์ใหญ่แห่งนิกาย ไศวะฝ่ายใต้ ผู้ตั้ง
นิกายปศุปตะ
16. วสุคุปตะ (ประมาณศตวรรษที่ 9 แห่ง
ค.ศ.) เป็นผู้ก่อตั้งลัทธิ ไศวะฝ่ายเหนือ
หรือที่เรียกว่า กาษมีรไศวะ
17. รามโมหันรอย (ค.ศ.1774-1833) เป็นผู้ก่อตั้ง
พรหมสมาช
18. สวามีทยานันทะสรัสวดี (ค.ศ.1824-1883)
เป็นผู้ก่อตั้ง อารยสมาช
19. รามกฤษณะ (ค.ศ.1836-1886) เป็นผู้นำทางความรู้และการปฏิบัติเป็นต้นเหตุให้มีขยวนการรามกฤษณะมิชชั่น
แม้ท่านจะมิได้ตั้งขึ้นเอง แต่สวามีวิเวกานันทะก็ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องอนุสรณ์ถึงท่าน
|