พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ

"พระราม"
มหาเทพผู้ทรงความกล้าหาญ ยุติธรรม
จากมหากาพย์เรื่องรามายณะ
ขอขอบพระคุณ : หนังสือย้อนรอยชมพูทวีป / สำนักพิมพ์ คุ้มคำ / สมคมแดง สมปวงพร


พระราม พระลักษณ์ พระนางสีดา หนุมาน
จากมหากาพย์รามายณะ หรือ รามเกียรติ์
พระพรหมเอราวัณ รูปบูชาพระพรหม มหาเทพผู้สร้างโลก ผู้สร้างมนุษย์และสรรพชีวิต
พระราม จากเรื่อง รามเกียรติ์
ซึ่งดัดแปลงมาจากมหากาพย์รามายณะของอินเดีย


พระราม เสด็จกลับมายังเมืองอันเป็นที่รัก
หลังได้รับชัยชนะจากการปราบทศกัณฐ์


รามาวตาร
หรือ รามจันทราวตาร หรือ พระราม จากมหากาพย์ รามายณะ ชาวไทยรู้จักกันในชื่อเรื่อง รามเกียรติ์

อวตารครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อกำจัด ท้าวราพณ์ หรือ ทศกัณฐ์ กษัตริย์แห่งกรุงลงกา ซึ่งมี ๑๐ เศียร อสูร ท้าวราพณ์บำเพ็ญตบะเช่นเดียวกับ เหรันตยักษ์ และ เหรัณยกศิปุ ที่บำเพ็ญตบะก็เพื่อความอมตะ เมื่อพบความเป็นอมตะ และประจบประแจง พระศิวะ จนท่านเมตตา มันก็เริ่มประหัตประหารเทพเจ้าและมนุษย์ พระวิษณุ จึงอวตารลงมาเป็นโอรสองค์โตของมหากษัตริย์ ทศรถ แห่งกรุงอโยธยา ซึ่งจัดพิธีบูชายัญม้าเป็นประจำ ทรงพระนามว่า พระราม มีพระอนุชาต่างมาดาคือ พระภรต พระลักษมณ์ และ พระศัตรุต กล่าวกันว่าพระอนุชาของพระองค์ทรงแบ่งรูปลักษณ์มาจากพระวิษณุด้วย

พระราม และ พระลักษณ์ ทรงสนิทสนมกันมาก และได้ฆ่าอสูรที่ฆ่าพราหมณ์ไปเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งขณะทรงพระเยาว์ ทั้งสองพระองค์ได้ยินข่าวว่า นางสีดา ธิดาแสนสวยของ กษัตริย์ชนก จะอภิเศกกับผู้ที่สามารถโก่งคันศรของพระศิวะได้ พระรามโก่งคันศรได้ และได้อภิเษกกับนางสีดา ซึ่งก็คือ พระลักษมี อวตารลงมานั่นเอง หลังจากทรงอภิเษกได้ไม่นาน พระทศรถก็สละราชสมบัติ และได้ประกาศนามของผู้ที่จะมารับตำแหน่งใหม่ ในเวลาเดียวกันขณะที่พระภรตไม่อยู่นั้น บริวารของ พระมเหสีไกยเกษี (Kaikeyi) ผู้เป็นพระมารดาของภรต ก็กล่าวให้ร้ายพระราม ทำให้พระนางไม่พอพระทัยพระราม ทรงเป็นที่รักใคร่มากกว่า จึงทรงยุยงและบังคับให้พระทศรถ ยอมยกราชสมบัติทั้งหมดให้ภรต ทั้งยังเนรเทศพระรามออกไปอยู่ป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี โดยมีนางสีดา และพระลักษณ์คอยติดตามพระรามไปด้วย ประชาชนและภรตต่างเศร้าโศกกับการจากไปของพระรามมาก จนพระทศรถ ทรงเสด็จสวรรคตในอีก ๑ สัปดาห์ต่อมา


พระราม มหาเทพผู้เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญชาญชัย


ภาพจาก Wikipedia


ภาพเขียนตอนกำเนิดพระราม

ศิลปะภาพเขียนรูปพระพรหมผู้สร้างโลก
ทศกัณฐ์ หรือ อสูรราพณ์ ศัตรูของพระราม


พระราม และ พระหนุมาน
พระหนุมาน คือ สมุนเอกแห่งพระราม
เป็นมือขวาที่คอยช่วยเหลือ
ร่วมสู้รบกับพระรามด้วยความซื่อสัตย์ภักดี
หนุมาน จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความจงรักภักดีต่อเจ้านาย

เมื่อ พระภรต ทรงเสด็จกลับมาและทราบข่าว พระองค์ทรงพิโรธพระมารดามาก ทรงเสด็จออกตามหาพระรามเพื่อเชิญเสด็จกลับวัง แต่พระรามไม่ทรงกลับ พระภรตจึงเสด็จกลับเมืองอโยธยา และครองราชสมบัติแทน โดยมี พระบาท ของพระรามอยู่บนราชบัลลังก์ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงกษัตริย์ที่มีสิทธิ์อันชอบธรรม

ในช่วงที่อยู่ในป่านางยักษี ผู้เป็นขนิษฐาของท้าวราพณ์ได้หลงรักพระราม แต่พระรามทรงอภิเษกแล้ว จึงให้นางไปสนพระทัยพระลักษมณ์ซึ่งยังไม่อภิเษกดีกว่า แต่พระลักษมณ์ก็ผลักไสนาง นางจึงสงสัยว่าพระลักษณ์คงแอบหลงรักนางสีดาอยู่ นางยักษีจึงทำร้ายนางสีดา และพยายามจะกินนางสีดา แต่พระลักษมณ์มาช่วยไว้ได้ทัน โดยทรงตัดจมูก หู และอกของนางยักษี

นางจึงส่งอนุชาพร้อมกองทัพยักษี ๑๔,๐๐๐ ตนมาล้างแค้น แต่พระรามก็เอาชนะได้ นางจึงไปยุยงให้ท้าวราพณ์ว่านางสีดางดงามมาก และเหมาะสมกับท้าวราพณ์ ท้าวราพณ์จึงลักพาตัวนางไปโดยส่งกวางไปล่อ นางสีดาอยากได้กวาง พระราม พระลักษณ์จึงออกไปจับกวาง จากนั้นท้าวราพณ์ในรูปของฤาษีก็จับนางขึ้นรถ เหาะไปยังกรุงลงการะหว่างทาง นกชฎายุ หรือร่างอวตารของ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ได้ต่อสู้กับอสูรราพณ์แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ ชฎายุจึงพาร่างจวนเจียนจะสิ้นใจกลับมาส่งข่าวแก่พระราม เมื่อมาถึงกรุงลงกา ท้าวราพณ์พยายามเกี้ยวพาราสีนางสีดา แต่นางก็ไม่ใจอ่อน ท้าวราพณ์จึงบังคับให้นางอภิเษกด้วย ถ้านางไม่ยินยอมจะฆ่าและกินนางเสีย แต่นางสีดาก็รอดมาได้ เนื่องมาจากหนึ่งในบรรดาชายาของท้าวราพณ์ ที่ถูกฉุดคร่า มาสาปแช่งว่า ท้าวราพณ์จะต้องตายถ้าฉุดคร่าหญิงอื่นอีก

พระรามทราบข่าวนางสีดาจากนกชฎายุ แล้วทำการปลงศพให้นกชฎายุ จากนั้นก็รีบตามไป ระหว่างทางพบกับ สุครีพ โอรสของพระอินทร์ ซึ่งถูก พาลี พระเชษฐาร่วมพระมารดา เนรเทศออกมาจากอาณาจักรของตน สุครีพ จึงตอบแทนความช่วยเหลือที่ช่วยรบจนได้อาณาจักรคืนมา โดยส่งกองทัพลิงและหมีไปช่วยพระรามและพระลักษณ์ ซึ่งมีหนุมานโอรสของพระวายุเป็นแม่ทัพเดินทางไปกรุงลงกา



หนุมานเหาะข้ามทะเล และลอบเข้ากรุงลงกาเพื่อสอดแนม ขณะนั้นนางสีดา นั้งอยู่ในสวนแต่เพียงลำพัง หนุมานได้แสดงแหวนจารึกพระนามของพระรามเป็นหลักฐาน และบอกแผนการแก่นาง แต่ด้วยความลิงโลดที่ลอบเข้ามาได้ หนุมานก็ดึงต้นไม้ในสวนเล่น ทำให้ถูกจับได้ และถูกส่งไปให้ท้าวราพณ์ ยักษาสั่งให้เผาหางหนุมานโดยผ้าชุบน้ำมันผูกที่หาง แต่หนุมานใช้จังหวะที่ถูกเผาหางอยู่นี้ กระโดดหนีออกมาได้ และไฟจากหางนี่เองทำให้เกิดไฟไหม้กรุงลงกา


ศึกรามายณะของอินเดีย หรือ รามเกียรติ์ของไทย ศิลปะในวัดพระแก้วมรกต / ภาพจาก Wikipedia

หนุมานกลับมาส่งข่าวต่อพระรามว่า ท้าวราพณ์มีป้อมปราการที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสร้างโดยพระวิศวกรรมให้แก่กุเวร เจ้าแห่งความมั่นคง เมืองมีอาณาเขตกว้างขวางส่วนมากสร้างด้วยทอง ล้อมรอบด้วยคูเมืองกว้างและกำแพงนี้สร้างด้วยหินและโลหะ ซึ่งมาจากยอดเขาพระสุเมรุ ในระหว่างที่หนุมานเข้าไปในกรุงลงกา พลพรรคของพระรามได้ช่วยกันสร้างสะพานกัน และแล้วเสร็จเมื่อหนุมานกลับมา แม้จะมีอสูรจากใต้ทะเลมาก่อกวนก็ตาม หัวหน้าช่างที่สร้างสะพานคือหัวหน้าลิงชื่อ นล โอรสของพระวิศวกรรม ซึ่งมีพลังทำให้ก้อนหินลอยบนน้ำได้ บางครั้งสะพานนี้ได้รับการเรียกว่า นลเสตุ (สะพานของนล) แต่ปกติจะมีชื่อว่า สะพานของพระราม

เมื่อพระรามและกองทัพข้ามไปได้ ศึกครั้งยิ่งใหญ่ก็เริ่มตรงทางเข้าเมือง พระลักษณ์ถูกโอรสของท้าวราพณ์นามว่า อินทรชิต ทำร้าย แต่หนุมาน ก็ใช้สมุนไพรที่หาได้บน เทือกเขาหิมาลัย มารักษา ในระหว่างนั้นพระอนุชาของท้าวราพณ์ได้กินลิงเป็นร้อยตัวเข้าไป แต่ในที่สุดแล้ว พวกยักษ์ ก็ถูกฆ่าจนหมด การต่อสู้ของพระราม และอสูรราพณ์ก็จบลง โดยในครั้งแรกพระราม ยิงศรใส่ท้าวราพณ์ แต่ยิงไม่เข้า พระรามจึงใช้อาวุธวิเศษที่ได้รับจากฤาษีอกัสยตะ ซึ่งเป็นนักพรตที่มีชื่อเสียงและเป็นศัตรูของพวกยักษ์ กล่าวกันว่าอาวุธนี้เป็นแหล่งรวมพลังของบรรดาเทพเจ้าไว้ และรู้จักกันดีในฐานะเป็นอาวุธของพระพรหม ขว้างออกไปตัดอกของท้าวราพณ์ เหล่าเทวดาพากันโปรยมาลัยดอกไม้ลงมาอวยพรในชัยชนะของพระราม และกองทัพลิงที่เสียชีวิตก็กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง


แม้พระรามจะพบนางสีดาอีกครั้ง แต่พระองค์ก็เย็นชากับนาง เนื่องจากพระรามไม่ทรงเชื่อว่านางสีดา จะยังคงภักดีกับพระองค์อยู่ นางสีดาจึงลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจของนาง เมื่อนางลุยไฟ ท้องฟ้าได้ประกาศว่านางบริสุทธิ์ และพระอัคนีเทพแห่งไฟ ได้นำนางไปประทับต่อเบื้องพระพักตร์ของพระราม ซึ่งยอมรับในตัวนางแล้ว จริงๆแล้วพระรามไม่เคยสงสัยในตัวนาง เพียงแต่ประสงค์จะให้นางทดสอบต่อหน้าธารกำนัลเท่านั้น

ขอขอบพระคุณ : ย้อนรอยชมพูทวีป
สำนักพิมพ์ คุ้มคำ / สมคมแดง สมปวงพร


พระราม และ พระนางสีดา



wikipedia




พระราม พระนางสีดา ในวัดเทพมณเฑียร


พระราม พระนางสีดา ในวัดเทพมณเฑียร


หนุมานเป็นอวตารแห่งพระศิวะ เพื่อมาช่วยพระวิษณุในมหากาพย์เรื่องนี้ / ภาพจากวัดวิษณุ


หนุมานเป็นอวตารแห่งพระศิวะ เพื่อมาช่วยพระวิษณุในมหากาพย์รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ / ภาพจาก BBC


พระราม และ หนุมาน


พระวิษณุ และ พระแม่ลักษมี
ผู้อวตารเป็น พระราม และ พระแม่สีดา ในเรื่องรามเกียรติ์


เทวรูปพระราม ในวัดวิษณุ ยานนาวา


จากซ้ายไปขวา หนุมาน (คุกเข่า) พระลักษณ์ พระราม พระนางสีดา
ภาพจาก Wikipedia


พระลักษณ์ พระราม


พระราม และ พระนางสีดา
ภาพจาก dollsofindia.com


พระราม และรูป "แมนดาลา" หรือแผนผังจักรวาลอยู่ด้านหลัง
ภาพจาก Mandalas.com


พระราม ภาพนี้ดูอ่อนโยนกว่าภาพอื่นๆ
ภาพจาก dollsofindia.com

ศรีราม..ขัตติยะราชันย์แห่งรามายณะ
บทความจาก - วารสาร ศรีมณเฑียร ทรรศน์ / สมาคมฮินดูสมาช

ทศรถ นนฺทนฺ ชนก กิโศริ-สีตาราม มโนหาร โชริ

พระนางสีดาธิดาของพระเจ้าชนก และพระราม โอรสของพระเจ้าทศรถ คู่ครองนี้ พร้อมด้วยธรรมงดงามอันประหลาดของคู่ครอง ดึงดูดให้ความร่าเริงเบิกบานเกิดขึ้นแก่ผู้ภักดีของพระองค์ บุคคลผู้ระลึกนึกถึง คู่ครองคู่นี้ กับด้วยใจที่เป็นสมาธิ เขาย่อมเข้าถึงความสงบอันสูงสุดอย่างแน่นอน การที่จะทำให้ความปรารถนาของผู้ภักดีอันเป็นที่รักของพระองค์สำเร็จ บริบูรณ์ พระองค์เป็นเหมือนโคกัมเธนุ และต้นไม้กัลปะ พระองค์ทรงอวตารลงมาเพื่อสถาปนากฎเกณฑ์แห่งธรรมะ พระรามโอรสของพระเจ้าทศรถไม่ใช่บุคคลธรรมดาสามัญ แต่เป็นพระเป็นเจ้าผู้หาที่สุดมิได้และสูงสุด คัมภีร์พระเวทและอุปนิษัทก็รับรองความจริงอันนี้

ราม เอว ปรมฺพรหม ราม เอว ปรมฺ ตปห

ราม เอว ปรมฺ ตตฺวมฺ ศรี ราโม พรหมตรก มฺ

ความหมายก็คือว่า พระรามเป็นพระเจ้าเจ้าผู้สูงสุด พระรามคือความภักดี ศรี รามเป็นสิ่งสูงสุด และศรีรามผู้ช่วยให้พ้นภัย พระองค์ปรากฏครั้งแรกในรูปแบบของพระวิษณุ และพระวิษณุองค์เดียวกันนี้ ปรากฏเป็นโอรสของพระเจ้าทศรถที่เป็นพระราม ข้อความต่อไปนี้ ย่อมพิสูจน์ให้เห็นถึงข้อความข้างต้น

วิษณุริธ ปรมฺสย วิทวาน ชาโต วริหนฺนภิยติ ตริติยมฺ (ฤทเวท 10/1/3)

ความหมายก็คือว่า พระวิษณุ ภัควันผู้สูงสุด ปรากฏในรูปของพระรามอวตารผู้ซึ่งแม้เป็นพระเป็นเจ้า ก็ยังทรงลงมาปรากฏในรูปแบบของมนุษย์

ปรมฺ ปุรโศ ราโม ทศรถิ พิรภูว

ความหมายก็คือว่า พระวิษณุภัควัน พระองค์ทรงปรากฏเป็นโอรสของพระเจ้าทศรถพระนามว่าราม

อิน เก นาม อเนก อชุป มอิ นริป เกหว สวมฺติ อนุรูป

โช อนนฺท สินฺธุ สุข ราสิ สีกรเต ตริโลก สุปโส

โส สุขธมฺ นาม อภิราม อขิล โลก ทายก วิศราม

คุณสมบัติทั้งหมดเหล่านี้ สามารถจะนำเข้าไปเพิ่มเติม ต่อนามของพระเป็นเจ้าเท่านั้น แต่ไม่สามารถจะนำไปเพิ่มเติม ต่อคนธรรมดาสามัญได้ พระเป็นเจ้าทรงปรากฏพระองค์อยู่ทุกหนทุกแห่ง และคำว่า ราม แสดงถึงการปรากฏพระองค์อยู่ทุกหนทุกแห่ง

รามนฺเต สรว ภสูเตศุ สถาว จเรศุจ

อนฺตรตมฺ สวรูเปน ยจฺ ราเมติกถาเต

ความหมายก็คือว่า พระองค์ผู้ซึ่งปรากฏอยู่ในมนุษย์ทุกคน ทรงเป็นอยู่หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เราเรียกว่าราม พระรามทรงอุบัติมาในฐานะ เป็นอวตารปางหนึ่ง ทรงสถาปนาธรรมะของมนุษย์ขึ้น (ศาสนา) อุปนิสัยอันแท้จริงของพระองค์ ทำให้รู้แจ้งลักษณะทุกลักษณะของชีวิต ปัญหาทุกอย่างสามารถจะแก้ไขได้โดยการศึกษาลักษณะนิสัยและหลักการดำรงชีวิต ของพระองค์ ปัญหานั้นอาจจะเป็นเรื่องส่วนตัว ส่วนครอบครัว หรือสังคม หรือทางการเมือง

ตามหลักการวัฒนธรรมของอินเดีย ทฤษฎีทุกอย่างจะมีค่าก็ต่อเมื่อทฤษฎีนั้นสามารถนำมาใช้ในภาคปฏิบัติได้ ฉะนั้น พระรามผู้ช่วยให้วัฒนธรรมปลอดภัย ได้แสดงถึงวัฒนธรรมอินเดียที่แท้จริงอย่างถูกต้องจากเยาว์วัยจนกระทั่งถึง พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครอง ตามพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์กล่าวว่า เด็กผู้ชายผู้สัมผัสเท้าของบิดามารดา และครูอาจารย์ในตอนเช้าตรู่ จะได้รับพรอันประเสริฐมีอายุ, วรรณะ, สุขะ,พลังที่ดี พระรามภัควันทรงเริ่มวันของพระองค์โดยการสัมผัสบาทของพระบิดามารดา และอาจารย์ของพระองค์ด้วยเหมือนกัน

ปรตกาล อุถิเก รฆุนาถ มาตา ปิต คุรุ นวนฺหิ มถ

ตัวอย่างแห่งความภักดีของพระองค์ ที่มีต่อมารดาบิดา เป็นเอกภาพมากซึ่งทั่วโลก ไม่มีตัวอย่างเช่นนั้นอื่นใด ที่เราสามารถจะค้นหาได้ พระแม่เลี้ยงของพระองค์ไกเกยี บังคับบิดาของพระองค์ว่า ควรจะส่งพระรามไปอยู่ป่า แทนที่จะมอบพระราชอาณาจักรให้แก่พระองค์ พระองค์ทรงตรัสตอบด้วยความยินดี และกล้าหาญว่า

อหหิ วจนทุ ราชาห ปเตยมฺปิ ปาวเก

ภกฺศเยยมฺ วิศนฺตี ขยนมฺ ปตฺเยมฺปิ จรณไว

ความหมายก็คือว่า เฮ พระมารดา ข้าพเจ้าสามารถที่จะเชื่อฟังคำสั่งของพระบิดาของข้าพเจ้า ถ้าพระองค์ขอให้ข้าพเจ้า กระโดดลงไปในกองเพลิง หรือรับประทานยาพิษ หรือให้กระโดดลงไปในทะเลลึกความภักดีของพระองค์ที่มีต่อพระมารดา ก็มีความสำคัญเท่า ๆ กันเหมือนกัน แม้มารดาเลี้ยงไกเกยี สั่งให้พระองค์เสด็จไปอยู่ในป่า แต่เมื่อพระมารดาทั้งหมดสามองค์ รวมทั้งพระภรต เดินทางไปเยี่ยมพระองค์ที่จิตรกูตก่อนอื่น พระองค์ทรงพบและทักทายพระแม่เลี้ยงไกเกยี แม้พระมารดาของพระองค์เองทรงประทับอยู่ ณ ที่นั้นก็ตาม

ปรถมฺ ราม เภนโต ไกกยี สรล ศุภยมฺ ภกฺติมาติ เภยี ที่อรัณยกานท์ เมื่อพระลักษณ์ ยกย่องสรรเสริญ พระภรต และกล่าวคำดูถูกเหยียดหยาม พระนางไกเกยี พระราม ตรัสขึ้นทันทีว่า

น เตสมภ มธยม ตาต คเรหิตฺวย กถายนฺชวนฺ

ตวมิขยวกู นาถสยา ภารตสยา กถมฺกุรุ

เฮ น้องชาย ท่านไม่ควรดูถูกมารดาไกเกยีของท่าน แต่ท่านควรยกย่องพระภรต ผู้ภักดี “ความ รักของพระรามอย่างพี่น้องนั้นบริสุทธิ์สะอาด เป็นบทเรียนอันยิ่งใหญ่สำหรับความรักจอมปลอมที่เห็นแก่ตัวยุคใหม่ของสมัยนี้ ที่แพร่อยู่ในหมู่พี่น้อง”

เมื่อการสถาปนาพระรามขึ้นครองราชย์ได้ประกาศออกมา ประชาชนแห่งกรุงอโยธยา มีความปลาบปลื้มปีติยินดีกันทั่วหน้า แม้แต่ต้นไม้ใบหญ้า ดูเหมือนจะมีความสุข แต่พระรามกลับเศร้าสลดลงอย่างทันทีทันใด เพราะพระองค์ทรงทอดพระเนตรไปไม่เห็นพระภรต และศัตรุธาน

ชนฺเม เอก สงฺสพฺไภ โภชนฺ สยนฺ เก ลิล กิรยี

วิมล พนส ยหู อนุชิต เอกู ปนธู วิหยี พเรหิ อภิเศกู

ตั้งแต่เราทั้งหมดสี่พี่น้องเกิดมาด้วยกัน เราเล่น รับประทานและหลับนอนด้วยกัน ข้าพเจ้ากำลังขึ้นครองราชย์ในการที่พี่น้องทั้งสองไม่อยู่พร้อมหน้ากันได้อย่างไร ตัวอย่าง อีกตัวอย่างหนึ่งของความรักและความเสน่หา ฉันพี่น้องของพระองค์ที่พอจะหาได้สำหรับเรา เมื่อเราเห็นพระรามทรงกังวล และน้ำพระเนตรตกลงมาในขณะที่พระลักษณ์ ทรงล้มลงสิ้นพระสติ หลังจากถูกศรของเมฆนาถ ในสนามรบ

ชเถ ปนฺข พินุ ขค อติโทน มนิ พินู ผนิ กริวาร การ หิน

อสฺมมฺ ชีวนฺ พนฺธุ พินโตหิ โชชาร ไตว ชิย ว โมนิ

เฮ ลักษณ์ ปราศจากเธอเสียแล้ว สภาพการณ์ของฉันก็เหมือนกับนกตัวหนึ่งที่ปราศจากขนเหมือนกับช้างที่ปราศจาก งวง หรือเหมือนงูที่ไม่มีหัว ถ้าพระเป็นเจ้าต้องการให้ฉันมีชีวิตอยู่ในสภาพเช่นนี้แล้ว ฉันย่อมไม่คิดว่าเขายังมีชีวิตอยู่ “ คุณสมบัติ ของพี่ที่แท้จริงคือให้ความเคารพนับถือ แก่พี่น้องของ พระองค์ อย่าได้ดูถูกเหยียดหยามพี่น้องที่ยากจนอื่น ๆ จงสละชีวิตของท่านเอง เพื่อประโยชน์พี่น้องของท่านเป็นต้น “ คุณสมบัติทั้งหมดเหล่า นี้ เราค้นพบได้ในพระราม ตามที่ปรากฏในคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ ภรรยาควรมีความเชื่อมั่นต่อสามีของเธอและสามีก็ควรเชื่อมั่นในภรรยาเช่นกัน นางสวรูปนัขรา แม้เธอจะแต่งตัวเธอเองอย่างสวยงามและยืนยันที่จะแต่งงานกับพระราม พระองค์ไม่ยอมรับเธอหรือไม่ฟังแม้แต่เธอพูด และลงโทษเธอโดยผ่านทางลักษณ์ จริง ๆ แล้ว หน้าที่อันแรกและสำคัญกว่าสิ่งอื่นทั้งหมดก็คือว่าในชีวิตของพระองค์มี ผู้หญิงที่สวยงามมากมาย เช่น สรวรูปนคร แต่พระองค์ก็ไม่ทรงสนพระทัย ต่อความงามของหญิงเหล่านั้น และพระองค์ทรงมั่นคงอยู่ในพระชายาของพระองค์เอง ตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งที่พระองค์ทรงสัตย์ซื่อต่อพระชายาของพระองค์ซึ่ง เราสามารถจะเห็นเป็นรูปธรรมได้ เมื่อมีข้อเสนอต่อพระองค์ให้มีการสมรสครั้งที่สองได้โดยการทำพิธีอัศวเมฆ เมื่อพระองค์จากพระนางสีดาไปครั้งที่สอง แต่พระองค์ทรงนำเอารูปที่เป็นทองคำของเธอ แทนเธอ คือเมื่อพระองค์ทรงส่งพระสีดาไปอยู่ป่า พระองค์เองก็ทรงดำรงชีวิต เหมือนดังพระองค์ประทับอยู่ในป่า แม้พระองค์จะทรงอยู่ในพระราชวังก็ตาม ลักษณะนิสัยของพระองค์นั้นประเสริฐยิ่ง

ครูผู้มีอุดมการณ์นั้น คือ ผู้ซึ่งมีเมตตากรุณาต่อศิษย์ของเขา และรู้สึกว่าเป็นหนี้บุญคุณแก่ศิษย์ที่มารับใช้เขา นั่นคือเขาจะต้องปฏิบัติต่อศิษย์ด้วยความรัก เมื่อพระหนุมาน ผู้ยิ่งใหญ่กลับมาพบพระรามหลังจากเดินทางไปค้นหาพระนางสีดา ณ เกาะลังกา พระรามทรงมีความรู้สึกรักหนุมาน และน้ำตาออกมาจากพระเนตรของพระองค์ด้วยความขอบใจ และพระองค์ตรัสว่า

ปรตี อุปการ กรุกโตรา สนฺมุก โหเย น สกตฺ มนฺโมรา

สุน สุต โตหิ อุรนไม นหิน เทขอุน กรี วิจาร มน มหิน

แม้หลังจากเอาชนะ สงครามกับทศกัณฐ์และเรา (พระราม) ไม่ได้ลืมวานรทั้งหลาย แต่พระองค์ทรงให้เกียรติวานรแต่ละท่าน และยกย่องวานรเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าฉะนั้น มันมีความสำคัญ สำหรับคนเราที่ว่า ถ้าแม้ร่ำรวย หรือได้รับการยกย่องให้อยู่ในตำแหน่งที่สูง เขาไม่ควรดูถูกดูหมิ่นคนใต้บังคับบัญชาและควรให้เกียรติแก่เขาเหล่านั้นตาม โอกาส พระรามแยกพระองค์เองออกจากพระนางสีดา เพียงเพื่อให้ประชาชนของพระองค์มีความสุข แต่ไม่ใช่เพราะเหตุผลที่เห็นแก่ตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้พระนางสีดา เป็นผู้บริสุทธิ์ และเป็นสตรีในอุดมการณ์ เรื่องราวได้เขียนเอาไว้ในรามจริตมานัสดังต่อไปนี้

สเนหมฺ ดยมฺ จ เสารวยมฺ จ อปิว ชนกิมปิ

อรธนย โลกกาสย มนฺชจโต นาสติเม วยถ

เพื่อที่จะทำให้ประชาชนมีความสบายใจ ข้าฯ ไม่รั้งรอที่จะแยกตัว ข้าฯ เองออกจากพระนางสีดาผู้บริสุทธิ์ แม้ว่าข้าฯ จะมีความทุกข์ทรมานเพียงไหนก็ตาม จริง ๆ แล้ว อันนี้เป็นหน้าที่ของพระราชาซึ่งเขาจะต้องเสียสละความสุขสบายของเขา เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนของพระองค์ พระองค์ทรงพร้อมที่จะทรงเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อรักษาธรรมะเอาไว้

พระรามได้ทรงรับที่จะเสด็จไปอยู่ป่าเป็นเวลา 14 ปี ด้วยความปิติยินดี เพื่อไม่ให้ครอบครัวบาดหมางกัน ทั้ง ๆ พระลักษณ์ได้ขอร้องพระองค์ครั้งแล้วครั้งเล่า ให้คัดค้านข้อเสนอของพระมารดาไกเกยี เพื่อที่จะรักษาสันติสุขในหมู่ประชาชนด้วย พระองค์จึงได้แยกพระองค์เองออกจากพระญาติของพระองค์ พระรามทรงทำพระองค์เองให้เป็นตัวอย่างแก่มนุษย์ เหมือนการกระทำของพระองค์เอง ครั้งนี้

ลักษณะนิสัยของพระรามนั้น แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า เด็กควรเชื่อฟัง และให้ความเคารพต่อบิดามารดาของเขา ไม่ควรอิจฉาริษยา ต่อพี่ชายน้องชาย หรือพี่สาวน้องสาว และเพื่อจะยุติการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง เขาควรเสียสละ ความสุขสบายของเขาเอง และอารมณ์ที่เห็นแก่ตัวของเขา

ร่มโพธิ์ของพระราม เปิดไว้สำหรับผู้ภักดี ที่ไปเฝ้าพระองค์ ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ และด้วยความภักดีอันสะอาดปราศจากมลทิน ในสายพระเนตรของพระรามแล้ว มันเป็นบาปอันยิ่งใหญ่ ที่จะทำร้ายโคหรือพราหมณ์ให้ได้รับความเจ็บปวดทั้งทางกายและใจ

โกติ วิปรวธ ลาคหิ ชหุ อายมฺ สรนฺ ตชวูน นหิ ตหุ

ความหมายก็คือว่า ถ้าบุคคลบางคนทำบาปอันหนักมาก โดยการฆ่าพราหณ์คนหนึ่งแต่ต่อมาภายหลัง สำนึกถึงบาปได้ และกลับมาหาข้าฯ แล้วข้าฯ จะกอดเขาไว้ในอ้อมแขนเพราะไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่เท่าพระผู้เป็นเจ้าอีกแล้ว ท่านโชคร้ายก็กลับเป็นโชคดี ดังคำกล่าวต่อไปนี้

ยควตร ลิขิตมฺ ภาเล ตนฺตมริศโย ไนว ชายเต

ศรเต ศรีราม ทศนมฺ เปรม นิรภาร เจตสมฺ

ความหมายก็คือว่า แม้จุดหมายปลายทางของบุคคลนั้นได้กำหนดเอาไว้ก่อนแล้ว ตามกรรมของเขาก็ตาม แต่พระรามผู้เปี่ยมไปด้วยความรัก ถ้าบุคคลนั้นไปหาพระองค์ด้วยความภักดีอันเต็มเปี่ยม บุคคลนั้นสามารถเปลี่ยนโชคชะตากรรมของเขาได้โดยการไปหาพระองค์ด้วยศรัทธาอัน เต็มเปี่ยม เส้นทางที่คดเคี้ยว สามารถทำให้ตรงตามที่ต้องการได้มันจะต้องเป็นศรัทธาและความภักดีที่แรงกล้ามาก

จาก - วารสาร ศรีมณเฑียร ทรรศน์ / สมาคมฮินดูสมาช


พระพิฆเนศ พระแม่อุมา พระแม่ทุรคา พระแม่กาลี
พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม
พระแม่ลักษมี พระแม่สรัสวดี
พระขันทกุมาร และเทพเจ้าองค์อื่นๆ อีกมากมาย


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.