|
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ |
วัดวิษณุ
: หนึ่งเดียวในไทยที่มีเทพครบทุกองค์!!
โดย
: ไตรเทพ ไกรงู / คมชัดลึก
และ http://vishnutemplebangkok.com |
http://vishnutemplebangkok.com
ภายในวัดวิษณุ มีความคล้ายคลึงกับวัดเทพมณเฑียร |
|
วัดวิษณุ
ตั้งอยู่เลขที่ 50 ซอยวัดปรก เขตยานนาวา กทม.
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2463 ด้วยชาวอุตตรประเทศ จากประเทศอินเดีย
เป็นวัดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
เพียงแห่งเดียวในเอเชียอาคเนย์ที่มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์สร้างด้วยหินอ่อนแกะสลักด้วยมือ
จากประเทศอินเดีย ครบ 24 องค์ |
สำหรับสถานที่ประดิษฐานของเทวรูปนั้น
ในโบสถ์ใหญ่กลาง มีรูป พระราม พระนางสีดา พระพรต
พระลักษมณ์ พระสัตรุต พระหนุมาน พระศิวลึงค์ จากแม่น้ำนรมทา
พระศาลิคราม จากแม่น้ำนารายณี หรือคัณฑกี
ด้านขวา มีรูป พระแม่ทุรคา และด้านซ้ายมีรูปเล็กๆ
พระนารายณ์ พระแม่ลักษมี พระศิวะ พระแม่ปารวตี
พระพิฆเนศวร พระกฤษณะ พระนางราธา เป็นต้น หน้าพระราม
(ติดกับเสา) ด้านขวาเป็น พระหนุมานและพระพิฆเนศ
ในบริเวณวัดวิษณุมีโบสถ์ย่อยอีก คือ โบสถ์พระแม่ทุรคา
โบสถ์พระศิวลึงค์ โบสถ์นาฏราช (อยู่ใต้ต้นโพธิ์)
และ โบสถ์พระหนุมาน นอกพระมณฑปด้านขวามีรูป
พระพุทธเจ้าปางต่างๆ และด้านซ้ายมี พระคัมภีร์พระเวท |
พระแม่ทุรกา ในโบสถ์วัดวิษณุ
|
ความโอ่อ่าอลังการของวัดวิษณุ
|
สำหรับประวัติความเป็นมานั้น สมาคมฮินดูสภา
ซึ่งเป็นสมาคมทางศาสนา ในองค์การศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2458
เมื่อศาสนิกชนชาวอุตตรประเทศ เพิ่มจำนวนมากขึ้น และสถานที่ในบริเวณวัดพระศรีมหาอุมาเทวี
(วัดแขก) ไม่สามารถขยายเพิ่มได้อีก จึงได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง
บริเวณ ซอยวัดปรก แขวงทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา
กทม. แล้วจดทะเบียนสำนักงานใหญ่ของสมาคม
หลังจากนั้น เริ่มเรี่ยไรเงินจากชาวฮินดู ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
คนละเล็กคนละน้อยเพื่อร่วมกันสร้างโบสถ์
หลังจากสร้างเสร็จแล้ว จึงได้อัญเชิญเทวรูปต่างๆ มาจากประเทศอินเดียและทำพิธีประดิษฐานเทวรูป
และพิธีเปิดเมื่อ พ.ศ.2464 ตั้งชื่อว่า สมาคมฮินดูธรรมสภา-วัดวิษณุ |
เมื่อ พ.ศ.2465 ได้สร้าง ศาลาวัดวิษณุ
ใช้ในการประชุม เพื่อประกอบศาสนกิจหลายๆประการ
สร้างสระน้ำเก็บน้ำไว้ตลอดปี เพื่ออาบและดื่มในบางโอกาส
สมัยนั้น ศาลาวิษณุเป็นโรงเรือนที่ทำด้วยไม้ และหลังคาเป็นสังกะสี
เมื่อศาสนิกชนได้เพิ่มมากขึ้น จึงได้ปรับปรุง โดยสร้างหลังใหม่ขึ้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ต่อมาได้สร้าง โบสถ์พระศิวลึงค์ โบสถ์พระแม่ทุรคา
โบสถ์พระหนุมาน ศาลาโหมกูณฑ์ ตามลำดับ เพื่อปฏิบัติกิจทางศาสนาตามจิตศรัทธาของศาสนิกชน |
|
พระวิษณุและพระแม่ลักษมี องค์ประธานภายในวัดวิษณุ
|
นอกจากนี้เมื่อ
พ.ศ.2523 ทางสมาคมฯ ได้สร้างตึกสองชั้นและได้ตั้งชื่อตึกนั้นว่า
ตึกหอสมุดอนุสรณ์แด่ศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์
เมื่อได้ย้ายหอสมุดมาอยู่ชั้นล่างภายในตึกนี้แล้ว
ก็จัดพิธีเปิดหอสมุดอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง ฯพณฯ
โกคเล เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย มาเป็นประธานพิธีเปิด
และมอบหนังสือภาษาฮินดูจำนวนหนึ่งพันเล่มให้แก่หอสมุด
ในปัจจุบันมีหนังสือประมาณ 5,000 เล่ม ซึ่งอำนวยประโยชน์แก่บรรดาสมาชิกและผู้สนใจทั่วไป
ในส่วนของกิจกรรมทางศาสนานั้น ได้จัดให้มี เมรุเผาศพชาวฮินดู
เพื่อใช้ประกอบพิธีฌาปนกิจให้แก่ศาสนิกชนชาวพราหมณ์-ฮินดู
ชาวซิกข์ และชาวนามธารี และช่วยกันพัฒนาตามความเหมาะสมให้ดีขึ้น
รวมทั้งจัดสถานที่พักอาศัยและสิ่งที่จำเป็น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แขกต่างเมืองในการนำเยี่ยมเยียนบุคคล
และสถาบันทางศาสนาและวัฒนธรรมตลอดถึงสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย
ซึ่งแขกเหล่านี้โดยปกติก็เป็นชาวอินเดียอยู่ด้วย |
พระกฤษณะและราธาเทวี อีกปางอวตารของพระวิษณุและพระแม่ลักษมี
|
ด้วยเหตุผลที่ว่าโบสถ์ของทางวัดวิษณุมีความเก่าแก่มาก
เมื่อปี พ.ศ.2535 คณะกรรมการที่ตัดสินใจสร้างโบสถ์ใหม่โดยมี
นายบรำยีต สุกุล ประธาน จึงได้ลงมือรื้อถอนและลงเสาเข็มก่อสร้างโบสถ์ใหม่
ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 9 ปี
สำหรับการวางศิลาฤกษ์ของโบสถ์ ได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธานในพิธีนี้
โบสถ์วัดวิษณุได้ก่อสร้างเสร็จในปี 2544 ซึ่งขณะนั้นมี
นายไกรลาศ ตีวารี ประธานของวัดวิษณุ
และในปีนี้คือปี 2547 ก็ได้อัญเชิญเทวรูปทั้งหมด 24 องค์
มาจากประเทศอินเดีย เพื่อประดิษฐานในโบสถ์ใหม่แห่งนี้
ซึ่งมี นายรามบีลาส ดูเบย์ ประธานคนปัจจุบันเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง
เรื่องและภาพ : ไตรเทพ ไกรงู / ขอขอบคุณ : คมชัดลึก
เพิ่มเติม : วัดวิษณุ อยู่ซอยเดียวกับวัดปรก เขตยานนาวา
สถานีรถไฟฟ้า BTS ที่ใกล้ที่สุดคือ สถานีสุรศักดิ์ / รถเมล์สายที่ผ่านได้แก่
17, 22, 62, 67, 77, 116, 149 และมีมอเตอร์ไซค์รับจ้างจากปากทางสมาคมหอการค้าไทย-จีน
เพื่อเข้าไปยังวัดวิษณุ
อ่านต่อเรื่องวัดวิษณุเพิ่มเติม
1.
พลิกปูมวัดวิษณุ
2.
นวราตรี ทุรคาบูชา ณ วัดวิษณุ ยานนาวา |
|
พระพุทธเจ้า อันถือว่าเป็นอีกปางอวตารของพระวิษณุ
(ตามคัมภีร์ของชาวฮินดู)
|
พระหนุมาน ปางอวตารของพระศิวะ
ที่เข้าช่วยเหลือพระรามในการปราบทศกัณฑ์
|
พระศิวะ พระแม่อุมาเทวี และพระพิฆเนศหินอ่อน
|
---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม
----------------
หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
,
พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
,
พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
,
ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย
เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
-
พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
-
พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ
พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
-
พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย
อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
-
รวมรูปองค์เทพ | -
รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | -
รวมความรู้การบูชาองค์เทพ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
----------------- เทศกาล
งานสำคัญต่างๆ -----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์
วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี
เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า
]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
-
สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์
| -
ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
-
ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก |
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
-
พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้
| -
พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
-
พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี
| -
อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
-
คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี
เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก
-
การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
-
บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ
| -
พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
-
พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ
| -
พญานาค การบูชาองค์พญานาค | -
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
-
รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี
การบูชาพระแม่อุมาเทวี | -
องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
-
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ
ปางของพระวิษณุ | -
องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี
-
ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ
| -
พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | -
การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
-
การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า
| -
พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
-
ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
-
พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ
| -
การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
-
เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม
พระแม่กวนอิมปางต่างๆ
[ พระศิวะมหาเทพ
]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์
แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช
พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด
, นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ
(พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร
,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู
พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|
สยามคเณศวร์,สยามคเณศว์,สยามเคณศวร์,สยามเคณศว์,สยามคเณศ,สยามเคณศ,สยามคเนศวร์,
สยามคเนศว์,สยามเคนศวร์,สยามเคนศว์,สยามคเนศ,สยามเคนศ
|
|
|