พระพิฆเณศ
อินเดีย ประเทศอินเดีย รูปพระพิฆเนศ รูปภาพ งานศิลปะ พระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ

"นิกายไศวะ / ไศวนิกาย"
ขอขอบพระคุณ : หนังสือ "ศาสนาโลก"
เขียนโดย ธนู แก้วโอภาส / สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

ไศวะนิกาย

นิกายไศวะ เกิดก่อน นิกายไวษณวะ มาก นิกายไศวะนับถือ พระศิวะ เป็นเทพเจ้าสูงสุด เทพเจ้าองค์อื่นๆ รวมทั้ง พระพรหม และ พระวิษณุ เป็นเทพชั้นรองจากพระศิวะทั้งสิ้น เชื่อว่า ญาณ (ความรู้) เป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อใน ลัทธิภักดี แต่ผู้นับถือศาสนาฮินดูนิกายไศวะบางคนสนับสนุนพิธีภักดีด้วย นิกายไศวะมีอิทธิพลอย่างมากใน อินเดียภาคใต้

โดยทั่วๆไป ชาวฮินดูที่นับถือนิกายไศวะจะนับถือพระศิวะและ พระมเหสีของพระองค์ (พระอุมา,กาลี,ทุรกา) พร้อมๆกัน ในบางโบสถ์มีพระศิวะอยู่เพียงองค์เดียว แต่ก็มีรูป พระภรวดี พระคเณศ พระการ์ติเกยา (พระขันทกุมาร) และ วัวนนทิ ประดิษฐานอยู่บนแท่นบูชาขนาดเล็กในโบสถ์เดียวกันอีกด้วย

พระศิวะ เป็นเทพเจ้าแห่งการทำลายและเป็นเทพเจ้าแห่งการสืบพันธุ์ด้วย รูปแบบในการเคารพพระศิวะที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือรูปศิวลึงค์ ซึ่งเป็นอวัยวะเพศชาย เป็นสัญลักษณ์ของการกำเนิด มีรูปศิวลึงก์ทำด้วยหินตั้งอยู่ในโบสถ์ เป็นที่เคารพสักการะ มีตำนานหลายเรื่องกล่าวถึงจุดกำเนิดของการเคารพศิวะลึงก์ มีเรื่องหนึ่งกล่าวว่า จากรูปร่างเช่นลึงก์นี้เอง องค์พระศิวะจึงปรากฎออกมาพร้อมกับพระพรหมและพระวิษณุ เทพเจ้าทั้งสามเองออกมาจากสภาพสูงสุด (คือ พรหมัน หรือ ปรมาตมัน)

อย่างไรก็ดี จากข้อความในพระเวทแสดงไว้ชัดเจนว่า การเคารพลึงค์หรือศิวลึงค์ไม่ได้มาจากชาวอารยัน ในคัมภีร์พระเวทกล่าวถึงคนที่นับถือศิวะลึงค์ไว้อย่างเยาะเย้ย แต่เวลาต่อมาคนพื้นเมืองในอนุทวีปอินเดีย (พวกดราวิเดียน) มีอิทธิพลมากพอจะทำให้ชาวอารยันที่เข้ามายึดครองหันมานับถือศิวลึงค์เป็นสัญลักษณ์ของพระศิวะ

นิกายไศวะ แบ่งออกเป็นนิกายย่อยๆ อีกหลายนิกาย เช่น นิกายตรีนันทินนิกาย ซึ่งนิกายนี้ก็แบ่งออกเป็นอีก 10 นิกาย เรียกอีกอย่างว่า นิกายทศนามี (Dasanami) ผู้นับถือนิกายนี้ทั้งหมดเป็นนักพรต ดำเนินชีวิตอยู่ในอารามหรือเดินธุดงค์เป็นกลุ่ม ศูนย์กลางนิกายนี้อยู่ที่ เมืองพาราณสี

พวก ลึงค์ยัติ คือ พวกนับถือพระศิวะ แต่เรียกลึงค์ยัติเพราะพวกนี้พกลึงค์อันเล็กๆ ไว้ด้วย นิกายนี้สถาปนาโดย ภัศรา ซึ่งเป็นพราหมณ์อยู่ที่เมือง เดคคาน ท่านผู้นี้ทำการต่อสู้กับนิกายไวษณวะ ศาสนาเชน และพระพุทธศาสนาอยู่ตลอดเวลา และเนื่องจากการกระทำเกินกว่าเหตุจึงถูกลงโทษ เขาชิงฆ่าตัวตายเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในมือศัตรู แต่นิกายที่เขาจัดตั้งขึ้นเจริญรุ่งเรืองและมีอิทธิพลมากในบริเวณเดคคาน และในบริเวณภาคใต้ของอินเดีย การปฏิบัติบำเพ็ญพรตของนิกายลึงค์ยัติ เรียกว่า ญาณคมะ (ลักษณะจรจัด) องค์ภัศราสนับสนุนการยกเลิกระบบชนชั้น แต่ยังคงมีชาวลึงค์ยัติอยู่ไม่น้อยที่สนับสนุนระบบชนชั้นวรรณะ เพราะเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นของสังคม

นิกายลิตตาร์ ของนิกายไศวะทางภาคใต้ของอินเดียเป็นนิกาย เอกเทวนิยม คัมภีร์ทางศาสนาของนิกายนี้เปรียบเทียบได้กับนิกายของ ศาสนาฮีบรูว์ ในเรื่องความเชื่อเรื่องความเป็นเอกภาพของพระเจ้าและการเกลียดเรื่องรูปบูชา บทสวดมนต์แห่งลิตตาร์เชื่อกันว่าเป็นผลงานของฤาษีในยุคโบราณเช่น ฤาษีอากาศติยะ ซึ่งเล่าลือกันว่าเป็นผู้นำเอาอารยะธรรมมาสู่อินเดียภาคใต้ แต่ความจริงแล้วเป็นผลงานของฤาษีชาวทมิฬในยุคหลังๆ เนื่องจากนิกายลิตตาร์นับถือพระเจ้าองค์เดียวและปฏิเสธเรื่องการเคารพรูปบูชา จึงเชื่อกันว่านิกายนี้จัดตั้งขึ้นในขณะที่ศาสนาอิสลามและคริสต์มีอิทธิพลแพร่หลายอยู่ในอินเดีย ถึงแม้ว่าความเชื่อเช่นนี้อาจเป็นไปได้ แต่ในศาสนาฮินดูนั้นมีเรื่องราวมากมายพอที่จะทำให้เกิดมีนิกายทางศาสนานิยมพระเจ้าองค์เดียวได้ โดยไม่ต้องรับอิทธิพลมาจากนอกประเทศอินเดียแต่อย่างใด

ในบริเวณภาคเหนือของอินเดีย นิกายไศวะกำลังเสื่อมความนิยมไป นิกายไวษณวะได้รับความนิยมมากขึ้น แม้กระทั่งในเมืองใหญ่อย่างเช่นพาราณสี ซึ่งเป็นเมืองของพระศิวะมาก่อน แต่นิกายไวษณวะกลับได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากนิกายนี้เน้นในเรื่องการบำเพ็ญพรตและการรู้จักข่มความรู้สึกของตนเอง เป็นเหตุให้นิกายไศวะทางภาคเหนือของอินเดียปะปนกันกับลัทธินักพรตมากมายหลายพวก ซึ่งจาริกแสวงหาความหลุดพ้นโดยการทรมานกาย เพื่อให้วิญญาณรวมกับปรมาตมันซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศอินเดีย การปฏิบัติเน้นหนักในเรื่อง การบำเพ็ญพรต มีการทรมานกายเพื่อให้วิญญาณออกไปรวมกับปรมาตมันซึ่งมีความรุนแรงมาก เช่น มีการใช้มีดและกริชทิ่มแทงร่างกายให้แตกสลาย มีการตัดหูของผู้บำเพ็ญพรต มีการใช้หัวกะโหลกมนุษย์เป็นภาชนะตักน้ำดื่ม มีการจ้องมองท้องฟ้าโดยไม่มีการหันหน้าไปทางอื่น มีการชูมืออยู่ตลอดเวลา นิกายทรมานตนหรือบำเพ็ญพรต บำเพ็ญตบะเช่นนี้มีมากมาย แล้วแต่จะเลือกเอารูปแบบใด เพื่อจะให้ชีวาตมันไปรวมกับปรมาตมัน

อ่านเรื่อง "พระศิวะ" เพิ่มเติมได้ที่นี่

ขอขอบพระคุณ : บทความจาก "ศาสนาโลก"
เขียนโดย ธนู แก้วโอภาส
สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกประเทศอินเดียและพระพิฆเนศ


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระคเณศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.