|
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ |
"พระราชครูวามเทพมุนี"
สืบสกุลพราหมณ์หลวง 4 แผ่นดิน
ขอขอบคุณ : โพสต์ทูเดย์
และ http://thaniyo.brinkster.net |
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีชาวอินเดียจำนวนไม่น้อยย้ายครอบครัวมาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองไทย
ในจำนวนนี้มีเพียงไม่กี่ตระกูลที่สืบวรรณะมาจากวรรณะ "พราหมณ์"
อันเป็นวรรณะสูงสุดในสังคมพราหมณ์-ฮินดู และมีทายาทสืบตระกูลดำรงตนเป็นพราหมณ์
ทำหน้าที่ติดต่อกับทวยเทพและประกอบพิธีกรรมต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
เกือบ 30 ปี ที่ พระราชครูวามเทพมุนี (ชวิน รังสิพราหมณกุล)
สืบตำแหน่ง หัวหน้าพราหมณ์
ถวายงานพระราชพิธี สังกัดกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง
ต่อจากบิดา ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่นี้สืบต่อกันมาตั้งแต่รุ่นคุณทวดผู้เป็นต้นตระกูลรังสิพราหมณกุล
(สว่าง รังสิพราหมณกุล) ในสมัยรัชกาลที่ 6 |
พระราชครูวามเทพมุนีในโบสถ์พราหมณ์
|
ต้นตระกูลฤษีสู่พราหมณ์หลวง
ในอินเดียพราหมณ์มีฐานะเป็นอาจารย์ของคนวรรณะอื่น (กษัตริย์
แพศย์ ศูทร) ทำหน้าที่ศึกษาพระเวทเพื่อให้ความรู้แก่แต่ละวรรณะได้นำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหมมันต์
ซึ่งเป็นภาวะสมบูรณ์ของพระพรหมที่หลุดพ้นจากกิเลสแล้วตามหลักศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ทั้งยังมีหน้าที่ประกอบพระราชพิธีกรรมต่างๆ ให้แก่กษัตริย์ในฐานะที่กษัตริย์เป็นผู้ปกครองที่ปฏิบัติธรรมตามรอย
พระพรหม พระอิศวร และพระนารายณ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นสมมติเทพ
และเมื่อพราหมณ์เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย
ตั้งแต่สมัยทวารวดีก็มิได้ละทิ้งหน้าที่นี้
|
ขณะทำพิธีรวมน้ำมนต์ นครฐานสูตรกรุงรัตนโกสินทร์
225 ปี
|
ต้นตระกูลของพระราชครูวามเทพมุนี
เป็นพราหมณ์ที่สืบเชื้อสายมาจากฤษีวศิษย์มุนีในประเทศอินเดีย
เดินทางเข้ามาในประเทศไทยทาง จ.พัทลุง-นครศรีธรรมราช โดยในยุคแรกเดินทางมาพร้อมพ่อค้า
เพื่อทำหน้าที่ให้ความรู้สำหรับนำจิตวิญญาณของพวกเขากลับสู่พรหมมันต์
แล้วจึงขยับเป็นที่ปรึกษาให้เจ้าครองนคร ก่อนจะสังกัดเป็นพราหมณ์หลวงในปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา
"ตระกูลของผมเป็นพราหมณ์หลวงเรื่อยมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
1 พอรัชกาลที่ 6 พระราชครูคนเก่าไม่มีทายาทผู้ชายสืบตำแหน่ง
จึงแต่งตั้งให้คุณทวดของผมเป็นหัวหน้าพราหมณ์แทน รั้งตำแหน่งพระราชครูวามเทพมุนี
และพระราชทานนามสกุลรังสิพราหมณกุลให้ใช้ จากนั้นคุณปู่
คุณพ่อ และตัวผมก็สืบทอดตำแหน่งนี้มาตลอด"
พระราชครูวามเทพมุนี เล่า
สืบวรรณะตามสายโลหิต
เมื่อบิดาซึ่งรั้งตำแหน่งพระราชครูวามเทพมุนีคนก่อนเสียชีวิตในปี
2521 ชวิน (พระราชครูวามเทพมุนี) และพี่ชาย
น้องชาย รวม 5 คน ก็เข้าพิธีบวชพร้อมกัน ตามกำหนดในสายสกุลพราหมณ์ที่ว่า
บุตรชาย (อย่างน้อย 1 คน) ในสกุลพราหมณ์จะต้องปฏิบัติต่อเทพเจ้าสืบต่อจากผู้เป็นบิดา
ต่อมาพี่ชาย 2 คน สึกออกมาทำธุรกิจ จึงเหลือพราหมณ์ตระกูลรังสิพราหมณกุล
3 คน และเมื่อพราหมณ์ชวินถึงพร้อมด้วยวัยวุฒิ 34 ปี ในปี
2530 จึงเข้ารับตำแหน่งพระราชครูสืบต่อจากผู้เป็นบิดา
"ตั้งแต่เด็กมีความรู้สึกภาคภูมิใจที่บิดาเป็นพระราชครู
ทำหน้าที่ปฏิบัติพระราชพิธีต่างๆ และบูชาเทพเจ้าเสมอ บิดาบอกว่าควรจะมีลูกชายสักคนที่เป็นพราหมณ์สืบต่อจากท่าน
ซึ่งขึ้นอยู่กับความสมัครใจของพวกเรา แต่ท่านจะให้ความใกล้ชิดกับผมมากเป็นพิเศษ
เวลาที่มีพิธีสำคัญก็จะให้ผมลาโรงเรียนเพื่อพาไปร่วมพิธีและถ่ายทอดความรู้ให้เสมอ
เพราะท่านเห็นว่าผมมีอัธยาศัยปฏิบัติและสนใจในทางนี้มากกว่าพี่น้องคนอื่น"
พระราชครูวามเทพมุนี กล่าว
|
เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ : ภาพจาก Wikipedia
|
ในการบวชเป็นพราหมณ์หลวง
จะต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง
โดยผู้บวชจะนำของมาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่
หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระ
โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ
และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม
รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้
กระนั้นก็ยังมีข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้
อาทิ ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่างๆ
ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
และห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย
เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา
สำหรับกิจประจำวันที่พราหมณ์ต้องทำ คือนมัสการพระอาทิตย์ตามเวลาเช้า
กลางวัน เย็น เพื่อเป็นการนำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหม กล่าวคือ
การไหว้พระอาทิตย์จะนำแสงสว่างให้เกิดในปัญญานำไปสู่การหลุดพ้น
และจะมีการสาธยายพระเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์หลักในศาสนาพราหมณ์
ประกอบด้วย ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า
ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายันต์และบวงสรวงต่างๆ
และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ |
ปฏิบัติต่อเทพด้วยความศรัทธา
ปัจจุบันพราหมณ์หลวงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีต่างๆ
ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
มาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์
ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง โดยงานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น
2 รูปแบบ คือ งานประจำปี ได้แก่ งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล
วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น และงานตามวาระ
อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว
เป็นต้น
หน้าที่ของพราหมณ์หลวงคือการรักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่างๆ
แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้
เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน
เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ
ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธา |
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธี
หรือที่เรียกกันว่า พราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น
7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์
ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล
เพิ่มเติม : เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกเสาชิงช้า
ทางข้างด้านขวาของ
ที่ว่าการกรุงเทพมหานคร เปิดให้ประชาชนเข้าสักการะบูชาตั้งแต่เวลา
ประมาณ 9.00 น.17.00น.
(โบสถ์พระพิฆเนศวร และสถานพระนารายณ์ จะเปิดให้เห็นข้างในได้เฉพาะวันพฤหัสบดีและวันอาทิตย์)
ขอขอบคุณ : โพสต์ทูเดย์ และ
http://thaniyo.brinkster.net
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ
|
---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม
----------------
หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
,
พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
,
พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
,
ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย
เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
-
พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
-
พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ
พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
-
พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย
อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
-
รวมรูปองค์เทพ | -
รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | -
รวมความรู้การบูชาองค์เทพ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
----------------- เทศกาล
งานสำคัญต่างๆ -----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์
วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี
เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า
]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
-
สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์
| -
ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
-
ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก |
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
-
พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้
| -
พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
-
พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี
| -
อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
-
คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี
เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก
-
การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
-
บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ
| -
พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
-
พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ
| -
พญานาค การบูชาองค์พญานาค | -
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
-
รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี
การบูชาพระแม่อุมาเทวี | -
องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
-
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ
ปางของพระวิษณุ | -
องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี
-
ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ
| -
พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | -
การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
-
การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า
| -
พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
-
ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
-
พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ
| -
การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
-
เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม
พระแม่กวนอิมปางต่างๆ
[ พระศิวะมหาเทพ
]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์
แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช
พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด
, นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ
(พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร
,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู
พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|
|
|
|