พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ

"อินเดียใต้ สี่รัฐปลายคาบสมุทร"


ขอขอบพระคุณ : หนังสือ INDIA ความเร้นลับของปฐพีชมพูทวีป
โดย : ทีมงานต่วย'ตูน / หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ

ในระยะก่อนจะถึงสมัยของพุทธศาสนานั้น แม้อาณาจักรและแคว้นต่างๆ ทั้งใหญ่น้อยในอินเดียตอนเหนือจะเต็มไปด้วยความวุ่นวาย แต่บุคคลรุ่นหลังก็ยังรู้ความเป็นมานั้นๆได้ตลอด ไม่จากตำนานก็จากพระคัมภีร์ต่างๆ หรือแม้แต่จากพุทธประวัติ

ซึ่งในขณะเดียวกัน ดินแดนทางใต้ที่ยื่นล้ำเป็นรูปสามเหลี่ยมใหญ่โตไปในคาบสมุทรอินเดียนั้น ที่เต็มไปด้วยอาณาจักรน้อยใหญ่กลับไม่มีประวัติความเป็นมาและเป็นไปให้รู้กันแน่ชัด ว่าปวงชนที่ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ ณ ดินแดนที่เรียกว่าอินเดียตอนใต้ในปัจจุบัน ตั้งแต่ครั้งโบราณเป็นผู้ที่อพยพมาจากทางใดและนำเอาอารยธรรมมาสู่ดินแดนนี้จากที่ใด

นักโบราณคดีได้แต่สันนิษฐานว่า พวกอารยันบางพวกที่อพยพมาพร้อมๆกันกับพวกที่เข้ารุกรานอินเดียตอนเหนือนั่นเอง ได้แยกทางและอพยพลงมาสู่ทางตอนใต้ จนในที่สุดก็ข้าม ภูเขาวินธัย (Vindhya) แล้วเดินทางข้าม แม่น้ำนาร์บาดา (Narbada) และเทือกเขาสัตปุระเข้ามาสู่ ที่ราบสูงเดคคาน (Deccan plateau) ที่อยู่บริเวณต้น แม่น้ำโคธาวารี (Codavari) และ แม่น้ำกฤษณา (Krishna) ปะปนกับพลเมืองดั้งเดิมของพื้นที่ โดยยึดเอาการบูชาเทพเจ้าที่พวกเขาเคารพเป็นหลัก

ต่อมานักเดินเรือชาวฟินิเซี่ยนและอาหรับที่กล้าเดินเรือมาค้าขายกับดินแดนชมพูทวีปตอนล่าง ก็ได้นำเอาวัฒนธรรมที่มีรูปแบบแปลกใหม่มาปะปนกับอารยธรรมดั้งเดิม เกิดเป็นอารยธรรมอย่างใหม่ดังที่ได้เห็นกันอยู่แม้ในปัจจุบัน ผิดแผกแตกต่างไปจากชนในดินแดนตอนเหนือ อินเดียตอนใต้นี้ในภายหลังแม้พระเจ้าอโศกมหาราชผู้เกรียงไกร ก็ไม่อาจยกทัพมากวาดล้างได้ถึงดังที่กล่าวมาแล้ว

ในครั้งกระโน้น กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำคงคาในดินแดนตอนเหนือได้อาศัยการเอ่อท้นของน้ำในฤดูใบไม้ผลิเป็นประโยชน์ในการกสิกรรม แต่ในที่ราบสูงเดคคานอันกว้างใหญ่ของอินเดียตอนใต้ กลุ่มชนกลับได้อาศัยลมมรสุมพัดพาเอาฝนเข้ามาสู่ที่ราบ ทำให้ดินอันแข็งดุจหินกลับกลายเป็นโคลนเหลวเหมาะแก่การเพาะปลูก ทำให้เกิดมีเทศกาลของตนเองขึ้นเพื่อต้อนรับฤดูกาลแห่งการเพาะปลูกของปี เป็นดังนี้มากว่า 2 พันปีแล้วครับ

ครั้นต่อมา เมื่อ สกุลจันทวงศ์ ในอินเดียตอนเหนือเกิดความวุ่นวายแยกกันเป็นสกุล ยาทพ และ โปรพ โดยกษัตริย์ยาทพปกครองดินแดนเล็กๆอยู่ที่ริมแม่น้ำยมนา

แต่เชื้อสาย โปรพ นั้น เกิดแตกแยกเป็น 2 ราชวงศ์ คือราชวงศ์ ปาณฑพ ปกครอง หัสดินปุระ กับพวก โกรพ ปกครอง นครอินทรปรัสก อยู่ที่ริมแม่น้ำยมนา ทั้งสองวงศ์นี้เกิดแย่งชิงความเป็นใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดการรบพุ่งกันเองที่เรียกว่า มหภารตยุทธ (Mahabharata) ซึ่งมีผู้เอามาแต่งเป็นกาพย์หรือ Epic ชั้นเยี่ยมเรื่องหนึ่งของโลกนั่นเอง ราชวงศ์ปาณฑพได้รุกรบลงมายังภาคใต้ และสถาปนาตนเป็นใหญ่ขึ้นเป็นราชวงศ์แรก หลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนราชวงศ์เป็นราชวงศ์ โจฬะ และ จีระ แต่ก็ครองอำนาจอยู่ไม่นาน ในที่สุดก็มีการเปลี่ยนราชวงศ์เป็นราชวงศ์ ปัลลวะ ตั้งแต่ตอนต้นพุทธกาลราชวงศ์นี้เป็นใหญ่อยู่ในอินเดีย ต่อมาอีกหลายร้อยปีครอบครองดินแดนทางภาคใต้ของอินเดีย ซึ่งในปัจจุบันคือ รัฐอันตระประเทศ (Andhrapradesh) การนานตกะ (Karnataka) หรือ รัฐไมซอร์ (Mysore) ในปัจจุบัน รัฐเคราลา (Kerala) ตอนบนและส่วนเหนือของ รัฐมัทราส (Madas) หรือ ทมิฬนาดู (Tamilnadu) และตอนใต้ของ แคว้นมหาราชตรา ในปัจจุบัน

แต่มิใช่ว่าราชวงศ์ ปัลลวะ จะครองอำนาจได้ตลอดดินแดนทางภาคใต้ของอินเดียเลยนะครับ ในบางยุคก็กลับมีแคว้นเล็กๆ บางแคว้นแข็งเมืองขึ้นมาได้เหมือนกัน หรือแม้แต่ตอนปลายสุดของคาบสมุทรอินเดีย คือ รัฐทมิฬนาดู และ รัฐเคราลา ก็ไม่ได้ตกอยู่ในอำนาจของราชวงศ์ปัลลวะ ซึ่งตั้งราชธานีอยู่ที่ เมืองมัลวาร์ (Malvar) หรือปัลลวะอยู่ตลอดเวลา

ถึงกระนั้นกษัตริย์บางพระองค์ของราชวงศ์นี้ก็ยังทรงอานุภาพมากในราวศตวรรษที่ 6 ถึงศตวรรษที่ 7 กษัตริย์ซึ่งทรงพระนามว่า นรสิงห์-วารมันกานจี (ค.ศ.630-668) สามารถปราบปราม แคว้นจาลุกย์ ลงได้เมื่อราว ค.ศ.640 ทำให้อาณาจักรปัลลวะมีอำนาจสูงมาก

ทั้งหมดนี้ ทำให้เราทราบว่าในอินเดียตอนใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ถึง 6 มีแคว้นเล็กแคว้นน้อยอยู่มากมาย ทำให้นักโบราณคดีต้องคลำประวัติของอาณาจักรในอินเดียตอนใต้กันให้วุ่น เพราะบางทีก็มีโบราณสถานมาโผล่ให้เห็นโดยไม่รู้ว่าใครมาสร้างไว้ อย่างเช่นหมู่โบราณสถานที่เรียกว่า มามัลละปุรัม และ มหาบาลีปุรัม อันอยู่ในบริเวณที่เคยเป็นเมืองท่าของอาณาจักรปัลลวะทางฝั่งทะเลตะวันออกใกล้ๆ เมืองไมโรโปเร (Myropore) ซึ่งได้กลายเป็นที่หลบซ่อนของ กษัตริย์ราชสิงหะนรสิงห์วรมานันที่ 2 (ค.ศ.700-728) อันเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรปัลลวะ หลังจากอาณาจักรล่มสลายลง เพราะ อาณาจักรโจระ และ จาลุกย์ ร่วมมือกันต่อสู้และทำลายอาณาจักร ปัลลวะ ลง จนกษัตริย์ราชสิงหะต้องหลบมาอยู่ไกลถึงคนละฟากฝั่งของคาบสมุทรอินเดีย และมาสลักหมู่เทวสถานขนาดเล็กสำหรับบูชาพระเจ้าคือพระวิษณุไว้มากมายที่ริมทะเล ต่อมาได้ปรากฎว่ามีผู้ตามมาสลักคำสาปแช่งซ้ำไว้อีก หมู่โบราณสถานเหล่านี้นี่เองที่ขึ้นชื่อลือชาไปทั่วโลกในรูปแบบการสลักหิน สิ่งสลักเก่าแก่ที่สุดมีอายุราวศตวรรษที่ 3 คงเป็นเพราะอยู่ไกลและพ่ายแพ้ต่อการสู้รบหมู่เทวสถานจึงมีขนาดเล็กดังปรากฎอยู่ให้เห็นครับ

และที่ตราตรึงบรรดานักสำรวจทั้งหลาย บริเวณดินแดนแห่งอินเดียตอนใต้ ถึงขนาดสำรวจแล้วได้พิมพ์เรื่องราวของอาณาจักรที่สำรวจพบขึ้นเป็นหนังสือเล่มใหญ่ทีเดียว คือเรื่องราวของ อาณาจักรวิจายะนคร (Vijayanagara) ซึ่งนักโบราณคดีอินเดียเองได้ลงมือสำรวจเมื่อ ค.ศ.1970 หลังจากที่ฝรั่งแอบไปทำการสำรวจจนเกลี้ยงเมืองแล้ว แต่บังเอิญมีศิลาสลักจมดินอยู่จึงพอจะทราบความเป็นมาของอาณาจักรอันใหญ่โตซึ่งมีสิ่งก่อสร้างที่งามแปลกตาซุกซ่อนอยู่ในป่าใกล้ เมืองฮอสเปต (Hospet) ใน รัฐไมซอร์

บริเวณดินแดนที่มีชื่อในปัจจุบันนี้เรียกว่า หมู่บ้านฮามไป (Hampi) ซึ่งเป็นหมู่บ้านโบราณตั้งแต่ศตวรรษที่ 4 ซึ่งต่อมาได้เจริญจนสร้างเป็นเมืองขึ้นในศตวรรษที่ 8 โดยวิธีตามตำรา คือสร้างโบสถ์บูชาเทพเจ้าขึ้นก่อน ที่ริม แม่น้ำตันกภัทรา (Tungabhadra) เพื่อบูชาเทพเจ้าที่ชาวพื้นที่เดิมนับถือมากที่สุด คือ พระเทวีปัมปา (Pampa) ซึ่งเป็นมเหสีของ เทพเจ้าวิรุฬปักษ์ โลกบาลประจำทิศตะวันตกซึ่งอำนวยน้ำฝนให้พืชพันธุ์ธัญญาหารต่อพวกเขา

ต่อจากนั้น บริเวณนี้ก็มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ มีกษัตริย์ปกครอง สร้างโบราณสถานที่ใหญ่โตงดงามและกำแพงเมืองขึ้นโดยรอบบริเวณนี้เจริญขึ้นจนถึงขีดสูงสุด มีเมืองขึ้นอยู่ในอาณาจักรถึงกว่า 30 เมืองและเจริญมาโดยสม่ำเสมอ แม้กาลเวลาจะล่วงไปจนถึงศตวรรษที่ 15 ในสมัย กษัตริย์กฤษณเทพ (Krishnadeva) ค.ศ.1509-1529

เคยมีชาวยุโรปดั้นด้นเข้าไปดูแล้วกลับออกมาเล่าว่า เป็นนครที่งามสง่า ร่ำรวย แต่งกายด้วยอัญมณีมีค่า เทวสถานและพระราชวังล้วนประดับประดาด้วยทอง มีศิลปะและสถาปัตยกรรมอันงามแปลกตา ข่าวนี้ทำเอาผู้ที่ได้รับฟังหูผึ่งแต่ไม่สามารถจะดั้นด้นฝ่าป่าเข้าไปได้ จนในที่สุดในศตวรรษที่ 20 นี้เอง มีผู้ดั้นด้นเข้าไปจนถึงวิชัยนครจนได้ครับ ทว่าไม่มีวิชัยนครอันเต็มไปด้วยผู้คนที่ร่ำรวยหรือปราสาทราชฐานอันมียอดหุ้มด้วยทองคำเหลืออยู่เลย ทั่วทั้งเมืองมีแต่ซากปรักหักพัง เหลือแต่สิ่งก่อสร้างที่ทำด้วยหินรูปร่างแปลกแต่งดงาม ไม่มีแม้แต่เกล็ดของทองสักชิ้น!! เกิดอะไรขึ้นกับเมืองแห่งความร่ำรวยเช่นนี้หรือ?

เรื่องราวของ วิชัยนคร นี้กลายเป็นเรื่องที่ดังที่สุดในอินเดียตอนใต้ มีการยกขบวนนักโบราณคดีเข้าไปขุดสำรวจอยู่หลายครั้งหลายครา พร้อมกับศึกษาจารึกทั้งหลายของนครที่มีผู้นำไปจากเมือง ในที่สุดก็รู้ว่าความลึกลับของเหตุการณ์ที่เกิดแก่นครนี้เป็นอย่างไร..

เหตุมาจากความร่ำรวยของอาณาจักรวิจายะนัคราหรือวิชัยนครนี่เอง ทำให้อาณาจักรมุสลิมทั้งหลายที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงเดคคานอิจฉาอยากได้มาไว้ในครอบครอง เกิดการรบพุ่งกันอยู่เสมอจนถึงสมัย กษัตริย์อชยุตาเทพ (Achyutadeva) ขึ้นครองราชย์ อาณาจักรมุสลิม ที่อยู่ทางเหนือก็รวมกำลังกันเข้าได้ถึง 5 อาณาจักร ก็ยกเข้าตีวิชัยนครเมื่อ คศ.1564

หลังจากต่อสู้กันอยู่ถึง 5 เดือน ในต้นปี ค.ศ.1565 ทัพของวิชัยนครก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ กองทัพมุสลิมที่กำลังฮึกเหิมรุกตามมาถึงกำแพงกรุงวิชัยนครและด้วยอำนาจของดินปืน กำแพงนครอันแข็งแกร่งมากกว่า 800 ปีก็พังพินาศลง

แสงไฟที่ลุกโชติช่วง ควันไฟที่ลอยค้าง เสียงโห่ฮึก และเสียงร้องเซ็งแซ่ของชาววิชัยนครยามที่เมืองแตกดังขรมไปทั่ว ทัพมุสลิมเข้าไปในเมืองทำลายสถานที่ เก็บทรัพย์ ฆ่าฟันและจับเชลย ทิ้งวิชัยนครให้เหลือแต่ซากหักพัง ปราศจากผู้คน กลายเป็นเมืองร้างอยู่กลางป่า จนในที่สุดชื่อและเรื่องราวของวิชัยนครก็หายสาบสูญไปจากประวัติอินเดียตอนใต้ถึงเกือบ 500 ปี

ส่วนกษัตริย์อชยุตาเทพและชาวเมืองส่วนหนึ่งนั้นหนีไปได้ เดินทางไปตั้งอาณาจักรเล็กๆอยู่ ณ ปลายสุดของคาบสมุทร และสิ้นสุดวงศ์ลงในราวศตวรรษที่ 18

ส่วนพวกปัลลวะอันเป็นชาติดั้งเดิมชาติหนึ่งในอินเดียใต้นั้น หลังจากถูก อาณาจักรจาลุกย์ (Chalukyas) ปราบปรามลงได้ในศตวรรษที่ 7 แล้ว ราชวงศ์ปัลลวะก็เสื่อมลงเหลือแต่อำนาจขนาดเจ้าเมืองเท่านั้น ปกครองอาณาจักรมาจนถึงศตวรรษที่ 13 โดยเสื่อมความเจริญลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็กลายเป็นแค่เมืองที่มีขุนนางธรรมดาปกครองเท่านั้น ในที่สุดพวกปัลลวะนี้ก็สูญหายไป

ส่วนอาณาจักรจาลุกย์นั้นก็ครองความเป็นใหญ่อยู่เหนือทุ่งราบเดคคานจาก ค.ศ.753 จนถึง ค.ศ.973 โดยมี เมืองมัลเกตุ (Malkhed) ซึ่งในปัจจุบันนี้คือ เมืองกัลบารกา (Gulbarga) เป็นเมืองหลวง ยังมีซากของเมืองโบราณสถาน โบสถ์ สระน้ำ ปรากฎให้เห็นอยู่ ณ เมืองดังกล่าวที่ห่างไปทางตะวันตกของ เมืองไฮเดอราบัด ราว 160 กม.ครับ เรามาชมเมืองหลวงขออาณาจักรจาลุกย์ของฮินดูโบราณแห่งสุดท้ายดูบ้างดีกว่าครับ..

เมืองมัลเกตุของอาณาจักรจาลุกย์นั้น ตั้งอยู่กลางประเทศอินเดียพอดี อยู่ทางตอนเหนือของรัฐอันตระประเทศ ดังนั้นอาณาจักรนี้จึงสามารถแผ่อำนาจไปได้ทั้งภาคเหนือและใต้ของอินเดีย สิ่งก่อสร้างของอาณาจักรนี้เป็นแบบลูกผสม นัครา และ ดราวิท หรือ ทราวิท (Nagara & Dravida) ชื่อของเมืองอันเป็นประดุจเมืองหลวงในครั้งนั้นคือ บาดามี (Badami)

เนื่องจากอาณาจักรนี้เป็นทางผ่านของการแพร่ขยายอำนาจทั้งของอาณาจักรทางตอนเหนือและใต้ อาณาจักรนี้ซึ่งบางทีก็เรียกว่า อาณาจักร การนาตกะ (Karnataka) เป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งยิ่ง โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 7 โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่บาดามีอยู่ราว 200 กว่าปี อาจเป็นเพราะชาวจาลุกย์ต้องผจญกับการศึกษาสงครามอยู่เป็นประจำ จึงนิยมแกะสลักสถานที่สำคัญๆเป็นถ้ำเข้าไปในหินที่ต้องก่อต้องสร้าง ก็ตัดเอาหินมาสร้างอย่างแข็งแรง โดยเฉพาะตัวนครบาดามีนั้น ขุดทำเป็นถ้ำและป้อมเข้าไปในหมู่ของภูเขาทีเดียว

แม้แต่เทวสถานทั้งหลายก็ขุดเจาะกันเข้าไปในภูเขา ซึ่งนักโบราณคดีกล่าวว่ามีลักษณะงดงามและดีเป็นพิเศษ และว่าการแกะสลักที่ถ้ำการนาตกะและไกลาสนาถาที่เอลโรล่าในมหาราชตระ อาจเอาตัวอย่างไปจากถ้ำบาดามีนี้ นับว่าฝีมือของช่างสลักหินของเมืองจาลุกย์นี้ยอดเยี่ยมมากทีเดียวครับ

ในโบสถ์ของเมืองจาลุกย์ สลักเรื่องราวที่มีอยู่ทั้งใน มหาภารตะ รามายณะ และ ปัญจะตันตระ (Panchatantra) ยิ่งโบสถ์พระศิวะในถ้ำสนาติคงจะได้ทำการสลักขึ้นในระยะที่ราชวงศ์มีอำนาจเต็มเปี่ยมทีเดียวครับ

บรรดาโบสถ์วิหารหินทั้งหลายเหล่านี้ถูกสร้างเข้าในภูเขาทั้งลูก มีทั้งป้อมปราการ และสระเก็บน้ำเพราะใกล้ คุ้งน้ำกากินา (Kagina) ทำให้สามารถมองเห็นภูมิประเทศได้จากกำแพงทั้ง 2 ด้าน กำแพงยังทำระดับกำแพงทางผ่านไปในป้อมก็แสนจะคดเคี้ยว ภายในถ้ำที่มีถึง 3 ถ้ำนี้ มีเสาค้ำที่สลักขึ้นจากเนื้อหินด้วยลวดลายลูกผสมที่สวยงามประหลาด ระเบียงและผนังล้วนสลักภาพนูนสูงเป็นเรื่องราวของเทพเจ้า โดยเฉพาะในถ้ำใหญ่ที่มีรูปสลักพระวิษณุประทับนั่งบนบัลลังค์นาค กรทั้งสี่ถืออาวุธ งดงามที่สุด ส่วนหมู่เทวสถานนั้นก็เรียงรายสลับไปกับอาคาร ปรากฎให้เห็นเด่นบนภูเขาเดียวกับเทวสถานของพระวิษณุเช่นกัน นับว่างดงามแปลกตาด้วยศิลปะที่ไม่เหมือนใคร

แต่อาณาจักรจาลุกย์ก็หาได้ยืนยงคงอยู่ได้ตลอดไปไม่ เมื่อล่วงมาถึงสมัยมุสลิมเรืองอำนาจ อาณาจักรจาลุกย์ก็ต้องถึงแก่กาลล่มสลายลงในที่สุดในราวศตวรรษที่ 10 บรรดาดินแดนของอินเดียภาคใต้ก็ถูกทำลายลงด้วยอานุภาพของราชวงศ์โมกุลร่วมกับอาณาจักรมุสลิมทั้งหลาย

กาลเวลาไม่เคยหยุดคอยอารยธรรมความเจริญ เพราะมันย่อมกลืนเสียซึ่งทุกสิ่งแม้ตัวมันเอง ดังนั้นความรุ่งเรืองที่เคยฉายแสดงในหมู่เขาหมู่ถ้ำ และปรางค์ปราในอินเดียตอนใต้ก็ร่วงโรยลงเหลือแต่ซากของอารยธรรมที่บอกให้รู้ว่า ในครั้งหนึ่งของ "เวลา" นั้น ณ ที่นี้เคยเรืองรองด้วยอำนาจที่อาจเนรมิตให้เพิงผาอันเต็มไปด้วยหินแข็ง กลับกลายเป็นปูชนียสถานและรูปสลักที่เหลืออยู่ให้เห็นดังนี้...








ขอขอบพระคุณ : หนังสือ INDIA ความเร้นลับของปฐพีชมพูทวีป
เขียนโดย : ทีมงานต่วย'ตูน / ราคาเล่มละ 250 บาท
สำนักพิมพ์ : พี.วาทิน พับลิเคชั่น


อินเดีย..ต้นธารแห่งอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ ที่หลั่งไหลไปสู่ดินแดนต่างๆ ทั่วเอเชีย ร่วมติดตามค้นหารากเหง้าแห่งความเป็นภรตวรรษ ศูนย์กลางการก่อเกิดศาสนา ภาษา ศิลปะ และวัฒนธรรมหลายหลาก อันนำมาซึ่งวิถีที่แตกต่างของผู้คนนานาเชื้อชาติบนผืนแผ่นดินเดียว
โฆษณาหนังสือฟรี!!! สำหรับสำนักพิมพ์ที่ต้องการโปรโมทหนังสือเกี่ยวกับเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ติดต่อได้ที่ siamganesh@gmail.com

 


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.