พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรก
สักการะ"พระพิฆเนศ" 6 แห่งใน กทม.
(โดย ผู้จัดการออนไลน์)

พระพิฆเนศนั้นก็เป็นเทพที่มีผู้คนนิยมบูชากันมายาวนานแล้ว เพราะเชื่อกันว่าท่านเป็นเทพแห่งความสำเร็จ เป็นเทพเจ้าแห่งความรู้ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศ ปราดเปรื่องในศิลปวิทยาต่างๆ อีกทั้งยังถือเป็นเทพทางศิลปะ และเป็นบรมครูทางนาฏกรรมทั้งหลาย ในการทำการงานใดๆ นั้น จึงต้องมีการบูชาองค์พระพิฆเนศเสียก่อน เพื่อให้งานนั้นลุล่วงไปได้ด้วยดี ไม่มีอุปสรรคใดๆ

วันนี้ฉันก็เลยจะพาผู้ที่เคารพศรัทธาไปกราบสักการะองค์พระพิฆเนศ ที่มีประดิษฐานอยู่หลายแห่งในกรุงเทพมหานครนี้กัน โดยจุดประสงค์หลักของฉันมุ่งเน้นไปที่การชมงานศิลปะองค์พระพิฆเนศ รับรู้ความเป็นไปแห่งยุคสมัย และเพื่อความสบายจิตสบายใจของผู้ไหว้ ส่วนในเรื่องของการอธิษฐานขอพรนั้นเป็นความเชื่อเฉพาะของแต่ละบุคคล ซึ่งใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ไม่ว่ากัน

แต่ก่อนอื่น มารู้จักกับองค์พระพิฆเนศกันก่อนดีกว่า สำหรับชื่อ "พระพิฆเนศ" "พระพิฆเนศวร" "พระพิฆเณศวร" "พระคเณศ" หรือ "พระคณปติ" ต่างก็เป็นชื่อเรียกองค์พระพิฆเนศเช่นเดียวกัน โดยกำเนิดของพระพิฆเนศนั้นเล่าขานกันหลายที่มา แต่ที่เคยได้ยินกันบ่อยๆ ก็คงเป็นตำนานที่ว่า พระอุมาเทวีได้นำเหงื่อไคลของตัวเองมาปั้นเป็นบุตร คือพระพิฆเนศ และสั่งให้ไปยืนเฝ้าประตูไม่ให้ใครเข้ามาโดยไม่ได้รับอนุญาต

จนวันหนึ่งพระศิวะเสด็จมาหาพระอุมาเทวี แต่พระพิฆเนศไม่ยอมให้เข้า พระศิวะจึงโกรธและตัดเศียรพระพิฆเนศ จนเมื่อพระอุมาเทวีทราบเรื่องก็เสียใจมาก พระศิวะจึงสั่งให้เทวดาเดินทางไปทิศเหนือ และเอาศีรษะของสิ่งมีชีวิตสิ่งแรกที่พบมาต่อกับร่างของโอรส และสิ่งมีชีวิตแรกที่พบนั้นก็คือช้าง พระพิฆเนศจึงมีเศียรเป็นช้างอย่างที่เราเห็นกัน


รู้จักกับที่มาของพระพิฆเนศกันแล้ว คราวนี้เรามาเริ่มเดินทางไปสักการะท่านกันดีกว่า สถานที่แรกที่ฉันจะพาไปนั้นก็อยู่บริเวณ หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ใกล้สี่แยกราชประสงค์ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งรวมเทพเจ้าหลายๆ องค์ ทั้ง พระพรหม พระตรีมูรติ พระอินทร์ พระนารายณ์ และพระแม่ลักษมี และสำหรับองค์พระพิฆเนศนั้น ก็ประดิษฐานอยู่ใกล้ๆ กับพระตรีมูรติ คืออยู่ด้านริมสุดของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ฝั่งอิเซตัน ซึ่งมีผู้คนมากราบไหว้กันไม่ขาดสาย

หากใครต้องการมาไหว้พระพิฆเนศ สิ่งของเซ่นไหว้ที่เหมาะสมนั้นก็คือ ผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม มะพร้าว มะม่วง องุ่น แอปเปิ้ล ชมพู่ มะละกอ แตงโม อ้อยควั่น ขนมหวานก็เช่นขนมถ้วยฟู ทองหยิบ ทองหยอด ลูกชุบ นมสด ส่วนดอกไม้ก็มักเป็นดอกไม้สีสด อย่างดอกชบา ดอกดาวเรือง ดอกเบญจมาศ และธูป 9 ดอก และงดเว้นอาหารคาว ผู้คนที่มาไหว้ส่วนใหญ่ก็มักจะขอเรื่องเกี่ยวกับการงาน หรือขอให้สิ่งที่หวังและตั้งใจนั้นสำเร็จลงด้วยดี


ไหว้กันเสร็จแล้วก็ไปต่อกันที่ "วัดพระศรีมหาอุมาเทวี" หรือที่รู้จักกันในชื่อวัดแขกสีลม วัดแขกนี้ถือเป็นวัดฮินดูที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตัววัดเป็นศิลปะแบบอินเดียตอนใต้ ภายในมีเจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวีเป็นประธาน และยังมีพระพิฆเนศ พระขันธ์กุมาร พระศิวะ พระกฤษณะ พระวิษณุ พระแม่รัศมี และพระแม่กาลี อยู่แวดล้อมอีกด้วย ใครที่มาไหว้พระพิฆเนศก็จะได้ไหว้เหล่าเทพทั้งหลายนี้ด้วย

สำหรับพระพิฆเนศภายในวัดแขกนี้ อยู่ในลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิ มี 4 กร เป็นศิลปะแบบอินเดียตอนใต้ตอนปลาย มีพระองค์อ้วนเตี้ย ค่อนข้างเทอะทะแต่แฝงไว้ซึ่งความหนักแน่นและมีอำนาจ ผู้ที่เคารพศรัทธาควรหาโอกาสมาไหว้สักครั้ง



จากวัดแขก ย้อนกลับมาที่ "วิทยาลัยนาฏศิลป์ กรุงเทพฯ" วิทยาลัยที่เป็นแหล่งผลิตนักเรียนนักศึกษาด้านนาฏศิลป์และดุริยางค์ศิลป์ ที่ตั้งอยู่ใกล้กับเชิงสะพานปิ่นเกล้าฝั่งพระนครกันบ้าง อย่างที่ฉันบอกไปในตอนต้นว่าพระพิฆเนศนั้นถือเป็นบรมครูทางนาฏกรรมและศิลปะทั้งหลาย ทางวิทยาลัยจึงได้มีการสร้างพระพิฆเนศไว้สำหรับให้นักเรียนนักศึกษาและอาจารย์ได้กราบไหว้บูชากัน สำหรับใครที่อยากจะเข้าไปกราบไหว้ท่านก็สามารถเดินเข้ามาในโรงเรียน บอกยามที่เผ้าประตูว่าต้องการมาสักการะพระพิฆเนศ เขาก็จะอนุญาตให้เข้ามาได้

สำหรับพระพิฆเนศในวิทยาลัยนาฏศิลป์นี้ ได้นำมาประดิษฐานไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 ซึ่งเป็นปีที่โรงเรียนเปิดสอน ความพิเศษขององค์พระพิฆเนศนี้นอกจากความสวยงามแล้ว ก็ยังนับเป็นผลงานออกแบบของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี โดยมีนายชิ้น ชื่นประสิทธิ์ เป็นผู้ลงมือปั้นอีกด้วย

อีกทั้งแท่นหินที่เป็นฐานรองพระพิฆเนศนั้น ก็ยังเป็นวัตถุอนุสรณ์ในส่วนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริให้จัดสร้างปฐมบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในโอกาสฉลองอายุพระนครครบ 100 ปีใน พ.ศ.2425 แต่ภายหลังช่างทำไม่สำเร็จเนื่องจากความผิดพลาดในการคำนวณแบบก่อสร้าง แท่นหินนี้จึงถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จนเมื่อมีโครงการจัดสร้างองค์พระพิฆเนศเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสถาบัน แท่นหินนี้จึงกลายมาเป็นที่ประดิษฐานองค์พระพิฆเนศอย่างที่เห็นในปัจจุบัน



คราวนี้ย้ายตัวเองมาที่แถวๆ ย่านเสาชิงช้ากันบ้าง เพราะที่นี่เป็นที่ตั้งของ "เทวสถาน" หรือ "โบสถ์พราหมณ์" ซึ่งภายในเทวสถานนั้น มีโบสถ์อยู่สามหลังด้วยกัน คือสถานพระอิศวร เป็นโบสถ์ใหญ่ สถานพระพิฆเนศวร เป็นโบสถ์กลาง และสถานพระนารายณ์ เป็นโบสถ์ริม สำหรับสถานพระพิฆเนศวรนั้น ภายในมีเทวรูปของพระพิฆเนศวรอยู่ 5 องค์ด้วยกัน ทำด้วยหินแกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว 2 องค์ และทำด้วยสำริดอีก 1 องค์

สำหรับใครที่อยากเข้าไปกราบสักการะพระพิฆเนศในโบสถ์พราหมณ์นั้น ก็จะต้องมาในวันพฤหัสบดี และวันอาทิตย์เท่านั้น มิฉะนั้นก็จะได้ไหว้แต่เพียงภายนอกโบสถ์ (อ่านบทความแนะนำเทวสถานโบสถ์พราหมณ์เพิ่มเติมได้ที่หน้าแรก)



และไม่ไกลจากเทวสถาน ก็ยังมีสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่เราสามารถเข้าไปไหว้พระพิฆเนศได้ นั่นก็คือที่ "วัดเทพมณเฑียร" ซึ่งตั้งอยู่ในโรงเรียนภารตะวิทยา ข้างๆ โรงเรียนเบญจมราชาลัย โดยก่อนหน้าที่จะมีการก่อสร้างวัดเทพมณเฑียรนี้ ชาวฮินดูได้พร้อมใจกันจัดตั้งสมาคมเพื่อรวมใจชาวภารตะให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยใช้ชื่อว่า "ฮินดูสภา" และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สมาคมฮินดูสมาช" มาจนถึงปัจจุบัน และต่อมาทางสมาคมก็ได้จัดตั้งโรงเรียนภารตวิทยาลัยขึ้นในบริเวณเดียวกัน เนื่องจากเห็นความสำคัญของการศึกษา แม้จะชื่อว่าภารตวิทยาลัย แต่ก็รับนักเรียนทุกเชื้อชาติศาสนาให้เข้าเรียนร่วมกันโดยไม่แบ่งแยก

และหลังจากสร้างโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว ก็ได้มีการสร้างโบสถ์เทพมณเฑียรขึ้น และได้อัญเชิญเทวปฏิมา ปฏิมาของพระผู้เป็นเจ้าและเทพยดาอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวฮินดู มาจากประเทศอินเดีย (พร้อมกับแผ่นหินอ่อนแกะสลักทั้งหมด) และอัญเชิญดินศักดิ์สิทธิ์จากพุทธสังเวชนียสถาน 4 แห่ง และน้ำจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ในอินเดีย เช่น แม่น้ำคงคา ยมุนา และสุรัสวดี ฯลฯ มารวมกันและนำมาประดิษฐานไว้ที่โบสถ์เทพมณเฑียรแห่งนี้ด้วย

หากใครต้องการจะขึ้นไปกราบสักการะพระพิฆเนศ ก็เช่นเดียวกับที่วิทยาลัยนาฏศิลป์คือแจ้งความต้องการกับยามหน้าโรงเรียนเสียก่อน แล้วเขาจะชี้ทางเดินขึ้นไปกราบไหว้เทพเจ้าต่างๆ ให้ (อ่านบทความแนะนำวัดเทพมณเฑียรเพิ่มเติมได้ที่หน้าแรก)



สำหรับที่สถานที่สุดท้ายที่ฉันจะแนะนำกันในวันนี้ เป็นวัดไทยที่มีพระพิฆเนศประดิษฐานไว้ นั่นก็คือ "วัดศรีสุดาราม" ย่านบางขุนนนท์ หรือที่เรียกกันว่าวัดชีปะขาว วัดแห่งนี้เคยเป็นสถานศึกษาของสุนทรภู่ กวีเอกของโลก ภายในจึงมีอนุสาวรีย์สุนทรภู่ตั้งอยู่ด้วย อีกทั้งยังมีรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังษี ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และเป็นที่นับถือของชาวบ้านในแถบนั้น

และสำหรับองค์พระพิฆเนศที่วัดนี้นั้น ก็ประดิษฐานอยู่ใกล้กับองค์หลวงพ่อโต โดยมีผู้ที่ศรัทธามาสร้างถวายวัดเอาไว้ เป็นพระพิฆเนศปางลีลาประทานพร แต่ผู้คนมากราบไหว้ค่อนข้างบางตา อาจเพราะยังไม่ทราบว่ามีพระพิฆเนศอยู่ภายในวัดด้วยเช่นกัน



ทั้งหกสถานที่นี้ก็เป็นที่ที่ฉันแนะนำไว้สำหรับคนที่มีความเคารพศรัทธาในองค์พระพิฆเนศ ใครใกล้ที่ไหนก็สามารถไปไหว้กันได้ที่นั่น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอย่าลืมว่า ไม่ว่าจะบูชาพระพิฆเนศทุกปางหรือเทพองค์อื่นๆมากมายเท่าใด หากจิตใจมืดบอด เกียจคร้าน กระทำเรื่องเสื่อมเสีย ไม่ประพฤติตัวอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม ปล่อยให้จิตด้านมืดเข้าครอบงำ ยังไงๆก็ไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จด้วยประการทั้งปวง

(ขอขอบคุณ - ผู้จัดการออนไลน์)


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา

ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ

สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.