ศาสนาฮินดู-พราหมณ์
และ พระพุทธศาสนา เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เคลื่อนที่จากแหล่งอารยธรรมจากอินเดียโบราณไปสู่ยังดินแดนต่างๆในชมพูทวีปและสุวรรณทวีป
ด้วยเหตุนี้ เส้นทางเดินโบราณที่นำวิชาความรู้ในโบราณศาสตร์ชั้นสูงของอินเดียโบราณนั้น
ได้เดินทางเข้ามาสู่ดินแดงสุวรรณภูมิได้อย่างไร จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ
ในพ.ศ. ๑๒๖๐-๑๒๘๔ นั้น พระวัชรโพธิและคณะสงฆ์ที่เดินทางมาจากอินเดียใต้เพื่อประกาศพุทธศาสนาและเผยแพร่ธรรมะในดินแดนสุวรรณภูมิ
๒๔ ปีนั้น นอกจากมีการสถาปนาพระบรมธาตุและพุทธศาสนาขึ้นแล้ว
ยังได้นำวิทยาการศิลปศาสตร์ต่างๆ เผยแพร่ในดินแดนนี้ด้วย
ทำให้วิชาความรู้จากอารยธรรมอินเดียโบราณ มีอิทธิพลในดินแดนสุวรรณภูมิต่อเนื่องมา
จนเป็นแหล่งธรรมของพระพุทธศาสนาและศิลปศาสตร์ดังกล่าวอีกแห่งหนึ่งในสุวรรณภูมิ
เมืองอู่ทอง ซึ่งเป็นเมืองในสุวรรณภูมินั้น ได้รับอารยธรรมจากอินเดีย
ที่ชนชั้นปกครองหรือกษัตริย์ของเมืองนี้ ได้เรียนรู้คัมภีร์สำคัญทั้งฝ่ายศาสนาฮินดู-พราหมณ์ได้แก่
มหากาพย์ ๒ เรื่อง โดยเฉพาะ มหาภารตะ และ
รามายณะ และจากฝ่ายพระพุทธศาสนา ดังนั้นสาระความรู้จากคัมภีร์เหล่านี้ได้มีอิทธิพลในความเชื่อต่อการสร้างศาสนสถาน
จึงทำให้ปรากฎจารึกภาพปูนปั้นพระนามกษัตริย์ และชื่อเมืองสถานที่สำคัญตามชื่อที่ปรากฎในพระคัมภีร์ฝ่ายฮินดู-พราหมณ์สืบต่อมา
การคัดลอกวิทยาการต่างๆจากอินเดียโบราณมาสู่ดินแดนสุวรรณภูมินั้น
เดิมใช้ภาษาสันสกฤตของ นิกายสรรสติกวาท
ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท
จาก สิงหลทวีป (ศรีลังกา) ได้เข้าเผยแพร่แล้วมามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้
จึงทำให้การคัดลอกตำราเปลี่ยนจากภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาบาลีแทน
ด้วยเหตุนี้ในสมัยอยุธยานั้น วิทยาการโบราณที่เคยคัดลอกเป็นภาษาสันสกฤตนั้น
จึงถูกคัดลอกเป็นภาษาบาลีมากขึ้น
เมื่อครั้งแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
(พ.ศ. ๒๑๗๓-๒๑๙๘) กษัตริย์อยุธยานั้น ได้มีการนำเอาตำราวิทยาการโบราณคือตำราไสยศาสตร์และตำราโหราศาสตร์
มาเผาทิ้งเพื่อไม่ให้เป็นหลักฐานของความงมงาย ที่เห็นว่าเป็นสิ่งสร้างความล้าหลังของผู้คนในชาติ
เนื่องจากสมเด็จพระเจ้าปราสาททองพระองค์นี้ เดิมเป็น ออกญาศรีวรวงศ์
(พระยาศรีวรวงศ์) ต่อมาได้ทำการปฏิวัติยึดอำนาจจาก
สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ พระโอรสของ สมเด็จพระเอกาทศรถ
แล้วตั้งให้ พระอินทราชา พระโอรสอีกองค์หนึ่งเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ส่วนตนนั้นนั่งตำแหน่ง
เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ ภายหลังนั้นเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ได้ทำการยึดอำนาจจาก
สมเด็จพระเชษฐาธิราช พระโอรสของพระเจ้าทรงธรรมแล้วสถาปนาขึ้นครองราชเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง จึงเป็นเหตุให้เจ้านายฝ่ายราชวงศ์นั้นขัดเคืองใจอยู่
ดังนั้น การที่มีการสั่งเผาตำราต่างๆนั้น ก็เนื่องจากกลัวว่าบุตรหลานของผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์
โดยเฉพาะบุตรหลานที่เป็นขุนศึกของสมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ
จะใช้ตำราไสยศาสตร์และโหราศาสตร์อันเป็นโบราณศาสตร์นั้นมาแก้แค้น
โดบทำอาถรรพ์ทำคุณไสยทำลายล้างพระองค์จึงได้มีการเผาทำลายตำราเหล่านั้นเสียจนหมดสิ้น
ครั้งหลังสุด เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าข้าศึกเข้าตีเอาพระนครได้ใน
พ.ศ. ๒๓๑๐ นั้น กรุงศรีอยุธยาถูกเผาทำลายเมือง จึงเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้บรรดาวิทยาการต่างๆ
ที่นำมาจากอินเดียโบราณเข้ามาเผยแพร่ตามศาสนาและยังคงหลงเหลืออยู่บ้างในอาณาจักรสยามนั้น
ได้ถูกทำลายไปพร้อมกันเสียคราวนั้นด้วย
สรุปแล้วตำราที่เป็นโบราณศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยในสมัยอยุธยานั้น
ได้ถูกทำลายไปเกือบหมดสิ้น ส่วนที่ยังคงเหลือและนำมาใช้กันนั้น
จึงเป็นคัมภีร์ในพุทธศาสนาที่มีการคัดลอกต่อๆ กันสำหรับใช้สั่งสอนเรียนอยู่ตามวัด
ตามสำนักเรียนของครูบาอาจารย์ ด้วยเหตูนี้ ตำรา ตำนานและโบราณศาสตร์
จึงมีการจดจำโดยครูบาอาจารย์ที่เหลืออยู่ ภายหลังได้มีการคัดลอกและแต่งขึ้นใหม่
ในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
จึงโปรดเกล้าให้รวบรวมตำราต่างๆ และแต่งขึ้นเพื่อจารึกรักษาไว้เป็นศูนย์ความรู้สำหรับประชาชนทำนองห้องสมุด
โดยจารึกไว้ที่วัดโพธิ์ คือ วัดพระเชตุพน อยู่จนปัจจุบันนี้
การสร้างบ้านเมืองและการควบคุมอาณาจักรให้สามารถดำรงอยู่อย่างมั่นคงนั้น
นอกจากการใช้โบราณศาสตร์เป็นวิทยาการความรู้แล้ว หลักของศาสนานั้นเข้าสร้างแนวทางของการอยู่ร่วมกันด้วยความเชื่อ
ซึ่งมีทั้งความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ และหลักธรรมตามพุทธศาสนาที่เข้ามาเผยแพร่ในครั้งแรก
เมื่อมีการศึกษาเรียนรู้วิทยาการที่มีพราหมณ์เป็นครูสอนและนำพระคัมภีร์มาเผยแพร่เช่นนี้
จึงเป็นเหตุหนึ่งที่เชื่อว่าน่าจะต้องการบูชาพระพิฆเนศก่อนศึกษาเล่าเรียนทุกครั้งเช่นเดียวกับคนในอินเดีย
และทำให้เมืองต่างๆที่รับเอาพราหมณ์ไส้สอนหนังสือ จึงมีการนับถือพระพิฆเนศ
เป็นองค์เทยแห่งศิลปวิทยาความรู้ และประจำความสำเร็จทั้งปวง
ไปพร้อมกับพระผู้เป็นเจ้าหรือมหาเทพองค์อื่นๆ ที่มีพราหมณ์เป็นต้นตำหรับจากคัมภีร์โบราณ
|