พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ

พราหมณ์จากอาณาจักรตามพรลิงค์

ขอขอบคุณ : หนังสือตำราเทวรูปของพราหมณ์
เขียนโดย : วรพล สุทธินันท์ / ราคาเล่มละ 175 บาท
สำนักพิมพ์: สยามความรู้ / หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป

อาณาจักรตามพรลิงค์ เป็นอาณาจักรเก่าแก่ที่อยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่ เมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) ซึ่งพบว่าเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนาฮินดู-พราหมณ์ มีหลักฐานปรากฎว่า

เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 นั้น เมืองตามพรลิงค์แห่งนี้ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของ อาณาจักรฟูนัน (ขอม) และ อาณาจักรศรีวิชัย ภายหลังเมืองจึงได้มีความสำคัญขึ้นตามลำดับจนในพุทธศตวรรษที่ 13 เมืองตามพรลิงค์ได้ขยายอำนาจขึ้นมาเป็นเมืองใหญ่ กลายเป็นศูนย์กลางการค้าและการปกครองเมืองต่างๆในดินแดนทางภาคใต้ จนสามารถสร้างเป็นอาณาจักรใหญ่ขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 14-15 ได้

อาณาจักรตามพรลิงค์ หรือ ต้าหมาหลิง นี้ ได้ขยายอาณาเขตปกครองตั้งแต่เมืองปัตตานีและหัวเมืองทางภาคใต้เกือบทั้งหมด ในพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรตามพรลิงค์หรือเมืองนครราชศรีธรรมราชได้เสื่อมอำนาจลงและได้เป็นเมืองที่รวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยาในที่สุด

เมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) แห่งนี้ พบว่ามีโบราณสถานของศาสนาพราหมณ์อยู่บน "เขาคา" ตำบลสำเภา อำเภอสีชล จังหวันครศรีธรรมราช ทำให้หลักฐานยืนยันชัดเจนว่า ศาสนาฮินดู-พราหมณ์นั้นได้เดินทางเข้ามาเผยแผ่และตั้งแหล่งเผยแพร่เรื่องของพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ขึ้นในดินแดนแถบนี้ก่อน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการนับถือองค์เทพหรือพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ ก่อนที่จะเผยแพร่ไปตามเมืองอื่นๆในดินแดนสุวรรณภูมิต่อไป

เทวสถานบนยอดเขาคาเกิดขึ้นได้นั้น ต้องมีชุมชนของผู้นับถือคอยอุปถัมภ์ดูแลอยู่ด้วย จากการศึกษาสถานที่และสำรวจนั้นได้พบว่า เขาคาแห่งนี้มีแนวสันทรายนครศรีธรรมราช (คือ สันทรายสิชล-ท่าศาลา) ทอดยาวจากทิศเหนือลงมาทิศใต้ประมาณ 50 กิโลเมตร มีอายุอยู่ใน สมัยโฮโลซีน คืออายุราว 5,000-6,000 ปีลงมา

ส่วนชุมชนผู้นับถือพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ในสมัยนั้นน่าจะอยู่แถวบริเวณเทือกเขานครศรีธรรมราชด้านทิศตะวันตก ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำของคลองหลายสายที่ไหลเกือบเป็นเส้นตรงจากทิศตะวันตกไปสู่ทะเลด้านทิศตะวันออก ตอนกลางนั้นมีบริเวณที่ราบเชิงเขาและที่ราบริมลำน้ำซึ่งมีสภาพพื้นที่สูงกว่าบริเวณสันทรายใกล้ชายฝั่ง การทับถมของตะกอนดินในแม่น้ำและความชุ่มชื้นของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดมาจากทะเลนั้น ได้ทำให้บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ริมฝั่งแม่น้ำนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งกว่าบริเวณอื่น จนเอื้ออำนวยต่อการทำเกษตรกรรมเลี้ยงชุมชนที่เกิดขึ้นได้ อีกทั้งยังได้อาศัยลำน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมติดต่อไปยังพื้นที่ตอนในกับพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้วย

บริเวณเทวสถานของพราหมณ์ผู้เผยแผ่ความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าแห่งนี้จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นแหล่งชุมชนโบราณในยุคแรกนั้น และได้มีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวอินเดียที่พากันเดินทางเข้ามาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 ชุมชนโบราณนี้อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเขาคาและบริเวณวัดเบิกเขาพรง การสำรวจนั้นได้พบเครื่องมือขวานหินขัด เครื่องมือของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีอายุประมาณ 4,000-5,000 ปี พบแหล่งโบราณคดีจำนวนมากอยู่กระจายตามลุ่มแม่น้ำในเขตอำเภอสิชลและมีหลักฐานการอยู่อาศัยกันหนาแน่นในท้องที่ ตำบลสำเภา ตำบลฉลอง ตำบลเทพราช

ชุมชนมนุษย์ที่ เขาคา-สิชล คงจะตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยและสร้างวัฒนธรรมของตนเองสืบทอดมาตั้งแต่ยุคเริ่มประวัติศาสตร์ ซึ่งมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าอินเดียที่เดินทางเรือและบกไปมาหาสู่ประจำ

ดังนั้นในพุทธศตวรรษที่ 10-18 บริเวณเขาคาจึงเกิดวัฒนธรรมและคติความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์อินเดียที่เข้ามาในชุมชนแห่งนี้แล้ว โดยมีพ่อค้าอินเดียและพราหมณ์เป็นผู้นำมาเผยแพร่ นับเป็นอารยธรรมของอินเดียที่เกิดเป็นแห่งหนึ่ง (ที่สำรวจพบ) ในบริเวณดังกล่าว

แหล่งโบราณวัตถุและโบราณสถานที่พบบนเขาคานั้น ได้พบว่าเป็นเทวสถานที่สร้างขึ้นถาวร อันแสดงถึงคติความเชื่อใน ลัทธิไศวนิกาย ที่นับถือ พระศิวะ เป็นเทพเจ้าสูงสุด

เมื่อพุทธศตวรรษที่ 12-14 นั้น ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายได้มีความเจริญมาก ด้วยพบหลักฐานว่า ชุมชนโบราณที่อยู่ในบริเวณเขาคาแห่งนี้ ได้ขยายตัวลงไปทางตอนใต้ตลอดแนวลำน้ำ เช่น ชุมชนวักนาขอม ที่ร้างอยู่ ซึ่งพบว่าได้มีการตั้งเทวาลัยขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งที่อยู่บนบริเวณเนินเขาและที่ราบ ส่วนพุทธสถานของชุมชนที่นับถือศาสนาพุทธนั้นเกิดขึ้นอยู่ตามบริเวณที่ราบเท่านั้น

ดังนั้น เขาคา จึงเป็นเขาที่ถูกเลือกสำหรับสร้างเทวสถานเพื่อเป็นเทวาลัยแห่งพระศิวะเทพ ให้เป็นศูนย์กลางของศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายคือใช้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานศิวลึงค์ตามคัมภีร์ศิวปุราณะ เป็นเรื่องที่ต้องศึกษาทางโบราณคดีถึงทำเลของเทวสถานที่เป็นต้นแบบศาสนาพราหมณ์ในไทยแห่งนี้ต่อไป

เขาคาเป็นเขาลูกโต ยาวประมาณ 850 เมตร กว้างประมาณ 300 เมตร ยอดเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 72 เมตร เชิงเขาด้านใต้มีลักษณะเรียวกว่าด้านเหนือเล็กน้อย บนยอดเขามีเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ตั้งอยู่ ห่างออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 50 เมตร มีแม่น้ำไหลผ่านเขาคา ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือและทิศเหนือ คือ คลองท่าทน มีต้นกำเนิดมาจาก เทือกเขาหลวง ซึ่งเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทน เขาพระสุเมรุ ตามอย่าง ภูเขาหิมาลัย ในอินเดีย เขาคาจึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์และเป็นที่อยู่อาศัยของพราหมณ์ ซึ่งพบร่อบรอยสถาปัตยกรรมตามแนวสันเขารวมทั้งหมด 4 แห่ง สระน้ำ 3 แห่ง และมีโบราณสถานที่ดัดแปลงจากสภาพแวดล้อมธรรมชาติอยู่สุดเนินเขาทางเหนืออีก 1 แห่ง เชื่อว่าเป็นชุมชนของชาวบ้านที่อยู่กระจัดกระจายตามพื้นที่ราบรอบเขาคา ด้วยพบหลักฐานทางโบราณคดีเป็นจำนวณมาก เช่น เนินโบราณสถาน สระน้ำโบราณ ศิวลึงค์ และชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรม เช่น ฐานเสา ธรณีประตู กรอบประตู เป็นต้น เขาคานี้มีสองยอด ยอกหนึ่งมีลักษณะเป็นเนินเขาบนตะพักเขาที่สูง 70 เมตร ยอดทางเหนือสูงประมาณ 194 เมตร ทั้งสองยอดนี้มีโบราณสถานอยู่เรียงรายตามสันเขา โบราณสถานบนเขามี 5 หลังพบว่ามีบ่อรูปสี่เหลี่ยมทำบ่อน้ำมนต์ และท่อโสมสูตรในอาคารหลังใหญ่กว้าง 17 เมตร

ลักษณะของศิวลึงค์ตามคัมภีร์ปุราณะที่พบอยู่บนเขาคานั้น ส่วนล่างสุดเป็นฐานรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหมายถึง พรหมภาค ตรงกลางศิวลึงค์นั้น เป็นรูปแปดเหลี่ยมหมายถึง วิษณุภาค และบนสุดของศิวลึงค์เป็นรูปกลมมน หมายถึงรุทรภาค นอกจากศิวลึงค์แล้วยังพบฐานโยนีเป็นจำนวนมากมีฐานหนา 9-12 เซ็นติเมตร มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 15

เทวสถานนี้แม้จะสร้างเป็นเทพเจ้าของลัทธิไศวนิกายแล้ว ยังพบว่ามีการประดิษฐานไวษณพนิกายควบคู่ไปด้วยกัน ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 ได้พบว่ามีร่องรอยหลักฐานของชุมชนชาวพุทธฝ่ายมหายาน ได้เข้ามาตั้งหลักฐานอยู่ใกล้ๆแหล่งที่เคยเป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์แห่งนี้ ต่อมากลุ่มชาวพุทธได้ทำการดัดแปลงเทวสถานของพราหมณ์แหงนี้เป็นพุทธสถานแทน

บริเวณแหล่งศาสนาพราหมณ์แห่งนี้ เมื่ออาณาจักรตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) เจริญรุ่งเรือง ผู้คนที่อยู่ชุมชนแห่งนี้จึงพากันอพยพไปอยู่ที่ศูนย์กลางแห่งใหม่ และนำเอาวิทยาการต่างๆของพราหมณ์อินเดียที่ถูกถ่ายทอดสู่ชุมชนนั้นไปเผยแพร่ต่อไป ต่อมาวิทยาการเหล่านั้นได้มีบทบาทสำคัญในสังคมไทย โดยเฉพาะวิชาโหราศาสตร์และคัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์

อาณาจักรตามพรลิงค์ต่อมาได้กลายเป็นแหล่งอารยธรรมของอินเดียโบราณที่บรรดาพ่อค้าและพราหมณ์ได้เดินทางเข้ามาครั้งแรก ก่อนที่จะมีคณะสมณฑูตจาก พระเจ้าอโศกมหาราช แห่งอินเดียนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนาเข้ามาประกาศเผยแผ่ในดินแดนสุวรรณภูมิ

เมื่อพระพุทธศาสนาเข้ามาเผยแพร่ในดินแดนแถบนี้อย่างเป็นทางการโดยมีสมณฑูตจากพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งทำให้อาณาจักรและเมืองต่างๆ พากันยอมรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นหลักของการครองอาณาจักร กล่าวคือ เมื่อมีการสร้างเจดีย์ (พระบรมธาตุ) ขนาดใหญ่ขึ้นที่เมืองตามพรลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช) และพระปฐมเจดีย์ (เมืองนครปฐม) แล้ว เท่ากับเป็นการประกาศกำนำเอาพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นหลักของอาณาจักรนี้


ขอขอบคุณ : หนังสือตำราเทวรูปของพราหมณ์
เขียนโดย : วรพล สุทธินันท์ / ราคาเล่มละ 175 บาท
สำนักพิมพ์: สยามความรู้ / หาซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป


หนังสือนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเทวรูปต่างๆ บทความหลากหลายในแง่ของโบราณคดี วิวัฒนาการของศาสนาพราหมณ์ เส้นทางของศาสนาพราหมณ์ในการเข้าสู่ดินแดนต่างๆ เรื่องของคัมภีร์ต้นแบบอินเดียโบราณ ที่สำคัญคือรวมรูปภาพของเทวรูป โดยมีผู้ร่างเป็นลายเส้นจากต้นร่างของอินเดีย แล้วคัดลอกไว้ในสมุดไทย ซึ่งได้มีการจัดพิมพ์เมื่อ 70 ปีมาแล้ว...
โฆษณาหนังสือฟรี!!! สำหรับสำนักพิมพ์ที่ต้องการโปรโมทหนังสือเกี่ยวกับเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ติดต่อได้ที่ siamganesh@gmail.com


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.