พระพิฆเณศ
อินเดีย ประเทศอินเดีย รูปพระพิฆเนศ รูปภาพ งานศิลปะ พระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกศาสนาพราหมณ์ พระพิฆเนศ พระวิษณุ พระศิวะ

"ปรัชญามีมางสา"
ขอขอบพระคุณ : บทความจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง www.ram.edu

ปรัชญามีมางสาเป็นทรรศนะทางจิตนิยมที่มุ่งแสดงและยกย่องเชิดชูพระเวท ซึ่งนักปรัชญาหลายท่านมีความเห็นว่า ปรัชญามีมางสาถูกสร้างขึ้นเพื่อแสดงทรรศนะทางจิตนิยมฝ่ายพราหมณ์ และเป็นการโต้กลับพวกปรัชญานาสติกะที่ปฏิเสธพระเวท ได้แก่ ปรัชญาจารวาก เป็นต้น

ในคัมภีร์พระเวทนั้น มีส่วนสำคัญตอนต้นซึ่งได้แก่คัมภีร์มันตระและพราหมณะที่เรียกกันว่า กรรมกัณฑ์ ว่าด้วยเรื่องกรรม พิธีกรรม และการบูชายัญ สรรเสริญพระเจ้า เป็นต้น

ส่วนสำคัญตอนปลายของพระเวท มีคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเต็มไปด้วยเนื้อหาปรัชญาฮินดู ที่เรียกกันว่า ชญากัณฑ์ ว่าด้วยเรื่องความรู้

ปรัชญามีมางสาที่กล่าวถึงพระเวทตอนต้นนี้เรียกว่า ปูรวมีมางสา คือปรัชญามีมางสาที่เข้าใจกันในปัจจุบัน เน้นพิธีกรรม

ปรัชญามีมางสาที่กล่าวถึงพระเวทตอนปลายนั้นเรียกว่า อุตตรมีมางสา หรือ ชญาณมีมางสา เน้นความรู้ของพระเวท ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นปรัชญาเวทานตะ

ปรัชญามีมางสา (ปูรวมีมางสา) นี้ นักปรัชญาหลายท่านไม่ถือว่าเป็นปรัชญา เพราะเห็นว่าไม่มีคำสอนส่วนใดที่เป็นปรัชญาเลย ก็สรุปได้ว่าปรัชญามีมางสามีสาระสำคัญและวัตถุประสงค์คือ

1. ยกย่องเชิดชูพระเวท เชื่อในพระเจ้า พิธีกรรม และขนบประเพณีของศาสนาพราหมณ์

โดยสอนว่า คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ที่สมบูรณ์ที่สุด ปราศจากข้อผิดพลาดโดยประการทั้งปวง คัมภีร์พระเวทเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่มาจากพระเจ้า สิ่งใดที่พระเวทอนุญาตสิ่งนั้นคือธรรม สิ่งใดที่พระเวทห้าม สิ่งนั้นคืออธรรม บุคคลควรทำตามธรรมและละเว้นอธรรมตามพระเวท

ปรัชญามีมางสาสอนว่า พระเวทเป็นของเที่ยงแท้ มีมาดั้งเดิมด้วยตัวเอง มหาฤาษีผู้รจนาพระเวทเป็นเพียงผู้รับกราบพระเวทด้วยการดลใจ แล้วนำมาเปิดเผนให้ชาวโลกทราบ

2. การปฏิบัติบูชาเทพ ตามพระเวทย่อมได้กุศลและถือเป็นหน้าที่ของนรชนที่ต้องกระทำ เรียกว่า "ธรรมที่ต้องปฏิบัติ"

ผู้ก่อตั้งและวรรณกรรมสำคัญของปรัชญามีมางสา

ผู้ก่อตั้งปรัชญามีมางสา คือ ฤาษีไชมินี เป็นผู้ผู้รจนา มีมางสาสูตร (ไชมินีสูตร) ซึ่งเป็นชื่อของสำนักปรัชญานี้

มหาฤาษีไชมินี หรือ ท่านไชมินี เกิดในราว พ.ศ.100 (400 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งของอินเดีย ท่านเป็นศิษย์ของฤาษีนวยาส

กล่าวกันว่า ท่านไชมินีได้รับมอบคัมภีร์สามเวทจาก ท่านวยาส ผู้เป็นครู และได้ประกาศเผยแพร่และสอนคัมภีร์นั้น

สามเวท เป็นคัมภีร์ที่ประมวลบทสวด (มนตรา) ต่างๆจาก คัมภีร์ฤคเวท ซึ่งเป็นคัมภีร์แรกของพระเวท คัมภีร์สามเวทเป็นคำฉันท์ล้วนๆ ใช้ขับกล่อมสรรเสริญพระเจ้าและบรรยายวิธีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ

ท่านไชมินีแต่งคัมภีร์มีมางสาสูตรขึ้นเพื่อขยายความในกรรมกัณฑ์ของพระเวท มีมางสาสูตรนี้ถือกันว่าเป็นคัมภีร์ทางปรัชญาที่ใหญ่ที่สุดของอินเดียคือมีหัวข้อเรื่องถึง 1,000 หัวข้อ ว่าด้วย ธรรม อันเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่ควรทำและจำต้องทำ

ต่อมานักปราชญ์ของสำนักมีมางสาได้แต่งคัมภีร์ขยายความจากมีมางสาสูตรขึ้นหลายคัมภีร์ได้แก่

ท่านศพรสวามี - แต่งคัมภีร์ ศพร-ภาษยะ
ท่านกุมาริล - แต่งคัมภีร์เป็นโศลกชื่อ โศลกวารติกะ ตันตรวารติกะ
ท่านประภากร - แต่งคัมภีร์ พฤหติ

สำหรับ ท่านกุมาริล และ ประภากร เป็นผู้ที่ทำให้ปรัชญามีมางสา แตกออกเป็น 2 นิกาย ตามชื่อของท่านทั้งสอง

ปรัชญามีมางสาได้พัฒนาในเวลาต่อมา โดยเน้นหลักวิทยาระเบียบวิธีและหน้าที่ที่เรียกว่าหลักปรัชญา

หลักปรัชญามีมางสากล่าวถึงการตีความและให้เหตุผลว่า ทำไมจึงต้องเชื่อเรื่องพิธีกรรม ซึ่งได้แก่ความเชื่อดังต่อไปนี้คือ

1. เชื่อว่า มีวิญญาณอมตะ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้เสวยผลแห่งพิธีกรรมที่ตนประกอบแล้ว คือ ผู้ทำดีย่อมไปสู่สวรรค์เสวยผลดี
2. เชื่อว่า คัมภีร์พระเวททรงไว้ซึ่งความจริงไม่เคยพลาดคลาดเคลื่อน
3. เชื่อว่า โลกนี้มีอยู่จริงๆ ชีวิตในโลกนี้มีจริง ไม่ใช่เหมือนความฝัน การกระทำกรรมนั้นจริงๆไม่ใช่เหมือนมายา และผลของกรรมกย่อมสนองให้แก่ผู้ทำจริงๆ

มีมางสาได้พยายามตีความและอธิบายให้เหตุผลต่างๆ นานา เพื่อให้เห็นว่าความเชื่อในสิ่งดังกล่าวนั้นใช้ได้ สิ่งเหล่านั้นมีจริงเป็นจริง การตีความและอธิบายตามหลักเหตุผล เพื่อสนับสนุนความเชื่อดังกล่าวนี้เองเป็นหลักปรัชญาของลัทธิมีมางสา

ญาณวิทยาของปรัชญามีมางสา

ญาณวิทยาของมีมางสาก็เหมือนกันญาณวิทยาของปรัชญาอื่นๆ คือ กล่าวถึงลักษณะของความรู้ ลักษณะและปทัสถานของความจริงและความเท็จ และกล่าวถึงแหล่งหรือประมาณแบบต่างๆ ที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ให้ได้ความรู้มา

ลักษณะและชนิดของความรู้
ญาณวิทยาของมีมางสา ให้ความหมายของความรู้หรือญาณไว้ว่า ความรู้มี 2 ชนิด คือ
1. ความรู้ตรง หรือ ความรู้แท้
2. ความรู้โดยอ้อม หรือ ความรู้ไม่แท้

ความรู้แท้คือความรู้ที่บอกเราให้รู้ถึงบางสิ่งบางอย่าง ที่เรายังไม่รู้ และความรู้นั้นเป็นความจริง ความรู้แท้ประกอบด้วยองค์ 2 คือ
1. จริงแท้แน่นอน ไม่มีความรู้ใดๆ มาหักล้างได้ ไม่ว่าในกาลใดๆ และสถานที่ใด และอารมณ์ของความรู้แท้ต้องเป็นจริงด้วย
2. บอกให้รู้เรื่องที่ยังไม่รู้มาก่อนคือ ไม่ใช่ความจำหรือประสบการณ์เดิม

ความรู้แท้หรือความรู้ตรงมี 2 ขั้นคือ ขั้นแรกเป็นความรู้สึกล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับความจำความคิดนึกหรือประสบการณ์เดิมๆ เป็นความรู้ที่บอกเราได้แต่เพียงว่า มีสิ่งๆหนึ่ง แต่หารู้ได้ชัดแจ้งว่าส่งนั้นคืออะไร เช่น เมื่อรูปอารมณ์อย่างหนึ่งผ่านแวบเข้าสู่คลองจักษุของเรา ในตอนแรก เราจะรู้แต่เพียงว่าเราเห็นเป็นสิ่งหนึ่ง แต่พอพิจารณาดูอีกทีจึงรู้ได้ชัดว่า คือ สิ่งนั้น สิ่งนี้ ชื่อนั้น ชื่อนี้ เป็นต้น ความรู้ที่เกิดจากการพิจารณาทีหลังแล้วรู้ชัดว่า สิ่งนั้น สิ่งนี้แหละ คือความรู้แท้ขั้นที่ 2 คือความรู้ที่เกิดจากความรู้ขั้นแรก ผสมกับความนึกคิด ความจำ หรือประสบการณ์เดิม

ความรู้แท้ขั้นแรกท่านเรียกว่า นิรวัลปกประจักษ์ หรือ อาโลจนะ-ญาณ ความรู้แท้ขั้นที่ 2 เรียกว่า สวิกัลปกประจักษ์ มีมางสาถือว่า ความรู้แท้ คือความรู้ขั้นประจักษ์ต้องประกอบด้วยขั้นทั้ง 2 ดังกล่าวนี้ ถ้าขาดขั้นใดไปก็ถือว่าไม่สมบูรณ์ เพราะความรู้แท้ขั้นแรกไม่ได้บอกให้รู้ลักษณะของสิ่งที่ผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัสได้ชัดเจน ว่าเป็นอะไร ความรู้แท้ขั้นที่ 2 นี้ก็เหมือนกัน ถ้าไม่อาศัยความรู้แท้ขั้นแรกก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ เพราะไม่มีอารมณ์ให้ใจคิดตัดสินว่าสิ่งนั้นคืออะไร เช่น ถ้าเราไม่เห็นคนใดคนหนึ่งในขั้นแรก ขั้นต่อมาเราก็รู้ไม่ได้ว่าคนนั้นชื่ออะไร

ประมาณ

แหล่งความรู้ของลัทธิมีมางสา มี 6 ประมาณ คือ

1. ประจักษประมาณ
มีมางสาถือว่า ความรู้ตรง คือความรู้ที่เกิดจากอายตนะภายนอก มีรูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ และธรรมารมณ์มากระทบกับอายตยะภายใน มีตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้ตรงนี้บอกเราให้ทราบถึงความจริงเกี่ยวกับเรื่องโลกอันกว้างใหญ่ และบรรจุไว้ซึ่งสรรพสิ่งนานาพรรณได้อย่างตรงกับความเป็นจริง ฉะนั้นจึงเรียกความรู้ตรงนี้ว่า ความรู้ขั้นประจักษ์ และเรียกแหล่งที่เกิดของความรู้นี้ว่า ประจักษประมาณ

2. อนุมานประมาณ
ความรู้โดยอ้อม มิได้เกิดจากการเห็น ได้ยิน ดมกลิ่น ลิ้มรสและสัมผัสโดยตรงอย่างความรู้ขั้นประจักษ์ จึงไม่เรียกว่าความรู้ตรง ความรู้โดยอ้อมนี้เกิดจากหลายประมาณ เช่นที่ท่านประภากรกล่าวไว้ว่ามี 4 ประมาณ คือ อนุมานประมาณ อุปมานประมาณ ศัพทประมาณ และอรรถาปัตติประมาณ ท่านกุมาริล ภัฏฏะเพิ่มอีก 1 ประมาณคือ อนุปลัพธิ ฉะนั้น เมื่อรวมประมาณทั้งหมดมีถึง 6 ประมาณ รวมทั้งประจักษ์ประมาณ สำหรับประจักษประมาณและอนุมานประมาณนั้นรายละเอียดจะเหมือนกับของนยายะ

3. อุปมานประมาณ
อุปมานประมาณ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับความคล้ายคลึง เช่น เราไม่เคยเห็นม้าลายเลย แต่มีคนบอกว่าม้าลายก็คล้ายกับม้าปกตินั่นเอง ต่างแต่ม้าลายมีแถบลายตามตัวเท่านั้น แล้วเราก็จำคำบอกเล่านี้ไว้ ต่อมาเราไปเห็นม้าชนิดหนึ่งซึ่งไม่เคยเห็นมาก่อน ม้านั้นมีแถบลายๆตามตัว เราจึงนึกถึงคำบอกเล่าเกี่ยวกับม้าลายขึ้นมาได้ จึงตัดสินใจได้ว่า นี่คือม้าลายนั่นเอง ความรู้เช่นนี้ ปรัชญาของนยายะเรียกว่าเป็นความรู้ขั้นอุปมานและเครื่องมือที่ทำให้ได้ความรู้นี้มาเรียกว่า อุปมานประมาณ

แต่สำหรับปรัชญามีมางสา มีความเห็นต่างออกไปว่า ความรู้ขั้นอุปมานไม่ใช่อย่างที่นยายะเข้าใจทั้งหมด ความรู้ขั้นอุปมานตามทรรศนะของมีมางสาคือ รู้ว่าสิ่งที่จำได้คล้ายกับสิ่งที่ประจักษ์ (คือ ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้สัมผัส) เช่นตัวอย่างข้างต้น สมมุติว่า เราไม่เคยเห็นม้าลายมาก่อนเลย ครั้นไปเห็นม้าลายเข้าก็นึกถึงม้าที่เคยเห็นมาก่อนขึ้นได้ว่า "ม้าลายนี้คล้ายกับม้าบ้าน" นี่เองที่มีมางสาถือว่าเป็นความรู้ขั้นอุปมาน

สรุปข้อแตกต่างระหว่างทรรศนะของนยายะกับมีมางสา ดังนี้

นยายะ : อุปมาน คือ ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ประจักษ์โดยอาศัยความคล้ายคลึงกับสิ่งที่เเคยประจักษ์มาก่อน

มีมางสา : อุปมาน คือ ความรู้เกี่ยวกับความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งที่ไม่ประจักษ์สิ่งที่ประจักษ์โดยอาศัยสิ่งที่ประจักษ์

ขอให้ตั้งข้อสังเกตว่า ความรู้ขั้นอุปมานของมีมางสาที่ว่า "จากการเห็นสิ่งๆหนึ่ง ทำให้นึกถึงอีกสิ่งหนึ่งซึ่งเคยเห็นมาแล้ว เพราะทั้ง 2 สิ่งนี้มีความคล้ายคลึงกัน" ก็เหมือนกับความจำ คือ ระลึกถึงสิ่งที่เคยเห็นมาก่อนได้ เพราะไปเห็นสิ่งที่คล้ายกันเข้า ต่างกันตรงที่ว่า ความจำคือความระลึกถึงสิ่งที่เคยรู้ เคยเห็นขึ้นมาได้เท่านั้น ไม่ได้เพิ่มความรู้ใหม่แต่อย่างใดเลย แต่อุปมานนี้ให้ความรู้ใหม่แก่เรา คือรู้ว่าสิ่งที่เรากำลังประจักษ์อยู่นั้นคล้ายกับสิ่งที่เราระลึกขึ้นมาได้

แต่ท่านศพรสวามี อาจารย์ของลัทธิมีมางสา ได้ให้ความหมายของอุปมานต่างออกไปอีกนัยหนึ่งว่า อุปมานได้แก่ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ประจักษ์ว่า คล้ายคลึงกับสิ่งที่ประจักษ์ เช่น เรารู้สึกว่าเรามีอัตตา เพราะเรามีการเห็นการได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้ผัสสะ เราทำ พูด คิด ทำกรรมและเสวยผลกรรม ผู้ทำดังกล่าวเป็นอัตตาของเราฉันใด คนอื่นๆก็ต้องมีอัตตาด้วย เพราะเขามีความรู้สึกเช่นเดียวกับเรา อุปมานตามทรรศนะนี้ตรงกับ analogical argument ของนักปรัชญาชาวตะวันตก

4. ศัพทประมาณ
มีมางสาถือว่า ศัพทประมาณที่ให้ความรู้อย่างแน่นอนเชื่อถือได้ มีมางสาเทิดทูนความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวทอย่างยิ่ง ถือว่าพระเวทเป็นแหล่งความรู้ที่แน่นอนที่สุดไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่ากาลใดๆ คัมภีร์พระเวทไม่ใช่ผลงานของมนุษย์และไม่ใช่ผลงานของพระเจ้าหรือเทพใดๆ มีมางสาเชื่อเหมือนกับนยายะว่า ศัพทประมาณมีอยู่ 2 อย่างคือ เปารุเษยะ และ อเปารุเษยะ ประการแรกได้แก่ข้อเขียนหรือคำพูดของบุคคลที่ควรเชื่อถือได้ แต่ประการที่ 2 มีมางสาหมายเอาคัมภีร์พระเวทโดยเฉพาะ เพราะดังได้กล่าวแล้วว่า คัมภีร์พระเวทไม่ใช่งานของคนและเทพ จึงจัดเป็นอเปารุเษยะ

เรื่องความเชื่อที่ว่า พระเวทเป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดความรู้อย่างแน่นอนนั้น เปรียบเทียบได้กับทางพุทธศาสนาที่เชื่อว่า พระไตรปิฎกเท่านั้นที่ให้ความรู้ทางพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้อง เพราะเชื่อว่า พระไตรปิฎกบรรจุไว้ซึ่งพุทธพจน์อย่างครบถ้วน บางคนติดตำราเอามากๆ พูดหรือเขียนอะไรก็ต้องอ้างหัวข้อ บรรทัด หน้า เล่มของพระไตรปิฎกไว้ทุกครั้ง เพื่อให้ผู้ฟังได้เชื่อว่า ถูกต้องแน่นอนตามพระไตรปิฎก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วพระพุทธเจ้าเองก็ได้ตรัสว่า ไม่ให้เชื่อตามตำรา ไม่ให้เชื่อตามเขาว่า แต่ให้เชื่อเมื่อพิจารณาใคร่ครวญด้วยวิจารณญาณของตนแล้ว

5. อรรถาปัตติ (อรุถาปัตติ)
อรรถาปัตติ หมายถึง สมมติฐานที่จำเป็นสำหรับพิจารณาตัดสินข้อเท็จจริงบางชนิดที่ไม่ประจักษ์แจ้ง เช่น ชายคนหนึ่งอ้างตนว่าถือศีลอดไม่ยอมกินอาหารเลยตลอดวัน แต่รูปร่างของชายคนนี้อ้วนท้วนมาก ในตัวอย่างนี้มีข้อเท็จจริง 2 อย่างขัดกันอยู่ คือชายคนนั้นถือศีลอดตลอด กับรูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์ เพราะคนไม่กินอะไรเลยจะอ้วนไม่ได้ ปัญหามีว่า ทำไมเขาจึงอ้วน สาเหตุให้เขาอ้วนเป็นข้อเท็จจริงอันหนึ่ง ซึ่งไม่ปรากฎประจักษ์แก่เรา ฉะนั้น เราจึงต้องตั้งสมมติฐานขึ้นอย่างหนึ่งเพื่ออธิบายคำถามนี้ และสมมติฐานที่จำเป็นในที่นี้คือ เขาอาจจะกินในเวลากลางคืนแทน สมมติฐานนี้เอง ลัทธิมีมางสาเรียกว่า อรรถาปัตติ

อรรถาปัตตินี้ เราใช้กันเสมอในชีวิตประจำวันของเรา เช่น เวลาเราอ่านตัวเขียนที่ไม่ชัดหรือบางแห่งตกไป แต่เราก็อาจเดาได้ถูกต้อง เพราะอาศัยข้อความใกล้เคียงเป็นเครื่องตัดสิน

ความรู้อย่างนี้ไม่ใช่ประจักษประมาณ เพราะไม่ได้ประจักษ์ด้วยตัวเอง
ไม่ใช่อนุมานประมาณ เพราะไม่เป็นเหตุการณ์ที่จำต้องมีอยู่คู่กันตลอดไป
ไม่ใช่อุปมานประมาณ เพราะไม่มีตัวอย่างให้เปรียบเทียบ
ไม่ใช่ศัพทประมาณ ไม่ได้รับการบอกเล่าจากใคร

6. อนุปลัพธิ
คือความรู้เกี่ยวกับความไม่มี ไม่ปรากฎของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น
เมื่อเข้าไปในห้องไม่เห็นมีพัดลม ก็รู้ว่าห้องนั้นไม่มีพัดลม
ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้เรียกว่า "อนุปลัพธิ" คือไม่สามารถรู้ได้ทางประสาทสัมผัส (ประจักษ์) ไม่อาจอนุมานได้เพราะการอนุมานเราต้องอนุมานจากสิ่งที่เราเห็นไปหาสิ่งที่เราไม่เห็น

อภิปรัชญาของปรัชญามีมางสา

ปรัชญามีมางสา มีความเชื่อความถูกต้องของประจักษประมาณ เชื่อว่าโลกนี้รวมทั้งสิ่งต่างๆ ในโลกนี้ที่สามารถรู้ได้ด้วยประจักษประมาณนั้นมีอยู่จริง ไม่ใช่เป็นเพียงมายาอย่างที่เวทานตะเชื่อ

ลัทธิมีมางสาเชื่อว่า วิญญาณ สวรรค์ นรก และทวยเทพต่างๆซึ่งเป็นผู้รับเครื่องเซ่นสังเวยความพิธีกรรมและบูชายัญก็มีอยู่จริงเช่นเดียวกับโลกนี้

เชื่อว่า ธรรมะ และ โมกษะ (การหลุดพ้น) จะรู้ได้ก็โดยการศึกษาคัมภีร์พระเวท

จุดหมายสูงสุดของปรัชญามีมางสา

จุดหมายสูงสุดของปรัชญามีมางสาในยุคแรกคือ การไปเกิดในสวรรค์ ทิพยสถานซึ่งมีแต่ความสุข เพลิดเพลินไม่มีความทุกข์ แต่ยุคต่อมาถือว่า โมกษะ (ความหลุดพ้น) เป็นจุดหมายสูงสุด โดยเชื่อว่าความหลุดพ้นเป็นยอดปรารถนา ไม่ใช่เพื่อความสุขเพลิดเพลิน แต่เป็นการดับทุกข์โดยสิ้นเชิง เพราะตราบใดที่ยังติดอยู่ในความสุขก็จะต้องมีทุกข์ด้วยตราบนั้น ทั้งนี้ถือว่าความสุขเป็นความทุกข์ชนิดหนึ่ง สุขที่ไม่เจือด้วยทุกข์นั้นไม่มี ที่เรียกว่าสุขนั้นก็คือทุกข์น้อยนั่นเอง แต่ถ้าใครสามารถดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิงก็จะเรียกว่าเป็นผู้มีความสุขอย่างแท้จริงก็ว่าได้ เพราะเมื่อไม่มีความทุกข์ ความสุขก็ตามมา ดุจซักเสื้อผ้าให้คราบสกปรกออกไป ความสะอาดก็จะบังเกิดขึ้นฉันนั้น

มีมางสาได้พัฒนาการทรรศนะเรื่องโมกษะต่อมาว่า โมกษะ หมายถึงสภาวะที่วิญญาณหรืออาตมันหลุดพ้นจากกฎของกรรมและกิเลส ซึ่งเป็นเหตุผูกพันอาตมันไว้กับร่างกาย ฉะนั้น เมื่ออาตมันพ้นจากกฎของกรรมและกิเลสแล้ว อาตมันก็ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป แต่จะคงสภาพเดิมของมัน คือสภาพที่บริสุทธิ์แท้ๆ ไม่มีความรู้สึกนึกคิดใดๆ ไม่มีความสุขและความทุกข์ หรือเรียกว่า เป็นสภาพที่อยู่เหนือสุขและทุกข์ แต่อย่างไรก็ตามยังเชื่อกันว่า เป็นสภาพที่มีอยู่ และคงสภาพอย่างนี้ตลอดไปชั่วกาลนิรันดร

ขอขอบพระคุณบทความจาก
มหาวิทยาลัยรามคำแหง www.ram.edu
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกประเทศอินเดียและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระคเณศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.