1.
ความหมาย
คำว่า "สางขยะ" แปลว่า "จำนวนหรือการนับ"
ที่ใช้คำว่า สางขยะ เรียกปรัชญานี้ก็เพราะเป็นปรัชญาที่มุ่งแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสัจภาพโดยการจำแนกวัตถุแห่งการรับรู้ออกเป็นจำนวนต่างๆ
มากมายถึง 25 ชนิด
อีกความหมายหนึ่งของคำว่า สางขยะ หมายถึง ความรู้ที่ถูกต้อง
คำนี้ได้จากศัพท์สันสกฤตว่า สมฺยคฺ ขยาติ แปลว่า ความรู้ที่ถูกต้อง
เพราะหมายถึงความรู้ที่รู้จักแยกปุรุษะออกจากประกฤติ เมื่อใดปุรุษะเป็นอิสระ
ไม่ถูกประกฤติครอบงำ ปุรุษะก็จะเข้าสู่ภาวะดั้งเดิมของตน พ้นไปจากเครื่องพันธนาการต่างๆนี้
คือ เป้าหมายชีวิต
จากความหมายสางขยะดังกล่าวมาข้างบนนี้ จะเห็นว่าปรัชญาสางขยะเป็นปรัชญาสัจนิยมเชิงทวิ
เพราะมีความเห็นว่าประกฤติและปุรุษะทั้งสองประการ คือ สัจภาพ
และเป็นมูลการณะของสรรพสิ่ง
2.
ประวัติ
ปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญปรัชญาอินเดียต่างก็ลงความเห็นว่า ฤาษีกปิละ
เป็นผู้ก่อตั้งปรัชญาสางขยะ ไม่มีใครทราบชัดเจนว่าท่านเป็นใครมาจากไหน
ดร.ราธกฤษณัน ปราชญ์คนสำคัญของอินเดียให้ข้อสันนิษฐานว่าท่านกปิละเกิดก่อนพุทธกาล
ในพุทธประวัติไต้พูดถึงท่านกปิละว่าเกิดก่อนพุทธองค์ (คือเป็นผู้ให้ที่ตั้งเมืองกบิลพัสดุ์)
ส่วนนักปราชญ์ไทย คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ทรงสันนิษฐานไว้ว่า การสร้างเมืองกบิลพัสดุ์มีก่อนพุทธกาลประมาณ
100 - 150 ปี ประวัติการสร้างเมืองกบิลพัสดุ์เกี่ยวข้องกับท่านกปิละ
ก็เพราะมีเรื่องเล่าว่าพระราชบุตร 4 องค์ และพระราชบุตรี 5 องค์ของพระเจ้าโอกากราชได้อพยพมาถึงดงไม้สักกะ
ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของฤๅษีชื่อ กปิละ และฤๅษีท่านนี้ได้มอบอาศรมของตนเองให้พระราชบุตรและพระราชบุตรีเหล่านี้สร้างเป็นเมือง
และให้ชื่อว่า 'เมืองกบิลพัสดุ์' มีปราชญ์จำนวนมากเห็นตรงกันว่า
ฤๅษีกปิละผู้มอบอาศรมของตนให้พระราชบุตรและพระราชบุตรีของพระเจ้าโอกากราชและท่านกปิละผู้ตั้งปรัชญาสางขยะ
คือ คนคนเดียวกัน ถ้าข้อสันนิษฐานนี้เป็นจริง ปรัชญาสางขยะถือว่าเป็นปรัชญาที่เก่าแก่ที่สุดสำนักหนึ่งของอินเดีย
ท่านกปิละผู้ก่อตั้งปรัชญาสางขยะไม่ได้เขียนตำราอะไรไว้เลย
แม้แต่อาสุรีผู้เป็นศิษย์สืบต่อสำนักนี้แทนท่านก็ไม่ได้เขียนอะไรไว้เช่นเดียวกัน
ปัญจสิกขะศิษย์ของท่านอาสุรีได้เขียนหลักคำสอนของปรัชญาสางขยะเอาไว้หลายเล่ม
แต่หนังสือเหล่านั้นหายสาบสูญหมด อิศวร กฤษณะ (ประมาณ พ.ศ. 700)
ผู้นำปรัชณาสางขยะอีกท่านหนึ่งได้เขียนหนังสือขึ้นเล่มหนึ่งชื่อ
"สางขยการิกา" หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดเล่มหนึ่ง
ต่อมา เคาฑปาทะ (อาจารย์ของศังกราจารย์ ประมาณ พ.ศ. 1300) เขียนอรรถกถาของสางขยการิกา
ชื่อว่า "สางขยการิกาภาษยะ" วาจัสปติ (ประมาณ พ.ศ.
1500) เขียนอรรถกถาขยายความสางขยการิกาขึ้นมาเล่มหนึ่ง ชื่อว่า
"สางขยตัตตวเกามุที" หนังสือเล่มนี้ถือว่าเป็นหลักคำสอนสำคัญของปรัชญาสางขยะและใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาท่านอนิรุทธะ (ประมาณ พ.ศ. 2000) ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งให้ชื่อว่า
"สางขยะ - ประวจนะ - สูตรวรรตติ" ถัดจากนี้ยังมีปราชญ์ของสำนักนี้เขียนหนังสือเพิ่มเติมขึ้นมาเรื่อยๆ
เพื่อขยายความคำสอนของสำนักนี้ให้กว้างขวางมากขึ้น
3.
หลักปรัชญา
ปรัชญาสางขยะมีหลักปรัชญาที่สำคัญที่สามารถแยกออกมากล่าวได้
3 ประการด้วยกัน คือ ญาณวิทยา อภิปรัชญา และ จริยศาสตร์
3.1 ญาณวิทยา (Epistemology)
หลักอภิปรัชญาของสางขยะได้พูดถึงความจริงสูงสุดสองอย่าง คือ
ปุรุษะ และ ประกฤติ ทั้งสองอย่างนี้ คือ มูลการณะของสรรพสิ่งในโลกและจักรวาล
นอกเหนือจากทั้งสองอย่างนี้ไม่มีอะไรเป็นจริง ดังนั้นญาณวิทยาของสางขยะจึงอิงอาศัยหลักอภิปรัชญานี้
เพราะต้องรู้อย่างชัดแจ้งถึงความจริงสองอย่างนั้น คือ รู้ว่าปุรุษะและประกฤติทั้งสอง
คือ มูลการณะของสรรพสิ่ง ถ้าปุรุษะและประกฤติผูกพันซึ่งกันและกัน
ประกฤติจะครอบงำปุรุษะ ทำให้ปุรุษะหลงลืมภาวะดั้งเดิมของตน เป็นเหตุให้ปุรุษะเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏ
แต่ถ้าปุรุษะเป็นอิสระจากประกฤติ ประกฤติก็จะครอบงำปุรุษะไม่ได้
ภาวะอย่างนี้ปุรุษะจะรู้แจ้งตน จะรู้ว่าตนคืออะไร นั่นคือ การหลุดพ้น
เมื่อหลุดพ้นแล้วก็จะไม่มาเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏอีก
ก. องค์ประกอบของความรู้ (Factors
of Knowledge)
ปรัชญาสางขยะมีความเห็นว่า สิ่งที่ถือว่าเป็นความรู้นั้นต้องมีผู้รู้
ถามว่า ใครคือผู้รู้ตอบว่า ปุรุษะ คือ ผู้รู้ สางขยะอธิบายต่อไปอีกว่า
ความรู้ที่ถูกต้องนั้นมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. ประมาตะ คือ ผู้รู้ หมายถึง ปุรุษะ ซึ่งเป็นธาตุรู้และเป็นที่มาของความรู้ทั้งปวง
2. ประเมยะ (อารมณ์ที่ถูกรู้) คือ อายตนะภายนอก
มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สัมผัส) และธรรมารมณ์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งความรู้ที่ป้อนให้เกิดความรู้
3. ประมาณะ (บ่อเกิดแห่งความรู้) คือ เครื่องมือให้ได้ความรู้มา
ได้แก่ อายตนะภายใน มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็นผู้รับวัตถุภายนอกแล้วนำส่งปุรุษะ
ทั้ง 3 ประการนี้ คือ องค์ประกอบของความรู้ ถ้าขาดอันใดอันหนึ่งไปก็จะไม่สามารถได้ความรู้ขึ้นมาเลย
แต่ละอย่างมีความหมายและสำคัญในการได้ความรู้เท่าๆ กัน
ข. ประมาณของความรู้ (Source
of Knowledge)
ปรัชญาสางขยะรับรองการประมาณไว้เพียง 3 อย่างเท่านั้น ที่สามารถให้ความรู้ที่ถูกต้องได้
ประมาณอื่นๆ นอกเหนือจากนี้สางขยะถือว่าไม่สามารถให้ความรู้ที่ถูกต้องได้
ประมาณทั้ง 3 คือ
1. ประจักษประมาณ
(Perceptlon)
สางขยะได้ให้ความหมายของประจักษประมาณไว้ว่า ความรู้ที่เรารับรู้โดยตรงทางประสาทสัมผัส
ตัวผู้รู้ก็คือ ปุรุษะ ซึ่งเป็นวิญญาณของบุคคลผู้รับรู้
กระบวนการของการรับรู้ทางประสาทสัมผัสนั้น ปุรุษะสัมผัสกับมนัส
มนัสสัมผัสกับอายตนะภายใน และอายตนะภายในสัมผัสกับอายตนะภายนอก
จึงเกิดความรู้ขึ้น ผู้รู้ คือ ปุรุษะ ซึ่งรอรับความรู้ที่ผ่านมาทางอายตนะภายนอกบวกอายตนะภายใน
ส่งต่อไปยังมนัสจนถึงปุรุษะผู้สัมผัสกับมนัสนั้นกระบวนการของความรู้นั้นเขียนตารางได้ดังนี้
อายตนะภายนอก + อายตนะภายใน -----> มนัส ----->
ปุรุษะ
ความรู้ที่ได้มาจากกระบวนการข้างบนนั้น ปรัชญาสางขยะได้แบ่งการรับรู้ออกเป็น
2 ขั้น คือ
1.1 นิรวิกัลปะ ได้แก่ ความรู้คลุมเครือ
ไม่ชัดเจน ผู้รู้เพียงแต่รับรู้เท่านั้นยังไม่สามารถจะแยกสิ่งที่ตนรู้มานั้นว่าคืออะไร
ยังเลือนรางในสิ่งที่ตนรับรู้มานั้น
1.2 สวิกัลปะ คือ ความใ้ที่ผู้รับรู้มีความเข้าใจแจ่มแจ้งในสิ่งที่ตัวเองรับรู้มา
ความรู้ชนิดนี้ได้ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์มาอย่างดีแล้ว
ผู้รู้สามารถชี้ชัดลงไปได้ว่านี้คือสีดำ นี้คือสีแดง ไม่กำกวม
ไม่คลุมเครือ |
2. อนุมานประมาณ
(lnference)
ปรัชญาของสางขยะมีทัศนะเกี่ยวกับอนุมานประมาณว่า ได้แก่
ความรู้ที่เราคาดเดาเอาจากสิ่งที่เรารู้แล้ว ประจักษ์แล้ว
ไปสู่สิ่งที่เรายังไม่รู้ไม่ประจักษ์ แต่สิ่งที่เราประจักษ์แล้วกับสิ่งที่เรายังไม่ประจักษ์มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก
เพราะทั้งสองอย่างนั้นเป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน ความสัมพันธ์นี้เราเรียกว่า
ศัพท์กลางหรือวยาปติ เช่น สิ่งมีขีวิตกับความตายการหมดแสงสว่างกับความมืด
เป็นต้น อนุมานประมาณของปรัชญาสางขยะมีลักษณะเหมือนกันกับอนุมานประมาณของปรัชญานยายะ
แต่มีรายละเอียตบางอย่างที่แตกต่างกันออกไปสางขยะได้แบ่งอนุมานประมาณออกเป็น
2 อย่าง คือ
2.1 วีตะ
หมายถึง การอนุมานที่ถือเอาประโยคยืนยันเป็นหลักในการอนุมาน
ปรัชญาสางขยะได้แบ่งการอนุมานแบบวัตถุนี้ออกไปเป็นอีก
2 อย่าง คือ
2.1.1 ปูรววัต หมายถึง การอนุมานโดยอาศัยการสังเกตความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เราประจักษ์แล้วกับสิ่งที่เรายังไม่ประจักษ์
ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นมีความเกี่ยวพันกันอย่างแน่นอน เช่น
อนุมานถึงความตาย โดยอาศัยความเกี่ยวพันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับความตาย
2.1.2 สามานยโตทฤษฏะ หมายถึง ความคล้ายคลึงกันระหว่างศัพท์กลางกับข้อเท็จจริงซึ่งเกี่ยวข้องกับศัพท์ใหญ่
เช่น อ้างถึงความเป็นไปของศัพท์เล็กซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวข้องกับศัพท์ใหญ่
คือ ความตาย (ในข้อ 2.1.1) ถึงแม้ความตายจะยังไม่เกิดขึ้นกับศัพท์เล็ก
เพราะยังไม่ถึงเวลา แต่เราก็อนุมานถึงมันได้ เหตุเพราะมันคล้ายคลึงกับศัพท์กลางและเกี่ยวข้องกับศัพท์ใหญ่
2.2 อวีตะ หมายถึง
การอนุมานโดยถือเอาประโยคปฏิเสธเป็นหลักในการอนุมาน มีวิธีการอนุมานเหมือนเศษวัตของปรัชญานยายะที่จะกล่าวต่อไป |
3. ศัพทประมาณ (Testimony)
ความรู้ที่เกิดขึ้นจากศัพทประมาณของปรัชญาฮินดูทั่วๆ ไปนั้น
หมายถึง เลากิกะ คือ ความรู้ที่เกิดจากการบอกเล่าของบุคคลที่เชื่อถือได้
และไวทิกะ คือ ความรู้ที่เกิดจากคัมภีร์พระเวท ปรัชญาสางขยะไม่ยอมรับความรู้เลากิกะ
แต่ยอมรับเฉพาะไวทิกะเท่านั้น เพราะถือคัมภีร์พระ้เวทได้ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่เราเกี่ยวกับความจริงเหนือผัสสะ
ซึ่งความจริงชนิดนี้เราไม่อาจมีได้โดยการประจักษ์หรือการอนุมาน
จากข้อความนี้ จะเห็นว่า ความรู้ที่เกิดจากศัพทประมาณ
ปรัชญาสางขยะยอมรับเฉพาะไวทิกะเท่านั้นว่าเป็นความรู้ที่ถูกต้อง
ปรัชญาสางขยะมีความเชื่อว่า คัมภีร์พระเวทเป็นพระวจนะของพระเจ้า
เกิดขึ้นจากประสบการณ์ทางจิตของมุนีทั้งหลายในอดีต มิใช่คัมภีร์ที่มนุษย์เขียนขึ้นหรือเรียบเรียงขึ้น
เป็นพระวจนะของพระเจ้าโดยแท้ เพียงแต่ผ่านประสบการณ์ทางจิตของเหล่ามุนีเท่านั้น
อย่างไรก็ตามปรัชญาสางขยะเชื่อว่า แม้คัมภีร์พระเวทจะเป็นพระวจนะของพระเจ้า
แต่จะไม่ตั้งอยู่นิรันดรเหมือนกับความเชื่อของลัทธิอื่นๆ
ในศาสนาฮินดู สางขยะเชื่อว่า คัมภีร์พระเวทเกิดจากประสบการณ์ทางจิตของเหล่ามุนีและได้รับการรักษาสืบทอดกระแสความคิดติดต่อกันมา
จากบุคคลรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งจนถึงปัจจุบัน ถ้าการสืบทอดแบบนี้สะดุดลงเมื่อใด
คัมภีร์พระเวทก็อาจมีการสิ้นสุดลงไปเมื่อนั้น ไม่คงอยู่ชั่วนิรันดร์เหมือนสำนักอื่นๆ
ของปรัชญาอินเดีย
ญาณวิทยาของปรัชญาสางขยะถึงจะกำหนดไว้ 3 ประการนี้ แต่ก็ถือว่ามันมีขอบเขตครอบคลุมไปถึงประมาณอื่นๆ |
3.2 อภิปรัชญา (Metaphysics)
3.2.1 ทฤษฎีความเป็นสาเหตุ
(Theory of causation)
นักปรัชญาอินเดียมีทัศนะเรื่องมูลการณะของสรรพสิ่งแตกต่างกัน แต่ละทัศนะที่แตกต่างกันนั้น
ปราชญ์เหล่านั้นพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดของตนอย่างหนักเพื่อให้เป็นความคิดที่น่าเชื่อถือ
ความคิดหลากหลายของนักปราชญ์อินเดียเกี่ยวกับมูลการณะนั้น พอจะแยกเป็นทฤษฎีใหญ่ๆ
ได้ 2 ทฤษฎี คือ
ก. ทฤษฎีอสัตการยวาท
ปรัชญาที่มีความคิดแบบอสัตการยวาท คือ นักปรัชญาที่สังกัดในสำนักนยายะไวเศษิกะ
พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ปรัชญาจารวากและผู้เชื่อถือในปรัชญามีมางสาบางพวกนักปรัชญาเหล่านี้มีความคิดเห็นว่า
ผลไม้ให้มีอยู่ในสิ่งที่เป็นเหตุมาก่อน แต่มันเกิดขึ้นมาใหม่โดยอาศัยสิ่งที่เป็นเหตุทำให้มันเกิดขึ้น
ผลจึงเป็นสิ่งที่เหตุผลิตขึ้น แต่ผลมิใช่มีอยู่ในเหตุนั้นอสัตการยวาทใช้เหตุผลว่า
ถ้าผลมีอยู่แล้วในเหตุผลกับเหตุก็ไม่ต่างกัน เมื่อมันไม่ต่างกันจะเรียกทำไมว่า
อันนี้คือเหตุอันนี้คือผล เพราะทั้งสองประการคือสิ่งเดียวกัน
แต่ที่เราเรียกว่าเหตุและว่าผล ก็เพราะทั้งสองอย่างนั้นมันต่างกัน
เหตุคือผู้นำการ ส่วนผลคือผลิตภัณฑ์ที่อาศัยเหตุเกิดขึ้น อสัตการยวาทได้ยกตัวอย่างอธิบายประกอบว่าเหมือนกับดินและหม้อดิน
ดินคือวัตถุดิบ ช่างหม้อคือผู้ทำการดิน และช่างหม้อคือเหตุผู้ผลิตหม้อส่วนหม้อดินคือผลที่เกิดขึ้นจากดินและช่างหม้อผู้ทำการผลิต
หม้อดินจึงไม่ใช่ลูกหม้อที่ฝังอยู่ในความเป็นดิน แต่เพราะอาศัยดินเป็นวัตถุดิบ
และช่างหม้อผู้ทำการจึงเกิดหม้อดินขึ้นอสัตการยวาทได้มีความคิดแตกต่างกันเป็น
2 ฝ่าย คือ
1. อนิตยปรมาณูการณวาท ได้แก่ พระพุทธศาสนาซึ่งมีความคิดว่าปรมาณูของธาตุต่างๆ
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่มีความเที่ยงแท้ถาวรมีการตั้งอยู่ชั่วขณะหนึ่งแล้วก็เปลี่ยนแปรไป
2. นิตยปรมาณูการณวาท ได้แก่ นยายะ ไวเศษิกะ และนักปรัชญาบางพวกของปรัชญามีมามสา
ท่านเหล่านี้มีความคิดว่าปรมาณูอันเป็นมูลการณะของสรรพสิ่งเที่ยงแท้ถาวร
ไม่มีการตาย ไม่มีการสูญหาย เป็นอมตะตลอดกาล
ข. ทฤษฎีสัตการยวาท
นักปรัชญาผู้มีความคิดแบบสัตการยวาท สังกัดอยู่ในสำนักสางขยะโยคะ
วิศิษฏาไทวตะ เวทานตะของรามานุชะ และอไทวตะ เวทานตะของศังกราจารย์
ท่านเหล่านี้มีความคิดว่าผลเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในสิ่งที่เป็นเหตุของมัน
ถ้าผลไม่มีอยู่ในสิ่งที่เป็นเหตุของมัน อะไรย่อมเกิดจากอะไรก็ได้
เช่น สุนัขย่อมเกิดจากแมว ลิงย่อมเกิดจากช้าง ปลาย่อมเกิดจากหอย
เป็นต้น แต่ที่ไม่เป็นอย่างนี้ก็เพราะผลมีอยู่ในสิ่งที่เป็นสาเหตุของมัน
สัตการยวาทใช้เหตุผลว่าทั้งที่เป็นผลย่อมมีอยู่แล้วในสิ่งที่เป็นเหดุ
การเกิดขึ้นของผลเป็นเพียงการคลี่คลายออกมาจากเหตุของสิ่งที่เป็นผลเท่านั้น
หาใช่ผลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่โดยไม่มีอยู่ในสิ่งที่เป็นเหตุมาก่อนไม่จากประเด็นนี้แสดงให้เห็นว่า
เหตุกับผลคือสิ่งเดียวกัน สิ่งที่เราเรียกว่าผลนั้น คือ การคลี่คลายออกมาของสิ่งที่เป็นเหตุ
แต่คลี่คลายเสร็จเราเรียกว่าผล
ดังนั้นเหตุกับผลจึงแตกต่างกันเพียงขั้นตอนของการคลี่คลายจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งเท่านั้น
แต่ทางเนื้อหาแล้วคือสิ่งเดียวกันไม่ต่างกันเลย เพราะผลหากยังไม่คลี่คลายออกมาก็คือเหตุ
และเหตุหากคลี่คลายออกไปแล้วก็คือผล เหตุและผลจึงเป็นสิ่งเดียวกัน
สัตการยวาทมีความคิดต่างๆ กัน แบ่งออกได้ 2 ทัศนะด้วยกัน คือ
1. ปริณามวาท คือ สางขยะ โยคะ และ วิศิษฏาไทวตะ
เวทานตะ ผู้มีความคิดว่า ผลซึ่งมีอยู่แล้วในสิ่งที่เป็นเหตุและเปลี่ยนแปรตัวเองออกมาจากเหตุนั้น
ทัศนะนี้แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1.1 ประกฤติปริณามวาท คือ สางขยะ โยคะ
1.2 พรหมปริณามวาท คือ วิศิษฏาไทวตะ เวทานตะ
2. วิวรตวาท คือ อไทวตะ เวทานตะ ผู้มีความเห็นว่า
ผลคือปรากฏการณ์ของเหตุเท่านั้น เหตุแสดงตัวเองออกมาเป็นผล แต่การแสดงตัวของเหตุ
ไม่ได้เปลี่ยนแปรตัวเองมาเป็นผลจริงๆ ผลที่เราสัมผัสจึงเป็นมายา
ที่จริงแล้วผลคือเหตุ แต่เราเข้าใจผลก็เพราะเรามีอวิชชาปิดบังไว้ที่กล่าวมานี้ทั้งหมด
คือ ทฤษฎีความเป็นเหตุ (Theov ot causatlon) ปรัชญาอินเดียแต่ละสำนักมีความเห็นในเรื่องนี้ต่างกันมากมายดังที่กล่าวแล้วข้างบน
เพราะแต่ละสำนักมีพื้นฐานการศึกษา ความเชื่อถือแตกต่างกัน จึงก่อให้เกิดความคิดต่างกันดังกล่าว
3.2.2 สัตการยวาทของสางขยะ
สางขยะได้อ้างเหตุผลสนับสนุนทฤษฎีความเป็นสาเหตุของตนว่าสาเหตุมีอยู่จริงๆ
ในสิ่งที่เป็นผลถึง 5 ประการ คือ
3.2.2.1 หากผลไม่มีอยู่ในเหตุ มันก็จะไม่มีอยู่เลย และผลก็จะเกิดขึ้นไม่ได้
ที่มันเกิดขึ้นได้ก็เพราะมันมีอยู่ในเหตุของมัน
3.2.2.2 ผลคือสิ่งที่คลี่คลายออกมาจากเหตุเท่านั้นไม่ใช่ส่งที่เกิดมาใหม่เพราะว่ามันเองอยู่ในสิ่งที่เป็นเหตุก่อนจะออกมาเป็นผล
3.2.2.3 ทุกสิ่งที่ปรากฏขึ้นย่อมมาจากเหตุเฉพาะกิจของมัน มันมิใช่อะไรจะเกิดจากอะไรก็ได้
ผล ก. ย่อมมาจากสาเหตุของความเป็น ก. ของมัน มันมิใช่ผล ก. ออกมาจากสาเหตุ
ข.
3.2.2.4 ความเป็นเหตุ สามารถจะผลิตผลให้ก็เฉพาะสิ่งที่อยู่ในวิสัยของมันจะทำได้เท่านั้น
ความเป็นเหตุอันหนึ่งจะไม่สามารถผลิตผลทุกอย่างให้กับทุกสิ่งได้
3.2.2.5 ผลคือสาระของเหตุ มันคลี่คลายออกมาจากเหตุ ตัวผลจึงอยู่ในเหตุ
กระบวนการที่คลี่คลายออกมาจากเหตุเรียกว่าผล ผลที่ยังไม่ได้คลี่คลายออกมาจึงเป็นเหตุ
ดังนั้นเหตุและผลคือสิ่งเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงขั้นตอนเท่านั้น
3.2.3 ทวินิยมของสางขยะ
ปรัชญาสางขยะยอมรับความจริงสูงสุดว่ามี 2 อย่าง คือ ประกฤติ
และ ปุรุษะ ทั้งสองอย่างนี้เป็นมูลการณะของสรรพสิ่ง ทัศนะอันนี้ของปรัชญาสางขยะได้แตกต่างไปจากความคิดของปรัชญาอินเดียสำนักอื่นๆ
เช่น พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เช่น จารวาก นยายะและไวเศษิกะ เป็นต้น
ต่างก็มีความคิดว่าปริมาณของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ และลมเป็นมูลการณะของสรรพสิ่ง
ปรัชญาสางขยะได้แสดงความคิดขัดแย้งในประเด็นนี้ว่า มนัส (Mind)
พุทธิ (lntellect) และอหังการ (Ego) เป็นผลผลิตละเอียดอ่อนมาก
ปรมาณูของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งเป็นของหยาบ จะเป็นมูลการณะของมนัสพุทธิและอหังการ
ซึ่งมีความละเอียดประณีตได้อย่างไร ประกฤติเท่านั้นที่เป็นมูลการณะได้
รายละเอียดแต่ละอย่างคือ
ก.
ประกฤติ
ปรัชญาสางขยะมีความเห็นว่า ประกฤติ เป็นมูลการณะของโลกและจักรวาล
ตัวมันเองเป็นวัตถุธาตุมีความละเอียดประณีตมาก มันเป็นแหล่งกำเนิดของโลก
และจักรวาลจากสิ่งที่หยาบที่สุดจนถึงสิ่งที่ละเอียดที่สุด
เช่น มนัส พุทธิ และอหังการ เป็นต้น แต่ตัวมันเองเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากอะไร
มีอยู่เป็นอยู่ด้วยตัวมันเอง ไม่ตาย และจะไม่สูญหายไปไหนแต่สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากการรวมตัวของประกฤติมีการตายและสูญหาย
ภาพรวมของประกฤติพอที่จะกล่าวได้ดังนี้
1.ชื่อ
เนื่องจากประกฤติเป็นมูลการณะของสรรพสิ่ง แต่ตัวมันเองไม่ได้เกิดมาจากอะไร
มันไปเกี่ยวข้องกับสิ่งมากมายในโลกและจักรวาล จึงมีชื่อหลากหลายตามสถานะและภาวะที่ปรากฏ
ชื่อเหล่านั้นคือ
1.1 ประกฤติ ที่ เขาเรียกเช่นนี้เพราะเป็นมูลการณะของโลกและจักรวาล
สิ่งอื่นนอกเหนือจากประกฤติ มิใช่มูลการณะ 1.2
ประธาน เนื่องจากเป็นสิ่งแรกที่ปรากฏตัวในสากลจักรวาล
จึงมีชื่อเช่นนี้ 1.3 อวยักตะ
คือ สิ่งที่เป็นผลทั้งหลาย ซึ่งมีต้นตอมาจากประกฤติ
เรียกผลเหล่านั้นว่า อวยักตะ 1.4 อนุมาน
ประกฤติมีภาวะที่ละเอียดอ่อนมาก ไม่สามารถจะรับรู้มันได้โดยการสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสใดๆ
แต่ได้โดยการอนุมานจากผลิตผลของมันอย่างเดียวเท่านั้น
1.5 ชฑะ ประกฤติเป็นมูลการณะของสรรพสิ่ง
แต่ตัวของมันจริงๆ เป็นภาวะที่ไร้ความรู้สึก ไมมีสติสัมปชัญญะในตัวของมันเองเลย
แต่เมื่อประกอบกันเข้าเป็นรูปร่างของสิ่งต่างๆ มันกลับมีความรู้สึกนึกคิด
เพราะมีปุรุษะแทรกอยู่ภายใน แต่ตัวประกฤติเองไร้ความรู้สึกนึกคิดโดยประการทั้งปวง
1.6 ศักติ ประกฤติมีพลังที่เรียกวา
"กัมมันตภาพ" อยู่ภายในตัวอย่างมหาศาล จึงมีชื่อเช่นนั้น
1.7 จลนภาพ บระกฤติถึงไม่มีความรู้สึกนึกคิด
ไร้สติสัมปชัญญะ แต่มันมีการเคลื่อนไหวของตัวมันเองที่ซ่อนอยู่ใน
รชัส ซึ่งเป็นคุณะของมัน |
ปรัชญาสางขยะเรียกชื่อประกฤติมากมายเช่นนี้ เรียกไปตามสถานะของประกฤติที่แสดงตัวในรูปแบบต่างๆ
ดังนั้น ชื่อเหล่านี้จึงเป็นชื่อตามอาการที่ปรากฏ
2. คุณะ
คุณะคืออะไร ? คุณะ คีอ ส่วนประกอบของประกฤติ แต่มันไม่ได้หมายถึง
คุณสมบัติของประกฤติเหมือนคุณะที่ปรากฏในปรัชญาของนยายะ
ไวเศษิกะ มันคือส่วนย่อยที่รวมตัวกันเข้าเป็น "ประกฤติ"
ปรัชญาสางขยะเรียกสิ่งที่ เป็นมูลการณะของสรรพสิ่งว่า
"ประกฤติ" เพราะมีคุณะทั้ง 3 ประการเป็นส่วนประกอบ
และทั้ง 3 นั้น มีลักษณะละเอียดประณีตมากจนไม่สามารถจะรับรู้มันได้โดยประสาทสัมผัส
แต่ลามารถรับรู้มันได้ด้วยการอนุมานผลิตผลของมันเท่านั้น
คุณะเหล่านั้น คือ
2.1 สัตวะ แปลว่า ความมีอยู่ และมันเป็นที่เกิดของความดี
ความสุขความเบา ความแจ่มใส ความสดใส ความเจิดจ้าของแสงสว่าง
การเลื่อนลอยขึ้นไปเบื้องบนความพอใจ ทั้งหมดนี้เกิดมาจากสัตวะทั้งนั้น
ปรัชญาสางขยะถือว่าสีของสัตวะคือ สีขาว 2.2
รชัส แปลว่า ความเศร้าหมอง มันเป็นที่เกิดของความเคลื่อนไหวความชั่ว
ความทุกข์ ความเจ็บปวด ความกระวนกระวาย ความกระปรี้กระเปร่า
ความโหดร้ายความรุนแรงของอารมณ์ในรูปแบบต่างๆ สีของรชัสนั้น
คือ สีแดง 2.3 ตมัส แปลว่า ความมืด
มันเป็นที่เกิดของความโง่เขลา ความเซื่องซึมเหงาหงอย
ความหดหู่ ความรู้สึกสับสน ความรู้สึกเฉยๆ ถ้าเป็นวัตถุมันมีลักษณะของความหนักและหยุดนิ่ง
ตมัส มีลักษณะขัดแย้งกับสัตวะและรชัสอย่างตรงกันข้าม
คือ ถ้าขัดแย้งกับสัตวะมันมีลักษณะโง่เขลา สับสน เป็นต้น
และถ้าขัดแย้งกับรชัสจะมีลักษณะหยุดนิ่ง เป็นต้น ปรัชญาสางขยะกล่าวว่า
สีของตมัส คือ สีดำ |
คุณะทั้ง 3 ประการนี้ คือ ส่วนประกอบของสิ่งที่เรียกว่า
ประกฤติ สางขยะไม่เรียกคุณะใดคุณะหนึ่งว่า ประกฤติ แต่เรียกทั้ง
3 คุณะนี้ว่า ประกฤติ คุณะทั้ง 3 นี้มีลักษณะขัดแย้งกันตลอด
ถึงจะขัดแย้งกันแต่คุณะทั้ง 3 คณะก็แยกจากกันไม่ได้ เพราะการขัดแย้งกันคือ
ลักษณะปรกติของคุณะทั้ง 3 ประการ มีคำเปรียบเทียบไว้ว่า
สัตวะ รชัส ตมัส เหมือนไส้ตะเกียงน้ำมัน และไฟ ซึ่งรวมกันแล้วทำให้เกิดแสงสว่างขึ้นฉันใด
สัตวะ รชัส ตมัส เมื่อรวมกันก็ทำให้เกิดวิวัฒนาการของประกฤติกลายเป็นโลกและทุกสิ่งในโลก
จากข้อความที่ยกมานี้แสดงให้เห็นว่า คุณะทั้ง 3 ประการนี้ถึงจะรวมกันอยู่
ก็รวมกันในลักษณะขัดแย้ง และการขัดแย้งมิใช่การทำลาย แตหมายถึงการสร้างโลก
สร้างจักรวาล ตลอดจนสร้างสรรพสิ่งในโลกและจักรวาล
3. การเปลี่ยนแปร
คุณะทั้ง 3 ประการที่รวมกันเข้า เรียกว่า ประกฤตินั้น
จะมีการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปรตลอดเวลา จะไม่หยุดนิ่ง แต่ถ้าเมื่อใดคุณะทั้ง
3 ประการหยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปร อยู่ในภาวะสมดุล เมื่อนั้นเรียกว่า
ภาวะของประกฤติ อย่างไรก็ตาม ภาวะของประกฤตินี้จะเกิดขึ้นน้อยโดยปกติแล้วคุณะทั้ง
3 จะเปลี่ยนแปรตลอดเวลา ปรัชญาสางขยะได้แบ่งการเปลี่ยนแปรออกเป็น
2 อย่าง คือ
3.1 สรูปปริณามะ
การเปลี่ยนแปรที่เรียกว่า สรูปปริณามะ นี้หมายถึง
การเปลี่ยนแปรภายในของคุณะทั้ง 3 ซึ่งเป็นไปในทางเสื่อม
เพราะสัตวะเปลี่ยนแปรในสัตวะ รชัสเปลี่ยนแปรในรชัส
และตมัสเปลี่ยนแปรในตมัส ไม่ใช่การเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปในทางสร้างสรรค์
ปรัชญาสางขยะกล่าวไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงชนิดนี้มันหมายถึง
การเคลื่อนไหวไปในทางเสื่อมเหมือนกับคนเราเมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว
เซลล์ด่างๆ ก็จะค่อยเปลี่ยนแปรไปในทางเสื่อมเรี่ยวแรงก็จะค่อยๆ
ถอยลง ร่างกายแต่ละส่วนค่อยๆ เหี่ยวลง จนกระทั่งแก่ลงเต็มที่และตายเมื่อตายแล้วร่างกายก็จะค่อยๆ
เปื่อยเน่า สัตวะ รชัส ตมัส ซึ่งเป็นส่วนผสมของร่างกายคนก็จะกลับสู่สภาวะเดิมของตน
กล่าวคือ สัตวะเปลี่ยนแปรเป็นสัตวะ รชัสเปลี่ยนแปรเป็นรชัสและตมัสเปลี่ยนแปรเป็นตมัส
วิธีการเปลี่ยนแปรอย่างนี้ สางขยะเรียกว่า สรูปปริณามะ
3.2 วิรูปปริณามะ
การเปลี่ยนแปลงชนิดนี้เป็นไปในทางสร้างสรรค์ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปรที่คุณะหนึ่งมีปริมาณเหนือกว่าคุณะอย่างอื่น
ปรัชญาสางขยะกล่าวว่า เมื่อคุณะหนึ่งมีปริมาณเหนือกว่าคุณะอื่นๆ
ภาวะของประกฤติจะเสียความสมดุล เมื่อภาวะเช่นนี้เกิดขึน
จะเกิดการสั่นไหวที่รชัสก่อน เมื่อรชัสสั่นไหว ก็จะทำให้คุณะทั้งสอง
คือ สัตวะและตมัส เกิดความเสียดุลสั่นไหวตามไปด้วย
การเปลี่ยนแปรชนิดนี้ประกฤติจะวิวัฒนาการเป็นสิ่งต่างๆ
ขึ้น เช่น โลก จักรวาลและสรรพสิ่งในโลกและจักรวาล |
ปรัชญาสางขยะ กล่าวว่า จักรวาลและสรรพสิ่งเกิดจากประกฤติวิวัฒนาการมาจากประกฤติ
เมื่อเป็นเช่นนั้น โลกจักรวาลและสรรพสิ่งก็คือ ประกฤตินั่นเอง
แต่เป็นประกฤติในรูปแบบของการวิวัฒน์มาเป็นผล ประกฤติเมื่อยังไม่วิวัฒน์มาเป็นโลกจักรวาลและสรรพสิ่งถือว่าเป็นเหตุ
แต่เมื่อวิวัฒน์ตัวเองคลี่คลายมาแล้ว ภาวะอย่างนี้เรียกว่า
ผล ดังนั้น ผลจึงมีอยู่แล้วในเหตุ ผลมิใช่สิ่งอื่นไปจากเหตุ
เหตุมิใช่ตัวผลิตผล เพียงแต่ผลคลี่คลายออกมาจากเหตุเท่านั้น
นี่คือ ทัศนะของปรัชญาสางขยะ ซึ่งเชื่อทฤษฎีสัตการยวาท
ปรัชญาสางขยะยึดถือประกฤติว่าเป็นมูลการณะของสรรพสิ่ง
ประกอบกับได้รับอิทธิพลคำสอนของศาสนาเชนและพุทธ จึงทำให้สางขยะปฏิเสธเทวนิยม
ซึ่งตัวเองเคยยึดถือมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งสำนักนี้ ได้ถือตัวเองว่าเป็นพวกอเทวนิยม
ต่อมาเมื่อท่านพาทรายณะและสังกราจารย์แห่งอไทวตะ เวทานตะโจมตีหนักเข้า
ท่านวิชญาณภิกขุ ผู้นำคนหนึ่งของสางขยะจึงพยายามฟื้นฟูสางขยะให้เป็นเทวนิยมเหมือนเดิม |
ข.
ปุรุษะ
ปรัชญาสางขยะยอมรับว่า ความจริงแท้ซึ่งเป็นมูลการณะของสรรพสิ่งในโลกและจักรวาลมีเพียง
2 อย่างเท่านั้น คือ ประกฤติ ซึ่งเป็นความจริงแท้ทางว้ตถุ
และปุรุษะเป็นความจริงแท้ทางวิญญาณ ปรัชญาสางขยะถือว่า อันติมสัจ
ทั้งสองนี้ต่างอิงอาศัยซึ่งกันและกันในการพัฒนาสู่ความสมบูรณ์ของโลกและจักรวาล
ปุรุษะคืออะไร ? ปุรุษะ คือ อัตตาหรือวิญญาณบริสุทธิ์
เปรียบได้กับชีวาตมันของปรัชญาอินเดียระบบอื่นๆ แต่ต่างจากชีวาตมันของระบบอื่นๆ
ตรงที่ปุรุษะไม่ได้เกิดมาจากการสร้างของพระเจ้า มันมีอยู่เป็นอยู่โดยตัวมันเอง
ปรัชญาสางขยะได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับปุรุษะไว้ว่า ปุรุษะ
คือ อัตตา แต่ไม่ใช่อัตตาส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ไม่ใช่ระบบประสาทไม่ใช่สมอง
ไม่ใช่กระแสความรู้สึก ไม่ใช่อินทรีย์ ไม่ใช่มนัส ไม่ใช่พุทธิ
ปรัชญาสางขยะกล่าวว่า ปุรุษะ คือ วิญญาณบริสุทธิ์ เป็นธาตุรู้
ที่มีความรู้สึกนึกคิด และเป็นพื้นฐานแห่งความรู้ของสิ่งทั้งปวง
เป็นผู้ทำกรรมดี-ชั่วด้วยตนเอง และเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ
ที่ตัวเองทำไว้ปุรุษะเป็นวิญญาณที่ไม่มีใครสร้าง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมีอยู่เป็นนิรันดร
ปรัชญาสางขยะ กล่าวว่า ปุรุษะมีจำนวนมากมายไม่สามารถนับจำนวนได้
มันมีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง ถึงจะมีมากมาย มันก็มีคุณสมบัติอันเดียวกัน
คือ เป็นวิญญาณบริสุทธิ์เป็นธาตุรู้ที่เป็นพื้นฐานความรู้ของสิ่งทั้งปวง
ปุรุษะเหล่านั้นต่างกันตรงที่ปุรุษะแต่ละดวงมีอิสระของตัวเอง
ไม่ขึ้นแก่กันและกัน แต่ละดวงต่างก็ดำเนินการของตนโดยอิสระ
ปรัชญาสางขยะได้ยืนยันจำนวนของปุรุษะว่ามีมากมายโดยอ้างเหตุผลดังนี้
1. เมื่อประกฤติซึ่งเป็นสิ่งจริงแท้ทางวัตถุ และปุรุษะเป็นสิ่งจริงแท้ทางวิญญาณมารวมกันเข้า
ทั้งสองกลายเป็นสิ่งเดียวกัน คือ สิ่งมีชีวิต และสิ่งมีชีวิตแต่ละอย่างมีความรู้สึกนึกคิดการดำเนินชีวิต
การเกิด การตาย ประสบการณ์ชีวิตแตกต่างกัน ถ้าปุรุษะมีเพียงตัวเดียวสิ่งมีชีวิตแต่ละอย่างย่อมรู้สึกนึกคิด
ดำเนินชีวิต เกิด ตาย และมีประสบการณ์ชีวิตเหมือนกันหมด
แต่ในชีวิตจริงของโลกแล้ว มิได้เป็นเช่นนั้น สิ่งมีชีวิตแต่ละอย่างต่างดำเนินกิจกรรมดังกล่าวของตนเองอย่างอิสระ
ไม่เกี่ยวข้องกันและกันเลยนี้ แสดงว่าปุรุษะมีจำนวนมากมาย
2. ถ้าปุรุษะมีดวงเดียวและเป็นศูนย์กลางของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดรวมทั้งคนด้วย
ถ้าคนๆ หนึ่งทำชั่วบ้าง ทำดีบ้าง เขาต้องเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏ
คนทั้งหมดต้องเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวฏต้วย ไม่มีใครจะหลุดพ้นจากทุกข์ใปได้ทั้งๆ
ที่คนบางคนทำความดีขัดเกลาตัวเองจนไม่มีกิเลสาสวะที่จะให้เขาติดในสังสารวัฏ
แต่ความจริงก็ได้เป็นเช่นนั้น คนที่ทำความชั่วบ้างดีบ้างย่อมเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏ
ส่วนคนทำดีจนไม่มีกิเลสาสวะย่อมหลุดพ้นไปจากสังสารวัฏนี้
แสดงว่าปุรุษะมีจำนวนมากมาย
3. ปุรุษะที่หลุดพ้นแล้วจะมีลักษณะที่เหมือนกันหมด คือ
การดำรงอยู่เหนือคุณะทั้ง 3 แต่ปุรุษะที่ยังติดอยู่ในสังสารวัฎจะมีลักษณะแตกต่างกัน
ซึ่งขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของคุณะทั้ง 3 คือ สัตวะ รชัส
และตมัส ข้อความที่ยกมานี้แสดงให้เห็นว่าปุรุษะที่หลุดพ้นจะมีลักษณะอย่างหนึ่ง
แต่ปุรุษะที่ยังติดข้องก็จะมีลักษณะอีกอย่างหนึ่งซึ่งแตกต่างไปจากปุรุษะที่หลุดพ้นแล้วในลักษณะอย่างเดียวกัน
ปุรุษะที่ติดข้องยังแตกตางกันอีก เพราะอำนาจของคุณะ ปุรุษะใดมีสัตวะมาก
แต่มีรชัสและตมัสน้อยก็จะแตกต่างจากปุรุษะที่มีรชัสมาก
แต่มีสัตวะและตมัสน้อย หรือปุรุษะใดมีตมัสมาก แต่มีสัตวะและรชัสน้อย
ก็จะแตกต่างจากปุรุษะที่มีรชัสมาก แต่มีสัตวะและตมัสน้อย
ที่เป็นอย่างนี้ แสดงให้เห็นว่าปุรุษะมีจำนวนมากมาย
เหตุผลทั้ง 3 ประการที่กล่าวข้างต้นนี้ คือ ข้อพิสูจน์ของปรัชญาสางขยะ
เพื่อจะยืนยันว่าปุรุษะซึ่งเป็นธาตุรู้และเป็นพื้นฐานของความรู้ของสิ่งทั้งปวงนั้นมีจำนวนมากมาย
ไม่สามารถจะนับจำนวนและไม่สามารถจะพรรณนาให้หมดสิ้นได้
เพราะมีจำนวนมากเกินกว่าที่จะทำเช่นนั้นได้ |
3.2.4 ทฤษฎีวิวัฒนาการ
(The Theory of Evolution)
อาจกล่าวได้ว่า ลัทธิสางขยะเป็นปรัชญาระบบแรกของโลกที่พูดถึงการวิวัฒนาการของโลกและจักรวาล
และเกิดมาก่อนชาร์ลส์ ดาร์วิน เจ้าของทฤษฎีวิวัฒนาการถึง 3,000
กว่าปี จึงเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์มากที่ปรัชญาสมัยโบราณมีความคิดล้ำยุคของตัวเองมากถึงขนาดนี้
ทฤษฎิวิวัฒนาการของสางขยะเชื่อว่า ประกฤติ คือ มูลการณะของโลกและจักรวาล
ถ้ามีเพียงประกฤติอย่างเดียวก็จะไม่มีการวิวัฒนาการใดๆ เกิดขึ้น
สิ่งที่ทำให้ประกฤติวิวัฒน์เป็นสรรพสิ่ง คือ ปุรุษะ ซึ่งเป็นธาตุรู้มีสติสัมปชัญญะและเป็นพื้นฐานของความเ้อื่นๆ
ทั้งหมดปุรุษะไม่มีใครสร้าง มีอยู่เป็นอยู่เอง ไม่แก่ ไม่ตาย
เป็นอมตะตลอดกาล ดังนั้นมันจึงเป็นสิ่งจริงแท้ที่ 2 รองจากประกฤติ
ประพฤติและปุรุษะเป็นสิ่งจริงแท้มีอยู่เป็นอยู่ก่อนกาลเวลาที่จะกำหนดได้
มีมาก่อนโลกและจักรวาล แต่ทั้งสองไม่ได้สัมพันธ์กันจึงไม่เกิดวิวัฒนาการขึ้นประกฤติอยู่ในส่วนประกฤติคุณะทั้ง
3 ของประกฤติ ก็เปลี่ยนแปรในส่วนของตัวเอง คือ สัตวะเปลี่ยนแปรในสัตวะ
รชัสเปลี่ยนแปรในรชัส และตมัสเปลี่ยนแปรในตมัส การเปลี่ยนแปรอย่างนี้จะไม่เกิดการวิวัฒนาการอะไรมาเลย
มีแต่จะทำให้เกิดการเสื่อมถอยลง ส่วนปุรุษะนั้นก็อยู่เป็นอิสระของตัวเอง
การที่ประพฤติและปุรุษะไม่สัมพันธ์กันนั้น วิวัฒนาการก็ไม่เกิดขึ้น
การสัมพันธ์กันของทั้งสองจึงเกิดการวิวัฒนาการขึ้น มีลำดับการวิวัฒนาการดังนี้
ก. ประกฤติและปุรุษะสัมพันธ์กัน
ประกฤติเข้าไปหาปุรุษะหรือว่าปรุษะเข้าไปหาประกฤติ ประกฤติเป็นสิ่งจริงแท้และเป็นมูลการณะของสรรพสิ่ง
ในตัวมันเองมีจลนภาพอยู่ ถืงกระนั้นมันก็ไม่ได้เข้าไปหาปุรุษะ
ส่วนปุรุษะเองเป็นธาตุรู้และเคลื่อนไหวไม่ได้ จึงไม่สามารถเข้าหาประกฤติได้
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทั้งสองสัมพันธ์กันอย่างไร ปรัชญาสางขยะกล่าวว่า
สัมพันธ์กันทางแรงสะท้อน (Reflectlon) คือ ปุรุษะสะท้อนเข้าหาประกฤติ
เมื่อคุณะทั้ง 3 ของประกฤติได้รับแรงสั่นสะเทือนจากปุรุษะ รชัสขื่งมีจลนภาพอยู่ภายในก็จะเกิดการสั่นไหว
เมื่อรชัสสั่นไหว คุณะทั้งสองที่เหลือก็จะเกิดการเสียดุลและสั่นไหวตามไปด้วย
ผลของการสั่นไหวของคุณะทั้ง 3 เป็นเหตุเกิดการผสมกันเองในรูปต่างๆ
ในที่สุดก็เกิดโลกและสิ่งต่างๆ พร้อมทั้งจักรวาล
ข. ผลของการสัมพันธ์
เมื่อประกฤติและปุรุษะสัมพันธ์กันดังที่กล่าวมาแล้วในข้อ ก.
สิ่งที่แรกที่เกิดขึ้นจากการสัมพันธ์กันนั้น คือ มหัต หรือ พุทธิ
ผลผลิตอันดับที่ 2 ซึ่งเกิดจากมหัสหรือพุทธิ คือ อหังการ หลังจากอหังการเกิดขึ้น
แล้วจะมี มนัส ญาเณนทรีย์ 5 กรรเมนทรีย์ 5 และตันมาตระหรือสุขุมรูป
5 จากสุขุมรูป 5 ก็จะเป็นมหาภูตรูป 5 ซึ่งเกิดมาจากสุขุมรูป
5 อีกทีหนึ่ง
ค. ระดับของการวิวัฒน์
ประกฤติและปุรุษะมาสัมพันธ์กันจนเป็นเหตุให้เกิดการวิวัฒนาการดังกล่าวมาแล้ว
ในข้อ ข. นั้น ปราชญ์ได้แบ่งการวิวัฒน์นั้นออกเป็น 2 ขั้น คือ
1. ขั้นจิตภาพ (Psychical) และ 2.
ขั้นกายภาพ (Physical) ขอให้เรามาดูรายละเอียดแต่ละขั้นตอน
1. ขั้นจิตภาพ (psychical)
เมื่อประกฤติได้รับการสั่นสะเทือนจากปุรุษะ รชัสซึ่งเป็นคุณะอันหนึ่งของประกฤติก็เริ่มการสั่นไหว
การสั่นไหวของรชัสทำให้คุณะอื่นๆ เสียความสมดุลจนกลายเป็นการสร้างโลกและสรรพสิ่งดังกล่าวมาแล้ว
สิ่งแรกซึ่งวิวัฒน์ออกมาจากประกฤติ คือ มหัตหรือพุทธิ
มหัต แปลว่า ใหญ่ พุทธิ แปลว่า รู้ สิ่งแรกที่วิวัฒน์มาจากประกฤตินั้นมีความยิ่งใหญ่
เพราะรู้จักอะไรว่าเป็นอะไร รู้จักแยกแยะสิ่งต่างๆ ออกจากกันได้
โดยไม่เห็นสิ่งหนึ่งว่าเป็นสิ่งหนึ่ง ถามว่า เมื่อพุทธิ
แปลว่า ความรู้ และปุรุษะ คือ ธาตุรู้ ทั้งสองนี้ต่างกันอย่างไร
ตอบว่า ปุรุษะ คือ ธาตุรู้อยู่เหนือรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย
อยู่เหนือคณะของประกฤติและเป็นพื้นฐานรองรับความรู้ทางสติปัญญาทั้งหมด
ส่วนพุทธิ คือ ความรู้ที่คอยช่วยเหลือปุรุษะอีกทีหนึ่งเท่านั้น
เพราะมันมิใช่ธาตุรู้จริงๆ
หลังจากพุทธิวิวัฒน์มาจากประกฤติแล้ว อหังการก็วิวัฒน์จากพุทธิอีกทีหนื่ง
อหังการ คือ ความรู้สึก "ตัวกู , ของกู" (l
and Mine) เพราะอหังการเป็นเหตุจึงทำให้ปุรุษะเกิดความอยาก
เมื่อเกิดความอยากปุรุษะจึงลงมือทำกรรมต่างๆ ตามความอยาก
ความปรารถนาของตัวเองด้วยอำนาจของอหังการ ปรัชญาสางขยะได้แบ่งอหังการออกเป็น
3 ขนิด ตามลักษณะคุณะของประกฤติ คือ
1.1 สัตตวิกะ ในข้อนี้ อหังการมีสัตวะเด่นกว่ารชัสและตมัส
1.2 ราชสะ ในข้อนี้ อหังการมีรชัสเด่นกว่าสัตวะและตมัส
1.3 ตามสะ ในข้อนี้ อหังการมีตมัสเด่นกว่าสัตวะและรชัส
เมื่อปุรุษะทำกรรมต่างๆ ตามอำนาจของอหังการดังกล่าวข้างบน
ปุรุษะจึงเข้าใจตัวเองอย่างผิดๆ ว่า เป็นผู้ทำ ผู้ปรารถนา
ผู้พยายาม เมื่อเข้าใจอย่างนี้จึงเป็นเหตุให้ปุรุษะเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏ
เมื่ออหังการวิวัฒน์มาจากพุทธิ ส่วนมนัส ญาเณนทรีย์ 5
กรรเมนทรีย์ 5 ตันมาตระ 5 ก็วิวัฒน์มาจากอหังการอีกทีหนึ่ง
แต่ละอย่างนั้นมีหน้าที่ดังนี้
(ก) มนัส
ปรัชญาสางขยะ ถือว่ามนัสเป็นอายตนะกลางทำหน้าที่อยู่ภายในเชื่อมโยงระหว่างอหังการและพุทธกับญาเณนทรีย์
5 ให้ทำงานร่วมกันได้
(ข) ญาเณนทรีย์ 5
ญาเณนทรีย์ คือ อายตนะภายใน 5 ประการ มี ตา หู จมูก ลิ้น
และกาย มีหน้าที่รับรู้อารมณ์ข้างนอก
(ค) กรรเมนทรีย์ 5
ปรัชญาสางขยะ ถือว่า กรรเมนทรีย์ คือ อวัยวะทำงานมีปาก
มือ เท้า ทวารหนัก ทวารเบา เเละอวัยวะสืบพันธุ์
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือ ขั้นจิตภาพ เริ่มจากมหัตหรือพุทธิ
อหังการ มนัส ญาเณนทรีย์ กรรเมนทรีย์ เพราะมีหน้าที่ทำการใกล้ชิดอยู่กับประกฤติ |
2. ขั้นกายภาพ (Physical)
ถึงจะถูกเรียกว่า ขั้นกายภาพ แต่ตันมาตระซึ่งวิวัฒน์มาจากอหังการก็มีความละเอียดอ่อนมากจนเราไม่สามารถจะรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง
5 และสามารถรู้ได้โดยการอนุมานเท่านั้น ขั้นกายภาพมี 2
อย่าง คือ
(ก) ตันมาตระ 5 หรือสุขุมรูป และมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
"อวิเศษะ" เพราะมีลักษณะเฉพาะทีรับใ้ไม่ได้
ต้องอาสัยการอนุมานจึงจะรับรู้ได้ ตันมาตระ 5 คือสี เสียง
กลิ่น รส และผัสสะ
(ข) มหาภูตรูป 5 คือ อากาศ ดิน น้ำ
ลม ไฟ เป็นธาตุหยาบที่วิวัฒน์มา
จากสุขุมเป็นซึ่งเป็นของละเอียดอ่อน มหาภูตรูป 5 อย่าง
และสิ่งผสมที่เกิดจากการผสมของมหาภูตรูป 5 อย่าง เรียกว่า
วิเศษะ ที่เรียกเช่นนี้ เพราะเป็นสิ่งมีลักษณะเฉพาะที่
สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส ปรัชญาสางขยะถือว่า ร่างกายหยาบ
(วิเศษะหรือมหาภูตรูป 5) หรือร่างกายที่เกิดมาจากมารดา
บิดาเป็นฐานรองรับร่างกายที่ละเอียด ซึ่งเป็นสิ่งภายในที่ประกอบด้วย
พุทธิ อหังการ มนัส ญาเณนทรีย์ 5 กรรเมนทรีย์ 5 และตันมาตระ
5 อีกทีหนึ่ง ดังนั้นเราอาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า มนุษย์เราแต่ละคนมี
2 กาย คือ กายละเอียดซึ่งอยู่ภายในและกายหยาบ ซึ่งรองรับกายละเอียดอยู่ภายนอก
ทฤษฎีวิวัฒนาการของสางขยะ ถ้าเรามองภาพตั้งตั้งแต่ต้นจนจบ
จะเห็นว่าสิ่งที่วิวัฒน์มาจากประกฤตินั้นมีทั้งหมด 23
อย่าง บวกกับประกฤติอีกหนึ่งเป็น 24 และบวกกับปุรุษะอีกเป็น
25 โลกและสรรพสิ่งทั้งหลายประกอบด้วยสิ่งเหล่านั้นครบบ้างไม่ครบบ้าง
ถ้าเป็นสิ่งไม่มีชีวิตก็ไม่ครบ 25 อย่าง แต่ถ้าเป็นสิ่งที่มีชีวิตก็จะประกอบกันเข้าครบ
25 อย่าง ดังนั้นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตจึงมีส่วนประกอบของประกฤติแตกต่างกัน
เพราะเหตุปรัชญาสางขยะมีทัศนะอย่างนี้จึงเรียกว่า พหุสัจนิยม
(PluraI Reallsm)
|
3.3 จริยศาสตร์ (Ethics)
ปรัชญาสางขยะก็มีทัศนะเช่นเดียวกับปรัชญาอินเดียระบบอื่นๆ กล่าวคือ
ต้องการดับทุกข์ หยุดการเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏและหาช่องทางให้วิญญาณหรือชีวะหลุดพ้นจากกองทุกข์
คือ สังขารซึ่งห่อหุ้มจนทำให้ปุรุษะหลงผิดคิดว่าตนเอง คือ สสาร
ถามว่า อะไรคือมรรคหรือช่องทางที่จะทำให้ปุรุษะหลุดพ้นไปจากกองทุกข์ทั้งมวลได้
จากคำถามนี้ต้องเข้าใจว่า ปรัชญาสางขยะและปรัชญาโยคะมีความผูกพันกัน
กล่าวคือ ปรัชญาโยคะยอมรับญาณวิทยาและอภิปรัชญาของปรัชญาสางขยะ
และในขณะเดียวกัน ปรัชญาสางขยะก็ยอมรับจริยศาสตร์ของปรัชญาโยคะ
ดังนั้น โยคะ 8 ประการ คือ มรรคหรือช่องทางที่จะนำปุรุษะให้หลุดพ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏ
โยคะ 8 ประการนั้นจะขอกล่าวรายละเอียดในปรัชญาโยคะในอันดับถัดไป
ถามว่า ทำไมปรัชญาสางขยะจึงอยากหลุดพ้นจากความทุกข์ และความทุกข์ในปรัชญาสางขยะนั้นคืออะไร
? ปรัชญาสางขยะได้แบ่งทุกข์ไว้มากมาย และสามารถสรุปเป็นหัวข้อใหญ่ๆ
ได้ 3 ประการด้วยกัน คือ
3.3.1 อาธยาตมิกะ หมายถึง ความทุกข์ที่เกิดขึ้นทั้งทางกายและทางใจ
ความทุกข์ทางกาย เช่น ปวดท้อง ปวดหัว หรือโรคภัยต่างๆ มี โรคมะเร็ง
โรคเอดส์ โรคตับอักเสบ เป็นต้น ความทุกข์ทางใจ ได้แก่ พลัดพรากจากคนรัก
อยู่ใกล้ชิดกับศัตรู ผิดหวังในสิ่งที่ต้องการสิ่งเหล่านี้ คือ
สาเหตุให้เกิดความทุกข์
3.3.2 อธิเภาติกะ หมายถึง ความทุกข์ที่ เกิดจากสาเหตุภายนอกต่างๆเช่น
ถูกทุบตีจากมนุษย์ด้วยกัน หรือถูกทำร้ายจากสัตว์ หรือเกิดอุบัติเหตุนานาชนิด
ปรัชญาสางขยะถือว่าสิ่งเหล่านี้คือที่มาของความทุกข์ทั้งนั้น
3.3.3 อธิไวทิกะ ได้แก่ ความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุอันเกิดนิสัยของมนุษย์ธรรมดาจะเข้าใจได้
และอธิบายให้คนอื่นฟังยากลำบาก เพราะเป็นสาเหตุลึกลับ เช่นฟ้าผ่า
เทวดาลงโทษ ผีเข้า กรรมในอดีตตามทัน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องลึกลับ
ยากที่จะทำความเข้าใจกับคนอื่นได้
ทั้ง 3 ประการที่กล่าวมานี้ คีอ ความทุกข์ตามทัศนะของปรัชญาสางขยะ
ใครอยากพ้นจากความทุกข์ทั้ง 3 ประการนี้ต้องปฏิบัติตามโยคะ 8
ประการอย่างเคร่งครัด เขาก็จะหลุดพ้นไปจากทุกข์ดังกล่าว และปรัชญาสางขยะได้ยอมรับการหลุดพ้น
2 อย่างที่กล่าวไว้ในอุปนิษัท การหลุดพ้นทั้งสองอย่างนั้น คือ
(ก) ชีวันมุกติ คือ การหลุดพ้นหรือรู้แจ้งว่าปุรุษะ
คือ วิญญาณบริสุทธิ์และประกฤติ คือ สสาร เมื่อรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว
ผู้รู้แจ้งนั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้หลุดพ้นและยังมีชีวิตอยู่
ยังสามารถช่วยสรรพสัตวได้ ชีวันมุกติเปรียบได้เท่ากับสอุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธศาสนา
(ข) วิเทหมุกติ ได้แก่ การหลุดพ้นหรือรู้แจ้งแล้ว
สังขารแตกดับไป
พร้อมกับการหลุดพ้นนั้น ท่านที่หลุดพ้นประเภทนี้จะไม่มีโอกาสได้ช่วยเหลือสัตว์อื่นเลย
เปรียบได้กับอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธศาสนา
4. เป้าหมาย
จุดหมายปลายทางของปรัชญาสางขยะก็คือ การหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งสามดังกล่าวมาแล้ว
ไม่ว่าการหลุดพ้นนั้นจะเป็นการหลุดพ้นแบบชีวันมุกติหรือวิเทหมุกติ
ถือว่าหลุดพ้นทั้งนั้น เพราะจะไม่มาเวียนเกิดเวียนตายเผชิญกับความทุกข์ทั้ง
3 นั้น ถามว่า เมื่อหลุดพ้นแล้วจะมีภาวะเป็นอย่างไร ปรัชญาสางขยะตอบว่า
การหลุดพ้น คือ ปุรุษะรู้จักภาวะดั้งเดิมของตัวเอง ไม่ถูกปกคลุมหรือปิดบังจากประกฤติ
เมื่อรู้ว่าตัวเอง คือ ปุรุษะ อวิทยาก็หายไป วิทยากลับคืนมาแทนที่
ปุรุษะก็คือ วิญญาณที่บริสุทธิ์เหมือนเดิม "สถานะแห่งโมกษะ
(หลุดพ้น) ของสางขยะก็คือ โมกษะไม่มีความสนุกสนาน (Pleasure) ไม่มีความสุข
(Happiness) และไม่มีนิรามิสสุข (Bliss) ใดๆ เลย การเข้าถึงความหลุดพ้นหรือโมกษะของปุรุษะก็คือ
การคืนสู่ภาวะความเป็นวิญญาณบริสุทธิ์ตามเดิมเท่านั้นเอง"
ดังนั้น การหลุดพ้นก็คือ การกลับไปสู่ภาวะเดิมของปุรุษะ กล่าวคือ
กลับคืนสู่วิญญาณบริสุทธิ์เหมือนก่อนที่จะมาสัมพันธ์กับประกฤติ
ถามว่า - ปรัชญาสางขยะยอมรับเรื่องพระเจ้าหรือไม่ ?
ตอบว่า แรกทีเดียวปรัชญาสางขยะเป็นปรัชญาระบบเอกเทวนิยม แต่ต่อมาภายหลังได้รับอิทธิพลจากแนวคิดของพุทธ
เชน และจารวาก จึงเปลี่ยนมาเป็นปรัชญาอเทวนิยม ในยุคหลังๆ ถึงจะมีปราชญ์สำนักนี้พยายามจะเปลี่ยนแปลงให้กลับไปเป็นเทวนิยมเหมือนเดิม
เช่น ท่านวิชญาณภิกขุ เป็นต้นก็ตาม หากดูบริบทความคิดทางปรัชญาสำนักนี้แล้ว
ถึงจะนับถือพระเจ้า พระเจ้าเองไม่มีความหมายอะไร เพราะการเกิดขึ้นของสรรพสิ่งขึ้นอยู่กับประกฤติและปุรุษะสองอย่างนี้เท่านั้น
หรือแม้แต่การทำลายก็คือ การแยกกันของมูลการณะทั้งสองนี้ ดังนั้นจะมีพระเจ้าหรือไม่
ไม่ใช่เรื่องสำคัญสำหรับปรัชญาสางขยะ
|