พระพรหมในศาสนาฮินดู
คัมภีร์อุปนิษัทซึ่งเป็นคัมภีร์ประกอบคัมภีร์พระเวททั้ง 4 คัมภีร์
กล่าวถึง พระพรหมไว้โดยละเอียด เรื่องราวของพรหมเป็นแนวความคิดสูงสงของศาสนาฮินดู
หลักปรัชญาในคัมภีร์อุปนิษัทสรุปได้ว่า
1. สภาพสมบูรณ์ (Absolute Being) หรือสภาพความจริงสูงสุด (Ultimate
Reality) คือ พรหม
2. พรหมคือปรมาตมัน เป็นอมตะ เป็นที่รวบรวมของชีวาตมัน
3. ชีวาตมันในแต่ละบุคคลเป็นส่วนย่อยของปรมาตมัน ซึ่งเมื่อกลับไปรวมกับปรมาตมันเดิมไม่ได้
จะเวียนว่ายตายเกิดเรื่อยไป จนกว่าจะถึง โมกษะ (วิมุติ) ความหลุดพ้น
จึงจะไปรวมกับพรหมเป็นการพ้นทุกข์ไม่ต้องกลับมาเกิดใหม่
4. กฎแห่งกรรม การเวียนวายตายเกิดชีวาตมันในภพต่างๆ ยอมขึ้นกับการกระทำ
กล่าวคือถ้าทำดีย่อมส่งผลถึงภพหน้า หรือภพนี้เกิดจากการกระทำของภพที่แล้ว
5. การกลับไปรวมอยู่กับพรหม ต้องบำเพ็ญเพียรทุกรกิริยาดับอัตตาให้หมด
เพื่อชีวาตมันจะได้หลุดพ้นไปรวมกับปรมาตมัน การดับอัตตาจึงเป็นการดับทุกข์ทั้งมวลไม่ต้องมาเกิดใหม่อีก
ปรัชญาอุปนิษัทซึ่งถือว่าพระพรหมคือสภาพสมบูรณ์สูงสุดควบคุมทุกอย่างในจักรวาล
ในที่สุดจากปรัชญาเช่นนี้ พระพรหมจึงมีฐานะเป็นพระเจ้าสูงสุดของศาสนาฮินดูไป
อ่านเรื่อง
"พระพรหม" เพิ่มเติมได้ที่นี่ |