พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ
บทเทศนา ศรีสัตยนารายณ์ กถา (ภาษาไทย) ตอนที่ 2
***** ลิขสิทธิ์บทความของ "ศรีหริทาส" มหาวิทยาลัยศิลปากร *****
|| ศฺรีสตฺยนารายณ กถา ||

|| ติสรา อธฺยาย || ศรีสัตยนารายณ์ กถา อัธยายที่ 3 (บทที่ 3)

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีพระราชาพระนามว่า พระเจ้าอุลกามุข(อุลฺกามุข) ทรงปกครองชมพูทวีปทั้งหมด พระองค์ทรงสามารถควบคุมกายใจของพระองค์ ทรงเที่ยงธรรม ทรงมีความรักภักดีในพระเป็นเจ้า และทรงเป็นผู้ที่มีสติปัญญาสูงยิ่ง พระองค์พระมเหสีที่งดงามเป็นอย่างยิ่งพระนามว่า พระนางสุนทรวทนา(สุนฺทรวทนา) ซึ่งทรงมีความจงรักภักดีอย่างสูงสุดต่อพระเจ้าอุลกามุข พระนางถวายการรับใช้ต่อองค์ราชาดั่งถวายต่อองค์พระนารายณ์ ทั้งสองพระองค์ได้ทรงประกอบพิธีสัตยนารายณ์บูชาอยู่บ่อยครั้ง ณ ริมฝั่งน้ำ ด้วยความรักภักดีและความสุจริตใจ วันหนึ่ง ขณะที่สองพระองค์กำลัง กระทำพิธีสัตยนารายณ์บูชาอยู่นั้น พ่อค้าวาณิชผู้หนึ่งนามว่าสาธุ ได้นำเรือบรรทุกสินค้าและทรัพย์สมบัติผ่านมาพอดี
สาธุสังเกตเห็นองค์ราชาและมหารานีกำลังกระทำการบูชาอยู่ จึ่งนำเรือเข้าเทียบท่า
สาธุเข้าไปใกล้ทั้งสองพระองค์ครั้นแล้วก็เอ่ยถามขึ้นด้วยความเคารพว่าทั้งสองพระองค์กระทำสิ่งใด พระราชาตรัสตอบว่า “ นี่ แน่ะสาธุ มีอะไรเล่าที่จะจำเป็นยิ่งไปกว่าการรู้ว่าจริงๆแล้วตัวเราเป็นใคร สิ่งที่ดำรงอยู่รอบตัวเราทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตคือใคร และอะไรคือจุดหมายแห่งการมีชีวิตอยู่ของเราภายใต้จักรวาลอันไพศาลนี้ ความรู้อันเนื่องด้วยสัจธรรมสูงสุดนั้น ย่อมนำมาซึ่งสันติสุขในจิตใจ นำมาซึ่งความสุขและสุขภาพที่ดี สิ่งเหล่านี้จะส่งผลทำให้คนผู้นั้นแข็งแรงขึ้น มีพลังที่จะทำงานหนักและได้รับสิ่งจำเป็นทั้งปวงเพื่อการยังชีพ และไม่ช้าเราก็จะสามารถเป็นพ่อแม่ในอุดมคติของลูกหลาน ในที่สุดครอบครัวทั้งหลายก็จะมีความสุขสมบูรณ์ ข้าพเจ้าเชื่ออย่างจริงใจว่า โดยการกระทำพิธีสัตยนารายณ์บูชา เราจะได้รับสิ่งทั้งปวงที่กล่าวมานี้” เมื่อนายวาณิชสาธุได้เรียนรู้เรื่องรายละเอียดต่างๆของการประกอบพิธีสัตยรายณ์บูชาแล้ว เขาเอ่ยขึ้นว่า “ กระหม่อม ปราศจากความสุข เหตุเพราะกระหม่อมไม่มีบุตร กระหม่อมสัญญาว่า กระหม่อมจะประกอบพิธีสัตยนารายณ์บูชาเป็นแน่ เมื่อกระหม่อมมีบุตร” ครั้น แล้วสาธุจึงเดินทางกลับบ้าน และเล่าเหตุการณ์ทั้งปวงให้ภรรยานามว่าลีลาวตีฟัง มินานนัก ขณะเมื่อลีลาวตีปรนนิบัติสามีของนางจากส่วนลึกของหัวใจ ประดุจดั่งถวายต่อองค์นารายณ์นั้น นางก็ได้ตั้งครรภ์ขึ้น ครั้นถึงเวลาที่เหมาะสมนางก็ให้กำเนิดบุตรสาวที่มีความงดงามน่ารักเป็นอย่าง ยิ่ง นามว่า กลาวตี
วันหนึ่ง ลีลาวตีเอ่ยถามสามีของนางว่า เมื่อไหร่เขาจะประกอบพิธีสัตยนารายณ์บูชาตามที่สัญญาไว้ สาธุอิดเอื้อนเล็กน้อยแล้วตอบไปว่า เขาสัญญาว่าจะประกอบพิธีสัตยนารายณ์บูชา เมื่อกลาวตีแต่งงาน กลาวตีเติบโตขึ้นทุกวัน เมื่อเธอมีอายุได้สิบหกปี สาธุผู้บิดาตั้งใจจะจัดพิธีสยุมพร(แต่งงาน)ให้เธอกับพ่อค้าหนุ่มจากเมืองกาน จน(กาจน)อย่างยิ่งใหญ่ เมื่อพิธีสยุมพรผ่านพ้นไปแล้วสาธุและบุตรเขยก็ออกเดินทางไปค้าขาย เขาหลงลืมคำสัญญาไปเสียสิ้น โลกรอบๆตัวเขาหมุนวนไปด้วยเรื่องการค้าขายและเรื่องการหาเงินทองให้มากขึ้น เท่านั้น เขาเองมักกังวลว่าทำอย่างไรที่จะหาเงินทองมาเพิ่มอีก และทำอย่างไรที่จะปกป้องเงินทองที่หามาได้ ด้วยความกลัดกลุ้มสาธุได้ลืมการนอนหลับในยามราตรีไปเสียแล้ว วันหนึ่ง ขณะที่เขาเดินทางมาค้าขายในเมืองซึ่งปกครองโดย พระเจ้าจันทรเกตุ(จนฺทฺรเกตุ) สาธุและบุตรเขยมองเห็นหัวขโมยสองคนวิ่งมาพร้อมด้วยเพชรพลอยจำนวนมากซึ่งถูก ขโมยมาจากพระราชวัง และกำลังถูกไล่ตามมาโดยทหารหลวง เมื่อจวนตัวขโมยทั้งคู่ก็โยนเพชรนิลจินดาทั้งหมดไว้เบื้องหน้าสาธุและบุตร เขย แล้วก็วิ่งหนีไปโดยเร็ว เมื่อทหารที่ติดตามมาเห็นเพชรพลอยกองอยู่หน้าคนทั้งสอง ก็คิดว่าสาธุและบุตรเขยเป็นผู้ขโมยเครื่องประดับเหล่านั้น ทหารจึงจับกุมคนทั้งคู่และนำตัวไปยังท้องพระโรง พระเจ้าจันทรเกตุได้มีพระบัญชาให้ยึดเครื่องประดับและบรรดาทรัพย์สินเงินทอง ทั้งหมดของทั้งสองคน แล้วจึงให้จำคุก กล่าวถึงลีลาวตีและกลาวตี เมื่อสามีของทั้งสองของนางหายไปก็ได้รับความยากแค้นลำบากอย่างยิ่ง เมื่อไม่มีหนทางแล้วสองแม่ลูกจึงต้องขอทานอาหารเพื่อยังชีพ ทั้งสองรู้สึกอึดอัดทุกข์ทรมานใจ และยังต้องทนทุกข์ด้วยความหิวโหยรวมทั้งความเจ็บป่วยอันเกิดแต่จิตใจที่ ย่ำแย่ วันหนึ่ง ขณะที่กำลังขอทานอาหารที่หน้าบ้านพราหมณ์ผู้หนึ่ง ทั้งคู่ก็ได้เห็นพราหมณ์เจ้าของบ้านกำลังประกอบพิธีสัตยนารายณ์บูชา ในบัดดลนั้นเองทั้งคู่ก็บังเกิดความสงบและความสุขในใจ เพราะการประจักษ์แจ้งถึงความจริงสูงสุด คือองค์สัตยนารายณ์ ทั้งคู่ได้ร่วมประกอบพิธีสัตยนารายณ์บูชาในทันที ด้วยความสันติในจิตใจ ด้วยการประจักษ์แจ้งตนเอง ด้วยการรู้ว่าตนเองคือใคร และอะไรเป็นจุดหมายของชีวิต คนทั้งคู่ก็เริ่มรับใช้และดูแลผู้ยากไร้คนอื่นๆในสังคม
สถานภาพทางสังคมของทั้งสองก็ดีขึ้นอย่างน่าประหลาดและต่อมาทั้งสองก็ ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าสามีขอพวกนางบริสุทธิ์ เพียงแต่พวกเขาไม่รู้ว่าอะไรเป็นจุดหมายที่แท้จริงของชีวิตเท่านั้น ในที่สุดพระเจ้าจันทรเกตุทรงปล่อยสาธุและบุตรเขย ทั้งยังทรงคืนทรัพย์สินให้ โดยทรงเพิ่มเป็นสองเท่าของที่ยึดมา ทรงสอนให้ทั้งสองคนรู้ว่าอะไรคือความจริงสูงสุด เราคือใคร ทำไมจึงมีตัวตนของเราบนโลกนี้และอะไรเป็นจุดมุ่งหมายของชีวิต ทั้งยังทรงเรียกร้องให้ทั้งสองคนต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของสังคม และให้ช่วยทำให้สังคมตระหนักรู้ว่า สิ่งทั้งปวงนั้นล้วนเป็นส่วนหนึ่งหรือเศษเสี้ยวหนึ่งของความจริงสูงสุด คือองค์สัตยนารายณ์นั้นเอง

จบอัธยายที่ 3 แห่ง ศรีสัตยนารายณ์ กถา ด้วยประการฉะนี้

โอมฺ ศฺรีสตฺยนารายณาย นมะ || โอมฺ นโม ภควเต วาสุเทวาย ||


|| ศฺรีสตฺยนารายณ กถา ||

|| เจาถา อธฺยาย || ศรีสัตยนารายณ์ กถา อัธยายที่4 (บทที่ 4)

ครั้นแล้ว สาธุได้ถวายเงินจำนวนหนึ่งแด่พราหมณ์ เพื่ออานิสงค์นั้นจะได้ขจัดอุปสรรคในการเดินทาง เขารับพรแล้วจึงเตรียมเดินทางกลับบ้านเมือง พระเจ้าจันทรเกตุผู้ทรงธรรม ทรงมีพระประสงค์จะตรวจสอบดูว่า สาธุได้เปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นผู้ที่มีความซื่อสัตย์สุจริตใจจริงๆหรือไม่ ทรงพระบัญชาให้จารบุรุษ(ตำรวจสืบราชการลับ) ไปทดสอบความซื่อสัตย์ของสาธุ หนึ่งในจารบุรุษได้ปลอมตัวเป็นนักบวชโดยนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด เข้าไปสู่สาธุแล้วจึงถามขึ้นว่า มีอะไรอยู่ในเรือของพวกเขา สาธุและบุตรเขยก็หัวเราะขึ้นอย่างยโส และคิดว่านักบวชนั้นอาจประสงค์จะลักขโมยสมบัติในเรือของเขา จึ่งตอบไปว่าในเรือไม่มีสิ่งใดเลยนอกจากฟางแห้งเท่านั้น บรรดาจารบุรุษอื่นๆซึ่งแอบฟังอยู่ในระยะไกล ได้ทำการสับเปลี่ยนสมบัติในเรือของเขาโดยนำฟางแห้งมาใส่ไว้แทน และทั้งสองคนมิได้ล่วงรู้เหตุการณ์ดังกล่าวเลย เมื่อสาธุและบุตรเขยเสร็จสิ้นธุระในเมืองนั้นแล้ว จึงกลับขึ้นไปยังเรือของตนเพื่อจะเริ่มเดินทางต่อไป แต่แล้วเมื่อพวกเขาตรวจดูเรือ ก็พบว่าในเรือมีแต่ฟางแห้งเท่านั้น ทั้งคู่ตกใจเป็นอย่างมากถึงกับสิ้นสติไปทันที ครั้นเมื่อได้สติคืนมาแล้ว พวกเขาพากันคิดว่า นักบวชผู้นั้นจะต้องมีอิทธิฤทธิ์และทำให้สมบัติทั้งหมดของพวกเขากลายเป็นฟาง แห้งตามที่พวกเขาบอก ทั้งสองจึ่งรีบกลับไปตามหานักบวชผู้นั้น เมื่อพบแล้วก็กระทำการขอขมาลาโทษและขอให้นักบวชให้อภัย จารบุรุษในชุดนักบวชจึงเปิดเผยความจริงทั้งหมด ทั้งยังกล่าวเตือนให้สาธุและบุตรเขยปฏิบัติตามที่พระเจ้าจันทรเกตุทรงสั่ง สอน เมื่อกล่าวเสร็จก็คืนสมบัติทั้งหมดให้สาธุ สาธุและบุตรเขยได้สัญญาต่อจารบุรุษผู้นั้นว่า พวกเขาจะทำงานหนักเพื่อสังคม จะพยายามเข้าใจว่า พวกเขาคือใครและ เพียรพยายามเข้าใจความจริงสูงสุด พวกเขาจะแสวงหาแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามและหลีกไกลจากสิ่งที่ผิด พวกเขาจะใช้สติปัญญาที่มีอยู่ ซึ่งได้รับจากองค์ความจริงสูงสุดนั้นเพื่อใช้ในการแสวงหาสิ่งที่ถูกต้องอยู่ เสมอ ดังนี้แล้วสาธุและบุตรเขยก็ออกเดินทางกลับบ้านเมืองต่อไป กล่าวถึง รัตนปุรีเมืองบ้านเกิดของสาธุ ลีลาวตีและกลาวตีได้ข่าวว่าสามีของพวกนางกำลังกำลังเดินทางกลับมา ทั้งคู่ตื่นเต้นและมีความสุขมาก บรรดาผู้อาวุโสซึ่งเป็นที่เคารพในเมืองต่างขอให้ทั้งสองประกอบพิธีสัตย นารายณ์บูชา แต่แม้เมื่อประกอบพิธีอยู่ ใจของพวกนางก็วนเวียนอยู่แต่เรื่องของสามี พวกนางกระหายที่จะได้พบสามีและหลงลืมไปว่าตนกำลังทำอะไรอยู่ ในหัวของพวกนางมีเพียงเรื่องสามีของนางเท่านั้น นางเร่งรีบประกอบพิธีเพื่อที่จะได้ไปยังท่าเรือเพื่อรอพบสามี แต่ทันใดนั้นเองพวกนางก็ได้ยินข่าวว่า มีเรือลำหนึ่งจมลงที่นอกชายฝั่ง ด้วยใจที่มีเพียงเรื่องคนรักและยังมิเห็นหน้าสามีกลับมา ต่างก็คิดไปว่าสามีของพวกนางคงตายเสียแล้ว ทั้งคู่ก็ถึงกับสิ้นสติด้วยความตกใจและโศกเศร้า เมื่อลีลาวตีและกลาวตีกลับฟื้นคืนสติแล้ว หนึ่งในบรรดาผู้อาวุโสก็กล่าวว่า นางทั้งสองลืมไปว่ากำลังทำอะไรอยู่ พวกเธอมิได้ใช้สติปัญญาแยกแยะว่าอะไรถูกและผิด บางสิ่งแม้ดูเหมือนมันจะถูกแต่มันก็ผิดเราจำต้องใช้ปัญญาญาณพินิจดู ดังนั้นขอจงมีความสงบ จงรู้ว่าอะไรถูกและผิด อย่าทำให้สิ่งที่ยังกระทำไม่เสร็จสิ้นนั้นตกล่วงไป จงออกห่างเสียจากอวิชชา จงรู้เถิดว่าเราคือใคร อะไรคือจุดหมายแห่งชีวิต และจงมอบตนเองแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าสูงสุด เมื่อลีลาวตีและกลาวตีได้ฟังถ้อยคำของผู้อาวุโสแล้ว ทั้งคู่ตระหนักว่า ไม่จำเป็นเลยที่จะกังวลเกี่ยวกับเรื่องสามีของนาง จริงๆแล้วสามีของพวกนางยังคงปลอดภัยดี แ ต่อมาเมื่อสาธุ บุตรเขย กลาวตีและลีลาวตีได้พบกันแล้ว ทั้งหมดก็ได้ยินได้ฟังเรื่องราวที่เกิดขึ้น พวกเขาสรุปว่า ไม่มีสิ่งใดจะมีคุณค่าเกินไปกว่าการประกอบพิธีสัตยนารายณ์บูชาด้วยความรัก ภักดีอย่างที่สุด ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตใจโดยปราศจากความปรารถนาในลาภผลอันคับแคบใดๆเฉพาะตน

จบอัธยายที่ 4 แห่ง ศรีสัตยนารายณ์ กถา ด้วยประการฉะนี้

โอมฺ ศฺรีสตฺยนารายณาย นมะ || โอมฺ นโม ภควเต วาสุเทวาย ||


|| ศฺรีสตฺยนารายณ กถา ||

|| ปาจวา อธฺยาย || ศรีสัตยนารายณ์ กถา อัธยายที่ 5 (บทที่ 5)

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีกษัตริย์ทรงพระนามว่า พระเจ้าอังคธวัช(องฺคธวชฺ) พระองค์ทรงเป็นที่เลื่องลือในเรื่องการรบพุ่งปกป้องไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ แต่ราษฏรก็ยังไม่มีความสุข เพราะพระองค์ทรงละเลยสิ่งที่พวกเขาต้องการ พระองค์ไม่ทรงเคยร่วมทุกข์ร่วมสุขกับราษฎรเลย วันหนึ่งเมื่อพระองค์เสด็จกลับจากการประพาสป่าล่าสัตว์ ทรงพบบรรดาโคบาล(คนเลี้ยงวัว)กำลังประกอบพิธีสัตยนารายณ์บูชาอยู่ พวกโคบาลทูลเชิญให้พระราชามาร่วมประกอบพิธีกับพวกเขา พระราชาไม่ทรงสนพระทัยและเสด็จกลับพระราชวัง โดยเหตุที่กล่าวมาในเบื้องต้นคือความไม่เป็นสุขของประชาชน พระเจ้าอังคธวัชก็ทรงไม่สบายพระทัยโดยไม่รู้สาเหตุ พระองค์ไม่มีความสุข ไม่อาจทรงบรรทมได้ในเวลากลางคืน และแน่นอนว่าทรงประชวร ผลนี้ได้กระทบกับพระราชวงศ์ของพระองค์เอง เมื่อองค์ราชาไร้ความสามารถที่จะบริหารบ้านเมือง พระองค์ก็สูญเสียพระราชทรัพย์มากมาย ไม่นานบรรดาพระโอรสของพระองค์ก็เริ่มขัดแย้งและต่อสู้กันเอง และนั้นทำให้มีพระโอรสจำนวนมากที่สิ้นพระชนม์ลงไป นายโคบาลผู้หนึ่งเห็นว่ากษัตริย์ของตนเศร้าหมองนัก จึงถวายการช่วยเหลือ โดยทูลขอให้พระองค์พยายามทำความเข้าใจและประจักษ์ในสิ่งสูงสุด เขาทูลต่อไปว่า หากราษฏร์ของพระองค์มีความสุข พระองค์ก็จะทรงมีความสุขด้วย ขอโปรดทรงดูแลคนยากคนจน ขอโปรดทรงแสวงหาพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงฤทธาในกระท่อมของผู้ยากไร้ ขอทรงโปรดพระราชทานอาหาร ที่พักอาศัย และอาชีพ ซึ่งจะทำให้พวกเขาสามารถทำงานเลี้ยงชีพ และเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของสังคม เขายังทูลต่อไปถึงความหมายที่แท้จริงของพิธีสัตยนารายณ์บูชาและอธิบายถึง วิธีที่เรียบง่ายที่จะเข้าถึงองค์สัตยนารายณ์ โดยการแนะนำของนายโคบาล พระเจ้าอังคธวัชทรงเริ่มประกอบพระกรณียกิจด้วยความจริงใจ และด้วยความรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า พระเมตตาที่พระองค์มีต่อราษฏร์ในพระราชอาณาจักรก็เพิ่มพูนขึ้นทุกวัน ทวยราษฏร์ทั้งปวงก็รักพระองค์อย่างยิ่ง พวกเขาเริ่มทำงานหนักเพื่ความกินดีอยู่ดีของสังคม และนี่ก็ทำให้พระราชทรัพย์ก็เพิ่มพูน ในที่สุดทวยราษฏร์ก็เป็นสุข และพระองค์ก็ทรงมีความสุข ดังนั้น ทุกๆคนควรเพียรพยายามที่จะประจักษ์ในสัจธรรมสูงสุด ควรแยกแยะถูกผิด และกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม ควรรับใช้ผู้อื่นดุจดั่งถวายปรนนิบัติต่อองค์พระนารายณ์และองค์พระลักษมี ด้วยความรักที่มีต่อผู้อื่นนี่เอง โลกของเราก็จะกลายเป็นสถานที่แห่งบรมสุข และเราจะพบว่าไม่ว่าเราจะมองไปทางใด ก็จะมีเพียงพระพักตร์อันการุณย์ขององค์พระเป็นเจ้าเท่านั้น

จบอัธยายที่ 5 แห่ง ศรีสัตยนารายณ์ กถา ด้วยประการฉะนี้

โอมฺ ศฺรีสตฺยนารายณาย นมะ || โอมฺ นโม ภควเต วาสุเทวาย ||


|| ศฺรีสตฺยนารายณาษฺโฏตฺตรศต นามาวลีะ || พระนามทั้ง 108 แห่งองค์พระสัตยนารายณ์(เพื่อสวดหรือภาวนา)

โอมฺ สตฺยเทวาย นมะ | โอมฺ สตฺยาตฺมเน นมะ | โอมฺ สตฺยภูตาย นมะ | โอมฺ
สตฺยปุรุษาย นมะ | โอมฺ สตฺยนาถาย นมะ | โอมฺ สตฺยสากฺษิเณ นมะ | โอมฺ
สตฺยโยคาย นมะ | โอมฺ สตฺยชฺญานาย นมะ | โอมฺ สตฺยชฺญานปฺริยาย นมะ |
(๙) โอมฺ สตฺยนิธเย นมะ | โอมฺ สตฺยสมฺภวาย นมะ | โอมฺ สตฺยปฺรภุเว นมะ
| โอมฺ สตฺเยศฺวราย นมะ | โอมฺ สตฺยกรฺมเณ นมะ | โอมฺ สตฺยปวิตฺราย นมะ
| โอมฺ สตฺยมํคลาย นมะ | โอมฺ สตฺยครฺภาย นมะ | โอมฺ สตฺยปฺรชาปตเย นมะ
| (๑๘) โอมฺ สตฺยวิกฺรมาย นมะ | โอมฺ สตฺยสิทฺธาย นมะ | โอมฺ
สตฺยาจฺยุตาย นมะ | โอมฺ สตฺยวีราย นมะ | โอมฺ สตฺยโพธาย นมะ | โอมฺ
สตฺยธรฺมาย นมะ | โอมฺ สตฺยาคฺรชาย นมะ | โอมฺ สตฺยสํตุษฺฎาย นมะ |
โอมฺ สตฺยวราหาย นมะ | (๒๗) โอมฺ สตฺยปารายณาย นมะ | โอมฺ สตฺยปูรฺณาย
นมะ | โอมฺ สตฺเยาษธาย นมะ | โอมฺ สตฺยศาศฺวตาย นมะ | โอมฺ
สตฺยปฺรวรฺธนาย นมะ | โอมฺ สตฺยวิภเว นมะ | โอมฺ สตฺยชฺเยษฺฐาย นมะ |
โอมฺ สตฺยศฺเรษฺฐาย นมะ | โอมฺ สตฺยวิกฺรมิเณ นมะ | (๓๖) โอมฺ
สตฺยธนฺวิเน นมะ | โอมฺ สตฺยเมธาย นมะ | โอมฺ สตฺยาธีศาย นมะ | โอมฺ
สตฺยกฺรตเว นมะ | โอมฺ สตฺยกาลาย นมะ | โอมฺ สตฺยวตฺสลาย นมะ | โอมฺ
สตฺยวสเว นมะ | โอมฺ สตฺยเมฆาย นมะ | โอมฺ สตฺยรุทฺราย นมะ | (๔๕) โอมฺ
สตฺยพฺรหฺมเณ นมะ | โอมฺ สตฺยามฤตาย นมะ | โอมฺ สตฺยเวทางฺคาย นมะ |
โอมฺ สตฺยจตุราตฺมเน นมะ | โอมฺ สตฺยโภกฺตฺเร นมะ | โอมฺ สตฺยศุจเย นมะ
| โอมฺ สตฺยารฺจิตาย นมะ | โอมฺ สตฺเยํทฺราย นมะ | โอมฺ สตฺยสํคราย นมะ
| (๕๔) โอมฺ สตฺยสฺวรฺคาย นมะ | โอมฺ สตฺยนิยมาย นมะ | โอมฺ สตฺยเมธาย
นมะ | โอมฺ สตฺยเวทฺยาย นมะ | โอมฺ สตฺยปียูษาย นมะ | โอมฺ สตฺยมายาย
นมะ | โอมฺ สตฺยโมหาย นมะ | โอมฺ สตฺยสุรานํทาย นมะ | โอมฺ สตฺยสาคราย
นมะ | (๖๓) โอมฺ สตฺยตปเส นมะ | โอมฺ สตฺยสิหาย นมะ| โอมฺ สตฺยมฤคาย
นมะ | โอมฺ สตฺยโลกปาลกาย นมะ | โอมฺ สตฺยสฺถิตาย นมะ | โอมฺ
สตฺยทิกฺปาลกาย นมะ | โอมฺ สตฺยธนุรฺธราย นมะ | โอมฺ สตฺยามฺพุชาย นมะ
| โอมฺ สตฺยวากฺยาย นมะ | ( ๗๒) โอมฺ สตฺยคุรเว นมะ | โอมฺ สตฺยนฺยายาย
นมะ | โอมฺ สตฺยสากฺษิเณ นมะ | โอมฺ สตฺยสํวฤตาย นมะ | โอมฺ
สตฺยสมฺปฺรทาย นมะ | โอมฺ สตฺยวหฺนเย นมะ | โอมฺ สตฺยวายุเว นมะ | โอมฺ
สตฺยศิขราย นมะ | โอมฺ สตฺยานํทาย นมะ | (๘๑) โอมฺ สตฺยาธิราชาย นมะ |
โอมฺ สตฺยศฺรีปาทาย นมะ | โอมฺ สตฺยคุหฺยาย นมะ | โอมฺ สตฺโยทราย นมะ |
โอมฺ สตฺยหฤทยาย นมะ | โอมฺ สตฺยกมลาย นมะ | โอมฺ สตฺยนาลาย นมะ | โอมฺ
สตฺยหสฺตาย นมะ | โอมฺ สตฺยพาหเว นมะ | (๙๐) โอมฺ สตฺยมุขาย นมะ | โอมฺ
สตฺยชิหฺวาย นมะ | โอมฺ สตฺยเทาษฺฎฺราย นมะ | โอมฺ สตฺยนาศิกาย นมะ |
โอมฺ สตฺยศฺโรตฺราย นมะ | โอมฺ สตฺยจกฺษเส นมะ | โอมฺ สตฺยศิรเส นมะ |
โอมฺ สตฺยมุกุฎาย นมะ | โอมฺ สตฺยาพราย นมะ | (๙๙) โอมฺ สตฺยาภรณาย นมะ
| โอมฺ สตฺยายุธาย นมะ | โอมฺ สตฺยศฺรีวลฺลภาย นมะ | โอมฺ สตฺยคุปฺตาย
นมะ | โอมฺ สตฺยปุษฺกราย นมะ | โอมฺ สตฺยาธฺริทาย นมะ | โอมฺ
สตฺยภามาวตารกาย นมะ | โอมฺ สตฺยคฤหรูปิเณ นมะ | โอมฺ สตฺยปฺรหรณายุธาย
นมะ |(๑๐๘)

|| อิติ สตฺยนารายณาษฺโฏตฺตรศต นามาวลีะ ||


|| ชาคฤหิ ชาคฤหิ || จงตื่นเถิด ! จงตื่นเถิด !

อาศยา พทฺธเต โลกะ กรฺมณา ปริพทฺธฺยเต | อายุกฺษยํ น ชานาติ ตสฺมาตฺ
ชาคฤหิ ชาคฤหิ || ชนฺมทุะขํ ชราทุะขํ ชายาทุะขํ ปุนะ ปุนะ | อํตกาเล
มหาทุะขํ ตสฺมาตฺ ชาคฤหิ ชาคฤหิ || กาม กฺโรเธา โลภ โมเหา เทเห
ติษฐนฺติ | ชฺญานรตฺนาปหาราย ตสฺมาตฺ ชาคฤหิ ชาคฤหิ || ไอศฺวรฺยํ
สฺวปฺน สํกาศํ เยาวนํ กุสุโมปมมฺ | กฺษณิกํ ชลมายุษฺจ ตสฺมาตฺ ชาคฤหิ
ชาคฤหิ ||

ชาวโลกถูกผูกมัดไว้ด้วยความปรารถนา และถูกผูกมัดแน่นยิ่งกว่าด้วยกรรมของตน พวกเขามิรู้เลยว่าช่วงชีวิตนั้นสั้นนัก ดังนั้น จงตื่นเถิด ! จงตื่นเถิด !

ทุกข์แห่งชาติ ทุกข์แห่งชรา ทุกข์แห่งภรรยา เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ในวันสุดท้าย(ของชีวิต) ทุกข์มหันต์ก็บังเกิดขึ้น ดังนั้น จงตื่นเถิด ! จงตื่นเถิด !

กาม และโกรธ โลภและหลง ซึ่งอาศัยในกายนี้ พวกมันคือโจร ผู้ขโมยเอารัตนะแห่งปัญญาไป ดังนั้น จงตื่นเถิด ! จงตื่นเถิด !

ไอศวรรย์สมบัติเป็นดั่งความฝัน และเยาวภาพ เป็นดั่งบุปผชาติ(ซึ่งโรยราเพียงชั่ววัน) ทั้งสองสิ่ง และชีวิต ก็ล้วนไม่จีรัง เป็นดั่งสายน้ำไหล ดังนั้น จงตื่นเถิด ! จงตื่นเถิด !


ปรา ปูชา การบูชาอันสูงสุด

ปูรฺณสฺยาวาหนํ กุตฺร สรฺวาธารสฺย จาสนมฺ | สฺวจฺฉสฺย ปาทฺยมรฆฺยํ จ
ศุทฺธสฺยาจมนํ กุตะ || ๑ || ณ ที่ใดเล่าจะสามารถอัญเชิญ สภาวะแห่งความบริบูรณ์ แลอาจสามารถถวายอาสน์ แด่องค์ผู้ค้ำจุนสรรพสิ่ง การถวายน้ำล้างพระบาท การถวายสิ่งต่างๆลงในพระกร แลการถวายน้ำล้างพระโอษฐ์ ขององค์สภาวะอันบริสุทธิ์ จะมีจากที่ใด?

นิรฺมลสฺย กุตะ สฺนานํ วสฺตฺรํ วิศฺโวทรสฺย จ | นิราลมฺพสฺโยปวีตํ
ปุษฺปํ นิรฺวาสนสฺย จ || ๒ || การถวายน้ำสรงสนานแห่งองค์สภาวะนิรมล
แลการถวายเครื่องนุ่งห่มแห่งองค์ผู้มีอุทรเป็นสากลโลก จะมีจากที่ใดกัน? การถวายสายอุปวีต แห่งองค์ผู้ปราศจากประคับประคองจากสิ่งทั้งปวง แลการถวายบุปชาติแห่งผู้ที่กลิ่นสุคนธ์ไม่อาจกระทบ จะมีจากไหน?

นิรฺเลปสฺย กุโต คนฺโธ รมยสฺยาภรณํ กุตะ | นิตฺยตฤปตสฺย ไนเวทฺยํ
ตามฺพูลํ จ กุโต วิโภะ || ๓ ||
จากที่ใดเล่าที่จะถวายเครื่องหอมแห่งองค์ผู้ปราศจากมลทิน การถวายอาภรณ์เครื่องประดับแห่งองค์ผู้รื่นรมณ์อยู่เสมอจะมีจากไหน? การถวายอาหารทั้งหลายแห่งองค์ผู้อิ่มเอมเป็นนิตย์ แลการถวายหมากพลูแห่งองค์ผู้ทรงพลังจะมีจากที่ใด?

ปฺรทกฺษิณา หฺยนนฺตสฺย หฺยทฺวยสฺย กุโต นติะ | เวทวากฺไยรเวมยสฺย กุตะ
โสฺตตรํ วิธียเต || ๔ || การประทักษิณาแห่งองค์อนันตภาวะ
แลการนอบคำนับแห่งองค์ผู้ไม่เป็นสองโดยแท้จะมีจากที่ใด? การสวดบทสรรเสริญแห่งองค์ผู้ถ้อยคำพระเวทไม่อาจรู้ได้จะมีจากไหน?

สฺวยํ ปฺรกาศมานสฺย กุโต นีราชนํ วิโภะ | อนฺตรฺพหิศฺจ ปูรณสฺย
กถมุทฺวาสนํ ภเวตฺ || ๕ || การเวียนประทีปถวาย แห่งองค์ผู้มีจิตสว่างโชติช่วง เป็นอยู่ได้เอง ผู้ซ่านไปทั่วจะมีจากที่ไหน? พิธีกล่าวคำสวัสดิมงคล แห่งองค์ผู้บริบูรณ์ทั้งภายในแลภายนอก องค์พระผู้เป็นที่มาของทุกสิ่งจะมีจากที่ใดเล่า?

เอวเมว ปรา ปูชา สรฺวาวสฺถาสุ สรฺวทา | เอกพุทะยา ตุ เทเวศ วิเธยา
พฺรหฺมวิตฺตไมะ || ๖ || ดังนั้น การบูชาอันสูงสุด ย่อมมีในการณ์ทั้งหลายในกาลทุกเมื่อนั่นเทียว โดยความรู้ในเอกภาวะ(ความเป็นหนึ่งเดียวของสัจธรรม) อนึ่ง คือการกระทำให้แจ้งซึ่งความรู้แห่งพรหมันอันสูงสุด


ศานติ ปาฐ บทแผ่เมตตา

โอมฺ สรฺเว ภวนฺตุ สุขินะ สรฺเว สํตุ นิรามยาะ | สรฺเว ภทฺราณิ ปศฺยํตุ
มา กศฺจิทฺ ทุะขภาคฺ ภเวตฺ || โอมฺ ศาํติะ ศาํติะ ศาํติะ|| โอม
ขอสรรพสิ่งทั้งปวงจงมีสุข ขอสรรพสิ่งทั้งปวงจงปราศจากความป่วยไข้ ขอสรรพสิ่งทั้งปวงจงพบแต่สิ่งดีงาม ขออย่าให้ใครมีส่วนแห่งความทุกข์เลย โอม ศานติ ศานติ ศานติ


โอมฺ อสโต มา สทฺคมย | ตมฺโส มา ชฺโยติรฺคมย | มฤตฺโยรฺมา อมฤตํ คมย |
โอมฺ ศาํติะ ศาํติะ ศาํติะ|| โอม นำข้าฯ จากอสัตย์ สู่สัจจะ จากมืดมน
สู่สว่าง จากความตาย สู่อมฤต โอม ศานติ ศานติ ศานติ


|| ชคทีศ อารตี || อารตีพระเป็นเจ้าแห่งสากลโลก

(ปรารถนา-บทสวด) โอม วิศฺวานิ เทว สวิตรฺทุริตานิ ปราสุว | ยทฺ ภทฺรํ
ตนฺน อาสุว || โอมฺ ศาติะ ศาติะ ศาติะ || โอมฺ
ข้าแต่องค์พระสาวิตฤ(สุริยเทพ) พระเป็นเจ้าแห่งสากลจักรวาล โปรดขจัดความขาดแคลนของข้าฯ โปรดทรงนำสรรพสิ่งดีงามมาสู่ข้าฯเทอญ โอมฺ ศานติ ศานติ ศานติ ||


โอม แย ย่ะเก่อะดีเฉ่อะ หะเร สวามี แย ย่ะเก่อะดี เฉ่อะ หะเร ภักตะ
ย่ะโน เก สังกัฎ ดาสะ ย่ะโน เก สังกฎ เก่อะษัณ เม ดูเร่อะ กะเร ,โอม แย
ย่ะเก่อะดีเฉ่อะ หะเร

โย ธยาเว ผะเล่อะ ปาเว ดุเข่อะ บิเน่อะเส มะนะ กา | สวามี.. สุขะ
สัมปัตติ ฆัรเร่อะ อาเว่ กัษเฎ่อะ มิเฎ ตะนะ กา | โอม ..

มาตะ-ปิตา ตุมเม่อะ เมเร ฉ่ะระเณ่อะ กะหู แม กิสะกี| สวามี.. ตุมม่ะ
บินน่ะ โอเร่อะ นะ ดูยา อาส่ะ กะรู ยิสส่ะกี | โอม ...

ตุเม่อะ ปูระเณ่อะ ปะระมาตมา ตุมเม่อะ อันตัรยามี | สฺวามี..
ปะระบรัมเม่อะ ปะระเมฉ่ะวะเร่อะ ตุมเม่อะ สะบ่ะ เกสวามี| โอม

ตุมเม่อะ กะรุณา เก สาก่ะเร่อะ ตุมเม่อะ ปาลันเนอ่ะ กัรตา | สวามี..แม
เสวักเก่
อะ ตุมเม่อะ สวามี กฤปปา กโร ภัรเร่อะตา | โอมฺ ...

ตุมเม่อะ โฮ เอเก่อะ อโกจ่ะอะร สับบะเก ปรานเน่อะปติ | สวามี.. กิส
วิธิ มิลู ดยามัยย่ะ ตุมเม่อะโก แม กุมเม่อะตี | โอม ...

ดีเน่อะ บันธุ ดุะข่ะหัรเร่อะตา ตุมเม่อะ รักษ่ะเก่อะ เมเร | สวามี..
กะรุณา หัสเอะต บฐาโอ ดวาเร่อะ ปรา เตเร | โอม ...

วิฉ่ะย่ะ วิกาเร่อะ มิตฎาโอ ปาป่ะ ฮโรเดวา | สวามี.. ฉรัดธา ภักติ
บะรฺาโอ สันตันเน่อะกี เสวา | โอม แย ยะเก่อะดีเฉ่อะ หะเร


ศานติ ศานติ ศานติ...

................................

กลับไปที่ บทเทศนา ศรีสัตยนารายณ์ กถา (ภาษาไทย) ตอนที่ 1

บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (ศรีหริทาส)
อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร


ผู้ที่ต้องการนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่น ด้วยวัตถุประสงค์ทางการกุศล
สามารถทำได้โดยอ้างอิงถึงผู้เขียนให้ชัดเจน

ห้ามตีพิมพ์เพื่อการค้าโดยมิได้รับอนุญาต
เราขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ / สยามคเณศ

....................................................................................

ผลงานของ อ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง
วิมุกโตทัย (บทสรรเสริญพระศิวะ) ส่วนที่ 1
วิมุกโตทัย (บทสรรเสริญพระศิวะ) ส่วนที่ 2
วิมุกโตทัย (บทสรรเสริญพระศิวะ) ส่วนที่ 3

อ่านผลงานของ อ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง "มีนัดกับพระเจ้า ที่แดนภารตวรรษ"
| พระคเณศ 1 | พระคเณศ 2 | พระคเณศ 3 | พระคเณศ 4 | พระคเณศ 5 |
พระเครื่องพระพิฆเนศวร์ พระศิวะ พระอิศวร พระวิษณุ พระนารายณ์ พระลักษมี พระอุมาเทวี พระแม่ลักษมีเทวี พระสุรัสวดี พระสุรัสวตี พระสรัสวตี พระสรัสวดี พระนารายณ์ทรงครุฑ พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี พระแม่ทุรกา เจ้าแม่ทุรกา ทุรคาเทวี พระกฤษณะ หนุมาน พญาครุฑ
อ่านเรื่องเทพเจ้าเพิ่มเติม
ความรู้เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดู
พระพรหม , พระวิษณุ , พระศิวะ , พระราม , พระกฤษณะ ,
พระแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี , พระแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี , พระแม่สุรัสวดี , พระขันทกุมาร , พระหนุมาน
บทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศ วิธีบูชาพระพิฆเณศ พระคเนศ

วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ,วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศ เชียงใหม่ , ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
,
เสาชิงช้า ศาลากลางกรุงเทพ , พระพิฆเนศนครนายก
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม , งานนวราตรี งานวัดแขก
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร สมุทรปราการ

ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.