พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ
วิมุกโตทัย บทสรรญเสริญพระศิวะ (ส่วนที่ 3)
***** ลิขสิทธิ์บทความของ "ศรีหริทาส" มหาวิทยาลัยศิลปากร *****
มนตร์คือถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ สำหรับชาวฮินดูแล้วนั้นมนตร์มิใช่เพียงแค่คำสรรเสริญพระเป็นเจ้า หรือเป็นไปในทำนองว่ามีเข้มขลังอาจดลบันดาลอะไรต่างๆได้ แท้จริงแล้วมนตร์สามารถเป็น “อุบาย” หรือ “เครื่องมือ”เพื่อนำไปสู่สัจภาวะได้ มนตร์มิได้สำคัญเพราะมันมีความหมายเท่านั้น แต่เพราะมันเป็น “เสียง ” ที่บรรจุความลึกลับบางอย่างแห่งธรรมชาติไว้ ดังนั้นเราพึงเพ่งมนตร์ด้วยความพินิศ พึงใช้ทั้งสมองแลใจเพื่อเข้าถึงมนตร์ เพื่อที่เราจักได้เป็น “ผู้เห็น” ความหมายที่แท้จริงในมนตร์นั้น แลจักได้รับความศักดิ์สิทธิ์ที่แท้จริงของมนตร์ คือการเข้าถึงสภาวะบริสุทธิ์เดิมแท้

มหามฤตยุนชยะ มนตราที่ข้าพเจ้าเลือกมาไว้ในหนังสือนี้ปรากฏในคัมภีร์ยชุรเวท ถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นมหามนตร์ เป็นมนตร์สรรเสริญพระศิวะที่ทรงเป็น “กาละ” หรือเวลาที่กลืนกินทุกสิ่ง เป็น “มฤตยู” คือความตายที่พรากทุกสิ่ง แต่ก็ทรงมีชัยเหนือความตายด้วย เป็นมนตร์อันอาจทำให้ผู้เพ่งมนตร์ชำนะความตายเสียได้ ขอท่านโปรดเพ่งพิศความหมายของมนตร์ให้ทะลุว่า เราจักชนะเสียซึ่งความตายแลบรรลุสู่อมฤตภาพได้อย่างไร

มห มฤตยุนฺชย มนฺตร
มหามฤตยุนชยะ มนตรา

โอมฺ ตฺรฺยมฺพกํ ยชามเห สุคนฺธึ ปุษฺฏิวรฺธนมฺ |
อูรฺวารุกมิว พนฺธนานฺมฤตฺโยรฺมุกฺษีย มา’มฤตาตฺ ||
โอมฺ ศาติะ ศาติะ ศาติะ||

โอม เราทั้งหลายขอบวงสรวงบูชาซึ่งพระตรีเนตร ผู้มีพระกายหอมหวล ผู้เพิ่มพูนทรัพย์สิน
ขอให้เราทั้งหลายเป็นอิสระจากพันธนาการแห่งมฤตยู เพียงดั่งผลแตง(อูรวารุก)หลุดจากขั้วของมัน แลอย่าให้อมฤตภาพสิ้นสูญไปเทอญ

โอม ศานติ ศานติ ศานติ

ศานติ ปาฐ
บทแผ่เมตตา

โอมฺ สรฺเว ภวนฺตุ สุขินะ สรฺเว สํตุ นิรามยาะ |
สรฺเว ภทฺราณิ ปศฺยํตุ มา กศฺจิทฺ ทุะขภาคฺ ภเวตฺ ||
โอมฺ ศาติะ ศาติะ ศาติะ||

โอม ขอสรรพสิ่งทั้งปวงจงมีสุข ขอสรรพสิ่งทั้งปวงจงปราศจากความป่วยไข้
ขอสรรพสิ่งทั้งปวงจงพบแต่สิ่งดีงาม ขออย่าให้ใครมีส่วนแห่งความทุกข์เลย
โอม ศานติ ศานติ ศานติ

โอมฺ อสโต มา สทฺคมย |
ตมฺโส มา ชฺโยติรฺคมย |
มฤตฺโยรฺมา อมฤตํ คมย |
โอมฺ ศาติะ ศาติะ ศาติะ||

โอม นำข้าฯ จากอสัตย์ สู่สัจจะ
จากมืดมน สู่สว่าง
จากความตาย สู่อมฤต
โอม ศานติ ศานติ ศานติ

กฺษมา ปารฺถนา
บทขอขมา

มนฺตฺรหีนํ กฺริยาหีนํ ภกฺติหีนํ สุเรศวร
ยตฺปูชิตํ มยาเทว ปริปูรฺณํ ตทสฺตุ เม |
อปราธ สหสฺราณิ กฺริยานฺเต’หรฺนิศํ มยา
ทาโส’ยํ อิติ มา มตฺวา กฺษมสฺว ปุรุโษตตม ||

พระผู้เป็นเจ้าแห่งเทวะ ความบกพร่องในการสวดมนตร์ ความมีกริยาต่ำช้า ความมีภักดีน้อย
อันมีในการบูชาที่ข้าฯได้กระทำนั้น เทวะ! ขอให้สิ่งที่กล่าวมานั้นจงกลับบริบูรณ์ขึ้นด้วยเถิด
(อาจมี)การกระทำไม่ถูกควรนับพันๆครั้ง ซึ่งข้าฯกระทำในทิวาแลราตรี
เช่นนั้นขอโปรดทรงเห็นข้าฯเป็นทาสผู้รับใช้อันต่ำต้อยเถิด ขอทรงยกโทษเถิด พระเป็นเจ้าผู้สูงสุด
เพลงอารตี “ตริคุณ สวามี กิ อารตี” ( ฮินดี )(อารตีพระศิวะ)
เพลงอารตรี พระผู้ทรงสามพระคุณ

โอมฺ แย ฉิ่วะ โองการา หะเร่อะ แย ฉิวะ โองการา
บรัหมา วิฉ่ะนุ สดา ศิวะ อรัคทามกีท่ารา, โอม ฮะเร่อ ฮะเร่อ มะฮาเดวา

โอม ขอพระศิวะผู้เป็นอักษรโอมจงมีชัย ขอพระหระ ผู้เป็นอักษรโอมจงมีชัย
พระพรหมพระวิษณุแลเทพเจ้าอื่นๆเป็นส่วนหนึ่งของพระองค์
โอม ขอพระหระ พระมหาเทวะจงมีชัย

เอกานะเน่อะ จตุรานะเน่อะ ปัญจานะนเอะ ราแย
หังสาสะเน่อะ กะรุรฺาสะเน่อ วริฉ่ะนะนเอะ ราแย, โอม ฮะเร่อ ฮะเร่อ มะฮาเดวา

ในฐานะพระวิษณุทรงมีหนึ่งพระพักตร์ ในฐานะพระพรหมาทรงมีสี่พักตร์ เมื่อเป็นพระศิวะทรงมีห้าพระพักตร์ ทำให้เกิดความเบิกบานใจเมื่อได้เห็น ในฐานะพระพรหมาทรงประทับเหนือหงส์อาสน์
ในฐานะพระวิษณุทรงครุฑอาสน์ ในฐานะพระศิวะทรงประทับพระโคนนทิซึ่งตกแต่งไว้ดีแล้ว
โอม ขอพระหระ พระมหาเทวะจงมีชัย

โด ภุ่เย่อะ จารร จะตุรภุ่เย่อะ ด่ะฉ่ะภุ่เย่อ เส โซเฮ
ตีโนม รูป่ะ นิระขะเต ตริภุ่วะนะ ยะเน่อะ โมเฮ่, โอม ฮะเร่อ ฮะเร่อ มะฮาเดวา

ในฐานะพระพรหมาทรงมีสองกร ในฐานะพระวิษณุทรงมีสี่กร และในฐานะพระศิวะทรงมีสิบกร
ทุกสิ่งที่มองเห็นล้วนงดงามหาที่เปรียบ ไม่มีใครในสามโลกที่งดงามน่าหลงใหลไปกว่าพระองค์
โอม ขอพระหระ พระมหาเทวะจงมีชัย

อักฉ่ะมาเล่อะ วะนะมาเล่อะ มุณด่ะมาเล่อะ ธ่ารี
จันดะนะ มริก่ะ มะด่ะ โซเฮ ภาเล ฉ่ะฉิ่ธ่ารี, โอม ฮะเร่อ ฮะเร่อ มะฮาเดวา

พระองค์ทรงสวมมาลาเมล็ดรุทรากษะ มาลาดอกไม้ป่า มาลากะโหลกศีรษะมนุษย์ ทรงชโลมพระวรกายด้วยชะมดเช็ดและกระแจะจันทน์ ทรงทัดจันทร์เป็นปิ่นทำให้ระยิบระยับงดงาม
โอม ขอพระหระ พระมหาเทวะจงมีชัย

ฉเวตามบะเร่อะ ปีตามบะเร่อะ บาคั่มบ่ะเร่อะ อังเก
สะนะกาดิเก่อะ บรัหมาดิเก่อะ ภูตาดิเก่อะ ซังเก, โอม ฮะเร่อ ฮะเร่อ มะฮาเดวา

พระองค์ทรงแต่งพระวรกายด้วยผ้าไหมสีขาว สีเหลืองอันงดงามและหนังเสือ ขณะที่ทรงแวดล้อมอยู่ด้วยคณะบริวารของพระองค์ คือ เทวะ เช่นพระพรหมา เทวฤาษี เช่นพระสนกมุนี หมู่ภูตเป็นต้น
โอม ขอพระหระ พระมหาเทวะจงมีชัย

กัรมัธเย เจ่อะ กะมันด่ะลุ จักเร่อะ ตริฉูล่ะ ธัรตา
ยักเก่อะกัรตา ดุข่ะฮัรตา ย่ะก่ะปาละนะกัรตา , โอม ฮะเร่อ ฮะเร่อ มะฮาเดวา

พระองค์ทรงถือหม้อน้ำกมัณฑาลุ(หม้อน้ำดื่มของนักบวช)ถือจักร ตรีศูล พระองค์นำมาซึ่งความสุขและทำลายความทุกข์และทรงเป็นผู้อภิบาลโลกนี้
โอม ขอพระหระ พระมหาเทวะจงมีชัย

บรัหมา วิฉ่ะนุ สะดาฉิ่วะ ยา นะเต่อะ อวิเวกา
ประนะวักฉ่ะเร่อะ เมห์ โฉภิ่เต่อะ เย ตีโนม เอกา, โอม ฮะเร่อ ฮะเร่อ มะฮาเดวา
คนไร้ปัญญาคิดว่าพระพรหมาพระวิษณูและพระสทาศิวะ แยกออกเป็นเทพ สามองค์มิได้เป็นหนึ่งเดียวกัน แต่พระเป็นเจ้าทั้งสามองค์นั้นรวมเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างหมดจดในพยางค์ ศักดิ์สิทธิ์ “โอม”
โอม ขอพระหระ พระมหาเทวะจงมีชัย

ตริกุเน่อะ ฉิ่ว่ะ กี อารตี โย โกอี่ นะเร่อะ กาเว่
กะฮะเต่อะ ฉิวานันดะสวามี มะนะ วามฉิต ผ่ะเล่อะ ปาเว่, โอม ฮะเร่อ ฮะเร่อ มะฮาเดวา

ท่านสวามีศิวานันทะกล่าวว่า ผู้ใดก็ตามที่สวดขับร้องอารตีนี้แด่พระศิวะเจ้าผู้ประกอบด้วยคุณสาม
ย่อมได้รับในสิ่งที่มุ่งมาดปรารถนา
โอม ขอพระหระ พระมหาเทวะจงมีชัย

(หร แปลว่านำไป (ธาตุ หรฺ) หมายถึงพระศิวะ ผู้ทรงนำวิญญาณของผู้ตายไป (เพราะถือกันว่าทรงเป็นพระกาล แลพระมฤตยูด้วย) และทรงทำให้สรรพสิ่งแตกทำลายเวียนว่ายเป็นวัฏจักร บางท่านตีความว่า หระ หมายถึงทรงนำความทุกข์ไป)

การออกเสียงสันสกฤตอย่างสังเขป

เนื่องจากบทสวดมนต์ล้วนรจนาขึ้นในภาษาสันสกฤต จึงควรเรียนรู้วิธีออกเสียงให้ใกล้เคียงกับภาษาเดิม เพราะแม้จะเขียนขึ้นใหม่ในภาษาไทยก็ไม่ได้ออกเสียงอย่างที่เขียนตามตัวอักษร ดังนั้นข้าพเจ้าจึงนำวิธีออกเสียงแบบง่ายๆคร่าวๆไว้ให้เท่าที่จำเป็น ผู้สนใจพึงแสวงหาความรู้เพิ่มเติม และฝึกฝนจากเจ้าของภาษาจะดีที่สุด
การออกเสียง
ค = g ใน go (ออกเสียงคล้าย ก )
ฆ = gh ใน Beg him(ออกเสียงคล้ายก+ห หรือ ค เสียงก้อง)
ช = j ใน jam (ออกเสียงคล้าย ย)
ฌ = g-e-h ใน charge him
ฏ,ฐ,ฑ,ฒ,ณ, = ต ถ ท ธ น แต่ม้วนลิ้นเข้าปากให้มากที่สุดเวลาพูด
ท = ด
ธ = ด(เสียงก้อง)
พ = บ
ภ = บ (เสียงก้อง)
ศ = คล้าย ฉ
ษ = sh ใน she(ม้วนลิ้นเข้าในปากเวลาออกเสียง)
ห = ฮ
ญ = ย แต่เสียงขึ้นจมูก(ขึ้นนาสิก)

นิคหิต ( . ) ถ้าอยู่ใต้อักษรตัวใดแสดงว่าตัวนั้นเป็นตัวสะกด หรือ ตัวนั้นออกเสียงครึ่งเดียว เช่น เอกทนฺ = เอกะดัน นาเคนฺทฺร = นาเกนดระ ศฺรี = ฉะรี(ออก ฉ ครึ่งเสียง) ตรฺ = ตัร(ออก ร นิดหน่อย)
( -ํ )พินธุ(คล้าย -?ม หรือ ?ตามด้วยพยัญชนะนาสิกของตัวที่ตามมา) ขรฺวํ = ขะรวัม
สุนฺทรํ = สุนดะรัม คเณศํ = กะเนฉัม คํคา = กังกา วํทนา = วันทะนา
( ? ) = -? ม เช่น กึม อ่านว่า กิม ( - า ํ ) = -าม เช่น อานา อ่านว่า อานาม
วิสรคะ หรือสระอะ( ะ ) อยู่หลังอักษรตัวใด ให้เออกเสียงเหมือนมีเสียงก้องตาม หรือมี ห ตาม สระที่อยู่หลัง เช่น นมะ = นะมะฮะ(ตัวมะออกเสียงก้องคล้ายมี ฮะ ตาม) คุรุะ = กุรุฮุ(ตัวรุออกเสียงก้อง)


ตัวอย่างการออกเสียง
นาเคนฺทฺรหาราย ตฺริโลจนาย ภสฺมางคราคาย มเหศฺวราย
นิตฺยาย ศุทฺธาย ทิคมฺพราย ตสฺไม นการาย นมะศิวาย.
ออกเสียงเป็น
นาเกนดระฮารายะ ตริโลจะนายะ บัสมางกะรากายะ มะเฮฉวรายะ
นิดยายะ ฉุด ด(ห)ายะ ดิกัมบะราย ตัสไม นะกะรายะ นะมะ(ฮะ) ฉิวายะ

บรรณานุกรม

จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา. พระศิวะ พระวิษณุ พระคเณศ. กรุงเทพฯ : เทวสถานโบสถ์พราหมณ์, 2545.
บำรุง คำเอก. พจนานุกรมฮินดี – ไทย. กรุงเทพฯ : ศูนย์สันสกฤตศึกษา ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะ
โบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร , 2548.
วรลักษณ์ พับบรรจง.คัมภีร์ ปัญจเวทานตะ. ม.ป.ท. ม.ป.พ. ,2546 (เอกสารอัดสำเนา)
วิสุทธ์ บุษยกุล.แบบเรียนภาษาสันสกฤตเล่ม 1 .กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาภาษาตะวันออก
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2523.
สุขุม ศรีบุรินทร์(แปล).สารัตถะปรัชญาอินเดีย.กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการวิจัย
แห่งชาติ, 2531.
สุนทร ณ รังสี.ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ(พิมพ์ครั้งที่ 3 ).กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
Apte,Vasudeo Govind. Sanskrit – English Dictionary. New York : Hippocrene Book, 2003.
Mahadevan ,TMP. Sankaracharya. New Delhi : National Book Trust, 1968.
Pavitrananda,Swami. Hymns And Prayers To Gods And Goddesses. Calcutta : Advaita
Ashrama,2000.
Radhakrishnan. The Vedanta according to Samkara and Ramanuja. London : George Allen &
Unwin LTD,1928.
Sharma , Arvind. Classical Hindu Thought : An Introduction. NewDelhi : Oxford University
Press, 2000.
Sharma ,Pt.Atma Ram(Tr.). Mah? j?l?s? sam?ghaha.Delhi : Motilal Banarasidas, 1994

ตฺวเมว มาตา จ ปิตา ตฺวเมว
ตฺวเมว พํธุศฺจ สขา ตฺวเมว |
ตฺวเมว วิทฺยา ทฺรวิณํ ตฺวเมว
ตฺวเมว สรฺวํ มม เทวเทว ||

พระองค์ คือมารดาแลบิดา
พระองค์ คือญาติพี่น้องแลมิตร
พระองค์ คือความรู้แลทรัพย์สิน
พระองค์ คือสรรพสิ่งทั้งหลายนั่นเทียว
พระองค์ คือเทวะแห่งเทวะ!

วิมุกโตทัย (บทสรรเสริญพระศิวะ) ส่วนที่ 1
วิมุกโตทัย (บทสรรเสริญพระศิวะ) ส่วนที่ 2
วิมุกโตทัย (บทสรรเสริญพระศิวะ) ส่วนที่ 3

บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ อาจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (ศรีหริทาส)
อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยศิลปากร


ผู้ที่ต้องการนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่น ด้วยวัตถุประสงค์ทางการกุศล
สามารถทำได้โดยอ้างอิงถึงผู้เขียนให้ชัดเจน

ห้ามตีพิมพ์เพื่อการค้าโดยมิได้รับอนุญาต
เราขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ / สยามคเณศ

....................................................................................

อ่านผลงานของ อ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง "มีนัดกับพระเจ้า ที่แดนภารตวรรษ"
| พระคเณศ 1 | พระคเณศ 2 | พระคเณศ 3 | พระคเณศ 4 | พระคเณศ 5 |

บทเทศนา ศรีสัตยนารายณ์ กถา (พระนารายณ์) ส่วนที่ 1
บทเทศนา ศรีสัตยนารายณ์ กถา (พระนารายณ์) ส่วนที่ 2

บทความเรื่องพระศิวะมหาเทพ

- รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ
- เมล็ดรุทรักษะ น้ำตาแห่งพระศิวะ
- โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
- ศิวะนาฏราช ปางร่ายรำแห่งพระศิวะ
- ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
- การบูชาพระศิวะ และบทสวดมนต์ต่างๆ
- เขาไกรลาส และการยาตราไปสู่ดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์

ตำนานพระศิวะ จากหนังสือมหาเทพ
- พระศิวะมหาเทพ พระอิศวร (พระมหาเทวะ) 1
- พระศิวะมหาเทพ พระอิศวร (พระมหาเทวะ) 2
- พระศิวะนาฏราช ปางร่ายรำแห่งพระศิวะมหาเทพ
- พระศิวะ - พระนามยิ่งใหญ่แห่งพระศิวะเทพ

- พระศิวะ - ความรุ่งเรืองแห่งเมล็ดรุทรากษะ
- พระศิวะ - ความยิ่งใหญ่แห่งเมล็ดรุทรักษะ
- พระศิวะ - ความยิ่งใหญ่แห่งขี้เถ้าทางศาสนา
- พระศิวะ - วันมหาศิวะราตรี เทศกาลศิวาราตรี
พระเครื่องพระพิฆเนศวร์ พระศิวะ พระอิศวร พระวิษณุ พระนารายณ์ พระลักษมี พระอุมาเทวี พระแม่ลักษมีเทวี พระสุรัสวดี พระสุรัสวตี พระสรัสวตี พระสรัสวดี พระนารายณ์ทรงครุฑ พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี พระแม่ทุรกา เจ้าแม่ทุรกา ทุรคาเทวี พระกฤษณะ หนุมาน พญาครุฑ
อ่านเรื่องเทพเจ้าเพิ่มเติม
ความรู้เกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดู
พระพรหม , พระวิษณุ , พระศิวะ , พระราม , พระกฤษณะ ,
พระแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี , พระแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี , พระแม่สุรัสวดี , พระขันทกุมาร , พระหนุมาน
บทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศ วิธีบูชาพระพิฆเณศ พระคเนศ

วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ,วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศ เชียงใหม่ , ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
,
เสาชิงช้า ศาลากลางกรุงเทพ , พระพิฆเนศนครนายก
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม , งานนวราตรี งานวัดแขก
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร สมุทรปราการ
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.