พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู ประเทศอินเดีย พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุ พระแม่อุมาเทวี

พลิกปูมวัดวิษณุ
ศูนย์กลางชุมชนชาวอุตตรประเทศในกรุงเทพมหานคร

(บทความจาก วารสารเมืองโบราณ)
เรื่อง : ดุลยภาค ปรีชารัชช / ภาพ : ประเวช ตันตราภิรมย์


มหามณเฑียร หรือเทวาลัยหลังปัจจุบันของวัดวิษณุ ยานนาวา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘

เมื่อเอ่ยถึงชื่อ "วัดวิษณุ" เทวาลัยฮินดูในย่านยานนาวา คนกรุงเทพฯ หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยเท่ากับ "วัดแขก" ถนนสีลม หรือ "วิหารเทพมณเฑียร" ย่านเสาชิงช้า แต่หากศึกษาถึงต้นรากทางวัฒนธรรมและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ จะพบว่า "วัดวิษณุ" คือองคาพยพสำคัญที่สะท้อนภาพความสัมพันธ์ไทย-อินเดียได้อย่างแนบแน่นและกลม เกลียว เนื่องจากวัดวิษณุถือเป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวฮินดูจากรัฐอุตตรประเทศ (อินเดียเหนือ) ในเขตกรุงเทพมหานคร ตลอดจนได้รับการยกย่องว่าเป็นเทวาลัยที่มีความโดดเด่นในภูมิภาคอุษาคเนย์ เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานรูปเทพเจ้าฮินดูสลักจากหินอ่อนซึ่งมีลักษณะงดงาม ได้สัดส่วนถึง ๒๔ องค์1 ความสำคัญของวัดวิษณุส่งผลให้การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินเดียผ่าน มิติชุมชนอันสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และประวัติศาสตร์การทูต กลายมาเป็นประเด็นที่มีสีสัน ตลอดจนยังเป็นการเปิดมุมมองใหม่ทางด้านพหุลักษณ์เชิงวัฒนธรรม (Cultural Diversity) ให้กับสังคมไทยยุคปัจจุบัน

อุตตรประเทศ: ดินแดนหัวใจแห่งอารยธรรมภารตะ

การศึกษาประวัติความเป็นมาของวัดวิษณุและการอพยพของชาวอินเดียเหนือ เข้าสู่สังคมไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของอุตตรประเทศในบริบทและโลกทัศน์ ของชาวอินเดีย คำว่า "อุตตรประเทศ" (Uttar Pradesh) คือชื่อของรัฐและเขตการปกครองที่ตั้งอยู่ทางตอนบนของประเทศอินเดียโดยมี อาณาเขตทางทิศเหนือติดต่อกับรัฐหิมาจัลประเทศ (Himachal Pradesh) รัฐอุตตรรันจัล (Uttaranchal) และประเทศเนปาล ทิศตะวันตกติดกับรัฐหรยาณา (Haryana) และรัฐราชสถาน (Rajasthan) ทิศใต้ติดต่อกับรัฐมัธยประเทศ (Madhya Pradesh) ทิศตะวันออกติดต่อกับรัฐพิหาร (Bihar) และทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดต่อกับรัฐชาดติสการ์ (Chhattisgarh) และรัฐจาร์คาน (Jharkhand)

ลักษณะภูมิประเทศอันเกิดจากการทับถมของตะกอนแม่น้ำคงคาและยมุนา ผสมผสานกับแนวเทือกเขาหิมาลัยที่ตั้งตระหง่าน ส่งผลให้อุตตรประเทศกลายเป็นแหล่งเพาะปลูกและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ มีชื่อเสียงของประเทศอินเดีย

ขณะเดียวกัน ประติมากรรมทางภูมิศาสตร์และความอุดมสมบูรณ์ของผืนดินก็ส่งผลให้อุตตรประเทศ กลายเป็นดินแดนหัวใจแห่งการรังสรรค์ทางศิลปะ ตลอดจนเป็นต้นรากทางอารยธรรมของชาวฮินดูยุคโบราณ สังเกตได้จากการแพร่กระจายของศิลปะแบบคันธาระ (Gandhara) มถุรา (Mathura) อมราวดี (Amaravati) คุปตะ (Gupta) และปาละ-เสนะ (Pala-Sena) ในเขตแว่นแคว้นอุตตรประเทศ2 ประกอบกับการขยายตัวทางการเมืองและการทหารของรัฐฮินดูยุคจารีต ไม่ว่าจะเป็นราชวงศ์โมริยะ (Mauryan) ราชวงศ์กาศี (Kashi) และราชวงศ์คุปตะ (Gupta) ก็ล้วนมีขอบข่ายปริมณฑลแห่งอำนาจครอบคลุมอินเดียตอนเหนือในเขตลุ่มแม่น้ำคง คาและยมุนา

นอกจากนี้ อุตตรประเทศยังเป็นที่ตั้งของเมืองพาราณสี (Varanasi) ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่าสามพันปี และเป็นต้นกำเนิดของประเพณีลอยศพและชำระบาปในแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ รวมถึงเป็นศูนย์กลางการจาริกแสวงบุญของชาวฮินดูจากทั่วทุกสารทิศ

ดินแดนอุตตรประเทศยังได้รับการยกย่องว่าเป็นศูนย์กลางของไวษณพ นิกาย ลัทธิฮินดูที่นับถือพระวิษณุ หรือพระนารายณ์เป็นเทพเจ้าสูงสุด เห็นได้จากเมืองโบราณที่สัมพันธ์กับภาคอวตารของพระวิษณุ (Avatar or Vishnu Reincarnation) อาทิ เมืองอโยธยา (Ayodhya) ศูนย์อำนาจการปกครองของท้าวทศรถ กษัตริย์แห่งสุริยวงศ์ (Solar Dynasty) และสถานที่พระราชสมภพของพระราม ร่างอวตารภาคที่เจ็ดของพระวิษณุ และวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่แห่งมหากาพย์รามายณะ เมืองลัคเนา (Lucknow) ซึ่งเคยได้รับการสถาปนาให้เป็นเมืองของพระลักษณ์ พระอนุชาของพระราม และทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของรัฐอุตตรประเทศในยุคปัจจุบัน เมืองหัสดินปุระ (Hastinapura) ราชธานีของกษัตริย์ศานตนุแห่งจันทวงศ์ (Lunar Dynasty) และเป็นจุดกำเนิดของเหล่าเจ้าชายตระกูลปาณฑพ (Pandu) และเการพ (Kurus) ในมหากาพย์มหาภารตะ3 และเมืองมถุรา (Mathura) ซึ่งนอกจากจะเคยเป็นบ่อเกิดของศิลปะแบบมถุราที่แพร่กระจายในเขตอินเดียภาค เหนือแล้ว ยังเป็นสถานที่พระราชสมภพของพระกฤษณะ ร่างอวตารภาคที่แปดของพระวิษณุ และมหาบุรุษผู้ขับรถศึกให้พระอรชุนในมหากาพย์มหาภารตะ

จากบริบทดังกล่าว รัฐอุตตรประเทศจึงเป็นอู่อารยธรรมอันเก่าแก่ของโลกฮินดู ทั้งในแง่ของปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม การขยายปริมณฑลทางการเมือง และความรุ่งเรืองของวรรณคดีโบราณ นอกจากนี้ ดินแดนของรัฐอุตตรประเทศยังมีส่วนสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาและโลกอิสลาม เนื่องจากเป็นที่ตั้งของเมืองสารนาถ (Saranaj) และป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สถานที่แสดงปฐมเทศนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเมืองอักรา (Agra) ศูนย์อำนาจของจักรวรรดิโมกุลอันทรงพลานุภาพ และที่ตั้งของสุสานทัชมาฮาล - อนุสรณ์แห่งความรัก หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

ดังนั้น อุตตรประเทศจึงเป็นดินแดนหัวใจที่ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการก่อรูปของ อารยธรรมฮินดู รวมถึงมีส่วนคาบเกี่ยวกับการขยายตัวของอิทธิพลพระพุทธศาสนาในแผ่นดินอุษาคเน ย์ และกระบวนการผ่องถ่ายอารยธรรมอิสลามในชมพูทวีป



ห้องโถงของมหามณเฑียรบนชั้นสอง ประดิษฐานเทวรูปหินอ่อนจากเมืองชัยปุระ

การอพยพและตั้งถิ่นฐานของชาวอุตตรประเทศในเขตกรุงเทพมหานคร

กระบวนการอพยพของชาวฮินดูเข้าสู่เขตกรุงเทพมหานครเริ่มก่อตัวขึ้น พร้อมกับการขยายตัวของลัทธิอาณานิคมอังกฤษในเขตประเทศอินเดียและภูมิภาค เอเชียอาคเนย

ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๓ จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๔ กองทัพของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษได้ยาตราทัพเข้ายึดเมืองท่ากัลกัต ตา (Calcutta) หลังประสบชัยชนะสงครามที่ตำบลปรัสซี (Battle of Plassey) เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๐4 การครอบครองเมืองกัลกัตตาซึ่งตั้งอยู่ริมปากแม่น้ำฮูกลี (Hugli) อันเป็นสาขาหนึ่งของแม่น้ำคงคา นอกจากจะทำให้อังกฤษสามารถควบคุมการค้าในรัฐเบงกอลได้สะดวกแล้ว ยังส่งผลให้อำนาจการปกครองของอังกฤษแผ่อิทธิพลเข้าปกคลุมหัวเมืองต่างๆ ในเขตลุ่มแม่น้ำคงคาแถบรัฐอุตตรประเทศ

ต่อมา รัฐบาลอังกฤษได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยการปกครองอินเดียฉบับปี พ.ศ. ๒๓๑๖ เพื่อเพิ่มอำนาจของรัฐบาลในการควบคุมพฤติกรรมของบริษัทอินเดียตะวันออก ตลอดจนแต่งตั้งนายวอร์เรน เฮสติงส์ (Warren Hastings) ขึ้นเป็นข้าหลวงใหญ่อังกฤษคนแรกประจำอินเดีย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๗5

การเปลี่ยนแปลงนโยบายของอังกฤษส่งผลให้เมืองท่าชายฝั่ง ทะเลและหัวเมืองตอนในแถบรัฐอุตตรประเทศตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษแบบ เต็มตัว ครั้นต่อมา บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษได้ว่าจ้างชาวพื้นเมืองอินเดียมาฝึกเป็นทหาร ตามแบบตะวันตก เรียกว่า ทหารซีปอย (Sepoys) เพื่อรักษาความปลอดภัยและพิทักษ์ผลประโยชน์ทางการค้าให้บริษัท แต่นโยบายดังกล่าวกลับส่งผลกระทบเชิงลบต่ออังกฤษ เนื่องจากกำลังพลส่วนใหญ่ของทหารซีปอยล้วนมาจากพราหมณ์และชนชั้นสูงในเขตอุ ตตรประเทศ ทหารเหล่านี้เคยชินต่อการมีสิทธิพิเศษตามระบบวรรณะ และหวาดระแวงต่อพฤติกรรมของอังกฤษที่นำเอาวัฒนธรรมตะวันตกและคริสต์ศาสนา เข้ามาครอบงำวัฒนธรรมฮินดู6

นอกจากนี้ พวกพราหมณ์อุตตรประเทศที่สูญเสียผลประโยชน์จากการดำเนินนโยบายของอังกฤษ อาทิเช่น การอนุญาตให้บาทหลวงบางรูปแสดงอาการเหยียดหยามศาสนาฮินดู และการประกาศเวนคืนที่ดินซึ่งเคยอยู่ในการครอบครองของวรรณะพราหมณ์ ยังได้คอยยุยงให้กลุ่มทหารซีปอยแข็งข้อต่อต้านอำนาจการปกครองของอังกฤษ

จนในที่สุด การก่อกบฎได้เริ่มปะทุขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๐๐ - ๒๔๐๒

เหตุการณ์ส่วนใหญ่ล้วนเกิดขึ้นในรัฐอุตตรประเทศ โดยเฉพาะที่เมืองมีรุต (Meerut) และลัคเนา (Lucknow) จากเหตุการณ์ดังกล่าว อังกฤษได้เพิ่มงบประมาณทางการทหาร ว่าจ้างแขกสิกข์และนักรบกูรข่าเข้ามาเป็นทหารรับจ้าง เพื่อปราบกบฏซีปอย ส่งผลให้อังกฤษประสบความสำเร็จในการนำอินเดียกลับคืนสู่สภาวะปกติ

ผลของกบฏซีปอยทำให้อังกฤษประกาศยกเลิกการปกครองของบริษัทอินเดีย ตะวันออก และโอนหน้าที่ความรับผิดชอบทั้งหมดมาเป็นของรัฐบาลกลางและรัฐสภา รวมถึงปรับโครงสร้างกำลังรบของกองทัพ เลิกจ้างพราหมณ์อุตตรประเทศ แล้วหันมาจ้างพวกแขกสิกข์ แขกปาธาน และพวกนักรบกูรข่าจากเนปาลเข้ามาเป็นทหารประจำการแทน7

ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชนชั้นสูงในอุตตรประเทศ เริ่มร่วมมือกับชาวฮินดูกลุ่มต่างๆ จัดตั้งขบวนการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๑ จนถึงปลายสงครามโลกครั้งที่ ๒ ตลอดจนเริ่มเกิดการอพยพของชาวฮินดูอุตตรประเทศไปยังดินแดนต่างๆ อาทิเช่นตะวันออกกลาง แอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อปลุกระดมลัทธิชาตินิยมและสร้างฐานที่มั่นในการปลดแอกอินเดียออกจาก อาณานิคมอังกฤษ

ขณะเดียวกัน พราหมณ์อุตตรประเทศที่เคยรับราชการเป็นทหารซีปอยก็ปรับเปลี่ยนบทบาทและแปลง สภาพเป็นกองกำลังกู้เอกราช รวมถึงเดินทางออกจากอินเดียเพื่อประกอบอาชีพเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยใน บริษัทต่างประเทศ สืบเนื่องจากลักษณะร่างกายที่กำยำและสูงใหญ่ ผสมผสานกับประสบการณ์จากการเป็นทหารซีปอย ทำให้บริษัทเอกชนในประเทศต่างๆ นิยมว่าจ้างแขกอุตตรประเทศเข้ามาพิทักษ์ทรัพย์สินและรักษาความปลอดภัย

การอพยพของชาวอุตตรประเทศเข้าสู่ประเทศไทยนั้น จัดว่ามีความเชื่อมโยงอย่างลึกซึ้งกับขบวนการชาตินิยมและการแสวงหาที่ทำกิน ในต่างแดน อันเป็นผลมาจากสภาวะข้าวยากหมากแพงและปัญหาการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของ ประชากรในอินเดีย

ชาวอุตตรประเทศส่วนใหญ่มักมีจุดหมายปลายทางอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เนื่องจากเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงเป็นศูนย์อำนาจที่ปลอดจากอิทธิพลของอังกฤษ เมื่อเทียบกับกรุงย่างกุ้งของพม่า หรือสิงคโปร์ในคาบสมุทรมลายู

ขณะเดียวกัน การอพยพของแขกอุตตรประเทศก็มีลักษณะปะปนมากับแขกฮินดูกลุ่มอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเบงกอล ทมิฬ สิกข์ และราชปุต ซึ่งเริ่มไม่พอใจการปกครองที่เข้มงวดของรัฐบาลอังกฤษ

เส้นทางการอพยพของแขกฮินดูเข้าสู่เขตกรุงเทพมหานครสามารถแบ่งออก ได้เป็นสองกลุ่มหลัก ได้แก่เส้นทางอพยพทางทะเลผ่านหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ตัดเข้าสู่สิงคโปร์ มะละกา (Melaka) มาเลเซีย จากนั้นเดินทางโดยรถไฟเข้าสู่ภาคใต้ของไทยและกรุงเทพมหานคร

ส่วนเส้นทางสายที่สองเป็นการอพยพทางบก เริ่มจากอินเดียเข้าสู่จิตตะกอง (Chittagong) ในบังคลาเทศ จากนั้นจึงเดินทางโดยรถไฟเข้าสู่ประเทศพม่าและภาคเหนือของไทย แล้วจึงลงใต้เข้าสู่กรุงเทพฯ8

กลุ่มผู้อพยพชาวฮินดูนั้นมีความหลากหลาย แบ่งออกได้เป็นห้ากลุ่มหลักดังนี้

๑) กลุ่มชาวฮินดูจากอุตตรประเทศทางตอนเหนือของอินเดีย ประชากรส่วนใหญ่อพยพมาจากเมืองลัคเนา อโยธยา และพาราณสี มักประกอบอาชีพส่งหนังสือพิมพ์ ขายนมวัว และพนักงานรักษาความปลอดภัยในบริษัทต่างประเทศ อาทิ บริษัทอีสต์เอเชียติก (East Asiatic Company) ลักษณะเด่นของชาวฮินดูอุตตรประเทศ คือการนับถือพระวิษณุ โดยมีการจัดตั้งชุมชนในเขตสาทรและยานนาวา ตลอดจนจัดสร้างวัดวิษณุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เพื่อเป็นศูนย์รวมของชาวอินเดียเหนือในเขตกรุงเทพมหานคร9

๒) กลุ่มชาวฮินดูจากทมิฬนาฑู (Tamil Nadu) อพยพมาจากตอนใต้ของอินเดีย และทางตอนเหนือของศรีลังกาแถวคาบสมุทรจาฟนา ส่วนใหญ่มักประกอบอาชีพเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ พนักงานบริษัทต่างประเทศ และค้าขายทั่วไป ลักษณะเด่นของกลุ่มแขกทมิฬคือการบูชาพระศิวะและพระอุมาอย่างเหนียวแน่น จนนำไปสู่การสร้างวัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือที่รู้จักกันดีว่า “วัดแขกสีลม” ในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ เพื่อเป็นศูนย์กลางทางศาสนาและการประกอบกิจกรรมของชาวฮินดูจากอินเดียใต้10

๓) กลุ่มชาวฮินดูจากแคว้นซินด์ (Sind) และปัญจาบ (Punjab) ซึ่งเข้ามาประกอบธุรกิจทอผ้าและนำเข้าส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ชาวอินเดียกลุ่มดังกล่าวมักตั้งถิ่นฐานอยู่แถวสำเพ็งและพาหุรัดโดยถึงแม้ว่า ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาสิกข์และมีศูนย์กลางอยู่ที่คุรุสิงหสภาในย่าน พาหุรัด แต่ก็มีชาวอินเดียบางกลุ่มนับถือศาสนาฮินดู และแยกตัวออกมาจัดตั้งวิหารเทพมณเฑียร ถนนศิริพงศ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เพื่อเป็นศูนย์กลางของชาวฮินดูจากรัฐซินด์และปัญจาบ11

๔) กลุ่มชาวฮินดูจากคุชราต (Gujarat) และราชสถาน (Rajasthan) มักประกอบอาชีพค้าขาย ส่งออก และเจียระไนอัญมณี ตั้งถิ่นฐานอยู่แถวถนนสีลมและสาทร กลุ่มนี้ถือว่ามีบทบาทสำคัญในสมัยอาณานิคมและช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ เนื่องจากทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อทางการค้าระหว่างไทย อินเดีย และตะวันออกกลาง12

๕) กลุ่มชาวฮินดูจากเบงกอล อพยพมาจากเมืองกัลกัตตาของอินเดีย เมืองธาร์กา (Dhaka) และจิตตะกองในบังคลาเทศตั้งแต่สมัยอาณานิคมอังกฤษ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพขายถั่ว เครื่องเทศ และเครื่องหอมบูชาเทพเจ้า กลุ่มแขกเบงกอลมักนับถือศาสนาอิสลามแต่ก็มีบางส่วนนับถือศาสนาฮินดู อพยพเข้ามาอาศัยอยู่กับแขกทมิฬในย่านวัดแขกและถนนสีลม13

ในระยะเริ่มแรก การตั้งถิ่นฐานของชาวฮินดูกลุ่มต่างๆ มักกระจุกตัวอยู่ในบริเวณชุมชนแออัดและย่านธุรกิจสำคัญในเขตกรุงเทพมหานคร อาทิเช่น สีลม พาหุรัด และยานนาวา แขกอุตตรประเทศนั้นพำนักอาศัยอยู่ร่วมกับกับแขกทมิฬแถววัดพระศรีมหาอุมาเทวี ขณะที่บางส่วนกระจัดกระจายอยู่ตามบ้านพักของบริษัทต่างประเทศแถบสาทรและ ยานนาวา

ต่อมา การตั้งถิ่นฐานของชาวอุตตรประเทศแถวถนนสีลมได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ประกอบกับความแตกต่างระหว่างไวษณพนิกายของชาวอินเดียเหนือกับไศวนิกายและ ศักตินิกายของชาวอินเดียใต้ ส่งผลให้ชาวฮินดูอุตตรประเทศตัดสินใจสร้างเทวาลัยวัดวิษณุบริเวณยานนาวา เพื่อเป็นศูนย์กลางการประกอบพิธีกรรม ตลอดจนลดปัญหาความแออัดของประชากรบริเวณวัดแขก

หลังจากการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐอินเดีย เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ การตั้งถิ่นฐานของชาวอุตตรประเทศและชุมชนฮินดูกลุ่มอื่นๆ ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว สืบเนื่องจากยกระดับความสัมพันธ์ทางการทูต การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ รวมถึงการอพยพเข้ามาค้าขายและศึกษาเล่าเรียนของชาวฮินดูตามคำเชื้อเชิญของ ญาติพี่น้องในเมืองไทย

ปัจจุบันมีชาวฮินดูตั้งหลักแหล่งอยู่แถวถนนสีลม สาทร ยานนาวา พาหุรัด สี่แยกบ้านแขก และถนนสุขุมวิท ตั้งแต่ซอย ๑ ถึง ๘๑ (แต่ละซอยประกอบด้วยชุมชนชาวฮินดูประมาณ ๕ – ๑๐ ครัวเรือน)14

ลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชาวอุตตรประเทศและความโดดเด่นของวัดวิษณุนั้นจัดว่ามีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้



พระวิษณุและพระลักษมี (องค์สูง) พระราม-นางสีดา พระลักษณ์ พระภรต และพระศัตรุฆน์ (แถวหน้า) กลางห้องโถงมหามณเฑียร

ต้นรากและอัตลักษณ์ชุมชนชาวอุตตรประเทศในเขตวัดวิษณุ

วัดวิษณุ ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐ ซอยวัดปรก แขวงทุ่งวัดดอน ยานนาวา15 จัดตั้งขึ้นโดยชาวอินเดียที่มาจากแคว้นอุตตรประเทศ หรือที่เรียกกันว่า “พวกยูพี” (U.P. - United Province or Uttra Pradesh) เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยมีคณะกรรมการบริหารงานชุดหนึ่ง ซึ่งเลือกตั้งมาจากสมาชิกสามัญทุกๆ ปี คณะกรรมการบริหารได้ร่วมกับชาวอินเดียในประเทศไทยจัดซื้อที่ดินและสร้าง เทวาลัยหลังแรกขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๓ เพื่อประกอบพิธีกรรมทางศาสนาฮินดูและประดิษฐานเทวรูปรามจันทราวตาร16

หลังจากนั้น จึงมีการสร้างห้องสมุดวัดวิษณุ สุสานฮินดู ศิวาลัย และเทวาลัยพระศรีหนุมาน ความสำเร็จของการจัดสร้างเทวาลัยวัดวิษณุ นอกจากจะเกิดจากการเรี่ยไรเงินของชาวอุตตรประเทศและชาวฮินดูกลุ่มอื่นๆ แล้ว ยังมีหัวหน้าคณะวิศวกรชาวอังกฤษในบริษัทอีสต์เอเชียติกร่วมบริจาคเงินสมทบ17

แต่เนื่องจากพื้นที่ของวัดมีขนาดค่อนข้างคับแคบ จึงจัดสร้างเทวาลัยขนาดย่อมเพื่อประกอบพิธีกรรมแต่พอสังเขป ส่วนสาเหตุที่เลือกซื้อที่ดินแถวยานนาวาเพื่อสร้างเป็นเทวาลัยนั้น สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อน ที่ดินย่านดังกล่าวมีราคาถูก ประกอบกับชาวอุตตรประเทศก็ประกอบอาชีพอยู่แถววัดดอนและถนนตกมากกว่าย่าน อื่นๆ ของกรุงเทพมหานคร จึงสะดวกต่อการติดต่อและไปมาหาสู่18

นอกจากนี้ ลักษณะภูมิศาสตร์ของเขตยานนาวาซึ่งประกอบด้วยที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสลับ กับที่ดอนยังมีความสอดคล้องกับลักษณะการตั้งถิ่นฐานของชาวอินเดียเหนือตาม เมืองพาราณศรีและอโยธยา ซึ่งมักตั้งถิ่นฐานอยู่ตามที่ดอน แต่ไม่ไกลจากชายฝั่งแม่น้ำคงคาและสาขามากนัก

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ศาสนิกชนชาวอุตตรประเทศได้ตัดสินใจสร้างเทวาลัยหลังใหม่ ให้มีความยิ่งใหญ่อลังการสมกับพระเกียรติยศขององค์พระวิษณุ โดยมีนายอมรนารถ สัจเทว และนายตริโลกนาถ ปาวา เดินทางไปศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมวัดฮินดูในเขตอุตตรประเทศ ตลอดจนสั่งซื้อเทวรูปหินอ่อนจากเมืองชัยปุระ (Jaipur) ซึ่งเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงทางด้านประติมากรรมหินอ่อนในเขตราชสถาน19

ต่อมา ระหว่างช่วงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ จนถึง ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ บัณฑิตวิทยาธร สุกุล ประธานปูชารีวัดวิษณุ ได้บำเพ็ญตบะปฏิบัติชปโยคะระหว่างปีมานวกัลยาณยัญญ์ ซึ่งเป็นการบำเพ็ญโยคะตามแบบฮินดูแท้ โดยบัณฑิตวิทยาธรได้บำเพ็ญบารมีอยู่แต่ภายในเทวาลัยวัดวิษณุเป็นเวลาหนึ่งปี เต็ม โดยไม่พูด ไม่บริโภคอาหารที่สุกด้วยไฟ ไม่ออกจากเทวาลัย และเข้าภาวนาวันละ ๘ ชั่วโมง การบำเพ็ญเพียรในลักษณะดังกล่าวจัดเป็นการสร้างมหากุศลอันแรงกล้า ตลอดจนเป็นการบันดาลสิริมงคลอันสูงส่งให้แก่มหาบุรุษผู้ได้รับพรจากนักพรต20

หลังจากการเสร็จสิ้นพิธีปฏิบัติชปโยคะ บัณฑิตวิทยาธรได้เดินทางไปถวายพระพรอันเกิดจากการบำเพ็ญพรตแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๙ เพื่อแสดงความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเป็นการประทานพรแด่มหาบุรุษผู้เป็นหลักชัยแห่งสยามประเทศ21 เหตุการณ์ดังกล่าวจัดเป็นเหตุการณ์สำคัญ ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การทูตไทยสมัยใหม่

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ ๔๐๐ ปี หนังสือรามจริตมานัส ของท่านตุลสีทาส มหากวีอินเดียผู้ยิ่งใหญ่ ภายในบริเวณวัดวิษณุ โดยมีท่านศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นประธานกรรมการ รับหน้าที่ทำพิธีเปิดงานแทนนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ นายศรีวิทยาจรณะ สุกลา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงผลิตอาวุธ แห่งรัฐบาลอินเดีย ผู้เป็นประธานกรรมการจัดงานฉลองครบรอบ ๔๐๐ ปี หนังสือรามจริตมานัส ในระดับโลก ยังได้มาร่วมงานและร่วมประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์ฮินดูอีกด้วย22

วัดวิษณุนอกจากจะเป็นศูนย์กลางของชาวฮินดูอุตตรประเทศ และเป็นต้นแบบของไวษณพนิกายในเขตกรุงเทพมหานครแล้ว ยังเป็นที่ตั้งของสมาคมฮินดูธรรมสภา (Hindu Dhama Sabha Association) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือและพัฒนาชุมชนฮินดูใน เขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

สมาคมฮินดูธรรมสภาจัดเป็นองค์การที่ทางราชการไทยให้การรับรอง สังกัดแผนกองค์การศาสนาภายในประเทศ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ และแผนกส่งเสริมศีลธรรม และจิตใจ แห่งสภาสังคมสงเคราะห์ สมาคมฮินดูธรรมสภาได้ให้ความร่วมมือแก่ทั้งทางราชการและองค์กรการกุศลต่างๆ ตลอดถึงองค์การเอกชนในกิจการด้านศาสนาพราหมณ์ฮินดูด้วยดีเสมอมา นอกจากนี้ ทางราชการก็ได้จัดสรรเงินรายได้ส่วนศาสนูปถัมภ์ให้แก่ฮินดูธรรมสภาวัดวิษณุ เป็นประจำทุกปี ตามกำลังงบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ23

ขณะเดียวกัน วัดวิษณุยังทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมของการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา โดยมีการจัดหาที่พักให้กับนักบวชที่เดินทางมาจากอินเดีย ผ่านการประสานงานของสมาคมฮินดูธรรมสภา ตลอดจนเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของนักธุรกิจฮินดูและชาวอินเดียเชื้อสายอุตตร ประเทศที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร

ในปัจจุบัน บัณฑิตวิทยาธร สุกุล จัดเป็นเสาหลักในการประกอบพิธีกรรมภายในวัดวิษณุ โดยมี บัณฑิตพินเธศวรี สุกุล บุตรชาย ดำรงตำแหน่งประธานปูชารี

นายกฤษณะ ดี อุปเดียร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชนฮินดูประจำเขตยานนาวา ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฮินดูธรรมสภาคนล่าสุด

ชาวฮินดูอุตตรประเทศที่อาศัยอยู่ในย่านยานนาวาและบริเวณข้างเคียง อาทิเช่น สาทร สุขุมวิท และสี่แยกบ้านแขก ก็เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีตระกูลสำคัญ ได้แก่ตระกูลซาฮี, มิสรา, อุปเดียร์, ตีวารี, ปานเดย์, จันด์, ซิงห์ และยาดา24 กลุ่มคนเหล่านี้ล้วนสืบเชื้อสายมาจากแขกอุตตรประเทศในช่วงเจ็ดสิบถึงหนึ่ง ร้อยห้าสิบปีที่แล้ว



พระกฤษณะ และ พระนางราธา

ในเชิงรูปแบบ สถาปัตยกรรม บริเวณวัดวิษณุ นอกจากจะประกอบไปด้วยมหามณเฑียรที่ประดิษฐานเทวรูปพระวิษณุ ซึ่งสะท้อนถึงอิทธิพลของไวษณพนิกายตามแบบอินเดียเหนือแล้ว ด้านนอกยังมีวิหารขนาดเล็ก ประดิษฐานเทวรูปพระศรีหนุมาน หอพระศิวะ หอพระนางทุรคาเทวี หอพระลักษมี หอเทวดานพเคราะห์ และหอสมุดวัดวิษณุ25

มหามณเฑียรหรือเทวาลัยหลังใหม่ ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๓๕ - ๒๕๔๔ จัดว่ามีความใหญ่โตและงดงามมาก ตัวอาคารก่อสร้างด้วยหินอ่อนสีขาว มียอดปราสาทแบบศิขร ซึ่งเป็นการจำลองยอดเขาหิมาลัยอันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล เทคนิคการก่อสร้างดังกล่าวได้รับความนิยมมากในเขตอินเดียเหนือและอินเดีย ตะวันตกแถบรัฐราชสถาน บริเวณห้องโถงของมหามณเฑียรเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปหินอ่อนที่สั่งตรงมาจาก เมืองชัยปุระ ประกอบไปด้วยเทวรูปพระวิษณุ - พระลักษมี พระราม - นางสีดา พระลักษณ์ พระภรต พระศัตรุฆน์ ศรีหนุมานตอนแบกต้นสังกรณีตรีชวา พระกฤษณะ - นางราธา พระพิฆเนศ ขนาบด้วยรูปหินอ่อนขนาดเล็กของพระนางพุทธิและสิทธิ พระชายา รวมถึงพระพุทธรูปหินอ่อนซึ่งเป็นศิลปะแบบปาละ26

ห้องโถงภายในมหามณเฑียร นอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปซึ่งเป็นที่นิยมตามแบบไวษณพนิกายในอุตตร ประเทศแล้ว ยังเป็นที่ประกอบพิธีกรรม ตลอดจนกิจกรรมรื่นเริงทางศาสนา โดยมักมีทั้งชาวอุตตรประเทศและชาวฮินดูกลุ่มต่างๆ เข้ามาร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระผู้เป็นเจ้า ตลอดจนร่วมกันอ่านบทโศลกของมหากาพย์รามายณะและคัมภีร์ภควัทคีตาในมหากาพย์ มหาภารตะ เป็นประจำทุกวัน



พระพิฆเนศ ขนาบด้วยพระชายา คือนางพุทธิและสิทธิ

ส่วนบริเวณด้านนอกของมหามณเฑียรนั้น นอกจากจะเต็มไปด้วยเทวาลัยขนาดย่อม อันเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปต่างๆ แล้ว ยังเป็นที่ตั้งของตึก "สุกิจ นิมมานเหมินทร์" ซึ่งตั้งชื่อเพื่ออุทิศส่วนกุศลแด่ท่านอาจารย์สุกิจ ผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวัดวิษณุ ภายในตัวตึกใช้เป็นสำนักงาน ห้องสมุดภาษาฮินดี หอประชุมของสมาคมฮินดูธรรมสภา และห้องเลี้ยงอาหารสำหรับเหล่าศาสนิกชนที่เข้ามาบูชาเทวาลัย27

จากการศึกษารูปแบบสถาปัตยกรรมทำให้ทราบว่า วัดวิษณุจัดเป็นเทวาลัยฮินดูขนาดใหญ่ที่มีความงดงาม สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนฮินดูจากอุตตรประเทศ ซึ่งให้ความสำคัญกับการบูชาพระวิษณุและสองภาคอวตารที่ยิ่งใหญ่ อันได้แก่รามจันทราวตาร และกฤษณาวตาร ตลอดจนยังเป็นสถานที่สำคัญในการพบปะและประกอบกิจกรรมทางศาสนาของชาวฮินดูใน เขตกรุงเทพมหานคร

ความโดดเด่นอีกประการหนึ่งของชุมชนฮินดูรอบวัดวิษณุ คือการหลอมรวมและสมานฉันท์ระหว่างชาวฮินดูกับชุมชนชาวต่างประเทศกลุ่มต่างๆ ซึ่งตั้งถิ่นฐานอยู่ในย่านยานนาวา อันประกอบด้วยชุมชนชาวมอญ - พม่า ในย่านวัดดอนและวัดปรก ชุมชนชาวมุสลิมรอบมัสยิดยะวา ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนแถวสุสานวัดดอน และชุมชนชาวคริสต์ในย่านบางรักและสาทร28

การก่อรูปทางภูมิศาสตร์ของเขตยานนาวา ซึ่งมีลักษณะเป็นที่ราบและตลาดท่าเรือริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดให้ชาวต่างประเทศหลากหลายชาติพันธุ์เดินทางเข้ามา ตั้งหลักปักฐานในบริเวณตอนใต้ของกรุงเทพฯ ซึ่งส่งผลให้เกิดลักษณะพหุลักษณ์เชิงวัฒนธรรมบนพื้นที่เขตยานนาวา ชุมชนชาวฮินดูอุตตรประเทศก็จัดเป็นกลุ่มชนที่เข้ามาประกอบอาชีพตามบริษัท ต่างประเทศ ซึ่งในอดีตมักตั้งเรียงรายอยู่ไม่ไกลจากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยามากนัก ขณะเดียวกัน การตั้งถิ่นฐานของแขกอุตตรประเทศก็ก่อให้เกิดปฎิสัมพันธ์และการปะทะสังสรรค์ กับชุมชนชาติพันธุ์ต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้



หนุมานตอนแบกต้นสังกรณีตรีชวา

๑. ความสัมพันธ์กับชุมชนชาวมอญ - พม่า: ชนชาติทั้งสองกลุ่มได้เริ่มอพยพเข้าสู่พื้นที่เขตยานนาวาตั้งแต่สมัยรัชกาล ที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นผลมาจากนโยบายขยายอำนาจทางการทหารของพม่าในสมัยพระเจ้าปดุง (Bodawpaya) ซึ่งทำให้มีชาวมอญและพม่าจากเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี อพยพลี้ภัยสงครามเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ต่อมา ได้มีชาวมอญจากเมืองหงสาวดีอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในเขตยานนาวาเป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการจัดสร้างวัดปรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ เพื่อเป็นศูนย์กลางของชุมชนรามัญจากหงสาวดี29 ครั้นต่อมา เมื่อชาวฮินดูจากอุตตรประเทศเข้ามาสร้างเทวาลัยวัดวิษณุซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ วัดปรก จึงเกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างชาวฮินดูกับชาวพุทธ โดยกลุ่มชาวอุตตรประเทศได้บริจาคเทวรูป ตลอดจนดินและน้ำศักดิ์สิทธิ์ในเขตพุทธสถานจากอินเดียเหนือให้กับวัดปรก วัดดอน และวัดยานนาวา ซึ่งสร้างความพอใจให้กับชาวมอญ ชาวไทย และชาวพม่าเป็นอย่างมาก


ด้านซ้ายของมหามณเฑียรคือตึกสุกิจ นิมมานเหมินทร์ เป็นอาคารสูงสองชั้น มุมขวาบนของภาพมองเห็นอาคารในวัดปรกที่อยู่ใกล้ๆ กัน

ขณะเดียวกัน ประชาชนซึ่งอาศัยอยู่รอบวัดปรกก็นิยมเข้าไปนมัสการและบูชาเทพเจ้าฮินดูในวัดวิษณุ เพื่อตรวจสอบดวงชะตาและเพิ่มพูนสิริมงคลให้ชีวิต โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายมอญนั้นมีความเชื่อและศรัทธาทั้งพระพุทธศาสนาและ เทพเจ้าของศาสนาฮินดู นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ อันเป็นปีครบรอบ ๖๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมาคมฮินดูธรรมสภาได้ประกอบพิธีเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปนามว่า "พระพุทธธรรมจักรศรีตรีโลกนาถ" อันเป็นเครื่องหมายอุดมมงคลแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระรัตนตรัย ตลอดจนเป็นการน้อมถวายพระราชกุศลแต่องค์เอกอัครศาสนูปถัมภกประจำราชวงศ์ จักรี30

การอัญเชิญพระพุทธรูปเข้ามายังวัดวิษณุ นอกจากจะก่อให้เกิดความสมานฉันท์ระหว่างศาสนาพุทธกับฮินดูแล้ว ยังเป็นปัจจัยดึงดูดให้ชาวมอญ พม่า และชาวไทยในละแวกข้างเคียงเดินทางเข้ามาสักการะบูชาและพบปะสังสรรค์กับกลุ่ม แขกอุตตรประเทศมากยิ่งขึ้น

๒. ความสัมพันธ์กับชุมชนชาวมุสลิม: ในสมัยอาณานิคม ชาวชวา (ยะวา) บางส่วนจากประเทศอินโดนีเซียได้ถูกเกณฑ์เป็นแรงงานให้บริษัทต่างประเทศของเน เธอแลนด์ ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตบางรัก ยานนาวา และคลองสาทร ครั้นเมื่อมาถึงปี พ.ศ. ๒๔๓๗ ฮัจยีมุฮัมมัด ซอและฮ์ (Haji Mohammad Saleh) ชาวชวาในบังคับของฮอลันดา ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณตรอกโรงน้ำแข็ง ย่านยานนาวาได้มอบที่ดินให้เป็นสถานที่ปลูกสร้างมัสยิดยะวา เพื่อใช้เป็นสถานที่นมัสการพระผู้เป็นเจ้า ต่อมาได้เริ่มมีชาวมุสลิมอินโดนีเซียเดินทางเข้ามาตั้งหลักแหล่งแถวยานนาวา มากขึ้น โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่มัสยิดยะวาซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดวิษณุ31

ความสัมพันธ์ระหว่างชาวฮินดูกับมุสลิมเกิดจากความเห็นอกเห็นใจกัน ในการตกเป็นเมืองขึ้นของอาณานิคมตะวันตก ตลอดจนมีการขยายความร่วมมือระหว่างชุมชนทั้งในแง่ของการต่อต้านลัทธิ อาณานิคม การจัดตั้งเครือข่ายเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราช รวมถึงการพัฒนาท้องถิ่น อาทิเช่น การจัดทำกิจกรรมสมานฉันท์ทางศาสนาระหว่างฮินดูกับอิสลาม และการร่วมพัฒนาโครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมระหว่างวัดวิษณุกับมัสยิดยะ วา32

ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนทั้งสองจึงค่อนข้างแนบแน่น และเต็มไปด้วยความร่วมมือมากกว่าความขัดแย้ง

๓. ความสัมพันธ์กับชุมชนชาวจีนแต้จิ๋ว: ในอดีต เขตยานนาวาเป็นที่ตั้งสุสานวัดดอน ซึ่งเป็นสถานที่ฝังศพของชาวจีนแต้จิ๋วและคนไทยเชื้อสายจีนบนเนื้อที่กว่า ๑๕๐ ไร่ ตลอดจนเป็นตลาดการค้าและท่าเทียบเรือสำเภาจีนในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น สำหรับปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวฮินดูกับชาวจีนนั้นมักเป็นไปในลักษณะของการผสม ผสานทางศาสนาและความเชื่อ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการประกอบพิธีฝังศพในสุสานวัดดอน กลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนมักเชื้อเชิญนักบวชชาวอุตตรประเทศเข้ามาประกอบ พิธีกรรม เพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์และส่งวิญญาณผู้ตายไปสู่สรวงสวรรค์33 ขณะเดียวกัน ความเชื่อของชาวจีนที่เกี่ยวกับเทวตำนานก็ได้เริ่มขยายตัวจากการบูชาพระ โพธิสัตว์และเจ้าแม่กวนอิม ไปสู่การบูชาเทพเจ้าในศาสนาฮินดู โดยเฉพาะพระวิษณุและพระพิฆเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนเริ่มหันมานับถือ เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภและความสำเร็จ

ในระยะหลังจึงมีชาวไทยเชื้อสายจีนเข้าไปนมัสการเทวรูปในวัดวิษณุ เป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การผสมผสานทางความเชื่อและเทวตำนานจัดเป็นปัจจัยสำคัญที่อยู่เบื้องหลังความ สัมพันธ์ระหว่างชาวอินเดียอุตตรประเทศกับชาวจีนแต้จิ๋วย่านยานนาวา

๔. ความสัมพันธ์กับชุมชนชาวคริสต์: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างชาวฮินดูกับชาวคริสต์ แม้ว่าจะมีมรดกจากยุคอาณานิคมเป็นอุปสรรคขัดขวาง แต่ชุมชนทั้งสองก็ถูกถักทอและร้อยเรียงด้วยกิจกรรมทางการค้าและพาณิชย์นาวี เนื่องจากพื้นที่แถวสาทร บางรัก และยานนาวาเป็นศูนย์กลางทางการค้าระหว่างประเทศ และเป็นที่ตั้งของบริษัทส่งออก - นำเข้า กลุ่มสถานทูตของประเทศตะวันตก ตลอดจนโรงเรียนของคณะนักบวชในคริสต์ศาสนา เช่น อัสสัมชัญ เซ็นหลุยส์ และกรุงเทพคริสเตียน โดยทางคณะกรรมการประจำโรงเรียนมักว่าจ้างชาวอุตตรประเทศเข้ามาเป็นอาจารย์ สอนภาษาอังกฤษและปรัชญาฮินดู เนื่องจากมีความคล่องแคล่วทางการสอนและมีอัตราจ้างถูกกว่าชาวตะวันตก ขณะเดียวกัน ชาวอุตตรประเทศยังได้ไปประกอบอาชีพเป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยตามบริษัท สัญชาติตะวันตก34 แต่ในปัจจุบัน อัตราการจ้างชาวอุตตรประเทศเข้ามาเป็นยามรักษาความปลอดภัยได้ลดลงอย่างรวด เร็ว เนื่องจากชาวอุตตรประเทศมักหันไปประกอบอาชีพอื่น เช่น ค้าขายและประกอบธุรกิจส่วนตัว ประกอบกับบริษัทต่างๆ ก็มักนิยมจ้างคนไทยเข้ามาทำงานมากขึ้น


ภายในศิวาลัย ข้างมหามณเฑียร มีผู้ศรัทธามากราบไหว้บูชาอยู่อย่างสม่ำเสมอ

ความส่งท้าย

จากการศึกษาความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และลักษณะทางวัฒนธรรม สามารถสรุปได้ว่า วัดวิษณุคือศูนย์กลางของชุมชนชาวอุตตรประเทศในเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งสะท้อนถึงอิทธิพลของอารยธรรมแบบไวษณพนิกายที่ปรากฎในสังคมไทยยุค ปัจจุบัน นอกจากนี้ วัดวิษณุยังเป็นตัวแทนของอารยธรรมอินเดียเหนือที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศ ไทยภายใต้แรงบีบคั้นของลัทธิอาณานิคมตะวันตก ตลอดจนเป็นตัวแทนของประวัติศาสตร์การทูตชุดใหม่ที่ขยายตัวเข้าปกคลุมประเทศ ไทยภายใต้เงื่อนไขและบริบทของการเรียกร้องเอกราช และการแสวงหาที่ทำกินในต่างแดน

ลักษณะดังกล่าวได้ส่งผลให้ชุมชนชาวอุตตรประเทศเกิดการรวมตัวกัน อย่างเหนียวแน่น เพื่อประกอบกิจกรรมทางการเมืองและช่วยเหลือเกื้อกูลกันในยามยาก โดยมีการสถาปนาฮินดูธรรมสภาวัดวิษณุเป็นศูนย์รวมทางจิตวิญญาณและศูนย์กลาง การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์ฮินดู

ขณะเดียวกัน สภาพสังคมท้องถิ่นของเขตยานนาวา ซึ่งประกอบด้วยประชากรหลากชาติหลายภาษา ก็ส่งผลให้ชุมชนอุตตรประเทศรอบวัดวิษณุเกิดการปะทะสังสรรค์และสื่อประสาน สัมพันธ์กับชุมชนรอบข้างได้อย่างแนบแน่นและกลมเกลียว ไม่ว่าจะเป็นชุมชนชาวมอญ - พม่า ชุมชนมุสลิมอินโดนีเซีย ชุมชนชาวจีนแต้จิ๋ว และ ชุมชนชาวคริสต์ย่านบางรัก - สาทร โดยมีความผูกพันทางประวัติศาสตร์ การผสมผสานทางศาสนา และลักษณะของการประกอบอาชีพ เป็นสื่อสายใยสัมพันธ์ที่คอยถักทอและยึดโยงให้ชาวอุตตรประเทศอยู่ร่วมกับ ชุมชนรอบข้างได้อย่างสันติและสมานฉันท์

ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า วัดวิษณุคือศูนย์กลางชุมชนชาวอุตตรประเทศที่สะท้อนถึงการผสมผสานกันอย่างลง ตัว ระหว่างประวัติศาสตร์การทูตยุคอาณานิคมกับประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ตลอดจนแสดงถึงอัตลักษณ์ของชาวอินเดียเหนือ ท่ามกลางพหุลักษณ์เชิงวัฒนธรรมของประชากรหลากหลายชาติพันธุ์ในเขตกรุงเทพมหานคร



ขอขอบพระคุณ : วารสารเมืองโบราณ



บทความจาก - อ.ส.ท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ศูนย์รวมโบราณวัตถุ วัฒนธรรมภาคตะวันออก


- หุ่นละครเล็ก ฟื้นฟูชีวิตหุ่นละครเล็ก ณ โรงละครโจหลุยส์

- อรรธนารีศวร ศิลปะชิ้นเยี่ยม
ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี


- พระพิฆเนศทรงช้างเอราวัณ ที่บ้าน ๑๐๐ อัน ๑๐๐๐ อย่าง
ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่


- พระอิศวร มหาเทพนับพันชื่อ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


- โขนชักรอก สมบัติศิลป์ที่เกือบจะสูญสิ้น

บทความจาก - วารสารเมืองโบราณ

- มหาภารตะในอารยธรรมเขมร
และภาพสลักที่ระเบียงคด ปราสาทนครวัด


- สุริยัน จันทรา และราหู ที่ปราสาทพนมรุ้ง
ข้อสังเกตทางโบราณดาราศาสตร์


- ตาควาย - ปราสาทร้างกลางความคลุมเครือ

- มัณฑละเชิงเขาหลวง :
หนึ่งในฐานเศรษฐกิจของรัฐตามพรลิงค์


- ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ กับความเป็นสากล

- บูชาดาวนพเคราะห์ที่ "วัดญวนบางโพ"

- ชุมชนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดทองนาปรัง
ย่านบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี


- วัดวิษณุ - พลิกปูมวัดวิษณุ สมาคมฮินดูธรรมสภา
ศูนย์กลางชุมชนชาวอุตตรประเทศในกรุงเทพมหานคร


- วัดวิษณุ - นวราตรี : ทุรคาบูชา ณ วัดวิษณุ ยานนาวา

- เขายักษ์ - แหล่งภาพสลักพระศิวะกลางป่าตาพระยา

- เทวาลัยไม้สมัยคุปตะที่หิมาจัลประเทศ

- ศาลาแก้วกู่ : มหัศจรรย์สถานแห่งหนองคาย


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.