1. พรหมจรยาอาศรม (วัยพรหมจารีย์) ในช่วงเวลา
25 ปีแรกนี้มนุษย์มีหน้าที่รับแต่การศึกษาไปตามวรรณะของตนเท่านั้น
ผู้ที่เข้ามาอยู่ในอาศรมนี้เรียกว่า พรหมจารี เข้ามาอยู่โดยประกอบพิธีที่เรียกว่า
อปนยนสนสการ ซึ่งจัดทำแก่เด็กในขณะมีวัยได้ 8 ขวบ ถึง 12 ขวบ
กล่าวคือ ส่วนมากเด็กที่มีลักษณะพราหมณ์จะจัดทำพิธีนี้ในขณะ
8 ขวบกันแทบทั้งนั้น เด็กที่มีลักษณะวรรณะกษัตริย์ก็จะจัดทำพิธีนี้ล่าลงไป
คือในประมาณอายุได้ 11-12 ขวบ ส่วนเด็กที่มีลักษณะตรงกับวรรณะไวศยะ
ก็จะกระทำพิธีนี้ในอายุประมาณ 12 ขวบหรือล่าไปกว่านั้นเล็กน้อย
แต่สำหรับเด็กที่มีลักษณะตรงกับวรรณะศูทรแล้ว ไม่มีการกำหนดอายุ
เพราะพวกนี้ต้องรับการศึกษาทางภาคปฏิบัติมากกว่าวิชาหนังสือ
บรรดาพรหมจารีจะต้องอยู่ในพรหมจรยาศรมจนถึงอายุ 25 ปีเต็มในระหว่างนั้น
ผู้เป็นพรหมจารีจะต้องปฏิบัติตนดังต่อไปนี้
ก. เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ทุกประการ และต้องถือว่าตนเองนั้นคือทาสของครู
ข. ออกไปรับภิกษา (เหมือน ๆ กับพระภิกษุในพระพุทธศาสนาออกไปรับบิณฑบาตทุก
ๆ เช้า) และสิ่งของต่าง ๆ ที่ได้รับมาก็ต้องนำมาให้อาจารย์เสียก่อน
ถ้าอาจารย์อนุญาตให้รับประทานได้แล้วจึงจะเริ่มรับประทานได้
ถ้าไม่อนุญาตก็รับประทานไม่ได้
ค. สงวนหรือรักษาน้ำกามอันเป็นสาระสำคัญของร่างกายไว้ให้จงดี
ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
(1) รับประทานแต่อาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ผัก
ผลไม้ ข้าวสาร ข้าวสาลี นมวัว ฯลฯ ในทำนองตรงข้ามก็ไม่ควรจะรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
หรือเป็นเหตุให้ไปเพิ่มความร้อนขึ้นในร่างกาย เช่น เนื้อสัตว์ต่าง
ๆ สุรายาเสพย์ติด ทุกชนิด ฯลฯ
(2) ก. ไม่ควรอ่านหนังสือเรื่องเพศและเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ
ข. ไม่ควรดูละครหรือภาพยนตร์ที่มีการแสดงเรื่องเพศ และเรื่องรัก
ๆ ใคร่ ๆ
ค. ไม่ควรแต่งตัวมากเกินไป(เดิมนั้นถึงกับไม่ให้ตัดผมและไม่ให้โกนหนวดเสียด้วยซ้ำไป)
(3) ควรอยู่เสียให้ห่างไกลจากเพศตรงข้าม เช่น
ก. ไม่ควรมีจินตนาการถึงเพศตรงข้าม
ข. ไม่ควรสนทนากันด้วยเรื่องเพศ
ค. ไม่ควรเล่นสนุกกับเพศตรงข้าม
ง. ไม่ควรสนทนากับเพศตรงข้ามโดยไม่มีผู้อื่นอยู่ด้วย
จ. ไม่ควรมองหน้าเพศตรงข้าม
ฉ. ไม่ควรมีความปรารถนาแต่ประการใดเกี่ยวกับเรื่องเพศ
ช. ไม่ควรพยายามพบปะหรือคบหาสมาคมกับเพศตรงข้าม
ซ. ไม่ควรมีการร่วมเพศ
(4) ต้องไม่ทำประการใดประการหนึ่งที่จะให้น้ำกามมีอันเป็นหลั่งล้นเสียหายไป
(5) ควรตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียนอยู่เสมอและควรพำนักอยู่ที่อาศรมของอาจารย์
โดยตลอด
ผู้เป็นพรหมจารีพึงปฏิบัติดังกล่าวมานี้อย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีเวลาว่างเว้น
จนกระทั่งเมื่ออายุถึง 25 ปีเต็มหรือใกล้เคียงกัน สำเร็จการศึกษาแล้วจึงขออนุญาตจากอาจารย์
ทำพิธี "เกศานตสนสการ" คือ ตัดผมที่ไว้ยาวออกให้หมด
แล้วก็ถวายสิ่งของแก่ครูอาจารย์เป็นค่าของสิ่งที่เรียกกันว่า
"คุรุทกษิณา" เมื่อเสร็จพิธีนี้แล้วก็เป็นอันเรียบร้อย
ร่ำลาครูอาจารย์กลับบ้านได้
2. คฤหสถาศรม (วัยคฤหัสถ์) เป็นช่วงระยะที่
2 แห่งชีวิต กล่าวคือเมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาแล้ว ก็มาช่วยแบ่งเบาภาระจากบิดามารดาด้วยการช่วยทำงาน
และจัดแจงพิธีสมรสเพื่อรักษาวงศ์ตระกูลให้มั่นคงยืนนานต่อไป
กับทั้งย่างก้าวเข้าสู่ความเป็น คฤหัสถ์ หรือ
ฆราวาส แล้วเข้าจัดการงานไปตามวรรณะของตนเพื่อการครองชีพต่อไปเป็นระยะเวลานานอีกประมาณ
25 ปี (คือต่อจากพรหมจรยาศรมไปจนถึงอายุประมาณ 50 ปี) หรือจนถึงบุตรธิดาของตนเป็นคฤหัสถ์ไปแล้ว
ดังนั้นท่านจะเห็นได้ว่าเขาทำทุกสิ่งทุกอย่างโดยมีวรรณะและธรรมะเป็นหลักอย่างแน่นแฟ้น
3. วานปรสถาศรม (วัยวานปรัสต์) เป็นช่วงระยะที่
3 แห่งชีวิต กล่าวคือเมื่อบุตรธิดาได้สำเร็จการศึกษาออกไปเป็นคฤหัสถ์แล้ว
ตัวบิดามารดาผู้ชราก็ควรจะยกทรัพย์สมบัติมอบให้แก่บุตรธิดา แล้วตนเองก็ออกไปอยู่ที่อาศรมอันตั้งอยู่ในป่าเพื่อเสียสละอุทิศกำลัง
ร่างกายของตนออกทำงานให้แก่สังคมส่วนรวม ด้วยการเป็นครูอาจารย์ทำหน้าที่ให้การศึกษา
และนึกคิดแต่ในทางที่จะทำให้สังคมเจริญ แล้วก็ปฏิบัติการให้เป็นไปตามนั้น
สำหรับสตรีถ้าไม่มีความประสงค์จะไปอยู่ในอาศรมในป่ากับสามี ก็อาจจะอยู่กับบุตรธิดาต่อไปได้
ส่วนผู้ใดที่ไม่ต้องการจะออกไปอยู่ ณ อาศรมในป่า ก็อาจจะอยู่ที่บ้านได้
แต่ต้องบำเพ็ญกิจเพื่ออุทิศตนให้แก่สังคมต่อไปจนกว่าจะมีอายุถึง
75 ปี
4. สนยสตาศรม (วัยสันยาสิน) เป็นระยะสุดท้ายแห่งชีวิต
คืออายุย่างเข้า 75 ปี ผู้ชราในวัยนี้ย่อมรู้สึกได้ด้วยตนเองว่าตนมีอายุมากแล้ว
เพราะฉะนั้นก็พาตนเองเข้าสู่สนยสตาศรม คือบวชเป็นสันยาสีเสียในอาศรมนี้
บำเพ็ญสมาธิ และพยายามแสวงหาโมกษธรรมหรือความจริงว่า ตนเองเป็นใคร?
พระพรหมคือใคร? ในโลกนี้มีสารวสตุอะไรบ้าง? ฯลฯ เมื่อได้คำตอบสำหรับตนเองแล้ว
ก็เผยแพร่ให้คำตอบนั้นได้เป็นที่รู้กันไปทั่ว ๆ โดยถือว่ามนุษย์ทั้งปวงเป็นประดุจสมาชิกในครอบครัว(บริวาร)ของตนเอง
และในทำนองเดียวกันก็เป็น อนส (ส่วนหนึ่ง)
ของพระพรหมด้วย สรุปก็คือว่าในอาศรมที่ 4 นี้ เหมือนกับอาศรมที่หนึ่งมากเหลือเกินเพียงแต่ว่าไม่มีการเรียนเหมือนอย่างอาศรมที่
1 เท่านั้น หากมีจินตนาการหรือการเข้าสมาธิมาบรรจุอยู่แทนที่ |