ส่วนใน อินโดนีเซีย พระพิฆเณศเคยเป็นที่นับถือกันมากในอดีต
โดยเฉพาะในชวาภาคตะวันออกตั้งแต่พุทธศตวรรพี่ 15-21 ซึ่งเป็นยุคของ
ราชวงศ์สิงหส่าหรี และ ราชวงศ์มัชปาหิต
และรวมถึงบางสมัยในชวาภาคกลางด้วย
พระพิฆเณศของชวามักจะทรงมีเทวลักษณะที่สงบเสงี่ยมอย่างเห็นได้ชัด
ไม่เคลื่อนไหวหรือทรงพลังอำนาจอย่างรุนแรงแบบอินเดีย องค์ที่สำคัญก็เช่นพระพิฆเณศจากบารา
เมืองบลิตาร์ (BIitar) สร้างใน พ.ศ 1782
สมัยราชวงศ์สิงหส่าหรี เป็นองค์ที่มีขนาดใหญ่และสวยงามมากที่สุดในโลกองค์หนึ่ง
พระพิฆเณศองค์นี้ประทับนั่งแยกพระชงฆ์แต่หันฝ่าพระบาทเข้าหากัน
ทรงถือกปาละไว้ในพระหัตถ์หนึ่ง ที่ฐานด้านหน้าก็มีกะโหลกศีรษะมนุษย์ประดับอยู่
ลักษณะการนั่งและการประดับหัวกะโหลกตามเครื่องพัสตราภรณ์และที่ฐานนี้จะเป็นลักษณะเด่นของเทวรูปพระพิฆเณศแบบชวา
ซึ่งได้มีอิทธิพลต่อมาในเมืองไทยของเรา ดังเทวรูปจากจัณฑิสิงหส่าหรีที่สร้างเมื่อพุทธศตวรรพี่
19 นั้น มีหัวกะโหลกประดับรอบฐานเลยทีเดียว!!
เหตุใดพระพิฆเณศของชวาจึงต้องมีการประดับหัวกะโหลกอย่างน่าสะพรึงกลัวเช่นนั้น?
คำตอบก็คือ เพราะเขานิยมนับถือพระองค์ในฐานะ
คณปติ คือทรงเป็นหัวหน้าบริวารแห่งพระศิวะ หรือเรียกอีกอย่างได้ว่าทรงเป็นผู้อยู่เหนือภูตผีปิศาจต่างๆ
ดังนั้นการสร้างเทวรูปดังกล่าวจึงแสดงถึงเทวานุภาพในการขจัดล่งชั่วร้าย
มนต์ดำ รวมทั้งอัปมงคลและโรคภัยต่างๆ นั่นเอง
ส่วนที่ บาหลี ในปัจจุบันนี้ สถานที่สำคัญสำหรับพระพิฆเนศวรมีอยู่ที่
เคาคชาห์ (Goa Gajah) ใกล้กับ เปเชง
(pejeng) ราชธานีในอดีตของบาหลี เป็นถ้ำขนาดใหญ่ที่มีการแกะสลักอย่างเลื่องชื่อ
ภายในนั้นมีเทวรูปพระพิฆเนศวรสันนิษฐานว่าคงสร้างในราวๆ
พุทธศตวรรษที่ 16 เทวรูปพระพิฆเนศวรที่มีชื่อเสียงยังมีอีกแห่งหนึ่งที่
เยห์ปุลูห์ (Yeh puluh) ซึ่งอยู่ไม่ห่างไปจากเคาคชาห์มากนัก
ที่นั่นมีการแกะสลักหินรูปนูนสูงเป็นภาพปริศนาขนาดยาวถึง
25 เมตร ปลายสุดของภาพเป็นเทวรูปพระพิฆเนศวรซึ่งสร้างตามแบบศิลปะชวาโบราณ
สันนิษฐานว่าภาพทั้งหมดทำขึ้นในพุทธศตวรรพี่ 19
ใน ญี่ปุ่น ก็มีคติการนับถือพระพิฆเนศวรอยู่บ้างเหมือนกัน
โดยทรงมีพระนามว่า โชเทน (Joten) หรือ
ไดโช คังคิเทน (Daljo-Kangklten) เข้าใจว่าชาวญี่ปุ่นคงได้รับไปจากจีนในราวๆ
พุทธศตวรรษที่ 14 แต่คงจะรับไปในรูปแบบของพระสิทธิธาดามากกว่ามาร
เพราะยังนับถือว่าพระองค์จะทรงบันดาลให้เกิดอุปสรรค หรือนำข้ามพ้นอุปสรรคก็ได้
ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าพระองค์เป็นผู้นำทางไปสู่ความสว่าง... |