|
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ |
วิธีการเลือกซื้อ-เช่า-จัดหา-บูชาองค์พระพิฆเนศ
การเลือกวัสดุที่ผลิต / การหาสถานที่เบิกเนตร-ปลุกเสก |
วัสดุที่ใช้ผลิตองค์พระ
ไม่ว่าจะเป็นองค์พระแบบเหรียญห้อยคอ
แบบลอยองค์ หรือแบบตั้งโต๊ะ จะขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ตาม ควรผลิตมาจากวัสดุธรรมชาติ
เช่น แกะสลักจากไม้ หินทราย ปั้นจากดิน ผงสมุนไพร ว่าน
เซรามิก แก้ว ตลอดจนโลหะต่างๆ เช่น สำริด ทองเหลือง ทองชมพู
ดีบุก เงิน ทองคำ นวโลหะ ฯลฯ
แต่ในกรณีที่องค์พระมีราคาแพง (เช่น ทองคำ เงิน อัญมณี
ฯลฯ) หรือท่านที่มีทุนทรัพย์ไม่มากพอ ก็แนะนำให้เลือกบูชาองค์พระที่ผลิตจากวัสดุสังเคราะห์
(พลาสติก ไฟเบอร์กลาส เรซิ่น ฯลฯ) ก็ได้เช่นกัน
มีข้อห้ามเด็ดขาดคือ ห้ามเลือกบูชาองค์พระที่ได้มาจากการเบียดเบียนสิ่งมีชีวิต
เช่น พระพิฆเนศแบบงาช้างแกะสลัก (ซึ่งต้องตัดงาของช้างมาผลิต)
กระดูกสัตว์บด หรือทำจากกระดูก-หนังวัว-เขี้ยว ฯลฯ หรือมวลสารที่ได้มาด้วยความมิชอบ
แต่หากท่านได้มาแล้วด้วยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือด้วยวิธีใดก็ตาม
ก็ไม่ควรนำไปทิ้ง แต่ให้เก็บรักษาเอาไว้โดยไม่ห้อยคอ |
|
ปลุกเสก-ไม่ปลุกเสก???
การจะเลือกเช่าบูชาเทวรูปทั้งหมดในศาสนาพราหมณ์นั้น
ผู้บูชาจะจัดหามาโดยจะเลือกที่ผ่านพิธีเบิกเนตร หรือไม่เบิกเนตรมาก็ได้
เนื่องจากในอินเดียนั้นก็ไม่มีข้อห้ามใดๆ เพียงแต่เพื่อความสบายใจแล้ว
ผู้คนก็นิยมเลือกบูชาแต่องค์พระ ที่ผ่านพิธีกรรมปลุกเสกมาแล้วทั้งสิ้น
ทั้งนี้ องค์พระ-วัตถุมงคล-เทวรูป ที่ผู้บูชาเลือกเช่ามานั้น
จะผ่านการปลุกเสกเบิกเนตรมาหรือไม่ ความจริงเราก็ไม่สามารถแยกออกด้วยตาเปล่า
หรือการสัมผัสด้วยมือ หรือแม้แต่สัมผัสด้วยจิตได้เลย |
ในบางครั้ง ผู้บูชาอาจจะถูกหลอกให้เช่าพระราคาแพง
ที่อ้างว่าปลุกเสกมาแล้ว แต่ในความเป็นจริงไม่ได้ปลุกเสกมาเลยก็เป็นได้
ผู้เขียนจึงย้ำผู้ศรัทธาทุกท่านเสมอว่า ให้บูชาตามกำลังทรัพย์ของตน
โดยเน้นไปที่การสวดมนต์และจัดถวายของจะดีกว่า
แต่หากท่านต้องการความสบายใจ โดยจะบูชาองค์พระที่ผ่านพิธีกรรมเบิกเนตรปลุกเสกมาแล้ว
ก็ควรดูจากพิธีกรรมที่มีความชัดเจน ประธานจัดสร้างและพระสงฆ์ที่ปลุกเสกควรมีความน่าเชื่อถือ
(แท้ที่จริงต้องเป็นคณะพราหมณ์ มิใช่พระสงฆ์) พิธีกรรมควรมีวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างที่แน่นอนและเปิดเผย
หรือหากในพิธีมีคณะพราหมณ์มาทำหน้าที่อัญเชิญเทพก็จะสมบูรณ์กว่า
สถานที่ปลุกเสก-เบิกเนตร
ในประเทศไทย
ผู้ที่ต้องการนำพระพิฆเนศไปปลุกเสกเอง ให้นำองค์พระของตน
ไปเข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เช่น ในวันคเณศจตุรถี
ถือเป็นวันสำคัญทางศาสนาฮินดู จะมีการทำพิธีที่วัดหลายๆแห่งทั่วประเทศ
โดยเฉพาะที่วัดแขกสีลม เพียงท่านนำพระติดตัวไปด้วย เมื่อเข้าไปในพิธีก็นำองค์พระของท่าน
ยกขึ้นจรดหน้าผาก หรือชูขึ้นเหนือหัว ตั้งจิตอธิษฐานขอให้บารมีของเทพมาสถิตอยู่
ณ องค์พระของท่าน เท่านี้ก็เสร็จสิ้นการเชิญบารมีองค์พระด้วยตนเอง
หรือหากยังไม่มั่นใจ สามารถไปที่ 1.วัดเทพมณเฑียร
2.วัดวิษณุยานนาวา หรือ 3.เทวสถานโบสถ์พราหมณ์เสาชิงช้า
แล้วเข้าไปขออนุญาตกับคณะพราหมณ์ข้างใน ว่าอยากให้เบิกเนตรองค์พระให้
ท่านก็จะได้องค์พระที่เบิกเนตรอย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องไปเสียเงินเช่าพระที่ปลุกเสกมาในราคาแพง
วิธีการเดินทางไป เวลาเปิดของวัดแต่ละแห่ง ก็ดูรายละเอียดได้ที่หน้าแรกของเว็บ
siamganesh นะครับ ทุกครั้งที่นำพระไปเบิกเนตร
***เมื่อเบิกเนตรแล้วก็แนะนำให้บริจาคเงินให้วัดหรือเทวสถานด้วยด้วย
เพียงเล็กน้อยก็ได้ตามกำลังศรัทธา เพื่อเป็นค่าบำรุงเทวสถาน
สถานที่ที่ถูกต้องและพราหมณ์เมตตาทำให้ก็มีแค่ 3 แห่งเองครับ
ต่างจังหวัดก็ไม่ค่อยมีด้วย ที่อื่นๆก็ไม่แนะนำ อาจโดนหลอกเสียเงินฟรีๆครับ |
|
องค์พระที่แตกหัก-เสียหาย...ห้ามทิ้ง!!
เทวรูป-องค์พระที่ท่านได้มานั้น
หากเกิดการแตกหักเสียหาย
เช่น พระกร (มือ) แตกหัก หรือศาสตราวุธหลุด-บิดเบี้ยว
แม้แต่เศียร (หัว) ขาด ก็ไม่ควรนำไปทิ้ง หรือมอบให้ผู้อื่นด้วยความที่ตนเองไม่อยากได้แล้ว
ควรซ่อมแซมก่อน เช่น ถ้าติดกาวได้ก็ควรทำ หรือถ้าซ่อมไม่เป็นก็ให้เก็บรักษาไว้
ถ้าเห็นแล้วเกิดความไม่สบายใจก็เก็บใส่กล่องแล้วเก็บไว้ที่สูงก็ได้
|
การเก็บองค์พระที่เสียหายไว้นั้น
ไม่ก่อให้เกิดอาบัติเภทภัยใดๆ ไม่ก่อให้เกิดโชคร้ายดังที่เข้าใจกัน
ในทางกลับกัน ยังเป็นการแสดงตนให้พระท่านเห็นว่า แม้ว่าองค์พระจะอยู่ในสภาพใดก็ตาม
ท่านก็ยังมีความศรัทธาและพร้อมจะเก็บรักษาไว้เสมือนสมบัติล้ำค่า
องค์พระที่ตกแตกกระจัดกระจายหรือแม้จะถูกทำลายจนป่นเป็นผง
ก็ให้รวบรวมบรรจุใส่กล่อง กระถาง หรือขวดโหล แล้วตั้งไว้ที่เดิมที่ท่านกราบไหว้บูชาตามปกติ
หากท่านไม่สนิทใจที่จะตั้งไว้ที่เดิม ก็นำเก็บใส่ลิ้นชักหรือใส่กล่องไว้ที่สูงก็ได้
แต่ห้ามนำไปทิ้งไว้ตามวัดหรือศาลเจ้าที่ข้างทางที่ไม่มีผู้ดูแล
(เหมือนที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมทำกับพระพุทธรูปที่แตกหักเสียหาย
แล้วนำไปทิ้งไว้ที่วัดหรือตามศาลเจ้า) หากจัดหาองค์ใหม่มาประดิษฐานได้ก็ดี
แต่ถ้ายังหาไม่ได้ก็กราบไหว้องค์เดิมที่เสียหายไปแล้วก็ไม่เป็นการบาปแต่อย่างใด
ไม่ว่าจะเป็นองค์เทวรูปขนาดใหญ่บนโต๊ะหมู่บูชา หรือพระเล็กๆสำหรับห้อยคอก็ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกัน
สังเกตุได้จากพิพิธภัณฑ์ต่างๆ จะเก็บรักษาเทวรูปเก่าแก่
โดยไม่เลือกว่าสวยงามสมบูรณ์หรือชำรุดแตกหัก
ในเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ จะเห็นองค์พระพิฆเนศองค์หนึ่ง
ทำจากหินทราย องค์นี้ งวงหักไปทั้งยวง
แต่คณะพราหมณ์ก็นำมาประดิษฐานไว้ให้ผู้ศรัทธาได้สักการะ
เทวรูปที่เสียหายองค์นี้ถือเป็นสมบัติล้ำค่าของประเทศ ไม่สามารถประเมินราคาได้แม้ชำรุดจนเห็นได้ชัดเจน
และยังคงความศักดิ์สิทธิ์ ประทานพรแก่ผู้ศรัทธามาแล้วนับไม่ถ้วน
อีกแง่หนึ่ง แม้ท่านจะได้รับองค์พระหรือเทวรูปที่มีความงดงาม
สร้างอย่างพิถีพิถัน ไม่มีตำหนิ ผ่านพิธีกรรมอันยิ่งใหญ่
เช่ามาในราคาแพงมาก หรือเป็นอัญมณีแก้วคริสตัล เพชร หยก
มรกตมีค่าปานใด หากท่านไม่มีวินัยในการบูชา สวดมนต์บ้างไม่สวดบ้าง
ถวายของตามมีตามเกิด ปล่อยองค์พระให้ฝุ่นจับหนาเตอะโดยไม่ทำความสะอาด
อย่างนี้ก็ไม่เกิดมงคล การบูชาก็ล้มเหลว นอกจากพระพิฆเนศจะไม่ประทานพรแก่ท่านแล้ว
อาจจะลงโทษตัวท่านเองก็เป็นได้ |
|
|
การนำพระพิฆเนศไปด้วยเมื่อต้องเดินทาง
หากท่านต้องเดินทางไปไหนไกลๆ
ควรระลึกถึงพระพิฆเนศตลอดการเดินทาง แต่ถ้าจิตของท่านระลึกถึงพระพิฆเนศได้ไม่แน่วแน่และเต็มที่
ก็แนะนำให้อัญเชิญพระพิฆเนศแบบห้อยคอ หรือแบบลอยองค์เล็กๆ
ติดตัวไปด้วย เพื่อจะได้สวดมนต์ต่อท่านได้สะดวก
แต่ในกรณีที่ออกจากบ้านแล้วลืม ก็ไม่จำเป็นต้องมีครับ
เพียงท่านสวดมนต์ระลึกถึงองค์พระพิฆเนศก็เพียงพอแล้ว ลองฝึกตั้งจิตอธิษฐานให้องค์ท่านคุ้มครอง
สวดมนต์ให้ได้หลายๆบทเพื่อทำสมาธิ หรือนำกระดาษเปล่า มาเขียนบทสวดมนต์ที่ท่องเป็นประจำ
(บทไหนก็ได้) แล้วพับเก็บใส่กระเป๋าเสื้อ หรือสอดไว้ใต้หมอน
สวดมนต์อธิษฐานระลึกถึงพระคุณและบารมีอันยิ่งใหญ่ของพระพิฆเนศ
ทำสมาธิก่อนนอนทุกคืน บารมีของพระพิฆเนศก็จะแผ่มาถึงตัวท่าน
ให้ความคุ้มครองปกป้องท่านจากภยันตรายได้เช่นกัน
องค์เทวรูปในบ้าน ถ้าเป็นองค์ใหญ่มาก ไม่สามารถนำติดตัวไปได้
ก็เพียงแต่พกรูปพระพิฆเนศ ในกระเป๋า บางท่านก็นำโทรศัพท์มือถือถ่ายรูปองค์เทวรูปของตนเพื่อเก็บไว้ดู
และระลึกถึงในยามที่อยู่นอกบ้านก็ให้ผลดีไม่แตกต่างกัน...สุดท้ายแล้ว
หากท่านละเรื่องการพกพาวัตถุได้ ก็ไม่ต้องห้อยพระพิฆเนศเลยครับ
ให้ปล่อยวางแล้วตั้งจิตสวดมนต์ถึงพระองค์โดยไม่ต้องพึ่งเทวรูป
จะเข้าถึงพระองค์ได้ลึกซึ้งยิ่งกว่าใครทีเดียว
ท่านที่หารูปบูชาไม่ได้ จะ Save รูปจากเว็บไซต์นี้ไป Print
หรือเก็บเอาไว้บูชาก็ได้ครับ
ยังไงก็ศักดิ์สิทธิ์เหมือนกัน...หรือจะอุดหนุนรูปภาพพระพิฆเนศมหามงคล
และเทพองค์อื่นๆของสยามคเณศ ก็เชิญได้เลยนะครับ
***สงวนลิขสิทธิ์บทความ***
การนำเนื้อหานี้ไปใช้ที่อื่น กรุณาอ้างอิงหรือขอบคุณเว็บไซต์สยามคเณศ
และทำลิงก์กลับมาที่ http://www.siamganesh.com
|
|
----------------
อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม
----------------
หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ
,
พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
,
พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
,
พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร
,
หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
,
ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
--------- สถานที่
ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
-
พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน
จ.ฉะเชิงเทรา
-
พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม
พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
-
พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย
อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ
8 แห่ง
-
รวมรูปองค์เทพ | -
รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | -
รวมความรู้การบูชาองค์เทพ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
-----------------
เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์
วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี
เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า
]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ
วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
-
สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์
| -
ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
-
ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก
| -
ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
-
พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้
| -
พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
-
พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี
| -
อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
-
คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี
เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก
-
การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์
โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
-
บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ
| -
พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
-
พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ
| -
พญานาค การบูชาองค์พญานาค | -
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
-
รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี
การบูชาพระแม่อุมาเทวี | -
องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
-
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ
องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ |
-
องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี
-
ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ
| -
พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ
| -
การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
-
การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า
| -
พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
-
ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
-
พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ
| -
การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
-
เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม
พระแม่กวนอิมปางต่างๆ
[ เรื่องร่างทรง
]
เรื่องร่างทรง
1
- เตือนใจเรื่องร่างทรง
มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
2
- คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ?
(รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์
องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
3
- ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง
? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์
องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
4
- การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์
ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
5
- ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
6 -
ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
7 -
รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง
ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)
[ พระศิวะมหาเทพ
]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์
แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช
พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด
, นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์
พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์
พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร
พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน
พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู
พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|
|
|
|
|