พระพิฆเณศ
อินเดีย ประเทศอินเดีย รูปพระพิฆเนศ รูปภาพ งานศิลปะ พระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ

"การขยายอิทธิพลทางวัฒนธรรมของอินเดีย"
ขอขอบพระคุณ : บทความจาก www.human.cmu.ac.th
บรรยายโดย อาจารย์พีรพล อิศรภักดี

ความสัมพันธ์ของอนุทวีปอินเดียกับดินแดนต่างๆ ของโลกนั้นสามารถสืบย้อนไปได้ถึงสมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุอันเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์สืบต่อมาเรื่อยๆ จนถึงสมัยที่ชาวอารยันมีบทบาททางวัฒนธรรมแทนที่คนพื้นเมือง ดังปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีในดินแดนต่างๆ ของโลก ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าแม้อินเดียจะมีพรมแดนธรรมชาติที่ดูเหมือนจะปิดล้อมอินเดียเอาไว้ แต่ในความเป็นจริงนั้น อนุทวีปอินเดียไม่เคยอยู่โดดเดี่ยว

อย่างไรก็ตามหลักฐานต่างๆ ที่ค้นพบก็มิได้ให้ภาพความสัมพันธ์ที่ชัดเจนนัก จนกระทั่งต้นๆ ยุคคริสตกาลจึงปรากฏหลักฐานที่ชัดเจน เช่นบันทึกของชาวกรีกที่อยู่ในอียิปต์ ชื่อ The Periplus of the Erythraean Sea จากหลักฐานชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่ามีการค้าระหว่างอินเดียกับประเทศทางตะวันตก โดยใช้เส้นทางเดินเรือระหว่างอินเดียกับดินแดนต่างๆ ทางตะวันตก สินค้าที่สำคัญๆ ที่เป็นที่ต้องการก็คือ ไข่มุก อัญมณีต่างๆ ผ้ามัสลิน (Muslins) เชื่อว่ามีเครือข่ายของเส้นทางเดินเรือ รวมไปถึงทางบกที่จะขนสินค้าจากดินแดนตอนในของอินเดียมายังท่าเรือ และเดินทางต่อไปยังดินแดนต่างๆ นอกจากนี้ยังเชื่อว่ามีการตั้งถิ่นฐานของชาวอินเดียในเกาะบางเกาะในทะเลอาหรับ อย่างเช่น เกาะโซโคตรา (Socotra) นอกจากนี้ยังพบว่าอินเดียมีการติดต่อกับอาณาจักรโรมัน เมื่อประมาณ 26 ปีก่อนคริสตกาล (Majumdar, 1976 : 203) การค้าระหว่างอินเดียกับโรมเป็นการค้าทางเรือ แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องขนถ่ายสินค้าทางบกข้ามจากฝั่งทะเลแดงไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นอกจากการค้าทางทะเลแล้ว อินเดียก็ยังสามารถติดต่อกับตะวันตกโดยทางบก เป็นเส้นทางที่พาดผ่านอาณาจักรเปอร์เซียทอดตัวไปตามชายฝั่งของทะเลสาปแคสเปียน ผ่านซีเรีย เอเซียไมเนอร์ไปยังชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน เส้นทางนี้เป็นที่รู้จักกันมากขึ้น หลังจากที่พระเจ้าอเลกซานเดอร์รุกรานอินเดีย

เส้นทางการค้าทั้งทางบกและทางเรือตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของชาวอาหรับหลังจากการสถาปนาอำนาจของอิสลามในคริสตศตวรรษที่ 7 ดังนั้นการค้าจึงกลายเป็นการค้าระหว่างอินเดียกับอาหรับแทนที่การค้าโดยตรงระหว่างอินเดียกับตะวันตก

เป็นที่ทราบกันอยู่โดยทั่วไปว่า อารยธรรม วัฒนธรรม นั้นย่อมติดตามไปกับการค้า เราได้พบการขยายตัวของศาสนาอินเดียไปทางตะวันตก ในสมัยพระเจ้าอโศกมีการส่งสมณทูตไปเผยแพร่ศาสนาพุทธยังเอเชียตะวันตก อาฟริกาเหนือ และยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อว่าศาสนาของอินเดียมีอิทธิพลอยู่ในบริเวณนี้พอสมควรก่อนการสถาปนาศาสนาอิสลาม ในเอเชียกลางก็เช่นกัน ศาสนาพุทธเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปใน กลุ่มชนเผ่าเร่ร่อนในแถบนี้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะอำนาจของพวกกุษานะที่รับนับถือศาสนาพุทธ และสนับสนุนนิกายมหายาน ซึ่งในเวลาต่อมา ศาสนาพุทธมหายานได้ขยายตัวเข้าไปสู่จีน ซึ่งยังคงปรากฎอิทธิพลต่อประชาชนนับล้านในหมู่ชาวจีนปัจจุบัน

ในบรรดาดินแดนที่รับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมของอินเดียเอาไว้ อาจกล่าวได้ว่า ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นดินแดนที่ปรากฏอิทธิพลของอินเดียสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นประเทศ พม่า ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา ในปัจจุบันนี้ ความอุดมสมบูรณ์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ว่าจะเป็นแร่ธาตุ ไม้สัก โดยเฉพาะเครื่องเทศทำให้พ่อค้าจากดินแดนต่างๆ ของโลกไม่ว่าจะเป็นอินเดีย จีน และอาหรับในภายหลังหลั่งไหลกันเดินทางไปค้าขายกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีสถาพภูมิศาสตร์เหมาะสมกับการค้าทางทะเลเป็นอย่างยิ่ง

เชื่อว่าประมาณศตวรรษที่ 2 ในยุคคริสตกาล พ่อค้าชาวอินเดียจากเบงกอลได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการค้ากับประชาชนในคาบสมุทรมาลายาแล้ว ดังปรากฏในบันทึกของ ปโตเลมี (Ptolemy) ถึงชื่อเมืองในเกาะชวา สุมาตรา นอกจากนี้จากบันทึกของพุทธศาสนาก็ยังปรากฎชื่อเมือง ซึ่งสอดคล้องกับบันทึกของปโตเลมี ชื่อที่ปรากฏนี้เป็นอิทธิพลของอินเดียอย่างแน่นอนเพราะชื่อเมืองต่างๆ เหล่านั้นเป็นภาษาสันสกฤต การถ่ายทอดอารยธรรมอินเดียสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไปอย่างช้าๆ พ่อค้าชาวอินเดียผู้อพยพจากดินแดนซึ่งอาจเป็นชนชั้นกษัตริย์ หรือนักบวชได้นำวัฒนธรรมอินเดียไปสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดินแดนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมีความเจริญอยู่ในระดับหนึ่ง ได้รับเอาวัฒนธรรมใหม่เข้าไปผสมผสานปรับปรุงให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงปรากฎร่องรอยของอิทธิพลด้านวัฒนธรรมจากอินเดียอย่างเด่นชัด เช่น ความคิดทางการเมือง และสถาบันพระมหากษัตริย์ พิธีการของศาสนาพราหมณ์ หลายดินแดนยอมรับนับถือศาสนาพุทธทั้งมหายานและหินยาน วรรณคดีสำคัญๆ อย่างเช่น มหากาพย์รามายณะ และ มหากาพย์มหาภารตยุทธ ได้รับความนิยมชมชอบ และรักษาไว้ในดินแดนนี้เป็นอย่างดีอย่างเช่น ดินแดนที่เป็นประเทศไทยปัจจุบันและดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง เช่น อาณาจักรฟูนัน อาณาจักรเจนละ ต่างก็ได้รับอิทธิพลของอินเดียมาตั้งแต่ต้นๆ ยุคคริสตกาล นอกจากนี้ยังปรากฏอาณาจักรที่ได้รับอิทธิพลของอินเดียในแถบหมู่เกาะด้วยเช่นกัน อย่างเช่น อาณาจักรไศเลนทร์ (Sailendra) ซึ่งได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธมหายาน

กล่าวโดยสรุปก็คือวัฒนธรรมอินเดียนอกเหนือจากจะมีความสำคัญ มีบทบาทต่อประชาชนในอนุทวีปอินเดียเองแล้ว วัฒนธรรมอินเดียยังมีบทบาทสำคัญต่อโลก โดยได้ให้ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่างๆ กับโลก เช่น คณิตศาสตร์ วรรณคดี ภาษา ปรัชญา ศาสนา สถาปัตยกรรม รวมทั้งเป็นพื้นฐานสำคัญให้กับบางอารยธรรม เช่น ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นต้น

ขอขอบพระคุณ : บทความจาก www.human.cmu.ac.th
บรรยายโดย อาจารย์พีรพล อิศรภักดี

คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกประเทศอินเดียและพระพิฆเนศ


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระคเณศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.