พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
อ่านเรื่องเทพเจ้าของพราหมณ์-ฮินดูได้อีกมากมาย!!
สถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์พุนเทลละที่เมืองโอรชา
เชษฐ์ ติงสัญชลี
วารสารเมืองโบราณ


สะพานเชื่อมระหว่างเขตพระราชวังบนเกาะกลางแม่น้ำเบตวากับฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ


ราชมหัล พระราชวังซึ่งสร้างขึ้นโดยพระเจ้ามธุการชาห์ พุทธศตวรรษที่ ๒๒


ชาหานคีร์มหัล พระราชวังซึ่งสร้างขึ้นโดยพระเจ้าวีรสิงหเทพ พุทธศตวรรษที่ ๒๒


ลานกลางชาหานคีร์มหัล


จิตรกรรมเรื่องรามายณะ ภายในราชมหัล


เทวาลัยรามราช ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระราชวังของพระนางคเณศกุณวารีมาก่อน


เทวาลัยจตุรภุชทางด้านทิศตะวันออก


รายละเอียดของผนังอาคารและยอดศิขรของเทวาลัยจตุรภุช


สุสานหลวงริมแม่น้ำเบตวา

เมืองโอรชา หรือโอรฉา (Orchha) ตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างรัฐอุตตรประเทศกับรัฐมัธยประเทศ ทางภาคกลางของประเทศอินเดีย ห่างจากเมืองฌานสีประมาณ ๑๘ กิโลเมตร เมืองนี้ตั้งริมฝั่งแม่น้ำเบตวา (Betwa) แม่น้ำสำคัญซึ่งไหลจากเทือกเขาวินธัยทางภาคใต้ของรัฐมัธยประเทศ ไปลงแม่น้ำยมุนาในรัฐอุตตรประเทศ

โอรชามีความสำคัญในฐานะที่เคยเป็น เมืองหลวงของราชวงศ์พุนเทลละ ซึ่งปกครองแคว้นพุนเทลขัณฑ์ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐมัธยประเทศ) ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๔ ร่วมสมัยกับราชวงศ์โมกุล

ประวัติศาสตร์ราชวงศ์พุนเทลละและเมืองโอรชาโดยสังเขป
ราชวงศ์พุนเทลละสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มราชปุต ซึ่งปกครองอินเดียภาคกลางมาตั้งแต่สมัยกลาง ราชวงศ์นี้กล่าวอ้างว่าเป็นสูรยวงศ์ สืบเชื้อสายมาจากพระลพ โอรสองค์โตของพระราม จึงนับถือไวษณพนิกายอย่างมั่นคง

ราชวงศ์พุนเทลละ มีประวัติมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ อย่างไรก็ตาม กษัตริย์องค์แรกที่ทรงสร้างและสถาปนาเมืองโอรชาเป็นเมืองหลวงนั้นคือพระเจ้า รุทรประตาบ (พ.ศ.๒๐๔๔ - ๒๐๗๔)

ใน พ.ศ.๒๐๗๓ พระองค์เสด็จล่าสัตว์ในบริเวณเมืองโอรชาปัจจุบัน และทรงเห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมที่จะสร้างเมือง ในปีต่อมา พระเจ้ารุทรประตาบจึงทรงเริ่มสร้างพระราชวัง แต่แล้วกลับเสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน พระเจ้าภารติจันท์ (พ.ศ.๒๐๗๔ - ๒๐๙๗) ผู้ทรงครองราชย์ต่อมา จึงทรงให้สร้างพระราชวังต่อจนเสร็จ และย้ายเมืองหลวงมายังเมืองโอรชา

ครั้นรัชกาลของพระเจ้ามธุการชาห์ (พ.ศ.๒๐๙๗ - ๒๑๓๕ - ตรงกับสมัยพระเจ้าอักบาร์ (Akbar) แห่งราชวงศ์โมกุล) ในปี พ.ศ.๒๑๑๖ โปรดฯ ให้สร้าง “ราชมหัล” และให้วาดจิตรกรรมภายในพระราชวังแห่งนี้ด้วย ต่อมาในปี พ.ศ.๒๑๓๑ โปรดฯ ให้สร้างเทวาลัยจตุรภุชอุทิศแด่พระวิษณุขึ้น โดยเป็นที่ประดิษฐานเทวรูปพระรามซึ่งพระมเหสีของพระองค์ทรงนำมาจากเมืองอโยธ ยา

พระเจ้าวีรสิงหเทพ (พ.ศ.๒๑๔๘ - ๒๑๗๐) เป็นกษัตริย์ที่ทรงอำนาจและมีชื่อเสียงที่สุดในราชวงศ์ ทรงสร้างเทวาลัยจตุรภุชต่อจนสำเร็จ และทรงสร้าง “ชาหานคีร์มหัล” ซึ่งกล่าวกันว่า สร้างขึ้นเพื่อรับเสด็จฯ พระเจ้าชาหานคีร์ (Jahangir) แห่งราชวงศ์โมกุล ในการเสด็จฯ มายังเมืองโอรชา

เมืองโอรชา ยังคงเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์พุนเทลละมาจนถึงรัชกาลของพระเจ้าวรกรมชิตสิงห์ (พ.ศ.๒๓๑๙ - ๒๓๖๐) ซึ่งทรงย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองติกัมคัฒ (Tikamgarh) เนื่องจากโอรชาตั้งอยู่ใกล้เมืองฌานสี (Jhansi) ของ ราชวงศ์มราฐะเกินไป

โบราณสถานภายในเมืองโอรชา
แบ่งออกได้เป็นสามส่วนใหญ่ๆ คือ เขตพระราชวัง เขตเทวาลัย และเขตสุสานหลวง
๑) เขตพระราชวัง ตั้งอยู่บนเกาะกลางแม่น้ำเบตวา โดยมีสะพานเชื่อมกับเขตเทวาลัย ประกอบด้วยอาคารหลักสองหลัง คือ ราชมหัล และชาหานคีร์มหัล
๒) เขตเทวาลัย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ ประกอบด้วยเทวาลัยจตุรภุชและเทวาลัยรามราช หันหน้าไปทางทิศตะวันออก
๓) เขตสุสานหลวง หรือเรียกในภาษาฮินดีว่า “มักบรา” (Maqbara) ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเบตวา ประกอบด้วยสุสานกษัตริย์จำนวนมาก

ราชมหัลและชาหานคีร์มหัล
ภายในเขตพระราชวัง ราชมหัล และชาหานคีร์มหัล ถือได้ว่าเป็นอาคารที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยเฉพาะชาหานคีร์มหัลนั้น ตั้งอยู่บนเนินกลางเกาะในแม่น้ำเบตวา ยิ่งทำให้มีความโดดเด่น อาคารทั้งสองนี้สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้ามธุการชาห์และพระเจ้าวีรสิงหเทพใน พุทธศตวรรษที่ ๒๒ เช่นเดียวกัน จึงมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ เป็นอาคารในผังรูปสี่เหลี่ยมที่ล้อมรอบลานตรงกลาง ทำให้แสงอาทิตย์สามารถส่องเข้าไปภายในอาคารได้อย่างทั่วถึง แผนผังที่มีลักษณะพิเศษนี้ ปรากฏมาก่อนแล้วตั้งแต่ที่อาคาร Jodh Bai’s Palace ภายในพระราชวังของพระเจ้าอักบาร์ ที่เมืองฟาเตห์ปูร์ สิกรี (Fatehpur Sikri) ซึ่งแสดงการรับอิทธิพลแผนผังมัสยิดมาอีกต่อหนึ่ง

ทั้งราชมหัลและชาหานคีร์มหัล เป็นอาคาร ๔ - ๕ ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเสารองรับอาร์คโค้งแหลมตามอิทธิพลศิลปะมุสลิม ด้านบนของราชมหัลประดับด้วย “ฉัตรี” หรืออาคารทรงโดมขนาดเล็ก รองรับด้วยเสาสี่ต้น ซึ่งทำให้นึกถึงส่วนบนของประตูบุลันด์ ดารวาซา (Buland Darwaza) ที่มัสยิดหลวง (Jama Masjid) เมืองฟาเตห์ปูร์ สิกรี อันสร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าอักบาร์

ส่วนด้านบนของชาหานคีร์มหัลนั้น ประดับด้วยอาคารทรงโดมขนาดใหญ่แปดโดม ทั้งสี่มุมและสี่ด้านอาคารทรงโดมแต่ละหลังประกอบด้วยอาคารในผังสี่เหลี่ยม จตุรัส รองรับหลังคาลาดเลียนแบบเครื่องไม้ซึ่งอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจตุรัสเช่นกัน ถัดขึ้นไปได้แก่โดมประธานซึ่งตั้งอยู่บนฐานเขียงแปดเหลี่ยม ที่มุมทั้งสี่มีการประดับ “ฉัตรี” หรือโดมขนาดเล็กที่ตั้งอยู่บนเสาสี่ต้น

ลักษณะการจัดวางโดมขนาดเล็กที่มุมของโดมประธาน โดยที่ทั้งหมดตั้งอยู่บนอาคารรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสนั้น เป็นรูปแบบที่นิยมมากในบริเวณภาคกลางของประเทศอินเดีย (บริเวณรัฐมัธยประเทศในปัจจุบัน) ปรากฏมาก่อนแล้วตั้งแต่ที่เมืองมันดู (Mandu) และยังปรากฏที่สุสานของมุฮัมมัด ฆอร์ (Muhammad Ghor) เมืองควาลิเออร์ (Gwalior) อีกด้วย

อนึ่ง น่าสังเกตว่า พระราชวังโควินท์ที่เมืองดาเตีย (Datia) อันสร้างขึ้นในรัชกาลเดียวกันนี้ มีลักษณะทั้งรูปแบบโดมและการจัดวางโดมที่คล้ายคลึงกันกับชาหานคีร์มหัลมาก อย่างไรก็ตาม พระราชวังที่เมืองดาเตียนั้น มีการเพิ่มอาคารทรงโดมเข้าไปตรงกลางลาน ทำให้พระราชวังแห่งนี้ มีอาคารทรงโดมประดับ ๙ หลัง

ที่ชั้นล่างของราชมหัล ยังปรากฏจิตรกรรมที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เขียนเรื่องรามายณะและเรื่องกฤษณลีลา ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับไวษณพนิกายทั้งสิ้น จิตรกรรมเหล่านี้วาดขึ้นใน พ.ศ.๒๑๘๕ - ๒๑๘๘ ตามพระราชเสาวนีย์ของพระนางหิรรานี พระมเหสีในพระเจ้าปหารชาห์ สำหรับภาพที่นำมาแสดงในบทความนี้ เป็นภาพพระรามและนางสีดา ประทับอยู่บนบัลลังก์พร้อมด้วยพระอนุชาอีกสามองค์และหนุมาน

น่าสังเกตว่า การวาดภาพลงไปบนรองพื้นโดยที่ไม่มีฉากด้านหลังตามระบบทัศนียวิทยา (Perspective) และการใช้สีสดสำหรับตัวบุคคลและสิ่งของ ตัดกับพื้นหลังที่ใช้โทนสีเอกรงค์ (Monochrome) นั้น แสดงลักษณะเฉพาะของจิตรกรรมในสกุลช่างมัลวะ (Malwa) ซึ่งแตกต่างอย่างชัดเจนกับจิตรกรรมร่วมสมัย ในราชสำนักโมกุล

เทวาลัยจตุรภุชและเทวาลัยรามราช
เทวาลัย จตุรภุชและเทวาลัยรามราชมีประวัติเกี่ยวข้องกับตำนานการอัญเชิญประติมากรรม พระรามมาจากเมืองอโยธยา โดยพระนางคเณศกุณวารี พระมเหสีของพระเจ้ามธุการชาห์ ตำนานนี้เล่าว่าพระนางทรงนับถือพระราม แต่พระสวามีทรงนับถือพระกฤษณะ ทั้งสองทรงโต้เถียงกันว่าเทพเจ้าองค์ใดยิ่งใหญ่กว่ากัน แม้ว่าบัณฑิตหริรามวยาสจะพยายามอธิบายว่าเทพทั้งสองเป็นองค์เดียวกัน แต่ก็ไม่เป็นผล

พระเจ้ามธุการชาห์จึงเสด็จไปยังมถุ รา และตรัสสั่งให้พระนางคเณศกุณวารีเสด็จไปอโยธยา และห้ามกลับคืนยังโอรชาจนกว่าจะนำพระรามกลับมาด้วย พระนางจึงเสด็จไปอโยธยาและบำเพ็ญตบะเพื่อพบพระราม แต่ก็ไร้ผล ด้วยความสิ้นหวัง พระนางจึงจะกระโดดน้ำเพื่อหวังปลงพระชนม์

ด้วยความภักดี พระรามจึงเสด็จมาประทับที่ตักของพระนางและตรัสว่า พระองค์จะเสด็จไปประทับที่เมืองโอรชาในเวลากลางวัน และเสด็จกลับเมืองอโยธยาในเวลากลางคืน โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องนำพระองค์ไปยังเมืองโอรชาด้วยการเดิน และถ้าวางพระองค์ไว้ ณ ที่ใด พระองค์จะประทับอยู่ ณ ที่นั้นตลอดไป

เมื่อพระนางเสด็จกลับโอรชาและนำ เทวรูปพระรามกลับมาด้วย พระเจ้ามธุการชาห์จึงโปรดฯ ให้สร้างเทวาลัยจตุรภุชเพื่อประดิษฐานเทวรูปพระราม พระนางจึงทรงวางเทวรูปไว้ใน “รานีมหัล” หรือพระราชวังของพระนางเพื่อรอการสร้างเทวาลัยจตุรภุช ทว่า เมื่อสร้างเทวาลัยเสร็จแล้ว กลับไม่สามารถขยับเขยื้อนเทวรูปได้ ด้วยเงื่อนไขที่พระรามได้วางไว้ เทวรูปพระรามจึงประดิษฐานอยู่ในรานีมหัล ซึ่งได้รับการเปลี่ยนให้เป็นเทวาลัย “รามราช”

และด้วยความเชื่อว่าพระรามเสด็จมาประทับ ณ เทวาลัยรามราชในเวลากลางวัน เทวาลัยแห่งนี้จึงได้รับการปฏิสังขรณ์ตลอดมา

อย่างไรก็ตาม จากเค้าโครงของสถาปัตยกรรมแล้ว จะเห็นได้ว่า ประกอบด้วยอาคารทรงโดมซึ่งมีฉัตรีประดับอยู่ด้านข้าง ซึ่งอาจเทียบเคียงได้กับชาหานคีร์มหัลภายในเขตพระราชวัง รูปแบบดังกล่าวนี้ ยังทำให้นึกถึงตำนานที่กล่าวว่าเทวาลัยแห่งนี้เคยเป็นพระราชวังมาก่อนด้วย

เทวาลัยที่สง่างามที่สุดของเมืองโอรชา ได้แก่เทวาลัยจตุรภุช ซึ่งตั้งอยู่บนเนินและมีอาคารซ้อนกันหลายชั้น จึงทำให้เป็นอาคารที่สูงที่สุดในเมือง

แผนผังของเทวาลัยจตุรภุชประกอบด้วย ครรภคฤหะและมณฑปเช่นเดียวกับเทวาลัยในศาสนาฮินดูทั่วไป อย่างไรก็ตาม มณฑปซึ่งมีลักษณะเป็นรูปกากบาทนั้น เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากลักษณะดังกล่าวไม่เคยปรากฏมาก่อนในศิลปะอินเดียเหนือสมัย แต่กลับคล้ายคลึงกับเทวาลัยโควินทเทพที่เมืองวรินทาวัน ซึ่งสร้างขึ้นโดยพระเจ้ามานสิงห์แห่งชัยปุระในพุทธศตวรรษที่ ๒๒ อันเป็นระยะร่วมสมัยกับเทวาลัยจตุรภุช

ตัวอาคารสร้างซ้อนขึ้นไปหลายชั้น โดยประกอบด้วยอาร์คโค้งแหลมและหลังคาเลียนแบบเครื่องไม้ซ้อนกันขึ้นไปอัน แสดงอิทธิพลของศิลปะมุสลิม ยอดด้านบนสุดปรากฏการใช้เครื่องยอดถึงสามยอดเรียงลำดับลดหลั่นกันตามความสูง คือยอดโดมในตำแหน่งด้านหน้า (เตี้ยที่สุด) ยอดศิขรสี่เหลี่ยมตรงกลาง และยอดศิขรแปดเหลี่ยม (สูงที่สุด) ในตำแห่งที่ตรงกับครรภคฤหะ

น่าสังเกตว่า ระหว่างยอดศิขรยอดกลางและยอดสูงสุดนั้น ปรากฏการใช้รูปแบบที่แตกต่างกัน ยอดศิขรสี่เหลี่ยมในตำแหน่งตรงกลางนั้น แสดงถึงความพยายามจำลองศิขรแบบ “เศขรี” ในศิลปะสมัยราชวงศ์จันเทลละที่เมืองขชุรโห ส่วนศิขรยอดสูงสุดนั้น แสดงลักษณะของศิขรที่ได้รับความนิยมในศิลปะอินเดียเหนือสมัยหลังพุทธศตวรรษ ที่ ๑๙ กล่าวคือ ศิขรอยู่ในผังแปดเหลี่ยม มีลักษณะเป็นศิขรเรียบโดยที่มีเส้นลวดบัวคั่นเป็นชั้นๆ แต่ละด้านของศิขรมีการประดับอุรศริงค์ (ศิขรขนาดเล็ก) การที่ศิขรมีลักษณะเรียบนั้น แตกต่างไปจากศิขรในสมัยกลางที่มีประดับด้วยลายควากษะ (ลายกูฑุเต็มอัน - ครึ่งอัน) เสมอ

สุสานหลวง
สุสาน หลวงหรือ “มักบรา” (Maqbara) ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองริมแม่น้ำเบตวา (รูปที่ ๙) ประกอบด้วยสุสาน ๑๔ แห่ง ตั้งแต่รัชกาลของพระเจ้าภารติจันท์และพระเจ้ามธุการชาห์ลงมา รวมถึงพระอัฐิของพระเจ้าวีรสิงหเทพด้วย สุสานเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระอัฐิและเพื่อทำพิธีศารทธพรตอุทิศแด่ผู้ ตาย

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ในสมัยโบราณ ไม่มีประเพณีการสร้างสุสานสำหรับกษัตริย์ที่ทรงนับถือศาสนาฮินดู จึงมีข้อสันนิษฐานว่าสุสานเหล่านี้เป็นอิทธิพลของศาสนาอิสลาม

จากรูปแบบศิลปกรรมนั้น สุสานส่วนใหญ่สร้างขึ้นเป็นอาคารหลายชั้นที่ประกอบด้วยอาร์ควงโค้งแหลม แต่ละชั่นคั่นด้วยหลังคาเลียนแบบเครื่องไม้อันเป็นอิทธิพลของศิลปะมุสลิมที่ ปรากฏอยู่โดยทั่วไปทั้งในพระราชวังและเทวาลัยในศิลปะพุนเทลละ ยอดประธานมักสร้างขึ้นในรูปแบบคล้ายเทวาลัย กล่าวคือการใช้ศิขรในผังแปดเหลี่ยม มีการประดับอุรศริงค์ (ศิขรขนาดเล็ก) ที่ด้านทั้งแปด ซึ่งอาจเทียบได้กับศิขรยอดหลังของเทวาลัยจตุรภุช ที่มุมทั้งสี่ปรากฏอาคารทรงโดมประดับฉัตรี อันมีลักษณะคล้ายคลึงกับพระราชวังมากกว่า จึงเกิดประเด็นที่น่าสนใจว่า เป็นความพยายามในการรวมเอาสถาปัตยกรรมพระราชวังกับเทวาลัยไว้ในหลังเดียวกัน หรือไม่ และหากเป็นเช่นนั้นจริง ประเพณีนี้จะเกี่ยวข้องกับการสร้างสุสานให้เป็นเสมือนพระราชวังหลังสุดท้าย ของกษัตริย์หรือไม่

สถาปัตยกรรมที่เมืองโอรชา
นอกจากจะแสดงให้เห็นความพยายามของ ช่างที่จะสังเคราะห์เอาลักษณะที่โดดเด่นของศิลปะมุสลิมเข้ามาผสมผสานกับ ศิลปะในศาสนาฮินดูซึ่งสืบทอดมาจากสมัยกลางแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความเจริญของศิลปกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านสถาปัตยกรรม ในอินเดียภาคเหนือ ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ได้เป็นอย่างดี

บรรณานุกรม
Albanese, M. Architecture in India. Delhi: Om Book Service, 2000.
Aruna. “Geographical Situation and Short History of Orchha”. Orchha Painting. New Delhi: Sharada Publishing, 2001.
Das, R.K. Temples of Vraindaban. New Delhi: Sundeep Prakashan, 1990.
Ganpatye, P. A Guide to the Indian Miniature. New Delhi: National Museum, 1997.
Singh, A. P. and Singh, S. P. Monuments of Orchha. Delhi: Agam Kala Prakashan, 1991.
Tadgell, C. The History of Architecture in India. London:Paidon Press Limited, 1998.
Tomory, E. A History of Fine Arts in India and the West. Madras: Orient Longman, 1995.


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.