|
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ |
การนับถือพระพิฆเนศในอินเดีย
ที่มา : หนังสือคเณศปกรณ์
โดย กิตติ วัฒนมหาตม์ |
image from photobucket.com |
กล่าวในทางโบราณคดีแล้วว่า การนับถือพระพิฆเณศ
จะเริ่มขึ้นในประเทศอินเดียเมื่อเวลาใดนั้นยังเป็นปัญหาอยู่
เพราะไม่อาจกำหนดอายุที่แน่นอนของคัมภีร์พระเวทได้
ส่วนหลักฐานที่เป็นวัตถุนั้น ได้พบรูปประติมากรรมที่มีเศียรเป็นช้างหลากหลายรูปแบบ
มีอายุเก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่ 5-6 ที่เมืองอมราวดี และมถุรา
ประติมากรรมเหล่านี้ อาจจะเป็นต้นแบบของเทวรูปพระพิฆเณศที่แท้จริง
ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในเมืองมถุรา มีอายุเก่าแก่ถึงพุทธศตวรรษที่
8 ในทางประวัติศาสตร์ศิลปะจัดเป็นสมัยคุปตะตอนต้น และตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
10 เป็นต้นมา รูปพระพิฆเณศก็พบได้ทั่วไปในประเทศอินเดีย |
ปัจจุบันนี้
พระพิฆเณศได้รับการนับถือในหมู่ชนฮินดูทุกนิกาย ดังนั้นจึงเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก
มากยิ่งกว่าพระเป็นเจ้าสูงสุด เช่น พระวิษณุ และ
พระศิวะ เสียอีก ชาวฮินดูให้ความสำคัญต่อพระพิฆเณศมาก
เพราะเมื่อถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความสำเร็จ อุปสรรค และสติปัญญา
รวมทั้งเป็นเทพองค์แรกสำหรับการบูชา เขาจึงมีประเพณีที่จะต้องบูชาพระพิฆเณศก่อนเทพองค์อื่นๆทั้งหมด
ในการริเริ่มกิจการใหม่ๆ รวมทั้งการจะประกอบพิธีอันเป็นมงคลทุกอย่าง
ก็จะต้องมีการบวงสรวงสังเวยต่อพระพิฆเณศ ด้วยถือกันอย่างยิ่งว่า
หากไม่บูชาพระองค์เสียก่อนแล้ว การงานหรือพิธีนั้นๆ ยากที่จะสำเร็จลุล่วงไปได้
และอีกกระแสความเชื่อหนึ่งยังนับถือว่า พระพิฆเณศเป็นเจ้าแห่งภูติผีปีศาจต่างๆ
ทั้งนี้เนื่องจากพระพิฆเณศทรงมีอีกพระนามว่า คณปติ
(Ganapati) ทรงเป็นเจ้าแห่งบริวารของพระศิวะ
ซึ่ง คณะ หรือ บริวาร
เหล่านั้นก็คือภูติผีปีศาจตลอดจนอสุรกายดังที่ได้พรรณาไว้ในปุราณะทั้งหลายอยู่แล้ว
จึงกล่าวกันว่า พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครองภูติผีปิศาจทั้งปวง
และอาจทรงใช้ปิศาจเหล่านั้นไปอารักขาผู้ประพฤติดีและบูชาพระองค์
และนี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ต้องบวงสรวงพระพิฆเณศก่อนที่จะบูชาเทพเจ้าองค์อื่นในการริเริ่มกิจการทุกอย่าง
|
image from photobucket.com |
คนอินเดียยังนิยมประดิษฐานเทวรูปขนาดเล็กของพระพิฆเณศ
ไว้เหนือกรอบประตูด้านบนของบ้านเรือน ศาสนสถาน และปราสาทราชวังต่างๆ
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่จะผ่านเข้าไป
รวมทั้งเพื่อป้องกันมิให้อำนาจชั่วร้ายต่างๆ ล่วงล้ำเข้าสู่สถานที่เหล่านั้นด้วย
เพราะองค์พระพิฆเณศย่อมอยู่เหนือพลังอำนาจอันชั่วร้ายทั้งปวง
และเรายังเห็นได้ว่า คติความเชื่อเช่นนี้มีตัวอย่างอยู่ในศิวปุราณะ
และตำนานเรื่องพระพิฆเณศขัดขวางปรศุรามจนเสียงา ซึ่งแสดงให้เห็นณลักษณะแห่งการเป็นผู้อารักขาประตูทางเข้าสถานที่ต่างๆ
ของพระองค์ด้วย
เทวรูปขนาดเล็กนี้ ตามศาสนสถานส่วนมากปรากฏอยู่ในลักษณะ
รูปนูนสูง หรือ รูปกึ่งลอยตัว
แต่ถ้าตามบ้านเรือนทั่วไปจะประดิษฐานเพียงภาพจิตรกรรมเล็กๆ
โดยอาจให้ช่างเขียนรูปพระพิฆเณศลงสีบนแผ่นกระเบื้อง แล้วประดิษฐานไว้เหนือประตูบ้าน
ส่วนการประดิษฐานพระพิฆเณศในบ้านเรือนของชาวฮินดู เขานิยมประดิษฐานเทวรูปไว้ให้สูงจากพื้นพอสมควร
โดยวางไว้บนโต๊ะเล็กๆ หรือก่อเทวาลัยขึ้นมาเป็นศาลขนาดย่อม
เวลาถวายเครื่องสังเวยก็วางบนพื้นตรงหน้าเทวาลัยนั้น และในการประดิษฐาน
ก็จะจัดให้องค์เทวรูปนั้นหันหน้าตรงกับประตูทางเข้าบ้านเป็นสำคัญ
และมักประดิษฐานไว้ในชั้นล่างของบ้านหรือในห้องรับแขก
เวลาทำพิธีบูชา ก็กระทำกันในห้องนั้นๆ ตามร้านค้าก็ประดิษฐานอย่างนี้เช่นเดียวกัน
|
ทางอินเดียภาคใต้ ชาวทมิฬถือว่าพระพิฆเณศเป็นเทพประจำหมู่บ้านและประจำเรือน
จึงมีรูปพระพิฆเณศปรากฏให้เห็นทั่วไปทุกหนทุกแห่ง จนพูดได้ว่าผู้เลื่อมใสในองค์พระพิฆเณศจะต้องตื่นตาตื่นใจอย่างยิ่งเมื่อเห็นปริมาณเทวรูปของพระพิฆเณศในวัฒนธรรมทมิฬ
(อินเดียใต้) ที่มากมายมหาศาล และการนับถือนั้น เขามีพิธีปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด
ก่อนนอนก็บูชา ตื่นขึ้นมาก็บูชา เรื่องพระพิฆเณศทรงอารักขาเคหสถานนี้มีเปนโศลกอยู่ในคัมภีร์ฤคเวทบทหนึ่ง
นับว่าเป็นคติที่เก่าแก่มาก
บรรดาสตรีสาวในรัฐทมิฬนาฎุ ยังมีการบูชาพระพิฆเนศในรูปแบบที่เรียกกันว่า
วรัต (Vrata : การสำนึก) ในวันอังคารตลอดทั้งปี
เพื่อให้ได้รับสามีที่ดีและบ้านที่ผาสุก นามพระคเณศในภาษาทมิฬคือ
พิลไลยาร์ (Pillaiyar) |
|
นอกจากความนิยมประดิษฐานเทวรูปในบ้านแล้ว
คนอินเดียโดยทั่วไปยังนิยมบูชาพระพิฆเณศและเทพเจ้าทั้งหลาย
ด้วย ภาพจิตรกรรม (รูปวาด) อยู่แทบในทุกบ้านเช่นกัน โดยมากมักเป็นรูปวาดที่เน้นสีสันสวยงามและราคาไม่แพง
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการนำเทคนิคใหม่ๆ ในด้านการพิมพ์เข้ามาใช้ให้มีความหลากหลายยิ่งขึ้น
เช่น การพิมพ์ปั๊มทองลงไปตรงส่วนที่เป็นเครื่องถนิมพิพาภรณ์ของเทพแต่ละองค์
หรืออีกแบบหนึ่งที่นิยมกันมากคือ จิตรกรรมฉาบเงาซึ่งเป็นเทคนิคที่มาจากทางยุโรป
อันจะทำให้รูปภาพมีการสะท้อนแสงเป็นสีต่างๆ และทำให้ดูมีมิติมากขึ้น
สำหรับเทคนิคการปั๊มทองนั้น ในปัจจุบันได้ทำกันอย่างประณีตขึ้นมาก
โดยการเดินเส้นทองตามลายเส้นของเครื่องทรงแทนการพิมพ์ทึบแล้วดุนนูนต่ำตามแบบเดิม
ในขณะที่ราคาแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงตามด้วย |
การบูชารูปภาพ
ในแบบ ตรีเอกานุภาพ |
|
|
|
รูปบูชา ตรีเอกานุภาพ
แบบ พระตรีมูรติ |
รูปบูชา ตรีเอกานุภาพ
แบบ พระตรีศักติ |
รูปบูชา ตรีเอกานุภาพ แบบ
สรัสวดีลักษมีคณปติ |
ชาวฮินดูในปัจจุบันมีสิทธิ์อย่างอิสระที่จะบูชาเทพเจ้าองค์ใดก็ได้ในจำนวนเทพเจ้าที่มีอยู่มากมาย
คติการบูชาที่มีลักษณะเด่นน่าสนใจคติหนึ่งคือ การบูชาแบบคู่
คือการบูชาเฉพาะ พระพิฆเนศ+พระแม่ลักษมี
และ พระพิฆเนศ+พระแม่สรัสวดี
เป็นการบูชาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมานานแล้ว
โดย พระแม่ลักษมี นั้นทรงเป็น ชายา
หรือ ศักติ ของ พระวิษณุ (พระนารายณ์)
เป็นเทวีแห่งความงาม ความรัก โชคลาภ ความผาสุกและความอุมสมบูรณ์
ส่วน พระแม่สรัสวตี (หรือ สุรัสวตี) เป็นชายาของ
พระพรหม (ผู้สร้างโลก) เป็นเทวีแห่งการศึกษา
ปราชญ์ ปัญญา ความรู้ พิธีกรรม และศิลปวิยาการทุกแขนง
การบูชา พระพิฆเณศ ร่วมกับ
พระแม่ลักษมี เฉพาะ 2 พระองค์
กระทำกันมากในหมู่นักธุรกิจ นักการตลาด นักขาย นักโฆษณา
ผู้บริหาร นักประชาสัมพันธ์ (ผู้ประกอบการค้าทุกแขนง) เพื่อขอพรเทพทั้ง
2 พระองค์ให้ประทานความสำเร็จ (พระพิฆเนศ) และความมั่งคั่งร่ำรวย
(พระลักษมี) ให้เกิดแก่ธุรกิจและสายอาชีพของตน (สายอาชีพอื่นๆก็บูชาให้เกิดความสำเร็จและความร่ำรวยได้เช่นกัน)
ส่วนการบูชา พระพิฆเณศ ร่วมกับ
พระแม่สรัสวดี เฉพาะ 2 พระองค์นั้น
มักกระทำกันในหมู่นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ โบราณคดี
นักกฏหมาย นิติศาสตร์ นักเขียน แพทย์ ครูบาอาจารย์ นักวิจัย
นักวิทยาศาสตร์ และผู้ทำงานศิลปะ-นักดนตรี-นักแสดง-ศิลปินทุกแขนง
(หากหารูปบูชา 2 พระองค์รวมกันในรูปเดียวไม่ได้ ก็สามารถใช้รูปที่แยกพระองค์
แล้วมาประดิษฐานไว้ติดกันก็เกิดผลเช่นเดียวกัน)
เพิ่มเติม - การบูชาแบบคู่นอกเหนือจากนี้ ก็ยังมีการบูชาคู่ในแบบ
มหาเทพ+ศักติ (คู่สามี-ภรรยา) เช่น พระพรหม+พระแม่สรัสวตี
, พระวิษณุ+พระแม่ลักษมี , พระศิวะ+พระแม่อุมา , พระราม+พระแม่สีดา
, พระกฤษณะ+พระแม่ราธา ฯลฯ
การบูชาพระพิฆเณศร่วมกับเทวีทั้งสองดังที่กล่าวมานี้
ในที่สุดก็ได้รวมเข้าไว้ด้วยกันอีก แสดงออกในคติการบูชาอีกแบบหนึ่ง
เป็นลักษณะของ ตรีเอกานุภาพ
(Triad หรือการบูชาเทพเจ้า 3 พระองค์) คือ พระพิฆเณศ-พระลักษมี-พระสรัสวดี
ด้วยกันทั้ง 3 พระองค์
เช่นเดียวกับการจัดกลุ่ม
พระตรีมูรติ (พระพรหม-พระวิษณุ-พระศิวะ)
อันเป็นมหาเทพสูงสุดของศาสนาพราหมณ์ ก็เป็นตรีเอกานุภาพ
และ พระตรีศักติ (พระแม่สรัสวดี-พระแม่ลักษมี-พระแม่อุมา)
ซึ่งเป็นชายา 3 พระองค์ ของ 3 มหาเทพตรีมูรติ ก็เป็นตรีเอกานุภาพ
หรือ พระแม่อุมา-พระแม่กาลี-พระแม่ทุรกา
(3 ปางของพระแม่อุมา) ก็เป็นตรีเอกานุภาพเช่นเดียวกัน
(ดูรูปด้านบนประกอบ)
ส่วนใหญ่การบูชาในคติเหล่านี้ มักบูชากันในรูปแบบของภาพวาด
ภาพเขียน มากกว่าการบูชาในแบบเทวรูป เนื่องจากมีการเขียนรูปในคติ
3 พระองค์เหล่านี้มากกว่าการปั้นเทวรูป 3 พระองค์พร้อมกันในคราวเดียว |
|
เพิ่มเติม
- ชาวอินเดียทั่วไปถือว่า รูปบูชา
เป็นสิริมงคลเทียบเท่ากับ เทวรูป (องค์พระ)
และยังนิยมนำมามอบให้กันเป็นของขวัญอันมีคุณค่ายิ่ง ส่งมอบกันเป็น
สคส. หรือของขวัญพิเศษใน เทศกาลทิวาลี (Diwali)
อีกด้วย
สำหรับการห้อยพระพิฆเนศ ขนาดเล็กๆไว้ที่คอ ดูจะเป็นที่นิยมน้อยกว่าในหมู่ชาวอินเดีย
(สังเกตุได้จากแขกพราหมณ์ในประเทศไทย) ซึ่งแตกต่างจากชาวไทยส่วนใหญ่
ที่นิยมจัดหาเทวรูปองค์เล็กๆมาไว้ติดกับตัว พฤติกรรมการบูชาเทพเจ้าของอินเดียจึงเป็นการบูชา
เทวรูป ไว้ในบ้าน และบูชา รูปภาพ
ไว้ร่วมกัน มากกว่าการบูชาแบบห้อยคอ / สยามคเณศ
|
นิกายที่นับถือพระพิฆเณศเป็นใหญ่ เป็นประธานเหนือเทวะองค์อื่นๆ
เรียกว่า คณปัตยนิกาย (Ganapatyas) เป็นนิกายใหญ่
1 ใน 6 นิกายของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ยังมีปรัชญาทางฮินดูที่เกี่ยวกับพระพิฆเณศที่มีชื่อเสียงที่รู้จักกันดีคือ
คเณศคีตา (Ganesh Gita) เป็นบทสนทนา
11 บทระหว่าง พระเจ้าวเรณยะ กับ พระพิฆเนศ
กล่าวถึงความหมายของ โยคะ โดยพระพิฆเณศทรงแสดงไว้ว่า
"โยคะ คือการตระหนักถึงเอกภาพขั้นมูลฐาน
อันเป็นมูลเหตุแห่งความแตกต่างที่ปรากฏของโลกแห่งความรู้ความชำนาญ
โยคะที่แท้จริงประกอบอยู่ในความเข้าใจถึงรูปพรรณแห่งพระพรหม
วิษณุ มเหศวร และอื่นๆประกอบกันพระพิฆเณศผู้ซึ่งเป็นความจริงสูงสุด.."
วิชาโยคะ นั้น อาจจะอธิบายโดยสังเขปได้ว่า
เป็นกรรมวิธีการชำระจิตวิญญาณให้สะอาดบริสุทธิ์
หรือการปฏิบัติกรรมฐานรูปแบบหนึ่ง (การปฏิบัติโยคะที่แท้งจริงนั้น
มิใช่ไสยศาสตร์ตามที่เข้าใจผิดกัน) โดยอาศัยการปลุกพลังเร้นลับที่แฝงอยู่ในร่างกายออกมา
เรียกว่า "กุณฑาลิณี (Kundalini)"
เมื่อพลังมีกุณฑาลิณีแล้ว พลังจิตและสัมผัสเหนือมายตนะทั้งห้า
จะพัฒนาขึ้นจนสามารถเปิดจิตวิญญาณไปสู่ความรู้แจ้งในโลกและจักรวาล
ในทาง โยคะศาสตร์ พระพิฆเณศคือผู้คุ้มครอง
มูลธารจักร และทรงมีพระนามในการนี้ว่า
"มูลธารคณปติ (Muladhara Ganapati)"
เช่นเดียวกับที่ชาวฮินดูเชื่อกันทั่วไปว่า พระองค์ทรงเป็นเทวะแห่งการริเริ่มสิ่งต่างๆ
ถ้าไม่บูชาพระพิฆเณศก่อนจะทำสิ่งใดก็ไม่สำเร็จ อีกทั้งยังถือกันว่าพระองค์ทรงปกป้องพลังกุณธาลิณีจากพลังด้านลบที่เป็นอันตราย
และทรงขจัดอุปสรรคที่คอยขัดขวางพลังกุณธาลิณีที่จะเคลื่อนขึ้นสู่จักรที่อยู่เหนือขึ้นไปอีกด้วย
ALL IMAGES FROM PHOTOBUCKET.COM
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ
|
|
|
ขอขอบคุณ :
หนังสือคเณศปกรณ์
เขียนโดย : กิตติ วัฒนะมหาตม์
สำนักพิมพ์: เมืองโบราณ คเณศปกรณ์
หนังสือที่นำเสนอเรื่องราวของมหาเทพพิฆเนศ ประวัติความเป็นมา
การเปลี่ยนถ่ายสู่วัฒนธรรมที่แตกต่างในแต่ละประเทศ การนับถือพระพิฆเนศในคติต่างๆ
บทสวดมนต์ สถานที่สักการะพระพิฆเณศวรทั่วประเทศ... |
|
---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม
----------------
หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
,
พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
,
พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
,
ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย
เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
-
พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
-
พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ
พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
-
พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก
พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
-
รวมรูปองค์เทพ | -
รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | -
รวมความรู้การบูชาองค์เทพ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ
-----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี
วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี
งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า ]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
-
สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์
| -
ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
-
ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | -
ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
-
พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | -
พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
-
พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | -
อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
-
คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ
งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก
-
การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
-
บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ
| -
พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
-
พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | -
พญานาค การบูชาองค์พญานาค | -
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
-
รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี
การบูชาพระแม่อุมาเทวี | -
องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
-
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ
ปางของพระวิษณุ | -
องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี
-
ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | -
พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | -
การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
-
การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า
| -
พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
-
ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
-
พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | -
การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
-
เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม
พระแม่กวนอิมปางต่างๆ
[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง
1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง
มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์
คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
2 - คนมีองค์ กับ
ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า
หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์
คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
4 - การรับขันธ์
อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์
คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
5 - ตอบคำถามร่างทรง
(รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า
องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
6 -
ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์
คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
7 -
รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)
[ พระศิวะมหาเทพ ]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ
วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ
ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์
]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ
(พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร
,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด
พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|
|
|