ผู้ศรัทธาเลื่อมใสพระพิฆเนศ เมื่อทราบข่าวก็พากันมาชม
มาสักการะบูชา และร่วมกันประกอบพิธีกรรมต่างๆ ที่พิพิธภัณฑ์จัดขึ้น
บางคนก็มาศึกษาหาความรู้กันอย่างจริงจัง จนทุกวันนี้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีผู้มาเยี่ยมชมเป็นประจำทุกวันไม่ขาดสาย
และนับวันจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
การเข้าชมองค์พระพิฆเนศไม่ต้องเสียค่าเข้าชม เพราะคุณไมค์มีความประสงค์ที่เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของ
พระพิฆเณศวรมากกว่า
ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีพระพิฆเณศประมาณ 1,000 กว่าองค์ มีปางต่างๆ
มากมาย วัสดุที่สร้างมีตั้งแต่เนื้อทองคำ เงิน นาก ทองแดง ทองเหลือง
แก้ว หิน ดิน ผง ไม้ ฯลฯ โดยมีผู้บรรยายให้ทราบหรือตอบข้อสงสัย
ในส่วนของการประกอบพิธีกรรมสักการบูชา พระพิฆเนศ มีทุกวันอาทิตย์
เวลา 10.00 น. และวันสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวกับองค์ พระพิฆเนศ
ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ได้แจ้งให้ทราบโดยทั่วกัน
นอกจากนี้ ผู้ที่มีความศรัทธาสนใจแก่กล้ามากขึ้น อยากจะเดินทางไปสักการบูชา
พระพิฆเนศว์ ที่ประเทศอินเดีย โดยเฉพาะ พระพิฆเนศวร ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
8 แห่งในอินเดีย คุณไมค์ก็มีโครงการนำคณะศรัทธาเดินทางไปประเทศอินเดีย
ปีหนึ่งๆ หลายคราวด้วยกัน
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
ภาพโดย : ทีมงานสยามคเณศ |
ป้ายหน้าพิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
|
มองจากลานจอดรถ
เห็นองค์พระพิฆเนศหินทรายเรียงรายอยู่ |
เครื่องหมายโอม
สัญลักษณ์แห่งศาสนาพราหมณ์ |
พระพิฆเนศปั้นจำลองแบบจากอัสตะวินายัก
(เทวรูปพระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ประเทศอินเดีย)
|
อัสตะวินายัก
มีจำนวน 8 องค์ครับ
(อัสตะ = แปด / วินายัก = พระคเณศ) |
นางอัปสร
ทางเข้าสู่พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ |
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
ห้ามเข้าทรงเด็ดขาดครับ
ก็เช่นเดียวกับที่เว็บไซต์สยามคเณศ เราไม่แนะนำให้ทรงเจ้า
|
เดินเข้ามาภายในจะพบกับหอเวทวิทยาคม
ใช้เป็นที่ประกอบพิธีบูชาพระพิฆเนศในวันคเณศจตุรถี
...เริ่มชมเทวรูปต่างๆกันได้เลยนะครับ...
รูปนี้คือพระพิฆเนศปางกอดศิวลึงก์ |
พระพิฆเนศปางเหรัมภะคณปติ
มีห้าเศียร ประทับบนสิงโต มีอานุภาพประทานความยิ่งใหญ่
มอบความสำเร็จในการงาน การปกครองผู้คน การบริหารงาน |
พระพิฆเนศประทับบนหนูที่ชื่อ
มุสิกะ (พญาหนู) |
พระพิฆเณศปาง
"บาละคเณศ" หรือ ปางเด็ก
ถือขนมโมทกะ ซึ่งเป็นขนมที่พระคเณศโปรดปรานที่สุด
ปางเด็กนี้สังเกตุให้ดีจะยังมีงาครบทั้ง 2 ข้างอยู่ครับ |
ยังมีเทวรูปพระพิฆเนศอีกหลายองค์ในหอเวทนี้ครับ |
|
พระพิฆเนศ
ปางเอกเขนก หรือ ปางเสวยสุข
ประทานความสุขสมบูรณ์ ไม่เครียด ไร้ซึ่งปัญหาใดๆมากวนใจ |
หนูมุสิกะ
บริวารเอกแห่งพระพิฆเนศ
เมื่อขอพรพระพิฆเนศเสร็จแล้ว
ให้นำคำขอพรนั้นไปกระซิบบอกที่ข้างๆหูของหนูด้วยนะครับ
เวลากระซิบให้เอามือปิดหูของหนูอีกข้างด้วย
เพื่อไม่ให้คำขอพรเข้าหูซ้ายทะลุหูขวาของหนูไปนั่นเอง ^_^ |
เทวรูปพระพิฆเณศวร์หน้าอาคารบูชา
เป็นปาง 5 เศียร หรือ ปัญจมุขคเณศ , ปัญจมุขคณปติ |
ภายในอาคารบูชา
เป็นที่ประดิษฐานพระพิฆเนศและครอบครัว
ซึ่งมีพระชายาของท่าน (พุทธิ , สิทธิ)
และบุตรทั้งสอง (ชุก , ลัฟ หรือ โชค-ลาภ)
ซึ่งเทวรูปครบทั้งครอบครัวแบบนี้หาได้ยากยิ่ง |
รองพระบาทแห่งพระศรีคเณศ
(รองเท้า)
ใช้มือแตะที่รองพระบาทแล้วมาแตะหน้าผากตัวเองเพื่อขอพร
|
พระพิฆเนศปางปัญจมุข
หรือ ปางห้าเศียร
สุดยอดของเทวรูปพระพิฆเนศเหนือทุกๆปาง
(ตรงจุดนี้มีเจ้าหน้าที่คอยนำสวดมนต์ให้ด้วยครับ) |
พระแม่ลักษมี
8 ภาค
เทวีแห่งความมั่งคั่งร่ำรวยอุดมสมบูรณ์
ด้านล่างรูปภาพมี เมล็ดข้าว ธัญพืช เหรียญ ธนบัตร
สามารถโกยเหรียญและเมล็ดข้าวขึ้นมาโปรยต่อหน้าพระแม่
บูชาเพื่อขอความมีกินมีใช้ |
แมนดาล่าสวัสติกะ
เป็นยันต์หรือแผนผังจักรวาล สร้างจากเมล็ดข้าวย้อมสี
ทำขึ้นเพื่อถวายพระพิฆเนศ
ออกแบบโดย อ.ปัณฑร ซึ่งจะเปลี่ยนแบบใหม่ทุกๆปี
|
เดินออกจากอาคารบูชา
จะพบกับเทพนพเคราะห์ทั้ง 9 ครับ |
ตรงเทพนพเคราะห์นี้
สามารถจุดเทียนและธูปปักลงกระถางบูชาได้
|
เทวรูปพระศิวะมหาเทพ
บิดาแห่งพระพิฆเนศวร |
ศิวลึงก์
สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
โยนี (ฐาน) สัญลักษณ์แทนองค์พระอุมาเทวี |
พระพิฆเนศแกะสลักจากไม้
ประดิษฐานใกล้เทวรูปพระศิวะ |
พระแม่ลักษมีเทวี
(ซ้าย)
พระแม่ทุรคาเทวี (ขวา)
เมื่อเข้าสู่เทศกาล "ดุเซร่า" หรือ นวราตรี
ทางพิพิธภัณฑ์จะอัญเชิญเทวรูปพระแม่ทุรกาออกมาทำพิธี
เมื่อเข้าสู่เทศกาล "ดีปาวาลี" หรือ ดีวาลี่
ทางพิพิธภัณฑ์จะอัญเชิญเทวรูปพระแม่ลักษมีออกมาทำพิธี |
เทวรูปเล็กๆภายในตู้กระจกที่ประดิษฐานพระแม่ทุรกา |
เทวรูปพระพิฆเนศ
ด้านหน้าพระแม่ทุรคาเทวี |
พระคเณศอีกรูปแบบหนึ่งที่งดงามมากๆครับ |
หนูอีกตัวหนึ่ง
ยิ้มน่ารักเชียว |
เทวาลัยพระคเณศ
สร้างขึ้นด้วยความศรัทธาสูงสุดของผู้ก่อตั้ง
อิฐทุกก้อนผ่านการสวดและเขียนอักขระก่อนนำไปประกอบเป็นเทวาลัย
ภายในเทวาลัยได้จำลองคณปติโลก (โลกอันเป็นที่ประทับของพระพิฆเนศ)
ซึ่งกล่าวไว้ในคัมภีร์ว่า พระองค์ทรงประทับอยู่บนเกาะกลางมหาสมุทรที่เต็มไปด้วยน้ำอ้อย
เวลาที่ลมพัดจะเกิดคลื่นซัดเอาเพชรพลอยและอัญมณีเข้าหาฝั่ง
การได้เข้าสักการะพระพิฆเนศในเทวาลัยนี้ เปรียบเสมือนได้สักการะถึงในวิมานของพระองค์ทีเดียว |
ทางขึ้นเทวาลัยพระคเณศ |
มองขึ้นไปจะเห็นเทวาลัยพระคเนศ |
หน้าบันเทวาลัยพระคเณศ
|
พระพิฆเนศประดิษฐานอยู่ภายในเทวาลัย
กราบไหว้จากตรงนี้ได้ แต่ห้ามเดินเข้าไปครับ |
เทวรูปพระพิฆเนศประดิษฐานรอบๆเทวาลัยพระคเนศ
|
เทวสถานอัตสตะวินายะกา
(อัสตวินายัก)
จำลองเทวรูปพระพิฆเณศมาจาก
สวยัมภูคเณศ หรือพระพิฆเณศที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ
ซึ่งมีจำนวน 8 แห่งในประเทศอินเดีย
ผู้ศรัทธาที่ได้กราบไหว้อัสตะวินายักกะครบทั้งแปดแห่ง จะได้รับศุภมงคลยิ่งแก่ชีวิต
ทางพิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศจึงได้สร้างเทวาลัยจำลองขึ้นทั้งแปดแห่ง
ให้ผู้ศรัทธาได้มาสักการะเพื่อเป็นสิริมงคล
โดยในหนึ่งเทวาลัย จะมีพระคเณศประดิษฐานอยู่หนึ่งองค์ |
รูปนี้คือ
เทวรูปพระศรีบัลลาเลชวา
จำลองมาจากเทวรูปพระพิฆเนศที่ เมืองปาลี ประเทศอินเดีย
|
รูปนี้คือ
เทวรูปพระศรีจินดามณี
จำลองมาจากเทวรูปพระพิฆเนศที่ เมืองเทอูร์ ประเทศอินเดีย
|
...แวะตีฆ้องเพื่อขอชัยชนะครับ... |
รูปปั้นโยคี
ผู้บำเพ็ญตนเพื่อการเข้าถึงเทพเจ้าที่ตนศรัทธา
และเพื่อการหลุดพ้นไปสู่โมกษะ เป้าหมายสูงสุดของชาวฮินดู
|
เทวรูปพระพิฆเนศอีกองค์หนึ่ง
ตะไคร่น้ำเกาะ จึงดูเหมือนของโบราณ งดงามยิ่งครับ |
พระแม่ลักษมี
เทวีแห่งความสมบูรณ์มั่งคั่งร่ำรวย |
รอยพระบาทแห่งพระลักษมี
ให้เอานิ้วนางข้างขวาแตะผงสีส้มแดง แล้วมาแตะำหน้าผากตนเอง
เพื่อขอพรจากพระแม่ลักษมีให้คุ้มครองประทานพรให้โชคดี |
|
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกมากมาย
หากผู้ศรัทธามีโอกาส ก็แวะไปเยี่ยมชมได้นะครับ
หนึ่งเดียวในไทยไม่ไปไม่รู้จริงๆครับ
ขอขอบพระคุณ
คุณปัณฑร ทีรคานนท์ (ผู้ก่อตั้งพิพิธภัณฑ์)
คุณพวงพกา จงสอน
คุณต้อม (เจ้าหน้าที่นำสวดมนต์)
คุณมิกซ์ (เว็บมาสเตอร์พิพิธภัณฑ์)
ที่อำนวยความสะดวกทีมงานสยามคเณศในการถ่ายภาพครั้งนี้ |