|
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ |
เทวสถาน
โบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
สถานที่บูชาเทพอันเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของประเทศไทย
ขอขอบคุณ : www.devalai.com / www.panyathai.or.th
/ www.devasthan.org |
|
เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์
นับว่าเป็น เทวสถาน วัด หรือ โบสถ์
ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ที่มีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาวัดฮินดูทั้งหมดในประเทศไทย
เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ ตั้งอยู่ ณ
เลขที่ 268 ถนนบ้านดินสอ
แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ใกล้เสาชิงช้า
และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถานสำคัญของชาติ
ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ.2492
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2327 มีโบสถ์ทั้งหมด 3 หลัง
เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว มีกำแพงล้อมรอบ ปัจจุบันมีอายุได้
224 ปี
|
เทวสถาน
โบสถ์พราหมณ์ อยู่ภายใต้การบริหาร ดูแลและประกอบพิธีกรรม
โดย คณะพราหมณ์หลวง แห่งสำนักพระราชวัง
ปัจจุบันมีพราหมณ์หลวง 10 ท่าน ดังต่อไปนี้ |
พระราชครูวามเทพมุนี
หัวหน้าคณะพราหมณ์ วัย 55 ปี
ภาพจาก โพสต์ทูเดย์ และ http://thaniyo.brinkster.net
|
-
พระมหาราชครูอัษฎาจารย์ (ชื่อจริง-พราหมณ์ละเอียด
รัตนพราหมณ์)
ดำรงตำแหน่ง ประธานพราหมณ์ ทำหน้าที่ทางด้านการศาสนา
เป็นผู้นำศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
- พระราชครูวามเทพมุนี ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพราหมณ์
ชื่อจริงคือ พราหมณ์ ชวิน รังสิพราหมณกุล
เป็นหัวหน้าพราหมณ์ ดูแลคณะพราหมณ์ ทำหน้าที่ทางด้านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
(คลิกอ่านประวัติพระราชครูวามเทพมุนี >>>ได้ที่นี่)
ตำแหน่ง พระครูพราหมณ์ มีจำนวน 5
ท่าน คือ - พระราชครูศิวาจารย์ (ชื่อจริง
- พราหมณ์ ถาวร ภวังคนันท์) - พระครูสตานันทมุนี
(ชื่อจริง - พราหมณ์ อรุณ สยมภพ) -
พระครูญาณสยมภูว์ (ชื่อจริง - พราหมณ์ ขจร
นาคะเวทิน) - พระครูสิทธิไชยบดี (ชื่อจริง
- พราหมณ์ ยศ โกมลเวทิน) - พระครูสุริยาเทเวศร์
(ชื่อจริง - พราหมณ์ ศรีล รังสิพราหมณกุล)
ตำแหน่ง พราหมณ์พิธี มีจำนวน
6 ท่าน คือ
- พราหมณ์ สมบัติ รัตนพราหมณ์
- พราหมณ์ คีษณพันธ์ รังสิพราหมณกุล
- พราหมณ์ ปฏิหาริย์ สยมภพ
- พราหมณ์ ธนพล ภวังคนันท์
- พราหมณ์ ปรีชาวุธ นาคะเวทิน
- พราหมณ์ ปกรณ์ วุฒิพราหมณ์ |
พราหมณ์หลวง
ทุกท่านที่กล่าวมานี้ จะเป็นผู้ประกอบพระราชพิธีถวายแด่พระมหากษัตริย์
และพระบรมวงศานุวงศ์ในวาระสำคัญของประเทศ เป็นผู้ประกอบพิธีตามประเพณีและวัฒนธรรมของไทยแต่โบราณ
ซึ่งเป็นพิธีเกี่ยวกับการรวมขวัญและมงคลของประชาชน
เช่น พระราชพิธีแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมปวาย และตรีปวาย
พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต
พระราชพิธีในวันฉัตรมงคล วันพืชมงคล วันสงกรานต์ วันลอยกระทง
เป็นต้น ทำพิธีเกี่ยวกับรัฐ ทำพิธีบวงสรวงในวาระวันสำคัญ
และวันสถาปนา ตลอดจนพิธีมงคลตามวาระที่มีความประสงค์มาจากหน่วยงานต่างๆ
ด้านการเผยแพร่ ส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ตามคติประเพณี
ด้วยการประกอบพิธีกรรม เพื่อรักษาวัฒนธรรมอัน พราหมณ์จะเป็นผู้ดูแลเทวสถาน
โบสถ์พราหมณ์ และเสาชิงช้า ให้ความช่วยเหลือด้านการศาสนา
บูรณะและส่งเสริมการศึกษาให้กับเยาวชน สนับสนุนกิจการด้านจริยธรรมและวัฒนธรรม |
|
พระพรหม ประดิษฐานอยู่เทวาลัยด้านหน้าเทวสถาน
ภาพจาก www.marinerthai.com
พระอิศวร หรือ พระศิวะ ประดิษฐานอยู่ภายในสถานพระอิศวร
ภาพจาก www.devalai.com
|
ภายในเทวสถาน โบสถ์พราหมณ์
บริเวณลานเทวสถาน เมื่อเดินเข้ามาจากประตูทางเข้า
จะมีเทวาลัยขนาดเล็ก เป็นที่ประดิษฐานเทวรูป พระพรหม
(พระผู้สร้าง) ซึ่งตั้งอยู่กลางบ่อน้ำ สร้างขึ้นเมื่อ
พุทธศักราช 2515
ภายในเทวสถาน จะมีโบสถ์อยู่ 3 หลัง คือ
1) สถานพระอิศวร (โบสถ์ใหญ่ อยู่ด้านหลังเทวาลัยพระพรหม)
ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนไม่มีพาไล โบสถ์หลังนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าหลังอื่นทุกหลัง
หลังคาทำชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันด้านหน้ามีเทวรูปปูนปั้นนูน
รูปพระอิศวร (พระศิวะ) พระแม่อุมา และเครื่องมงคลรูปสังข์
กลศ กุมภ์ อยู่ในวิมาน ใต้รูปวิมานมีปูนปั้นเป็นรูปเมฆและโคนันทิ
หน้าบันด้านหลังไม่มีลวดลาย
ภายในสถานพระอิศวร มีเทวรูป พระอิศวร (พระศิวะ)
ทำด้วยสำริด ประทับยืนขนาด 1.87 เมตร ปางประทานพร โดยยกพระหัตถ์ทั้ง
2 ข้าง และยังมีเทวรูปขนาดกลางอีก 31 องค์ ประดิษฐานในเบญจา
(ชุกชี)
ถัดไปด้านหลังเบญจา มีเทวรูป ศิวลึงค์ 2
องค์ ทำด้วยหินสีดำ ด้านหน้าเบญจามีชั้นลด ประดิษฐานเทวรูป
พระพรหม 3 องค์ พระราชครูวามเทพมุนีเป็นผู้สร้าง
เมื่อพุทธศักราช 2514 มี พระสรัสวดี 1
องค์ (พระแม่สุรัสวดี หรือ สรัสวตี นี้ นายลัลลาล ประสาททวยาส
ชาวอินเดียเป็นผู้ถวาย เมื่อประมาณ 20 ปี มานี้)
สองข้างแท่นลด มีเทวรูป พระอิศวรทรงโคนันทิ
และ พระอุมาทรงโคนันทิ เป็นศิลปะปูนปั้นโบราณมีมาแล้วก่อนสมัยรัชกาลที่
5
ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้า 2 ต้น สูง 2.50
เมตร สำหรับประกอบ พิธีช้าหงส์ในพระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย
ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ (พระอิศวร พระนางอุมา พระคเณศ)
วันแรม 5 ค่ำ เดือนยี่ (พระนารายณ์) และวันแรม 3 ค่ำ เดือนยี่
(พระพรหม) พิธีช้าหงส์ในวันแรม 1 ค่ำ และวันแรม 5 ค่ำ
เดือนนั้น เป็นพิธีที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1
ส่วนในวันแรม 3 ค่ำ เป็นพิธีที่เพิ่งจัดให้มีขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน
ภายหลังจากที่พระราชครูวามเทพมุนี ได้จัดสร้างเทวรูปพระพรหมถวายเนื่องในมหามงคลสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ
3 รอบ พระนักษัตร |
พระพิฆเนศวร ประดิษฐานภายในสถานพระพิฆเนศวร
ภาพจาก www.devalai.com |
2) สถานพระพิฆเนศวร (โบสถ์กลาง)
สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างยังคงศิลปะอยุธยาที่สร้างโบสถ์ที่มีพาไล
ตัวโบสถ์ไม่มีลวดลาย หลังคามีชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันเรียบ
ไม่มีรูปเทวรูปปูนปั้นเหมือนสถานพระอิศวร
ภายในโบสถ์มีเทวรูปพระพิฆเนศวร 5 องค์ ล้วนทำด้วยหิน คือ
หินเกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว 2 องค์ ทำด้วยสำริด
1 องค์ ประดิษฐานบนเบญจา ประทับนั่งทุกองค์ องค์หนึ่งมีขนาดสูง
1.06 เมตร เป็นประธาน ประดิษฐานอยู่ข้างหน้า องค์บริวารอีก
4 องค์ ขนาดสูง 0.95 เมตร
เรื่องและภาพจาก
: เว็บไซต์เทวสถาน http://devasthan.org
และเว็บไซต์คลังปัญญาไทย http://www.panyathai.or.th
|
พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุ
ประดิษฐานอยู่ภายในสถานพระนารายณ์
ภาพจาก www.devalai.com |
2) สถานพระนารายณ์ (โบสถ์ริม)
สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างทำเช่นเดียวกับสถานพระพิฆเนศวร
ภายในทำชั้นยกตั้งบุษบก 3 หลัง
หลังกลางจะประดิษฐาน พระนารายณ์ หรือ พระวิษณุ
ทำด้วยปูน ประทับยืน ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้าขนาดย่อม
สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์ สูง 2.50 เมตร เรียกว่า "เสาหงส์"
นอกจากนี้ยังมี หอเวทวิทยาคม อยู่ภายในโบสก์พราหม์อีกด้วย
ซึ่งจัดเป็นห้องสมุดเฉพาะกิจ เก็บรวบรวมสรรพวิชาการต่างๆ
เกี่ยวกับวรรณคดี พิธีกรรม ประวัติศาสตร์ทางศาสนาพราหมณ์
โหราศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี และยังเป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
บำเพ็ญกุศล แสดงพระธรรมเทศนา ปาฐกถา อภิปรายสนทนา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันและกันตามโอกาสอันควร
หอเวทวิทยาคมแห่งนี้เป็นศูนย์ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และรวบรวมสรรพวิทยาการด้านประเพณีและพิธีกรรมแห่งหนึ่งในประเทศไทย
เปิดให้ประชาชนเข้าไปค้นคว้าเพื่อศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
|
---------------- อ่านเรื่องเทพเจ้าเพิ่มเติม
---------------- หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ) ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ , พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ , ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี , พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
, พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
, พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร , หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
, ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
-------------- สถานที่
ศาล เทวาลัย เพื่อการกราบไหว้ขอพร --------------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
----------------- เทศกาล
งานสำคัญต่างๆ -----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์
วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี
เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า
]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
[ เรื่องร่างทรง
]
เรื่องร่างทรง
1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง
มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
2 - คนมีองค์
กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง
ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า
หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
4 - การรับขันธ์
อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์
คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
5 - ตอบคำถามร่างทรง
(รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า
องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
6 -
ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
7 -
รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)
[ พระศิวะมหาเทพ
]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์
แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช
พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด
, นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ
(พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร
,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู
พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|
|
|
|