พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกพระพิฆเนศ
วัดเทพมณเฑียร สมาคมฮินดูสมาช
โรงเรียนภารตวิทยาลัย
และเหตุการณ์เทวรูปดื่มนมในประเทศไทย

เมื่อ 80 ปีที่ผ่านมา ในเทศกาลวิชัยทศมี ปี พ.ศ. 2468 หนึ่งในวันสำคัญของ ศาสนิกชนชาวฮินดู ชาวภารตะ (ชาวอินเดีย) ในประเทศไทย ได้ถือเป็นวันอุดมฤกษ์อันสำคัญ จึงพร้อมใจกันจัดตั้งสมาคมเพื่อรวมใจชาวภารตะให้เป็นหนึ่ง ณ อาคารเล็ก ๆ หลังหนึ่งในย่านหลังวังบูรพา (ใกล้โบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า) ในนาม "ฮินดูสภา" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "สมาคมฮินดูสมาช" จนถึงปัจจุบัน

วัดเทพมนเทียรศาลากลางกรุงเทพ

กิจกรรมของสมาคมฯ ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นับจากวันก่อตั้งอาคารที่ทำการคูหาเดียวในหลังวังบูรพา ต้องขยับขยายเป็น 3 คูหาติดต่อกันในเวลาต่อมา และด้วยเห็นความสำคัญต้องการสนับสนุนการศึกษา ของเหล่าเยาวชนของชาติ จึงได้จัดตั้ง "โรงเรียนภารตวิทยาลัย" ขึ้นในบริเวณเดียวกัน

ในการก่อสร้างอาคารสมาคมฮินดูสมาช และ โรงเรียนภารตวิทยาลัยแล้ว จึงได้ทำการก่อสร้าง โบสถ์เทพมณเฑียร ขึ้น และได้อัญเชิญเทวปฏิมา ของพระผู้เป็นเจ้าและเทพยดา อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวฮินดู มาจากประเทศอินเดีย (พร้อมกับแผ่นหินอ่อนแกะสลักทั้งหมด) และอัญเชิญดินศักดิ์สิทธิ์จากพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญ 4 แห่ง อันได้แก่ ลุมพินี (สถานที่ประสูติ) พุทธคยา (สถานที่ตรัสรู้) สารนาถ (สถานที่แสดงปฐมเทศนา) และ กุสินารา (สถานที่ปรินิพพาน) มาไว้เพื่อความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคล พร้อมกันนี้ได้อัญเชิญน้ำจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในอินเดีย เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และ แม่น้ำสุรัสวดี ฯลฯ มารวมกันและนำมาประดิษฐานไว้ ณ โบสถ์เทพมณเฑียรแห่งนี้ เพื่อเป็นที่สักการะของเหล่าศาสนิกชนทั้งหลาย โดยสมาคมฯ ได้จัด พิธีเฉลิมฉลองการเปิดโบสถ์เทพมณเฑียรแห่งนี้อย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 11 มิถุนายน 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธี

หลักใหญ่ของสมาคมจะยึดมั่นอยู่กับคำสอนของศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยกิจกรรมสำคัญประการหนึ่งของสมาคมซึ่งได้ยึดถือปฏิบัติกันเรื่อยมา คือการนัดชุมนุมกันในเวลากลางคืนของทุกวันจันทร์

นอกจากสวดมนต์และขับร้องเพลงถวายพระเจ้าแล้ว ก็มีการอ่าน และบรรยายความหมายของคำสอนใน คัมภีร์ภควัทคีตา บางครั้งก็มีการอ่านบทความว่าด้วยเรื่องราวทางศาสนา หรือวัฒนธรรม

นอกจากนี้ยังมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ จากประเทศอินเดีย มาแสดงปาฐกถาให้ผู้ชุมนุมฟัง พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วย ต่อมาในปี พ.ศ.2482 ได้มีการตั้งโรงเรียนภารตวิทยาลัย มีการสอนภาษาฮินดี และภาษาอังกฤษ ให้เยาวชนอินเดียเป็นพิเศษในเวลากลางคืน

วัดเทพมณเทียรเสาชิงช้า องค์เทวรูปพระนารายณ์และพระแม่ลักษมี

"วัดเทพมณเฑียร" มีเทวรูปหินอ่อนประดิษฐานอยู่หลายองค์ด้วยกัน โดยมี พระวิษณุ และ พระแม่ลักษมี เป็นองค์ประธาน เทวรูปองค์อื่นๆ ก็มีอาทิ
พระพรหม ผู้สร้างโลก ดูงดงามอ่อนช้อยในศิลปะแบบอินเดียเหนือ
พระแม่ทุรคา
สัญลักษณ์แห่งความเข้มแข็งและความมีอำนาจ
พระพุทธเจ้า
ชาวพราหมณ์ฮินดูถือว่าเป็นอวตารปางที่เก้าของพระนารายณ์ สัญลักษณ์แห่งความไม่เบียดเบียน (อหิงสา)
พระราม
และ ภควดีสีดา (พระแม่สีดา) พระรามเป็นอวตารปางที่เจ็ดของพระวิษณุ
พระกฤษณะและชายา อีกอวตารหนึ่งของพระวิษณุนารายณ์
พระหนุมาน อวตารของพระศิวะ เพื่อคุ้มครองดูแลพระราม
พระแม่ลักษมี มหาเทวีผู้ยิ่งใหญ่ สัญลักษณ์แห่งความงามการรักษาความดี พระพิฆเนศวร (พระคเณศ) โอรสของพระอิศวรและพระแม่อุมา และยังมีอีกหลายองค์ที่ชาวฮินดูและชาวไทยให้ความเคารพนับถือ

พิธีกรรมภายในวัดเทพมณเฑียรในแต่ละวัน เรียกว่า "พิธีอารตี" คือการถวายไฟแก่ทวยเทพ มีขึ้นทุกวันตั้งแต่ 06.00-08.00 น. (ในวันอาทิตย์ มีจนถึง 10.00 น. หรือ 11.30 น.) และตอนเย็นของทุกวันตั้งแต่เวลา 18.30-19.30 น. ผู้ศรัทธาสามารถเข้าร่วมพิธีกรรมได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

ย้อนหลังไปเมื่อหลายปีก่อนได้เกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ขึ้น เมื่อเทวรูปของชาวฮินดู "ดื่มนม" จากผู้ที่นำมาถวาย ต้นเหตุของข่าวเกิดขึ้นที่ประเทศอินเดีย แล้วลุกลามไปทั่วโลก แม้แต่ในประเทศไทยเอง ซึ่งในขณะนั้น ประชาชนที่ทราบข่าวก็พากันแห่มาที่วัดเทพมณเฑียรจนมืดฟ้ามัวดิน เพื่อพิสูจน์ความจริง ปรากฏว่า น้ำนมหายไปจริง!! พร้อมกับมีการพิสูจน์จากกรมทรัพยากรธรณี และหน่วยงานของรัฐอีกหลายแห่ง แม้แต่สื่อมวลชนก็นำเสนอข่าวกันอย่างครึกโครม

พิธีกรรมในวัดเทพมณเฑียร

เหตุการณ์เทวรูปดื่มนมในวัดเทพมณเฑียรนี้ ในด้านวิทยาศาสตร์ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าน้ำนมหายไปได้อย่างไร โดยไม่ทิ้งร่องรอยหรือคราบใดๆ ไว้ แต่ในด้านศาสนา มีคำอธิบายจากท่านเจ้าอาวาสวัดเทพมณเฑียรในขณะนั้นว่า ผู้คนในยุคปัจจุบันเริ่มเหินห่างจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ บางคนก็ไม่เชื่อถือ ไม่มีศรัทธาต่อเทพเจ้าอีกต่อไป ปรากฎการณ์นี้จึงปาฏิหาริย์ที่เทพเจ้าต้องการให้มนุษย์ได้ประจักษ์พร้อมๆกัน และเป็นคำยืนยันจากพระองค์ว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นยังคงมีอยู่จริงและไม่อาจลบหลู่ดูหมิ่นได้

สมาคมฮินดูสมาช และ วัดเทพมณเฑียร ได้ร่วมในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ทั่วไป ทั้งของรัฐบาลและประชาชนอยู่เสมอ อาทิ

- สร้างอาคารเรียน 10 หลัง ให้แก่โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร เช่นที่ จังหวัดเลย สระแก้ว นครพนม และสกลนคร

- ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ พระอารามหลวงเป็นประจำทุกๆ ปี จนถึงปัจจุบัน

- บริจาคโลหิตเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลฯ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ

- ให้ทุนการศึกษาแก่นิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นประจำทุกปี อาทิ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมทั้งให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนโรงเรียนภารตวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี

- ออกหน่วยบรรเทาสาธารณภัยของสมาคมฯ เพื่อช่วยเหลือราษฏรที่ประสบสาธารณภัยในถิ่นทุรกันดาร เช่น ภัยหนาวจัด อุทกภัย ฯลฯ โดยการแจกข้าวสาร อาหารแห้ง หรือผ้าห่มกันหนาว ฯลฯ

- บริจาคเงินช่วยเหลือผ่านหน่วยงานราชการ อาทิ กรมประชาสงเคราะห์ กรมการศาสนา สภาสังคมสงเคราะห์ฯ และสภากาชาดไทย บริจาคเพื่อสมทบโครงการจักษุศัลยกรรม เพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้

- จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ร่วมกับคณะแพทย์ จากมูลนิธิพุทธเอนกประสงค์นนทบุรี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลเด็ก โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน และโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ฯลฯ

- ร่วมมือกับหน่วยงานทางการแพทย์ ให้บริการตรวจรักษา แจกยาฟรี ให้กับราษฏรในถิ่นทุรกันดารห่างไกลความเจริญ เป็นประจำ

- โรงเรียนภารตวิทยาลัย ได้ยืนหยัดในฐานะสถาบันที่สร้างเยาวชน อันเป็นอนาคตของชาติมายาวนาน สร้างบุคคลสำคัญในสังคมที่ได้รับความสำเร็จเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติเป็นจำนวนมาก

ขอขอบคุณ : ข่าวสด / มติชน / Sriganapati.com

วัดเทพมณเฑียรตั้งอยู่ในโรงเรียนภารตวิทยาลัย (ใกล้กับโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า)
เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-20.00 มีเวลาปิด 3 ชั่วโมง ระหว่างเที่ยง-บ่ายสาม
เมื่อเดินทางถึงโรงเรียนภารตวิทยาลัย ให้แจ้งความประสงค์แก่ รปภ. หน้าโรงเรียนว่าต้องการมาไหว้พระ
จากนั้นขึ้นลิฟท์หรือบันไดด้านใน ไปยังชั้น 3 จะพบโบสถ์อยู่ภายใน เข้าไปไหว้เทพได้ทุกพระองค์
มีชาวไทยไปสักการะเทพและนั่งสมาธิทุกวัน พราหมณ์และเจ้าหน้าที่ภายในยินดีเบิกเนตรเจิมองค์พระให้
แนะนำให้ถวายเงินตามกำลังศรัทธาเพื่อช่วยบำรุงโบสถ์
การถวายดอกไม้ พวงมาลัย ขนมต่างๆ ให้จัดเตรียมไปเอง เนื่องจากไม่มีจำหน่ายภายในวัด


แผนที่วัดเทพมณเฑียร กรุณาคลิกที่รูป




***สงวนลิขสิทธิ์ภาพถ่าย***
การนำรูปภาพในหน้านี้ไปใช้ที่อื่นกรุณาอ้างอิงหรือขอบคุณเว็บไซต์สยามคเณศและทำลิงก์กลับมาที่ http://www.siamganesh.com


ด้านหน้า วัดเทพมณเฑียร สมาคมฮินดูสมาช
ซึ่งวัดนี้จะอยู่ภายในโรงเรียนภารตวิทยาลัย

เทวาลัย พระแม่สุรัสวดี (สรัสวตี)
เทวีแห่งการศึกษาและสรรพวิชาความรู้ ชายาของพระพรหม


พื้นภายในวัดเทพมณเฑียรนี้
มีความโอ่อ่า เย็นสบาย ปูพรมทั้งหมด
สามารถมานั่งสมาธิได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลาเปิดจนปิด
มีเบาะสำหรับรองนั่งให้หยิบใช้ได้
มีโต๊ะพับสำหรับเขียนหนังสือหรืออ่านตำรา
พราหมณ์ที่นี่ใจดีและยินดีเบิกเนตรองค์พระให้
ในวัดเทพมณเฑียรนี้จะไม่จุดธูปให้มีกลิ่นหรือควันรบกวน

ภายในวัดไม่มีดอกไม้และธูปเทียนจำหน่าย
หากต้องการถวายให้เตรียมมาเอง
ผู้คนนิยมนำขนม ดอกไม้และผลไม้มาถวายแด่ทวยเทพ

เทวรูป พระแม่ทุรคา อีกปางหนึ่งของพระแม่อุมาเทวี
ชายาแห่งพระศิวะมหาเทพ (ผู้ทำลาย)
วัดเทพมนเฑียรและองค์เทวรูปพระแม่กาลี เจ้าแม่กาลีผู้ทรงอำนาจสูงสุดปางอวตารแห่งพระแม่อุมาเทวี
เทวรูป พระแม่กาลี (เจ้าแม่กาลี)
อีกปางหนึ่งของพระแม่อุมา ประดิษฐานภายในโบสถ์เล็ก
องค์พระแม่สุรัสวดีในโบสถ์เล็กภายในวัดเทพมณเฑียร
เทวรูป พระแม่สรัสวดี (สุรัสวตีเทวี)
ประดิษฐานภายในโบสถ์เล็ก

พระพุทธเจ้า
ตามปุราณะและตำนานต่างๆของพราหมณ์เชื่อกันว่า
พระพุทธเจ้าเป็นอีกปางหนึ่งของ พระวิษณุ
พระรามและนางสีดาจากมหากาพย์วรรณกรรมอมตะของโลกเรื่องรามเกียรติ์หรือรามายนะ
พระราม และ พระนางสีดา
มหาเทพผู้เก่งกล้าจากมหากาพย์รามายณะ (รามเกียรติ์)
เป็นปางหนึ่งของพระวิษณุอวตารเพื่อปราบมาร
พระรามได้รับการสักการะจากชาวฮินดูเป็นอย่างมาก
พระหนุมานสมุนเอกของพระรามในวัดเทพมณเทียร
พระหนุมาน บริวารและสมุนเอกแห่งพระราม
ตามตำนานกล่าวว่าพระหนุมานมีกำลังเทียบเท่าพระพิฆเนศ
เทวรูปพระพิฆเณศว์ภายในวัดเทพมณเฑียร
องค์พระพิฆเนศวร บุตรแห่งพระศิวะ
มหาเทพผู้ประทานความสำเร็จแก่ผู้ศรัทธา

เทวรูป พระวิษณุ (พระนารายณ์) และ พระแม่ลักษมี
ซึ่งทั้งสองพระองค์นี้เป็นองค์ประธานแห่งวัดเทพมณเฑียร
ประดิษฐานอยู่ตรงกลางโบสถ์และเหนือกว่าเทพทุกพระองค์
เทวรูปพระวิศณุและพระแม่ลักษมีผู้ยิ่งใหญ่แห่งศาสนาพราหมณ์
พระวิษณุนารายณ์ คือ มหาเทพผู้ดูแลรักษาโลก เยียวยาความเจ็บปวดให้กับทุกสรรพชีวิตที่ศรัทธาในพระองค์
พระลักษมี คือ มหาเทวีผู้ประทานความสมบูรณ์ ทรัพย์สมบัติและความร่มเย็นเป็นสุข
ทั้งสองพระองค์จึงเป็นเทพเจ้าผู้ประทานความรักอันบริสุทธิ์และความผาสุขอันเป็นนิรันดร์

พระกฤษณะ และ พระแม่ราธาเทวี
พระกฤษณะคือผู้ให้กำเนิดคัมภีร์ภควัทคีตา
เป็นอีกอวตารหนึ่งของพระวิษณุ ปรากฎในในมหาภารตะ
พระองค์โปรดให้มนุษย์ทำในสิ่งที่ถูกต้องตามหน้าที่
และชี้นำเหล่าผู้ศรัทธาไปสู่โมกษธรรมอันสูงสุด

พระศิวะ หนึ่งในพระตรีมูรติ มหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ในโลกา
พระองค์มีพลังการทำลายสูงสุดในหมู่เทพทั้งปวง
พระศิวะสอนให้ผู้ศรัทธาปฏิบัติโยคะ บำเพ็ญตน
เพื่อความหลุดพ้นจากบาปและมุ่งสู่โมกษะและพรหมมัน

พระนางสตี (สตีเทวี) คือผู้จงรักภักดีต่อพระสวามี (พระศิวะ)
ผู้ยอมกระโดดเข้ากองไฟเพื่อเผาตัวเอง
เนื่องจากบิดาของตนได้ดูหมิ่นพระศิวะ
กาลต่อมา พระนางสตีได้กำเนิดเป็นพระนางปารวตี (อุมาเทวี)
และสมรสกับพระศิวะในที่สุด
ทั้งสองพระองค์มีบุตรคือพระพิฆเนศและพระขันทกุมาร
ศิวลึงค์อันศักดิ์สิทธิ์ตัวแทนแห่งพระศิวะและเจ้าแม่อุมาเทวี

ศิวลึงก์
(ศิวลิงคัม) และ โยนี

ศิวลึงก์
สัญลักษณ์อวัยวะเพศชาย
อันถือเป็นต้นกำเนิดชีวิตมนุษย์
เป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์จากองค์พระศิวะเทพ

โยนี สัญลักษณ์อวัยวะเพศหญิง (ฐานรองศิวลึงก์)
อันเป็นต้นกำเนิดสรรพชีวิตเช่นกัน
เป็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์จากองค์พระแม่อุมาเทวี

การสักการะศิวลึงค์และโยนี
จึงเปรียบเสมือนการได้กราบไหว้พระศิวะและพระอุมา
ศิวลึงก์ในวัดเทพมณเฑียรนี้
เป็นเพียงองค์เดียวในประเทศไทยที่สร้างจากปรอท
ท้าวมหาพรหมประดิษฐานในโบสถ์วัดเทพมณเทียร
พระพรหม (พระพรหมธาดา, ท้าวมหาพรหมธาดา)
พระพรหมคือผู้สร้างโลก เป็นหนึ่งในตรีมูรติ
มีพระชายาคือ พระแม่สรัสวดี
พระองค์เป็นผู้ลิขิตชีวิตมนุษย์ (พรหมลิขิต)
และประทานความสมหวังในสิ่งที่ปรารถนาแก่ผู้ศรัทธาทุกคน


บรรยากาศภายในวัดเทพมณเฑียร
สามารถเลือกนั่งสมาธิต่อหน้าเทวรูปที่ตนศรัทธา


พราหมณ์ ผู้ประกอบศาสนกิจในวัดเทพมณเฑียร
กำลังเตรียมร้องเพลงสรรเสริญแด่องค์เทพ



วัดเทพมณเทียร ตั้งอยู่ใกล้กับ โบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
อยู่ภายในโรงเรียนภารตะวิทยาลัย
เปิดทุกวัน ตั้งแต่ 06.00-20.00
มีเวลาปิด 3 ชั่วโมง ระหว่างเที่ยง-บ่ายสามเพื่อประกอบพิธีภายใน
ระหว่างที่ปิดเข้าได้เฉพาะชาวอินเดียและพราหมณ์เท่านั้น


ขอความศานติจงบังเกิดแก่ทุกสรรพชีวิต
โอม ศานติ...ศานติ...ศานติ




บรรยากาศกิจกรรมของนักเรียน โรงเรียนภารตวิทยาลัย วัดเทพมณเฑียร สมาคมฮินดูสมาช
รูปภาพจาก www.hindusamaj.or.th



รูปภาพจาก www.hindusamaj.or.th


รูปภาพจาก www.hindusamaj.or.th



รูปภาพจาก www.hindusamaj.or.th




รูปภาพโรงเรียนภารตะวิทยาลัยจาก www.hindusamaj.or.th


รูปภาพโรงเรียนภารตวิทยาลัยจาก www.hindusamaj.or.th


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.