พระพิฆเนศ เป็น เทพ ที่ชาวโลกรู้จักและให้ความเคารพนับถือกันมากที่สุด
โดยเฉพาะชาวอินเดีย ต่างยกย่องว่าเป็นเทพที่มีความเป็น "เลิศ"
ในทุกๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จสมหวังในชีวิต หน้าที่การงาน สติปัญญา
โชคลาภ ขจัดอุปสรรคทั้งหลาย ฯลฯ
จึงนับเป็นเทพที่ผู้คนทุกสาขาอาชีพ ต่างให้ความเคารพนับถือกันมากที่สุด
พระพิฆเนศ เป็นเทพที่มีรูปลักษณ์แปลกแตกต่างไปจากเทพองค์อื่นๆ
เพราะมี เศียรเป็นช้าง ลำตัวอ้วนพุงพลุ้ย มีหลายมือ
ถือสิ่งของต่างๆ ที่ล้วนสื่อความหมายในทางดีงามทั้งสิ้น
เป็นที่น่าสังเกตว่า...ช่วงไม่กี่ปีนี้ ในเมืองไทยได้มีผู้สักการบูชา
พระพิฆเนศ กันมากขึ้น
จนมีการสร้างรูปเคารพของท่านออกมาอย่างต่อเนื่อง นับถึงวันนี้ก็หลายรุ่นแล้ว
ขณะเดียวกันก็มีผู้ก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
ขึ้นมาด้วย
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ตั้งอยู่ที่ ต.ยางคราม กิ่งอำเภอดอยหล่อ
จ.เชียงใหม่ (ถนนสายเชียงใหม่-ฮอด (อินทนนท์) หลัก กม.ที่
๓๕)
โดยมี อาจารย์ปัณฑร ทีรคานนท์ (ไมค์)
เป็นผู้อำนวยการ
ทุกวันนี้มีผู้สนใจเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อย่างต่อเนื่องทุกวัน
โดยเฉพาะวันเสาร์วันอาทิตย์และวันหยุดราชการ จะมีมากเป็นพิเศษ
พร้อมกันนั้นก็มีหลากหลายคำถาม ที่มีผู้สงสัยใคร่รู้
สอบถามไปทางพิพิธภัณฑ์อยู่เสมอๆ
อาทิ ทำไมพระพิฆเนศจึงมีปางต่างๆ มากมาย? และจะบูชาปางไหนดี?
เรื่องนี้ อ.ปัณฑร กล่าวว่า การสักการบูชา
พระพิฆเนศ มีมานานหลายพันปี หลายยุคหลายสมัย
จึงมีลัทธิการบูชามากมาย เช่น บูชาตามจักราศี บูชาตามสี
บูชาตามวันเกิด
แต่ความเป็นจริงแล้ว การบูชาตามวันเกิด (เกิดวันไหนบูชาปางไหน)
หรือการบูชาตามราศี (เกิดราศีไหนบูชาปางไหน)
จะได้รับความนิยมเพียงเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 เท่านั้น
แต่ในทุกวันนี้แทบจะไม่เป็นที่นิยมในประเทศอินเดียเลย
(ชาวอินเดียจึงเลือกบูชาปางไหนก็ได้ ไม่เกี่ยวกับราศี
วันเกิด ปีเกิด หรือดูดวงก่อนบูชา
เพราะถือว่าพระพิฆเนศทุกพระองค์ก็คือพระพิฆเนศองค์เดียวกันทั้งโลก)
แต่การบูชาที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายมากที่สุดในปัจจุบัน
คือ การบูชาตามสายงานอาชีพของตน
(ทำงานด้านไหน ให้บูชาปางที่เกี่ยวกับงานด้านนั้นๆ
จะเหมาะสมกว่า)
อ.ปัณฑร ได้ให้คำตอบว่า การบูชาพระพิฆเนศ
ก็เหมือนกับการบูชาพระบูชาเทพทั่วๆ ไป เรียกว่าอามิสบูชา
คือ การถวายสิ่งของต่างๆ อาทิ ดอกไม้ ธูป เทียน และผลไม้
(ห้ามเนื้อสัตว์ทุกชนิด)
ดอกไม้ ที่ถวายการบูชาควรจะเป็นดอกไม้สีสด
เช่น ดาวเรือง ชบา กุหลาบ ฯลฯ
ธูป เทียน กำยาน จะจุดกี่ดอกก็ได้ ไม่ต้องไปกังวลใจนัก
เพราะจุดประสงค์การจุดธูปเทียนหรือกำยานก็เพื่อการถวายกลิ่นหอมและถวายควันเท่านั้นเอง
ผลไม้ นั้นเป็นอะไรก็ได้ตามฤดูกาล และควรจะเป็นผลไม้ที่คนกินได้จริงๆ
เช่น กล้วยดิบ นั้นคนกินไม่ได้ก็ไม่ควรนำถวาย นอกจากนี้ก็มี
นมสด นมเปรี้ยว โยเกิร์ต ก็ถวายได้ทั้งนั้น
การถวายสิ่งของขึ้นอยู่กับศักยภาพและความพร้อมของแต่ละบุคคล
ไม่ใช่ฟุ่มเฟือยและไม่ต้องยากลำบากเกินไป
เพราะพระเจ้าหรือเทพ จะไม่ถามเราว่า วันนี้เราจุดธูปกี่ดอก
สวดมนต์กี่จบ นั่งสมาธิกี่ชั่วโมง ถวายผลไม้อะไรบ้าง?
แต่พระองค์จะถามเราว่า เราทำทุกอย่างด้วยอาการอย่างไร?
(ตั้งใจหรือไม่ มีจิตศรัทธาที่แรงกล้าหรือไม่)
จงไว้จำว่า ดอกไม้เพียงดอกเดียวก็แทนความรัก ความศรัทธา
ที่เรามีต่อพระองค์ได้แล้ว
คราวนี้ก็มาถึงเรื่อง การประดิษฐานองค์พระพิฆเนศ
ควรหันไปทางทิศไหนถึงจะดี?
อ.ปัณฑร ให้คำตอบว่า ควรจะหันหน้าไปทาง
ทิศเหนือ หรือ ทิศตะวันออก
ถือเป็นทิศมงคล
ถ้าเป็นร้านค้า ควรหันหน้าออกหน้าร้านเป็นการดีที่สุด
แต่ทั้งหมดนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ของแต่ละสถานที่
ไม่ถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวเสมอไป
การที่เราเคร่งเครียดอยู่กับการจัดวางองค์พระหรือองค์เทพนั้น
ถือเป็นเรื่องที่ไร้สาระ
เพราะพระองค์จะเสด็จสถิตอยู่ทั่วไปในทุกหนทุกแห่ง ขอให้จัดวางไว้ในสถานที่อันเหมาะสมก็แล้วกัน
ทั้งนี้โดยคำนึงสถานภาพของที่อยู่อาศัยแต่ละคน ซึ่งย่อมไม่เหมือนกัน
คนมีฐานะมีบ้านใหญ่โต ก็อาจจะมีห้องพระส่วนตัว ก็จัดตั้งในห้องพระได้
คนที่มีบ้านเล็กๆ บ้านทาวน์เฮ้าส์ หรือคอนโด พื้นที่มีจำกัดก็สามารถวางบนหลังตู้
บนโต๊ะ หรือหิ้งพระ ก็ได้ทั้งนั้น
พระพิฆเนศ เป็นเทพแห่งปัญญา การกระทำใดๆ
หรือการบูชาใดๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดสติปัญญา จึงไม่ใช่หนทางไปสู่พระองค์
คือ ไม่ใช่การบูชาพระพิฆเนศ ทุกอย่างจะต้องปฏิบัติอย่างผู้มีสติปัญญา
จึงจะถือว่าเป็นการสักการบูชาพระพิฆเนศอย่างแท้จริง
อวิชา ไม่ได้หมายถึงความ ไม่รู้
อย่างเดียว แต่อาจจะหมายถึง ความรู้ที่มีอยู่มากมาย
แต่เป็นความรู้ที่ผิด
อ.ปัณฑร กล่าวในตอนท้ายว่า การศึกษาขั้นตอนต่างๆ
เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจก่อน จึงเริ่มบูชา
จะนำมาซึ่งความสำเร็จความสมหวัง และปัญญาอย่างแท้จริง
อย่าได้บูชาตามกระแสนิยม เพราะจะเป็นเสียเวลาเปล่าๆ
ขอขอบพระคุณ - หนังสือพิมพ์คมชัดลึก
-
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศ จ.เชียงใหม่
----------------
อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม
----------------
หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ
,
พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
,
พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
,
พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร
,
หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
,
ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
--------- สถานที่
ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
-
พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน
จ.ฉะเชิงเทรา
-
พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม
พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
-
พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย
อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ
8 แห่ง
-
รวมรูปองค์เทพ | -
รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | -
รวมความรู้การบูชาองค์เทพ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
-----------------
เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์
วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี
เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า
]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ
วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
-
สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์
| -
ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
-
ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก
| -
ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
-
พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้
| -
พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
-
พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี
| -
อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
-
คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี
เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก
-
การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์
โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
-
บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ
| -
พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
-
พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ
| -
พญานาค การบูชาองค์พญานาค | -
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
-
รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี
การบูชาพระแม่อุมาเทวี | -
องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
-
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ
องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ |
-
องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี
-
ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ
| -
พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ
| -
การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
-
การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า
| -
พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
-
ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
-
พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ
| -
การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
-
เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม
พระแม่กวนอิมปางต่างๆ
[ เรื่องร่างทรง
]
เรื่องร่างทรง
1
- เตือนใจเรื่องร่างทรง
มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
2
- คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ?
(รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์
องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
3
- ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง
? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์
องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
4
- การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์
ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
5
- ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
6 -
ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
7 -
รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง
ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)
[ พระศิวะมหาเทพ
]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์
แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช
พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด
, นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์
พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์
พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร
พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน
พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู
พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|
|