พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
อ่านเรื่องเทพเจ้าของพราหมณ์-ฮินดูได้อีกมากมาย!!
เยือนมุมไบ สูดกลิ่นอายตะวันตก
จาก คอลัมน์ บันทึกเดินทาง โดย ภานุมาศ สงวนวงษ์
หนังสือพิมพ์มติชน ปีที่ 32 ฉบับที่ 11390

ประตูสู่อินเดีย-โรงแรมทัชมาฮาล , มองมุมสูงเมืองมุมไบ



เทวาลัยบนเกาะช้าง ทะเลอาระเบียน

วัวเดินถนน ใจกลางเมืองมุมไบ

สิทธิวินายัก พิฆเนศวร

หอนาฬิกา ในมหาวิทยาลัยมุมไบ

กระแสความดังของภาพยนต์ฮอลลีวู้ด เรื่อง "สลัมด๊อก มิลเลียนแนร์" (Slumdog Millionair) เกี่ยวกับเด็กหนุ่มในสลัมเมืองมุมไบ ที่ชนะการตอบคำถามเกมเศรษฐีเป็นเงินก้อนโตถึง 20 ล้านรูปี ถูกถ่ายทอดทางโรงภาพยนตร์ชั้นนำ พร้อมภาพเบื้องหลังที่ตลอดทั้งเรื่องถ่ายทำในประเทศอินเดีย

โดยเฉพาะย่านสลัมใน ""มุมไบ"" ทำให้เมืองสำคัญริมฝั่งทะเลอาระเบียนแห่งนี้ได้รับการจับตามองจากนักท่อง เที่ยวอีกครั้ง หลังเหตุวินาศกรรมจากการก่อการร้ายครั้งใหญ่ ปลายปี 2551

" มุมไบ(Mumbai) หรือ บอมเบย์(Bombay) ในอดีต มีฐานะเป็นเมืองหลวงของรัฐมหาราษฏระ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศอินเดีย ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นหมู่เกาะ 7 เกาะที่แยกออกจากแผ่นดิน ก่อนจะเชื่อมต่อกันเมื่อร่องน้ำลำคลองตื้นเขินและกลายเป็นแหลมยื่นออกไปใน ทะเลยาว 22 กิโลเมตร อย่างในปัจจุบัน"

ความเป็นเมืองสำคัญชายฝั่ง ทะเล ทำให้บอมเบย์เป็นเมืองท่าการค้าและธุรกิจที่สำคัญของอินเดียมาช้านาน จึงเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องรับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากความสัมพันธ์กับชาติ ตะวันตกในยุคล่าอาณานิคม ทั้งในช่วงการเข้ามาของชาติโปรตุเกสเพื่อควบคุมการค้าทางน้ำกับต่างชาติของ อินเดีย ก่อนที่จะจำใจยกบอมเบย์ให้เป็นบรรณาการแก่กษัตริย์ชาร์ลที่ 2 ของอังกฤษ

"ภายใต้การดำเนินธุรกิจการพาณิชย์ของบริษัทอีสต์อินเดีย ทำให้ศูนย์กลางการค้ากระจายไปตามริมฝั่งทะเลอินเดีย โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดคลองสุเอชในปี ค.ศ.1869 ก็ทำให้เมืองนี้กลายเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในแถบทะเลอาระเบียน แม้หลังปี ค.ศ.1947 เมื่ออินเดียได้รับเอกราชจากประเทศอังกฤษแล้วจนถึงปัจจุบัน บอมเบย์หรือมุมไบในชื่อใหม่ ก็ยังคงเป็นเมืองท่าที่สำคัญอย่างไม่เสื่อมคลาย"

แม้ผ่านพ้นช่วงเวลา ของการตกเป็นอาณานิคมมานานแล้ว แต่เสน่ห์ของความเป็นตะวันตกยังคงหลงเหลือให้เราได้สัมผัสอยู่ตลอดเส้นทางใน เมืองมุมไบ ตึกรามบ้านช่อง และอาคารสำคัญๆ ขนาดใหญ่ ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบโกธิคยังมีให้เห็นมากมาย

โดยเฉพาะอาคาร "สถานีรถไฟวิคตอเรียเทอมินาส" หรือในชื่ออินเดียใหม่ว่า ""ฉัตรปตี ศิวาจีเทอมินาส"" ที่ได้รับการตั้งชื่อตามพระนามพระราชินีวิคตอเรีย ก่อสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบวิคตอเรียโกธิค ผสมผสานกับงานศิลปะแบบอินเดีย อันทรงคุณค่าจนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก ยังคงตั้งโดดเด่น เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่แวะเวียนมาชมไม่เว้นวัน

นอกจากนั้น ยังมี "อาคารที่ทำการรัฐบาล" ที่สวยงาม "มหาวิทยาลัยมุมไบที่มีหอนาฬิกาขนาดใหญ่ละม้ายคล้ายหอนาฬิกาบิ๊กเบนในประเทศ อังกฤษ" สูงสง่าอวดสายตาแขกต่างเมือง รวมถึงอาคารร้านค้า และโบสถ์ในคริสต์ศาสนา

"จึงไม่แปลกใจว่า ในอดีตนั้น มุมไบได้รับการขนานนามว่าเป็น "นครลอนดอน" ของอินเดีย ด้วย"

การเดินทางท่องเที่ยวไปยังเมืองมุมไบไม่ใช่เรื่องยาก หากเราเริ่มต้นจากสนามบินสุวรรณภูมิ เพียงเวลาไม่ถึง 5 ชั่วโมง เครื่องบินก็จะนำเราลงสู่สนามบินนานาชาติซาฮาร์ อย่างปลอดภัย และแน่นอนว่า หากเราไม่มีรถของกรุ๊ปทัวร์ หรือบริการจากโรงแรมมารับ ก็ยังมีรถแท็กซี่ สีดำตัดเหลือง แม้มีสภาพเก่าพอตัวแต่ก็พาไปส่งที่หมายได้อย่างปลอดภัยเสมอ (แม้จะหวั่นๆ ใจบ้างก็ตาม)

โดยบริการมิเตอร์ของที่นี่จะแตกต่างจาก บ้านเรา ตรงที่วัดกันเป็นระยะทาง แล้วค่อยไปคิดเป็นค่าโดยสารกันอีกที ซึ่งราคาก็ไม่แพงเลยจริงๆ

มุมไบ หรือ บอมเบย์ ยังมีชื่อเสียงโด่งดัง ในฐานะ "ศูนย์กลางของอุตสาหกรรมภาพยนตร์และโทรทัศน์ของประเทศ รวมทั้งยังเป็นเมืองที่ผลิตภาพยนตร์มากที่สุดในโลก ประมาณ 800 เรื่องต่อปี" จนได้เรียกขานกันว่า ""บอลลีวู้ด""

ความเจริญก้าว หน้าและฐานะทางเศรษฐกิจของคนที่นี่ เห็นได้ชัดจากพาหนะที่ขับขี่ ทั้งรถยุโรปหรูราคาแพง รถเก๋งขนาดกะทัดรัด เมดอินอินเดียยี่ห้อ "ทาทา" มอเตอร์ไซค์ จักรยาน ไปจนถึงวัวเทียมเกวียน วิ่งกันเกลื่อนเมือง แม้ในอดีตเรื่องชนชั้นวรรณะจะมีความสำคัญต่อการกำหนดบทบาทของคนในสังคม อินเดียเป็นอย่างมาก

แต่ปัจจุบัน เมื่อระบบชนชั้นอ่อนแรงลง ความสามารถทางเศรษฐกิจ การศึกษา และเงินในกระเป๋า ก็เริ่มเข้ามาแทนที่ กระนั้นยังมีช่องว่างระหว่างคนจนและรวยให้เห็นมากมาย

รวมทั้งชุมชน แออัดที่กระจายตัวอยู่แทบทุกจุดของเมือง มีคนขอทาน และอดอยากจำนวนมาก แน่นอนที่สุด ปัญหาต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นจาก "จำนวนประชากรมากกว่า 1 พันล้านคนในประเทศอินเดีย และกว่า 20 ล้านคน ที่อาศัยอยู่ในมุมไบ จนถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดอันดับ 5 ของโลก การกระจายตัวของทรัพยากรที่ไม่ทั่วถึงจึงยังยากที่จะแก้ไขได้"

อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตตามปกติของคนที่นี่ ยังคงแสดงความเป็นตัวตนตามวัฒนธรรมฮินดูได้เป็นอย่างดี แม้กระแสวัฒนธรรมตะวันตกสมัยใหม่จะเริ่มเข้ามาแทนที่สิ่งดั้งเดิม "แต่ความเชื่อและศรัทธาในศาสนาฮินดูของคนในมุมไบยังเหนียวแน่น ทั้งการบูชาเทพต่างๆ ในบ้านเรือนหรือตามเทวสถานก็ยังมีให้เห็นได้เสมอ"

สิ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ "ความศรัทธาในองค์ "พระพิฆเนศวร" ที่มีอยู่อย่างฝังรากลึกและสืบต่อมาช้านานหลายพันปีมาแล้ว" ทั้งในเทวสถานที่สำคัญ เช่น ที่ "สิทธิวินายัก พิฆเนศวร" ด้วยถือเป็นเทพแห่งความสำเร็จ และเทพประจำรัฐ เมื่อจะเริ่มต้นทำกิจการใดๆ ทั้งการสร้างหนังเรื่องใหม่ของบริษัทภาพยนตร์ หรือการเริ่มทำธุรกิจการค้าต่างๆ คนอินเดียก็จะต้องมาขอพร สักการะบูชาเทพผู้เติมเต็มแห่งนี้ก่อนเสมอ

รวมไปถึงเส้นทาง ""อัษฏวินายัก" อันเป็นสถานที่ประดิษฐาน พระสวายัมภูคณปติ หรือองค์พระพิฆเนศวรที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติทั้ง 8 แห่ง" ยังคงมีผู้คนที่ศรัทธาหลั่งไหลกันมากราบไหว้ขอพรพระพิฆเนศวรอย่างไม่ขาดสาย จากเมืองมุมไบ ถึงเมืองปูเน่ อันเป็น "แผ่นดินกำเนิดของพระองค์ท่าน"

สำหรับ นักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ หรือชอบศึกษาชีวิตของคนที่แตกต่าง มุมไบถือเป็นอีกหนึ่งเมืองที่น่าสนใจ เพราะตลอดทุกซอกซอยของเมืองมีเรื่องราวและวิถีชีวิตที่น่าค้นหาให้เห็นไม่ ซ้ำกันเลยจริงๆ

ทั้งความจอแจบนท้องถนน เสียงแตรที่ดังขึ้นแทบจะตลอดเวลา เมื่อเดินไปตามทางเท้า ก็เจอคนขายลอตเตอรี่ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เจ้าของวัวที่เดินจูงวัวไปบนถนนปะปนกับรถโดยสารที่เร่งรีบรับส่งผู้คนไปทำ งาน เด็กนักเรียนเดินเล่น เดินคุยกันไปบนถนน ก่อนจะเข้าโรงเรียน

ยังมีคนจูงวัวเดินผ่านไปมาให้เห็นเสมอ มีทั้งเพื่อให้คนทั่วไปได้นำหญ้ามาเลี้ยงวัวในฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และที่เทียมเกวียนไว้พร้อมสำหรับเป็นพาหนะเดินทางและเพื่อการขนสัมภาระต่างๆ

ฯลฯ

นอกจากเรื่องคนที่น่าสนใจแล้ว สถานที่แห่งสำคัญที่พลาดไม่ได้ก็คือ "ประตูสู่อินเดีย"(Gateway of India) ริมฝั่งทะเลอาระเบียน ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองมุมไบ สร้างขึ้นเพื่อเป็น "อนุสรณ์ในการเสด็จมาเยือนมุมไบของพระเจ้าจอร์จที่ 5 และสมเด็จพระราชินีแมรี่" ในปี ค.ศ.1911 เพื่อทรงร่วมงานเดลีดารบัร

" และเมื่อทหารชุดสุดท้ายที่ปกครองอินเดียเดินทางกลับ ก็ได้ลอดซุ้มประตูโค้งแห่งนี้ออกไป เป็นสัญลักษณ์แสดงการสิ้นสุดแห่งยุคอาณานิคมในอินเดียด้วย"

ความงด งามของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะของท้องถิ่นกับแบบมุสลิมของรัฐคุชราต ประกอบกับความสูงกว่า 80 ฟุต ของประตูสู่อินเดีย ทำให้ที่นี่เป็นที่หมายสำคัญแห่งแรกๆ ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกที่เดินทางมาสู่มุมไบ

นอกจากนี้ ที่นี่ยังเป็นท่าเรือที่นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือข้ามไปเที่ยวยัง "เกาะช้าง" (Elephata Caves) หรือฆรบุรี อันเป็นที่ตั้งของเทวลัยถ้ำบนภูเขาหิน ซึ่งขุดเจาะขึ้นในศตวรรษที่ 7-8 และมีหินสลัก เทวรูปตรีมูรติที่งดงาม ซึ่งรวมเทพ ทั้งพระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหมสามเศียรให้ผู้เข้าชมได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล

ความวุ่นวายเริ่มสงบลงเมื่อตะวันใกล้ลับขอบฟ้า หากนั่งเรือกลับจากเกาะช้างสู่ท่าเรือ ก็จะเห็นความยิ่งใหญ่ของประตูสู่อินเดีย ยืนตระหง่านเคียงคู่โรงแรมทัชมาฮาล ริมทะเล ที่คลาคล่ำไปด้วยเรือยอชต์ราคาแพง เรือสินค้าขนาดใหญ่ และเรือท่องเที่ยวที่จอดพักผ่อนเป็นทิวแถว

หนึ่งวันของนักท่อง เที่ยวอาจจบลงด้วยอาหารจีนอร่อยๆ สักมื้อ ก่อนกลับเข้าพักในโรงแรมหรู ขณะที่คนมุมไบนั่งอยู่บนโต๊ะอาหารภายในบ้านของตัวเองอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา หรือในห้องชุดบนตึกสูงระฟ้า หรือบางทีอาจกำลังก่อไฟหุงหาอาหารอยู่ริมท้องถนน หน้าเต๊นท์พักโกโรโกโส

พรุ่งนี้ของคนมุมไบยังคงดำเนินต่อไปตามกระแสทุนที่พัดโหมเข้ามาไม่หยุดยั้ง การพาณิชย์ที่รุ่งเรือง อุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น พร้อมวิถีแห่งความเชื่อและศรัทธาตามแบบฮินดูที่ยังฝังลึกในการดำเนินชีวิต ของผู้คน ยังคงน่าค้นหาและชวนให้มาเยี่ยมเยือนสักครั้ง...


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.