โขน นับเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงสุดของไทยอย่างหนึ่งที่นิยมเล่นกันในงานมหรสพต่าง
ๆ มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท เช่น โขนกลางแปลง โขนโรงนอก โขนโรงใน
โขนหน้าจอ โขนฉาก โขนนั่งราว และโขนชักรอก ในบรรดาโขนต่าง ๆ
ที่กล่าวมานี้ ส่วนใหญ่จะมีการแสดงให้เห็นกันบ่อย ๆ แต่โขนที่ไม่ค่อยมีการแสดงให้เห็นกันเลยก็คือโขนชักรอก
โขนชักรอกนั้นสันนิษฐานกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑
เป็นการแสดงในโรงที่มีหลังคา คนดูอยู่ด้านหนึ่ง ส่วนผู้แสดงแต่งตัวโขนขึ้นไปลอยตัวอยู่ในอากาศ
การแต่งกาย ดนตรีประกอบ บทพากย์ บทเจรจา บทร้อง และเรื่องที่แสดงก็คล้ายกับโขนโดยทั่วไป
จะต่างกันก็แต่มีการชักรอกตัวแสดงให้ขึ้นไปลอยตัวอยู่ในอากาศเท่านั้น
การแสดงจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์การแสดงมาก และค่อนข้างยุ่งยากกว่าโขนประเภทอื่น
ๆ ด้วยเหตุนี้จึงไม่ค่อยมีปรากฏให้เห็นในงานต่าง ๆ บ่อยนัก
นับเป็นโชคดีอย่างยิ่งที่กรมศิลปากร วัดอรุณราชวราราม และบริษัทออร์กาไนเซอร์
จำกัด ได้ริเริ่มจัดงานเทศกาลวัดอรุณ ร.ศ. ๑๐๐ ตามโครงการอนุรักษ์วัดอรุณ
และได้นำการแสดงที่หายาก เช่น การแสดงมโหรี การแสดงหนังใหญ่
การแสดงละครในและละครนอก การแสดงหุ่นหลวง การแสดงโขนชักรอก
การละเล่นและการกีฬาสมัยโบราณมาให้ชมกัน ระหว่างวันที่ ๙-๑๕
พฤศจิกายน ๒๕๔๓ เวลา ๑๗.๐๐-๒๒.๐๐ นาฬิกา รวมทั้งมีโครงการจะจัดเป็นประจำทุกปี
การแสดงแบ่งเป็นเวทีหนังใหญ่ ละครในและละครนอกบริเวณหน้าวัด
โดยมีองค์พระปรางค์วัดอรุณประดับไฟเป็นฉากหลัง ส่วนหุ่นหลวงและโขนชักรอกจะแสดงในโรงที่ได้จัดทำขึ้นโดยเฉพาะบริเวณด้านขวา
มือสุด โดยจัดเวลาการแสดงสลับกันเพื่อให้ผู้ชมมีโอกาสได้ชมทุกกิจกรรม
โขนชักรอกที่นำมาแสดงเป็นเรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกศรพรหมมาสตร์
ว่าด้วยทศกัณฐ์ใช้ให้อินทรชิต โอรส ไปทำพิธีชุบศรพรหมมาสตร์
ให้มีฤทธานุภาพสำหรับสังหารพระราม พระลักษมณ์และพลวานร ในระหว่างที่อินทรชิตกำลังทำพิธี
ทศกัณฐ์ได้ใช้ให้มังกรกัณฐ์ผู้เป็นหลานออกรบ แต่ก็ถูกศรพระรามจนสิ้นชีวิตไป
แสงอาทิตย์ผู้เป็นน้องได้ออกไปรบเพื่อแก้แค้นก็ถูกพระรามแผลงศรสังหารอีก
ทศกัณฐ์จึงใช้เสนาสูรไปบอกอินทรชิตจนเสียตบะทำพิธีไม่สำเร็จ
และออกจากตบะมาออกอุบายศึกโดยให้เสนายักษ์แปลงเป็นเทวดา นางฟ้า
และให้การุณราชแปลงเป็นช้างเอราวัณ ส่วนอินทราชิตแปลงเป็นพระอินทร์ยกทัพมาในอากาศ
เมื่อมาถึงพลับพลาที่พระลักษมณ์ตั้งไพร่พลอยู่ก็ให้เทวดานางฟ้าจำแลง
พากันจับระบำระฟ้อน เมื่อกองทัพของพระลักษมณ์เพลิดเพลิน อินทรชิตจึงแผลงศรพรหมมาสตร์บันดาลเป็นศรเกลื่อนกลาดต้ององค์พระลักษมณ์
องคต สิบแปดมงกุฏ และเหล่าวานรสลบลง เหลือหนุมานแต่เพียงผู้เดียวได้เหาะขึ้นไปรบกับอินทรชิต
และสามารถหักคอช้างเอราวัณจำแลงสำเร็จ แต่ถูกอินทรชิตตีสลบไป
เมื่อพระรามมาถึง หนุมานต้องลมพัดฟื้นขึ้นมา จึงอาสาไปชะลอเขาสรรพยานำมาเขย่าจนพระลักษมณ์และเหล่าวานรฟื้นคืนสติ
แล้วพากันกลับคืนสู่พลับพลาดังเดิม
การแสดงโขนชักรอกชุดนี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างโขนโรง โขนนั่งราว
และโขนชักรอก กล่าวคือไม่มีเตียงสำหรับตัวนายโรงนั่ง แต่มีราวพาดตามส่วนยาวของโรง
ตรงหน้าฉากออกมามีช่องทางให้ผู้แสดงเดินได้รอบราว ในส่วนที่เป็นโขนชักรอกคือบรรดาอินทรชิตทรงช้างเอราวัณ
เทวดาและนางฟ้าจำแลงที่เหาะร่ายรำมาในอากาศ
ฉากที่น่าชมที่สุดก็คือตอนที่หนุมานต่อสู้กับอินทรชิตที่ทรงช้าง
เอราวัณและสามารถหักคอช้างเอราวัณได้ และฉากหนุมานยกภูเขาสรรพยามาเขย่าจนพระลักษมณ์และพลวานรฟื้นคืนสติ
ซึ่งเป็นฉากการแสดงที่สมจริงที่สุด นอกจากนี้การแสดงในฉากอื่น
ๆ ก็ล้วนแต่ละลานตาละลานใจด้วยลีลาการแสดงจากศิลปินมืออาชีพ
จึงนับเป็นนิมิตหมายอันดีที่มีผู้เห็นความสำคัญริเริ่มจัดการแสดงโชนชักรอก
ขึ้น เพื่ออนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติและเป็นการจุดประกายให้เกิดความรักและหวง
แหนมรดกวัฒนธรรมอันล้ำค่าของไทย สมดังเจตนารมณ์ของผู้จัดงานเทศกาลวัดอรุณ
ร.ศ. ๑๐๐ สืบไป
ที่มา : อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๔๑ ฉบับที่ ๖ เดือนมกราคม
๒๕๔๔
---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม
----------------
หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
,
พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
,
พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
,
ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
--------- สถานที่ ศาล
เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
-
พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
-
พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม
พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
-
พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย
อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
-
รวมรูปองค์เทพ | -
รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | -
รวมความรู้การบูชาองค์เทพ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
----------------- เทศกาล
งานสำคัญต่างๆ -----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์
วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี
เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า
]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ
วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
-
สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์
| -
ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
-
ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก
| -
ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
-
พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้
| -
พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
-
พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี
| -
อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
-
คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี
เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก
-
การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
-
บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ
| -
พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
-
พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ
| -
พญานาค การบูชาองค์พญานาค | -
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
-
รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี
การบูชาพระแม่อุมาเทวี | -
องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
-
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ
ปางของพระวิษณุ | -
องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี
-
ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ
| -
พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ |
-
การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
-
การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า
| -
พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
-
ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
-
พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ
| -
การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
-
เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม
พระแม่กวนอิมปางต่างๆ
[ พระศิวะมหาเทพ
]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์
แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช
พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด
, นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์
พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร
,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู
พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|