พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู ประเทศอินเดีย พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุ พระแม่อุมาเทวี

หุ่นละครเล็ก

(บทความจาก อนุสาร อ.ส.ท.)
สายสุนีย์ สิงหทัศน์...เรื่อง
เกรียงไกร เรือนแก้ว...ภาพ



เมื่อเร็ว ๆ นี้ผู้เขียนได้มีโอกาสไปชมหุ่นละครเล็กที่โรงละครโจหลุยส์ เธียร์เตอร์ บรรยากาศของโรงละครที่มีการสาธิตการทำหัวโขน วิธีการปั้นหัวโขน วิธีการประดับลาย วิธีการปิดทอง วิธีการลงสี และการแสดงการเชิดหุ่นละครเล็กบนเวที เป็นสิ่งที่น่าประทับใจและน่าชื่นชมยิ่งที่นายสาคร ยังเขียวสด หรือครูโจหลุยส์ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปการแสดง (ละครเล็ก) ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ร่วมกับลูกหลาน ได้ฟื้นฟูชีวิตหุ่นละครเล็กให้กลับฟื้นคืนชีวิตมาเป็นศิลปการแสดงที่เชิด หน้าชูตาของประเทศอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เงียบหายไปกว่า ๕๐ ปี 
 
หุ่นละครเล็กคือหุ่นที่มีหัว แขน ขา ขนาดสูงประมาณ ๑ เมตร สามารถเคลื่อนไหวได้เกือบทุกส่วนเหมือนคนจริง ๆ แตกต่างจากหุ่นชนิดอื่น ๆ ของไทยด้วยลีลาการเชิดหุ่นที่ต้องใช้ผู้เชิดถึง ๓ คน ต่อหุ่น ๑ ตัว ทำให้หุ่นเคลื่อนไหวเหมือนมีชีวิต ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๔ โดยพ่อครูแกร ศัพทวานิช อดีตหัวหน้าคณะละครชาตรีชาวหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้สร้างขึ้นเลียนแบบหุ่นหลวง ทั้งรูปร่าง หน้าตา และขนาดความสูง จะแตกต่างกันแต่กลไกการบังคับหุ่นและลีลาการเชิดเท่านั้น พ่อครูแกรได้เลี้ยงชีพจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ก่อนถึงแก่กรรมพ่อครูแกรได้นำหุ่นละครเล็กจำนวน ๑๐๐ ตัวเศษไปทิ้งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา และมิได้เผยแพร่วิชาความรู้ด้านการทำหุ่นแก่ผู้ใด ซ้ำยังได้ทำพิธีสาปแช่งคนเลียนแบบด้วย
          บุตรชายและบุตรสะใภ้พ่อครูแกรได้สืบทอดการแสดงต่อมาและเลิกกิจการไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เนื่องจากไม่มีทายาทสืบต่อ นางหยิบ ศัพทวานิช บุตรสะใภ้ จึงมอบหุ่นละครเล็กจำนวน ๓๐ ตัวให้แก่นายสาคร ยังเขียวสด ผู้เป็นหลานศิษย์พ่อครูแกเป็นผู้ดูแลรักษา ปัจจุบันหุ่นเหล่านี้ตั้งแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณ จังหวัดสมุทรปราการ
 
นายสาคร ยังเขียวสด หรือครูโจหลุยส์ มีความสามารถในการแสดงนาฏศิลป์หลายประเภท ทั้งโขน ละคร ลิเก และการเชิดหุ่น โดยเริ่มหัดมาตั้งแต่มีอายุได้ ๙ ขวบ โดยเฉพาะหุ่นละครเล็กท่านรักเป็นชีวิตจิตใจ สามารถทำหุ่นเพื่อเชิดเองและแต่งบทละครสำหรับแสดงและกำกับการแสดงด้วยตนเอง ประกอบกับมีหัวทางช่าง จึงสร้างหุ่นละครเล็กที่เคยเห็นจากบ้านครูแกรมาเชิดเล่น ๖-๗ ตัว แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก แล้วนำออกแสดงตามงานบุญในละแวกบ้าน ต่อมาจึงได้ทำพิธีบูชาพ่อครูแกรเจ้าของหุ่น เพื่อขออนุญาติจัดทำหุ่นเพิ่มเติมและได้ชุบชีวิตหุ่นละครเล็กให้กลับฟื้นคืน มาอีกครั้งหนึ่ง และนำออกแสดงเป็นครั้งแรกในงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทยปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ณ สวนอัมพร โดยตั้งชื่อคณะว่า “หุ่นละครเล็กคณะสาครนาฏศิลป ละครเล็กหลานครูแก”
          หุ่นละครเล็กคณะของครูโจหลุยส์เป็นที่ชื่นชอบของผู้คนโดยทั่วไป ด้วยลักษณะพิเศษที่เคลื่อนไหวได้ทุกส่วนคล้ายคนจริง รวมทั้งความสวยงามของเครื่องแต่งกายแบบโขนละครจริงประกอบกับศิลปะการเชิดที่ แตกต่างจากการเชิดหุ่นกระบอกทำให้หุ่นละครเล็กของนายสาคร ยังเขียวสด มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ ถือเป็นหุ่นละครเล็กคณะเดียวของเมืองไทยที่มีการแสดงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
 
          หุ่นละครเล็กคณะนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมาตามลำดับ มีการสร้างหุ่นเพิ่มขึ้น สามารถหันหน้าไปมาได้ มีรูปทรงที่ได้สัดส่วน ท่วงท่าการรำและการเจรจาก็ปรับปรุงให้เหมือนคนจริง ๆ ก่อนการแสดงจะมีการเชิดหน้าโรงและการสาธิตวิธีการเชิดประกอบคำบรรยาย เพื่อให้ผู้ชมได้มีโอกาสชมลีลาการแสดงของผู้เล่นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
 
          ด้วยเจตนาอันแรงกล้าของนายสาครที่จะเผยแพร่ศิลปะที่หาชมได้ยากยิ่งเช่นนี้ ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ท่านจึงได้สร้างโรงละคร “นาฏศิลป์” หรือ “โจหลุยส์ เธียร์เตอร์” ขึ้น มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ และเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ ๓มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓
          การแสดงหุ่นละครเล็กจะมีแสดงทุกวัน ระหว่างเวลา ๐๙.๓๐-๑๑.๐๐ นาฬิกา แบ่งเป็นการชมการสาธิตการทำหัวโขนตั้งแต่วิพีการปั้น การประดับลาย การปิดทอง และการลงสี ประมาณ ๓๐ นาที และการแสดงเชิดหุ่นละครเล็กประมาณ ๑ ชั่วโมง
 
          เวทีหุ่นละครเล็กที่ใช้แสดงประดับด้วยม่านสีแดง แบ่งฉากออกเป็น ๓ ตอน มีทั้งฉากทิวทัศน์ ฉากป่า และฉากปราสาทราชมณเฑียร การแสดงเริ่มด้วยพิธีไว้ครู การสาธิตวิธีการเชิดหุ่นหรือท่ารำ และการประสานลีลาผู้เชิดทั้ง ๓ คน ซึ่งต้องให้สัมพันธ์กัน เพราะถ้าผู้ใดผู้หนึ่งทำพลาดไป ลีลาของหุ่นก็จะไม่งดงาม คุณสุรินทร์ ยังเขียวสด บุตรชายคนที่ ๗ ของครูโจหลุยส์ ผู้สนใจศิลปะด้านนี้อย่างจริงจังและเป็นตัวหลักผู้เชิดหุ่นตัวยักษ์เล่าว่า “สมาชิกในคณะหุ่นละครเล็กล้วนแต่เป็นพี่น้องลูกหลานทั้งสิ้น จึงสามารถเล่นเข้าขากันได้เป็นอย่างดี” 

          เมื่อจบวิธีการสาธิตการเชิดหุ่นแล้วจึงจะมีการแสดง ซึ่งส่วนใหญ่จะเล่นเรื่องรามเกียรติ์ตอนใดตอนหนึ่ง เช่น ตอนนางลอย ชุดทศกัณฐ์เกี้ยวนาง และหนุมานจับนางเบญจกาย ฯลฯ เมื่อจบการแสดงผู้เชิดจะนำหุ่นมาเล่นหยอกล้อกับผู้ชมเหมือนหุ่นมีชีวิตจริง ๆ

          นอกจากการแสดงหุ่นละครเล็กแล้ว ครูโจหลุยส์และลูก ๆ ยังถ่ายทอดการแสดงโขนและหุ่นแก่คนรุ่นใหม่ผู้สนใจด้วย จัดเป็นคณะ “โขนละครเด็ก” ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับการเล่นหุ่นละครเล็กอันเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอีก ชิ้นหนึ่งของไทยสืบไป
 
          ผู้สนใจชมการแสดงหุ่นละครเล็กสามารถติดต่อรายละเอียดได้ที่โจหลุยส์ เธียเตอร์ ซอยกรุงเทพ-นนทบุรี ๑๒ หลังกระทรวงสาธารณสุข โทรศัพท์ (๐๒) ๕๒๗-๗๗๓๗-๘


        ที่มา : อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๓



บทความจาก - อ.ส.ท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ศูนย์รวมโบราณวัตถุ วัฒนธรรมภาคตะวันออก


- หุ่นละครเล็ก ฟื้นฟูชีวิตหุ่นละครเล็ก ณ โรงละครโจหลุยส์

- อรรธนารีศวร ศิลปะชิ้นเยี่ยม
ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี


- พระพิฆเนศทรงช้างเอราวัณ ที่บ้าน ๑๐๐ อัน ๑๐๐๐ อย่าง
ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่


- พระอิศวร มหาเทพนับพันชื่อ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


- โขนชักรอก สมบัติศิลป์ที่เกือบจะสูญสิ้น

บทความจาก - วารสารเมืองโบราณ

- มหาภารตะในอารยธรรมเขมร
และภาพสลักที่ระเบียงคด ปราสาทนครวัด


- สุริยัน จันทรา และราหู ที่ปราสาทพนมรุ้ง
ข้อสังเกตทางโบราณดาราศาสตร์


- ตาควาย - ปราสาทร้างกลางความคลุมเครือ

- มัณฑละเชิงเขาหลวง :
หนึ่งในฐานเศรษฐกิจของรัฐตามพรลิงค์


- ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ กับความเป็นสากล

- บูชาดาวนพเคราะห์ที่ "วัดญวนบางโพ"

- ชุมชนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดทองนาปรัง
ย่านบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี


- วัดวิษณุ - พลิกปูมวัดวิษณุ สมาคมฮินดูธรรมสภา
ศูนย์กลางชุมชนชาวอุตตรประเทศในกรุงเทพมหานคร


- วัดวิษณุ - นวราตรี : ทุรคาบูชา ณ วัดวิษณุ ยานนาวา

- เขายักษ์ - แหล่งภาพสลักพระศิวะกลางป่าตาพระยา

- เทวาลัยไม้สมัยคุปตะที่หิมาจัลประเทศ

- ศาลาแก้วกู่ : มหัศจรรย์สถานแห่งหนองคาย


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.