พระพิฆเณศ
รูปพระพิฆเนศ
คลิกที่นี่เพื่อกลับไปหน้าแรกศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู ประเทศอินเดีย พระศิวะ พระพรหม พระวิษณุ พระแม่อุมาเทวี

ภูเขาศักดิ์สิทธิ์กับความเป็นสากล

(บทความจาก วารสารเมืองโบราณ)
เรื่องและภาพ : ศรีศักร วัลลิโภดม


เกือบทุกหนแห่งในโลก การให้ความสำคัญกับภูเขา ในลักษณะที่สัมพันธ์ กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจักรวาล
นับได้ว่ามีความเป็นสากลทีเดียว เพราะเรื่องของเขา กับการเป็นที่อยู่ของเทพเจ้า
ดูเหมือนจะมีกล่าวถึงในตำนาน หรือนิยายปรัมปรา ทางศาสนา และระบบความเชื่อ ในทำนองเดียวกัน


สำนึกในความสำคัญ ของภูเขานี้ เห็นได้ชัด จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม นั่นก็คือ ในท้องถิ่น หรือภูมิภาคที่มีภูเขา อยู่ในธรรมชาติ คนก็จะสังเกต และเลือกสรรภูเขา ในภูมิประเทศที่ตนอยู่ ณ ตรงจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นจุดที่สูงสุด หรือจุดที่มีรูปร่างแปลกผิดปกติ หรือที่มีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นที่มีน้ำพุ ปล่องภูเขาไฟ หรือเป็นบริเวณ ที่มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ หรือวัฒนธรรมเกิดขึ้น ขึ้นมาเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์

ในขณะที่บรรดาผู้คน ที่ตั้งถิ่นฐาน อยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำลำคลอง หรือใกล้กันกับทะเล ที่ไม่มีภูเขาอยู่ในภูมิประเทศ ก็มักจะสร้างเขาศักดิ์สิทธิ์ขึ้น จากจินตนาการ เป็นรูปแบบทางสถาปัตยกรรมขึ้นมา อย่างเช่นในเมืองไทย มีการสร้างพระสถูปเจดีย์สูงใหญ่ แลเห็นได้แต่ไกล หรือในลัทธิศาสนาฮินดู และพุทธมหายานในกัมพูชา ที่มีการสร้างปราสาทขึ้น เป็นเสมือนภูเขาพระสุเมรุ อันเป็นที่สถิตของเทพเจ้า เป็นต้น

ในประเทศเม็กซิโก ที่อยู่ในอเมริกากลาง พวกอินเดียนโบราณ ที่เป็นเจ้าของอาณาจักรใหญ่น้อยทั้งหลาย ต่างก็มีประเพณีที่เหมือนกันหมด ในการสร้างปิระมิดขึ้นมา เป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประกอบพิธีกรรม ทางศาสนา หลายๆ แห่งทีเดียว ที่สร้างปิระมิด ไว้บนยอดเขา ทำให้มองเห็นแต่ไกล หรือบางแห่ง ก็สร้างทั้งเมือง และสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ บนภูเขาก็มาก

ณ กรุงเทวาทีวากัน(Teotihuacan) อันเป็นเมืองสำคัญ ของพวกเอสเท็ค(Aztec) มีการสร้างปิรามิด ของพระอาทิตย์ และพระจันทร์อยู่เบื้องหน้า และหลังภูเขาไฟ ที่นับเนื่อง เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ อย่างสวยงาม และเป็นระเบียบ

ในขณะที่บ้านเมือง ที่อยู่ตามเกาะ และเป็นถิ่นที่มีภูเขาไฟ อย่างเช่น ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย ต่างก็ให้ความสำคัญ กับภูเขามากเป็นพิเศษ เพราะเป็นสิ่งที่ให้คุณ และโทษ ได้เด่นชัดกว่า บรรดาภูเขาธรรมดา หลายๆ แห่ง จะเน้นพิธีกรรม บวงสรวงเทพเจ้าบนภูเขาไฟ อย่างเคร่งครัด เพราะจะระเบิดขึ้น เมื่อใดก็ได้

ในประเทศญี่ปุ่น ภูเขาไฟที่ดับแล้ว อย่างเช่นฟูจิยาม่า มีความสวยงามระดับโลก และนับเนื่อง เป็นสัญลักษณ์ ของประเทศญี่ปุ่นก็ว่าได้ ในขณะที่ภูเขาไฟซากุระชิม่า ที่อยู่ทางตอนใต้ คุกรุ่นพ่นฝุ่นละออง ที่เป็นพิษออกมา จนเป็นที่เดือดร้อน ของคนในเมืองคาโกชิม่า เป็นต้น

ที่เกาะชวา ในประเทศอินโดนีเซีย มีภูเขาเมราปี สูงเด่นเป็นสัญลักษณ์ ของเกาะ ก็นับเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ ที่มีการกล่าวถึงเสมอ ในวรรณคดีโบราณ เช่น เรื่องของปันหยี หรืออิเหนา เป็นต้น


ภูเขาไฟศักดิ์สิทธิ์ อีกลูกหนึ่งในบาหลี

ในขญะที่วรรณคดี เรื่องรามเกียรติ์ กล่าวถึงเมืองลังกา ของทศกัณฐ์ ที่มีถูเขานิลกาลาคีรี เป็นประธานอยู่ตรงกลาง ในขณะที่วรรณคดี เรื่องรามเกียรติ์กล่าวถึง เมืองลังกา ของทศกัณฐ์ ที่มีภูเขานิลกาลาคีรี เป็นประธานอยู่ตรงกลาง เมื่อตอนพญานกสัมพาที ชี้ทางให้หนุมาน กวีผู้ประพันธ์ ได้รจนากลอนไว้ว่า

ครั้นถึงกึ่งกลางเวหา
สกุณาราปีกเรื่อยร่อน
แล้วบอกว่าดูราวานร
โน่นนครลงกาธานี
เหมือนจอกน้อยลอยอยู่กลางสมุทร
แลสุดสายเนตรในวิถี
โน่นนินทกาลาคีรี
อยู่ที่ท่ามกลางเมืองมาร

ภูเขาสมณกูฏ จะเป็นภูเขาเดียวกันกับ นินทกาลาคีรี หรือไม่ คงไม่มีใครบอกได้ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ศรีลังกาเป็นบ้านเมืองหนึ่ง ที่ให้ความสำคัญ แก่ภูเขาศักดิ์สิทธิ์อย่างแน่นอน


ภูเขาพอพา เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ของพม่า มาแต่ก่อนสมัย เมืองพุกาม เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว

ที่ประเทศพม่า ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญที่สุด คือภูเขาบุพผา หรือภูเขาพอพา (Bopa) เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว สูงใหญ่เห็นแต่ไกล ตรงเนินมีเขาเล็ก รูปสูงคล้ายหอคอย เป็นสถานที่ทำการสักการะ มหาคีรีนัต ผู้เป็นใหญ่กว่าผีนัตทั้งหลาย ใครที่ไปเที่ยวพม่าแล้ว ไม่เคยไปที่ภูเขาพอพานี้ ก็นับว่าน่าเสียดาย ภูเขาไฟลูกนี้ นับเป็นเขาศักดิ์สิทธิ์มาช้านาน ตั้งแต่สมัยก่อนเมืองพุกามก็ว่าได้

แต่ในเขตพม่าตอนล่าง เขาสูงๆ ไม่ค่อยมี พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม ใกล้ปากแม่น้ำอิรวะดี สะโตง และสาละวิน บรรดาภูเขาที่มีอยู่มักเป็นลูกเตี้ยๆ ที่ทางพม่านิยมสร้างพระสถูปเจดีย์ขึ้นไว้ เช่น พระมหาเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งเป็นประธาน อยู่เหนือเมืองร่างกุ้ง เป็นต้น

แต่เดิม บริเวณนี้ไม่เป็นเมือง หากเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เมืองที่คนอยู่นั้น ตั้งอยู่ในที่ราบลุ่ม แต่เมื่อพวกอังกฤษ เอาพม่าเป็นเมืองขึ้น จึงได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ เป็นแบบทางตะวันตก ที่บริเวณรอบๆ พระเจดีย์ชเวดากองนี้ คือเมืองร่างกุ้ง ปัจจุบันพระเจดีย์ชเวดากอง ก็คือสัญลักษณ์ของภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ที่มองเห็นได้แต่ไกล เช่นเดียวกันกับ พระมุเตากลาง เมืองหงสาวดีของพวกมอญ ที่อยู่ถัดมาทางตะวันออก


เขาพอพา ที่สถิตของมหาคีรีนัต

ในบริเวณระหว่างปากแม่น้ำสะโตง กับแม่น้ำสาละวิน ก็มีภูเขาศักดิ์สิทธิ์ อีกแห่งหนึ่ง แต่เป็นเขาขนาดเล็ก ความสำคัญอยู่ที่บนยอดเขานี้ มีหินค่อนข้างกลม ก้อนใหญ่ก้อนหนึ่ง ตั้งอยู่โดยไม่ติดกับพื้น ซึ่งทำให้อาจลื่นไหลได้ ดูเป็นสิ่งมหัศจรรย์ มีผู้สร้างพระสถูป บนยอดก้อนหินนี้ เรียกว่าพระธาตุไจทียู หรือพระธาตุอินทร์แขวน เป็นสถานที่ ซึ่งทั้งมอญพม่า เลื่อมใสมากราบไหว้ รวมทั้งมีผู้เขียนตำนาน อธิบายความเป็นมาด้วย

ชนชาติจามหรือจามปา ซึ่งปัจจุบันความเป็นชาติ และบ้านเมือง ได้สูญสลายกลายเป็นส่วนหนึ่ง ของเวียดนามนั้น ในสมัยที่ยังมีตัวตนอยู่ ก็ได้ความสำคัญ ในเรื่องเขาศักดิ์สิทธิ์ เป็นอย่างมากทีเดียว โดยให้ความสำคัญ ทั้งเขาธรรมชาติ และการสร้างศาสนสถาน ที่เป็นสัญลักษณ์ของภูเขา

ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นเขาธรรมชาตินั้น คือภูเขาที่มีความโดดเด่น แลเห็นได้แต่ไกล จากหลายๆ มุม โดยมาก เขาประเภทนี้ จะมีความสัมพันธ์กับเมือง หรือท้องถิ่นใด ท้องถิ่นหนึ่ง อย่างเช่นในแคว้นอมราวดี อันเป็นที่ตั้งของเมืองยาเกียว และศาสนสถานสำคัญหลายแห่ง โดยเฉพาะ กลุ่มของโบราณสถานมิซอน ก็มีเขารังแมว เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ มองเห็นได้อย่างโดดเด่น


ปราสาทของพวกจาม ในกลุ่มโบราณสถาน มิซอน แลเห็นเขารังแมวอยู่เบื้องหลัง

ในเขตแคว้นปาณฑุรังคะ ซึ่งเป็นของพวกจามทางตอนใต้ ก็มีภูเขาลูกหนึ่ง เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ โดยที่ความศักดิ์สิทธิ์นั้น อยู่ตรงปลายแหลม บนยอดภูเขา ที่เด่นตรงออกมา คล้ายกับแท่งศิวลึงค์ เขาลูกนี้ เห็นได้ทั้งจากที่ราบภายใน และจากทะเล โดยเฉพาะจากทางทะเลนั้น เป็นสิ่งที่นักเดินเรือ อาจใช้สังเกต เป็นสัญลักษณ์ของภูมิประเทศ บ้านเมืองได้ ว่ามาถึงชายฝั่งทะเล ของเมืองอะไรแล้ว ดูเหมือนความโดดเด่นของภูเขา ที่มีเดือยคล้ายศิวะลึงค์อยู่บนยอดนี้ ได้มีผู้จดบันทึกไว้ ในจดหมายเหตุจีนโบราณ และเรียกภูเขาลูกนี้ว่าลิงคบรรพต เป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ ที่สำคัญของพวกจาม แต่สำหรับคนทั่วไป เมื่อเข้ามาใกล้เขาลูกนี้แล้ว ก็จะเห็นได้ว่าเดือย หรือแท่งหิน ที่สมมุติว่าเป็นแท่งศิวลึงค์ธรรมชาตินั้น แท้จริงก็คือ แท่งหินบนยอดเขาหินแกรนิต หรือหินอัคนีนั้นเอง

ในเมืองไทยก็มีเขา หินแกรนิต แบบนี้มากมาย แต่ทว่าไม่มีแท่งหิน โดดเด่นบนยอดเขาเช่นนี้ หากมักเป็นก้อนๆ อยู่รอบเขา หรือข้างเขาเสียมาก เช่น เขาหินซ้อน ในเขตอำเภอพนมสารคาม จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม มีเขาสูงอีกลูกหนึ่ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ในเขตเมืองจัมปาสัก ต่อกับจังหวัดอุบลราชธานีของไทย มีชื่อว่าภูเก้า สูงตระหง่าน อยู่เหนือที่ราบลุ่ม ของเมืองจัมปาสัก บนยอดเขามีเดือย หรือแท่งหิน ที่ดูคล้ายศิวลึงค์ธรรมชาติ เหมือนกัน แต่ไม่ทราบแน่ชัด ว่าเป็นภูเขาหินแกรนิตหรือไม่ ตรงไหล่เขา และตีนเขาลูกนี้ เป็นที่ตั้งปราสาทขอม ที่มีมาตั้งแต่สมัย พระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑ แห่งอาณาจักรกัมพูชา หรือเมืองพระนคร เรียกกันทั่วไปในปัจจุบันว่า ปราสาทวัดภู เป็นปราสาทขนาดใหญ่ และสวยงามไม่แพ้เขาพระวิหารทีเดียว

ถ้ามองดูหลักฐานทาง โบราณคดี ที่เกี่ยวข้องในบริเวณใกล้เคียง ก็พบว่า บริเวณที่เป็นเมืองจัมปาสักของลาวนั้น แต่เดิมมีเมืองขอม รูปสี่เหลี่ยม เกือบเป็นจัตุรัสตั้งอยู่ ปรากฏในศิลาจารึก เรียกว่าเมืองเศรษฐปุระ ปราสาทวัดภูนี้ คงมีความสัมพันธ์ กับเมืองเศรษฐปุระอย่างไม่ต้องสงสัย แต่นักโบราณคดี ก็พบหลักฐานที่เก่าแก่ไปกว่าสมัยขอมอีก คือ พบว่าเป็นบ้านเมือง ที่มีมาแต่สมัย ก่อนเมืองพระนคร หรือที่เรียกว่า สมัยเจนละ ก็ว่าได้ หลายคนตั้งข้อสันนิษฐานว่า เป็นเมืองสำคัญของแคว้นเจนละบกทีเดียว

ยิ่งกว่านั้น ก็พบศิลาจารึกของพวกจาม ที่ระบุว่า ดินแดนบริเวณนี้ เคยเป็นของพวกจามมาก่อน และมีพระนาม ของกษัตริย์จาม ที่ทรงพระนามว่า เทวนิกาอยู่ด้วย บางคนก็อ้างว่า ภูเก้าที่มีแท่งศิวลึงค์ธรรมชาติ อยู่บนยอดนั้น มีผู้เรียกว่า ลิงคบรรพต และเคยเป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ของพวกจามมาก่อน

อย่างไรก็ตาม ในที่นี้ ทั้งร่องรอยของเมืองเศรษฐปุระ ที่มีมาก่อน สมัยเมืองพระนคร ปราสาทวัดภู และภูเก้าที่มีศิวลึงค์ธรรมชาตินั้น ก็คือสิ่งที่แสดงให้เห็น ถึงความนึกคิดของคนจาม และขอมโบราณ ที่เกี่ยวกับการสร้างบ้านแปงเมือง อย่างเด่นชัด นั่นก็คือ บริเวณเมืองจัมปาสักนั้น เป็นพื้นที่ราบลุ่มที่ปลูกข้าวได้ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ที่เป็นเส้นทางคมนาคม ไปยังที่อื่นๆ เช่น เข้าไปในดินแดนลาว ไทย เขมร จาม และเวียดนามใต้ โดยมีเทือกเขาใหญ่ ที่มีภูเก้าเป็นประธานอยู่เบื้องหลัง สามารถใช้เป็นสัญลักษณ์ ทางภูมิทัศน์ และภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ที่โดดเด่นได้ จึงมีการสร้างบ้านสร้างเมือง และศาสนสถานสำคัญเกิดขึ้น และสืบทอดต่อมา จนเป็นเมืองจัมปาสัก ที่เป็นเมืองสำคัญ ของแคว้นจัมปาสักทีเดียว


ลิงคบรรพต เขาศักดิ์สิทธิ์ ในแคว้นปาณฑุรังคะ อันเป็นแคว้น ของพวกจามทางใต้


จากภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมธรรมชาติ ที่ตั้งของเมือง และความสัมพันธ์กับศาสนสถาน และภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ที่ภูเก้าดังกล่าวนี้ เป็นเหตุให้นักประวัติศาสตร์โบราณคดี ของฝรั่งเศส และชาติอื่นๆ มีความเห็นว่า เมืองสำคัญของเจนละบก อยู่ที่จัมปาสัก และวัดภูนี้ และจากบริเวณเมือง ที่เป็นศูนย์กลางของรัฐนี้ กษัตริย์เจนละองค์สำคัญ คือเจ้าชายจิตรเสนได้แผ่อำนาจเข้าปกครองพื้นที่ ในภาคอิสานของประเทศไทย ก่อนที่จะขยาย ลงไปยังที่ราบเขมรต่ำ แล้วสถาปนาความเป็นใหญ่ ในพระนามว่า มเหนทรวรมัน ผู้ทรงเป็นพระบิดาของ พระเจ้าอีศานวรมัน ที่มีอำนาจ ทั้งดินแดนเจนละบก และเจนละน้ำ

เรื่องนี้ นักประวัติศาสตร์ไทย เช่น รองศาสตราจารย์ ดร.ธิดา สาระยา แห่งคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอความคิด ที่ต่างออกไปในหนังสือ กว่าจะเป็นคนไทย ที่สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม จัดพิมพ์ขึ้นว่า ถิ่นเดิมของกษัตริย์มเหนทรวรมัน หรือจิตรเสนนั้น ไม่น่าจะอยู่ที่วัดภูจัมปาสักมาก่อน เพราะบริเวณนี้ เป็นดินแดนของพวกจาม ถิ่นฐานของจิตรเสน ถ้าพิจารณาจากหลักฐานทางโบราณคดี ชุมชนโบราณ และจารึกแล้ว จะพบในแถบลุ่มน้ำมูล - ชีตอนล่าง ตั้งแต่เขตจังหวัดยโสธรลงมา จนถึงจังหวัดอุบลราชธานี การขยายตัวก็คือ จากทางลุ่มน้ำมูล - ชี ผ่านขึ้นไปยังปากแม่น้ำมูล และริมฝั่งโขง ในเขตแคว้นจัมปาสัก เพราะมีร่องรอยการปักจารึกแสดงเขตอยู่ นั่นก็คือ การขยายตัวจากเขตไทย เข้าไปตั้งเมืองสำคัญ อยู่ที่จัมปาสักและวัดภูนั่นเอง

แต่สิ่งที่ติดใจมาก ที่สุดในที่นี้ ก็คือ ความเป็นลิงคบรรพต ของภูเก้าที่วัดภู ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นความนึกคิด และจินตนาการ ของพวกจามโดยแท้ เพราะนอกจากภูเก้าแล้ว ยังพบในเขตประเทศเวียดนาม ซึ่งครั้งหนึ่ง คือดินแดนจามตอนใต้ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ข้าพเจ้าได้ความรู้ เพิ่มเติมจากนายไมเคิล ไรท ผู้มีความรู้ทางศิลป วัฒนธรรม ของอุษาคเนย์อย่างกว้างขวาง ไมเคิล ไรท เรียกแท่งศิวลึงค์ธรรมชาติ บนยอดเขานี้ว่า "สวยัมภูวลึงค์" นับว่าเข้าท่าดี อีกทั้งให้ความกระจ่างเพิ่มเติม ขึ้นมาแก่ข้าพเจ้าอีกมาก ทำให้แลเห็นภาพเขาศักดิ์สิทธิ์ อีกหลายแห่ง ที่ไม่จำเป็นต้องสูงตระหง่านใหญ่โต ยังมีเขาลูกเล็กๆ หรือโขดหิน ที่นับเนื่องเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ได้ เช่นเดียวกันอีกหลายแห่ง ในความนึกคิด และจินตนาการของคนโบราณ


ปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์ ประดิษฐานพระสยัมภูวลึงค์ ไว้ภายใน

ที่อยู่ในการสังเกตของ ข้าพเจ้า ในที่นี้ก็คือปราสาทตาเมือนธม ในเขตอำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์แห่งหนึ่ง กับที่พระบาทเวินปลา ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนมอีกแห่งหนึ่ง

แห่งแรกคือ ปราสาทตาเมือนธม นั้น ตั้งอยู่บนโขดหิน ที่เป็นเนินตะพัก ของเทือกเขาพนมดงเร็ก ระหว่างเส้นแบ่งเขตแดนไทย - กัมพูชา ความเป็นเนินตะพักนี้ จะสังเกตไม่เห็น ถ้าหากยืนอยู่ในบริเวณปราสาท ในเขตประเทศไทย เพราะอยู่ในบริเวณที่สูง แต่ถ้าหากเดินลงไป ทางเขตกัมพูชาเล็กน้อย ก็จะแลเห็นความเป็นตะพัก และโขดหินในเขตประเทศไทย คือจะแลเห็นว่า โคปุระของปราสาทตา เมือนธมนั้น หันหน้าลงสู่ที่ราบต่ำเขมร และตั้งอยู่บนตะพักเขาทีเดียว

จากโคปุระมีทางเดิน เข้าไปถึงตัวปรางค์สำคัญ ซึ่งสร้างคร่อมทับ โขดหินศักดิ์สิทธิ์ของตะพักอยู่ พระศิวลึงค์ ที่อยู่ภายในองค์ปรางค์นี้ เป็นแท่งหินธรรมชาติ ที่ถากและเกลาให้เป็นแท่งกลม อีกทั้งมีท่อโสมสูตรต่อจากแท่นศิวลึงค์ ออกไปนอกตัวปราสาท ให้แลเห็นด้วย

ปรางค์หรือปราสาท ประธาน ที่สร้างคร่อมทับโขดหินศักดิ์สิทธิ์ ที่เรียกได้ว่า "สวยัมภูวลึงค์" นี้ไม่ได้มีขนาดใหญ่ หากเป็นขนาดเล็ก ดูสวยงาม แต่ก่อนเคยมีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นโอบไว้ ดูเด่นและสง่าดี ต่อมา ไม่ทราบว่ามีนักโบราณคดีที่ไหน มาทำการบูรณะปราสาทหลังนี้ โดยไม่สังเกต ได้โค่นตัดต้นไม้นี้เสีย แล้วบูรณะปราสาทไปอย่างที่เข้าใจ โดยมิได้สนใจ ถึงความสัมพันธ์ระหว่าง โขดหินศักดิ์สิทธิ์ และปราสาทประธานแม้แต่น้อย

ข้าพเจ้าคิดว่า ด้วยความมีอยู่ของโขดหินศักดิ์สิทธิ์ ณ บริเวณนี้เอง ที่ทำให้เกิดการสร้างปราสาทตา เมือนธมขึ้นมา เป็นจุดสำคัญบนเส้นทางคมนาคม ระหว่างที่ราบสูงโคราช กับเขมรต่ำ บนช่องเขาพนมดงเร็ก และจากความสำคัญดังกล่าวนี้ ก็เป็นผลไปถึงการสร้างปราสาทตาเมือน(ปราสาทไบครีม) และปราสาทตาเมือนโต๊จ ซึ่งเป็นธรรมศาลา และอโรคยาศาลขึ้นตามมา ให้เป็นแหล่งชุมชน ที่สำคัญบนเส้นทางคมนาคม

การค้นคว้า และหาความหมายความสำคัญในเรื่องนี้ จะทำให้แหล่งโบราณสถาน ที่ทางรัฐบาล จัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งนี้ เป็นสิ่งน่าสนใจแก่ผู้ใฝ่หาความรู้ อีกไม่น้อยทีเดียว


"โกศพันธุรัตน์" แท่งหินซึ่งมีลักษณะ เป็นยอดจุกในพืดเขาเจ้าลาย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
ปัจจุบันถูกระเบิด เอาหินไปทำปูน


ส่วนโขดหินศักดิ์สิทธิ์แหล่งที่สอง ก็คือพระบาทเวินปลา ที่จังหวัดนครพนม เป็นโขดหินอยู่ริมแม่น้ำโขง ห่างจากฝั่งเล็กน้อย ผู้คนสามารถเดินตามโขดหินเล็กๆ ไปถึงได้ในหน้าแล้ง ซึ่งระดับน้ำในแม่น้ำโขงไม่สูงนัก แต่ถ้าเป็นในฤดูน้ำมาก จะเข้าไปไม่ถึง

ตรงกลางของโขดหินนี้ มีรอยสึกกร่อนจากการกระทำของน้ำ ทำให้แลดูเป็นแอ่งคล้ายเท้าคน ตรงนี้เอง ที่คนลาวโบราณสังเกต และนำไปอธิบายว่า เป็นรอยพระพุทธบาท จนมีการสร้างตำนาน และมีประเพณีพิธีกรรม ในการมาสักการะบูชา และบันทึกไว้ ในตำนานพงศาวดาร เช่น ตำนานอุรังคธาตุ เป็นต้น

ถ้ามองดูอย่าง คร่าวๆ เฉพาะตัวโขดหิน ที่สมมุติว่ามีรอยพระพุทธบาทนั้น ก็ไม่น่าเตะตาอะไร แต่ถ้ามองอย่างกว้างๆ โดยเน้นให้สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมธรรมชาติโดยรอบแล้ว ก็นับว่าแปลก เหตุที่ว่าแปลกนั้น ก็เพราะตรงนี้ เป็นบริเวณที่เป็นเวิ้งน้ำใหญ่ ของลำแม่น้ำโขง น้ำเชี่ยว และมีวังน้ำวน พื้นที่สองฝั่งน้ำเป็นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะทางฝั่งไทย การมีโขดหินอยู่ริมแม่น้ำ ในภูมิประเทศแบบนี้ยิ่งดูแปลก แต่จะมีความสัมพันธ์ กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ หรือการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ในบริเวณสองฝั่งแม่น้ำหรือไม่นั้น ยังไม่มีการค้นคว้ากัน ทว่าสิ่งที่ปรากฏในตำนานก็คือ ชาวบ้านเชื่อว่า ในเวิ้งน้ำใหญ่ของแม่น้ำโขงแห่งนี้ ในปางก่อนเป็นที่สถิต ของพระยาปลา ผู้ต่อมาได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า และเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระอดีตชาติ พระพุทธเจ้าจึงเสด็จมาประทับรอยพระพุทธบาทไว้ ณ โขดหินแห่งนี้ เรียกว่าพระพุทธบาทเวินปลา และบนรอยธรรมชาติ ที่สมมุติว่าเป็นรอยพระพุทธบาท ก็ได้มีผู้มาสลักร่องรอย เป็นรูปดอกบัวอยู่ในวงกลมไว้กลางรอย เพื่อแสดงให้เห็น ถึงความศักดิ์สิทธิ์อย่างสมจริง

ความต่างกันระหว่าง สวยัมภูวลึงค์ ที่ปราสาทตาเมือนธม ของพวกขอมโบราณ กับพระบาทเวินปลา ของพวกลาวโบราณก็คือ สวยัมภูวลึงค์ของขอม เป็นเรื่องสัญลักษณ์ทางศาสนาฮินดู ที่ในปัจจุบันนี้ ประเพณีพิธีกรรม และความเชื่อดังกล่าว ได้เปลี่ยนแปลงไปหมดสิ้นแล้ว ส่วนพระบาทของคนลาว เป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งทั้งความเชื่อ ตลอดจนประเพณีพิธีกรรมยังคงดำรงอยู่

จะเห็นได้ว่าพระบาท เวินปลานั้น ในยามปรกติ ก็เป็นแต่เพียงของที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพียงอยู่ในเขตวัดพระบาทเท่านั้น ไม่ใคร่มีใครมาเกี่ยวข้องด้วย แต่ในยามฤดูเทศกาล จะมีผู้คนจากทุกสารทิศ เดินทางมากราบไหว้ มีพิธีกรรมและงานแข่งเรือ ระหว่างคนทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง นับเป็นประเพณีบุญ ที่ตอบสนองความสุขทางจิตใจ และความสัมพันธ์ทางสังคม ทั้งระหว่างคนในท้องถิ่นเดียวกัน และกับคนภายนอก ทั้งสองฝั่งโขงด้วย

ส่วนทางของขอมนั้น เหลือแต่เพียงร่องรอยโบราณสถานให้เห็น ไม่อาจทราบได้ถึงความสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ ประเพณีพิธีกรรม เพราะคนที่เกี่ยวข้องหมดไปแล้ว

ขณะเดียวกัน ความเหมือนกันระหว่างสวยัมภูวลึงค์ ของปราสาทตาเมือนธม กับพระบาทเวินปลา ก็คือการที่คนให้ความสำคัญ แก่โขดหินศักดิ์สิทธิ์ในทำนองเดียวกัน แลเห็นโครงสร้างความคิด ที่เป็นแบบเดียวกัน คือกลุ่มคนในท้องถิ่น ที่สัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศทางธรรมชาติ และสิ่งที่มีอำนาจนอกเหนือธรรมชาติ ความสัมพันธ์กันทั้งสามอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ตอบสนองการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ทั้งในมิติทางสังคม และจิตวิญญาณ


เขาวงกฎ เป็นเขาศักดิ์สิทธิ์ ในเขตอำเภอบ้านหมี่ มาแต่สมัยทวารวดี
แต่ถูกทำลายเพราะคนระเบิดเอาหินมาทำปูน


ในเมืองไทยเรา การสร้างบ้านแปงเมือง ที่สัมพันธ์กับภูเขาศักดิ์สิทธิ์นั้น นับว่าเป็นความสัมพันธ์ ที่เป็นสากล เช่นเดียวกับที่อื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้ มีทั้งกับภูเขาที่เป็นธรรมชาติ และภูเขาที่ทำเทียมขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์ ทั้งสองอย่างนี้ ต่างก็แลเห็น และยืนยันได้ จากหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ ประเพณีความเชื่อ และพิธีกรรม ที่บางอย่างก็สูญหายไปแล้ว แต่หลายๆ อย่างก็ยังคงทำสืบทอดกันเรื่อยมา

อาจกล่าวได้ว่า บรรดาเมืองโบราณในประเทศไทย ที่มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดีนั้น ถ้าหากไม่สัมพันธ์กับภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นธรรมชาติ ก็จะสัมพันธ์กับภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นของสร้างเทียมขึ้นมา ในรูปของพระสถูปเจดีย์ ที่เรียกว่าพระมหาธาตุ หรือธาตุ อันเป็นของเนื่องในพระพุทธศาสนา แต่ถ้าเป็นของเนื่องในศาสนาฮินดู หรือพุทธมหายานแล้ว ก็จะถูกสร้างขึ้นในรูปของปราสาทหรือปรางค์แทน

เมืองที่เห็นความ สัมพันธ์ดังกล่าวได้ชัดเจน และอาจนำมากล่าวถึง เป็นอันดับแรกในที่นี้ ก็คือเมืองสุโขทัย

ตัวเมืองสุโขทัย ตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขาหลวง ซึ่งเป็นเขาสูงใหญ่อยู่ทางทิศใต้ แลเห็นตระหง่านแต่ไกล ผู้รู้ในท้องถิ่นบางคนบอกว่า มีลักษณะคล้ายกับพระนอน เขาลูกนี้ ตรงกับข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ (จารึกพ่อขุนรามคำแหง) ที่กล่าวว่า

"...เบื้องหัวนอน เมืองสุโขทัยนี้ มีกุฎี พิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส มีป่าพร้าวป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุงผี เทพยดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้...."

จากข้อความนี้จะเห็น ได้ว่า ความเชื่อเกี่ยวกับ พระขพุงผี บนเขาหลวงหาใช่เป็นเรื่องของพระพุทธศาสนาไม่ แต่เป็นความเชื่อของคนในท้องถิ่น รวมทั้งของคนไทยครั้งสุโขทัย ที่น่าจะมีมาก่อน การนับถือพระพุทธศาสนา

แต่ในที่นี้ เห็นว่าอาจจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น และมีอยู่พร้อมๆ กันก็ได้

นั่นก็คือคนสุโขทัย ครั้งพ่อขุนรามคำแหง และสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทย ต่างก็นับถือผี และพุทธพร้อมกันไปทั้งสองอย่าง อีกทั้งเป็นสิ่งที่คนโบราณ พยายามสร้างความสัมพันธ์ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดังจะเห็นได้ว่า มีการสร้างพระสถูปเจดีย์ และวัดขึ้นตามบริเวณต่างๆ ของเขาหลวง โดยเฉพาะให้เป็นแหล่งพำนัก ของบรรดาพระภิกษุ ฝ่ายอรัญวาสี ซึ่งกระจายกันอยู่ ตั้งแต่เขาตะพานหิน เขาพระบาทน้อย เขาพระบาทใหญ่ ทางตะวันตกของเมืองสุโขทัย ไปจนถึงทางทิศใต้ เข้าเขตเขาหลวง

แม้แต่บนเขาหลวงเอง ก็มีร่อยรอยของโบราณสถานเป็นระยะๆ ไป ยิ่งกว่านั้นจากการสำรวจ และค้นคว้าทางโบราณคดี เมื่อไม่นานมานี้ ก็พบร่องรอยของศาสนสถาน ทั้งฮินดู และพุทธมหายาน สมัยก่อนราชวงศ์พระร่วง ในบริเวณดังกล่าวนี้ด้วย โดยเฉพาะศาสนสถานของศาสนาฮินดูนั้น ดูเด่นเป็นพิเศษ เป็นปราสาทแบบขอม มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๗ สร้างบนยอดเขาปู่จ่า ซึ่งเป็นเขาลูกเตี้ยๆ ในซอกเขาที่อยู่ในบริเวณเขาหลวง โดยที่ก่อนหน้านี้เมื่อนานมาแล้ว ก็มีผู้พบเทวรูปสตรี ในโซกพระแม่ย่า ที่อยู่ในเขตเขาหลวงอีกเช่นกัน

ปัจจุบัน ทางราชการได้นำรูปเทวสตรีนี้ ไปประดิษฐานไว้ ที่จังหวัดสุโขทัย เพื่อให้เป็นที่สักการะ ของชาวสุโขทัย ในลักษณะที่เป็นเทพเจ้าผู้คุ้มครองเมือง

ถ้ามองให้ลึกลงไป จากหลักฐานทางด้านโบราณคดี ศิลาจารึก และโบราณสถาน ก็จะเห็นได้ว่า ภูเขาหลวงที่ตระหง่าน อยู่เหนือเมืองสุโขทัยนั้น คือที่สถิตของสิ่งที่มีอำนาจ ของท้องถิ่น ซึ่งคนสุโขทัยต้องพึ่งพิง และอ้างอิง เพื่อการดำรงอยู่ร่วมกันทางสังคมอย่างราบรื่น

จากความเชื่อดัง กล่าว ได้นำไปสู่การเกิดขึ้น ของประเพณีพิธีกรรมทั้งในรอบปี และในเวลาพิเศษ ที่ตอกย้ำการดำรงอยู่ ของอำนาจในด้านจิตวิญญาณ และในขณะเดียวกัน ก็สร้างความเป็นปึกแผ่นทางสังคมให้เกิดขึ้น เพราะประเพณีพิธีกรรม เป็นสิ่งที่ทำให้คนชาวเมืองสุโขทัย ต่างมาพบปะสังสรรค์กันในทางสังคม แต่ที่น่าเสียดายก็คือ ไม่มีข้อมูล และหลักฐานให้เห็นถึงรูปแบบ และโครงสร้างของพิธีกรรมเหล่านี้ ในสมัยต่อมา

การสืบทอดความสำคัญ ของเขาหลวง ในฐานะภูเขาศักดิ์สิทธิ์ กลับมีกล่าวถึงในตำนานเมืองสุโขทัย ซึ่งน่าจะเขียนขึ้นในสมัยอยุธยา อันเป็นเรื่องของคน ในสมัยหลังราชวงศ์พระร่วง นั่นคือตำนานกล่าวว่า บนยอดเขาหลวง มีปล่องลึกลงไปในบาดาล เป็นช่องที่นางนาค ขึ้นมาเที่ยวเล่น เผอิญมีกษัตริย์องค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ศรีธรรมาโศกราช ขึ้นมาจำศีล ณ ที่นั้น ได้พบเห็น และได้เสียกับนางนาค จนตั้งครรภ์ขึ้นมา แล้วมีโอรสออกมา คือพระร่วง ทำให้เกิดตำนาน เกี่ยวกับการผจญภัยของพระร่วง ผู้เป็นกษัตริย์สุโขทัยขึ้น ในลักษณะต่างๆ ที่อาจนำไปวิเคราะห์ศึกษา ทางด้านมานุษยวิทยาได้อีกมากมาย

แต่ที่จะกล่าวถึง เพียงเล็กน้อยในที่นี้ก็คือ เรื่องราวของพระร่วง ในฐานะที่มีชาติกำเนิด สัมพันธ์กับอำนาจนอกเหนือธรรมชาติ (คือเป็นลูกนางนาค) นี้ ได้ทำให้เกิดชื่อสถานที่ ตามบ้านเมือง และท้องถิ่นต่างๆ ในแวดวงของแคว้นสุโขทัย และบ้านเมืองใกล้เคียงอีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่น แก่งหลวงที่เมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งเชื่อกันว่า เป็นบริเวณที่พระร่วง ได้มาเล่นน้ำแล้วหายไป ซึ่งตำนาน ก็พยายามชี้ให้เห็นว่า กลับไปอยู่กับนางนาค ผู้เป็นมารดาในบาดาล


ปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์ ประดิษฐาน พระสยัมภูวลึงค์ ไว้ภายใน

เมืองศรีเทพ นับเป็นเมืองโบราณอีกแห่งหนึ่ง ที่ให้ความสำคัญ กับภูเขาศักดิ์สิทธิ์อย่างโดดเด่น ไม่แพ้เมืองสุโขทัย ถึงแม้จะไม่มีศิลาจารึก หรือตำนานใด ที่กล่าวถึงความสำคัญของภูเขา ที่มีต่อเมือง แต่การดำรงอยู่อย่างโดดเด่น ของเขาถมอรัตน์ และถ้ำโบราณสถาน ที่ศักดิ์สิทธิ์ทางทิศตะวันตก ของเมืองศรีเทพ คือการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ เชิงอำนาจอย่างแท้จริง

จากหลักฐานทาง โบราณคดี เมืองศรีเทพ พัฒนาขึ้นจากชุมชน ที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยเหล็ก มีอายุตั้งแต่ราว ๒,๕๐๐ ปีลงมา ตัวเมืองตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมทางบก จากลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผ่านลุ่มน้ำป่าสัก ในหุบเขาเพชรบูรณ์ ตัดผ่านช่องเขาดงพระยากลาง ขึ้นไปยังบริเวณต้นลำน้ำช ี - มูลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีแว่นแคว้นโบราณ ในสมัยทวารวดีมากมาย เมืองศรีเทพจึงเป็นเป็นแหล่งชุมทางคมนาคม ที่สำคัญในบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก

ความสำคัญดังกล่าว นี้ แลเห็นได้จากซากเมืองโบราณ ที่มีคูน้ำ และคันดินขนาดใหญ่ล้อมรอบ อาจนับเป็นที่สอง รองจากเมืองนครปฐมโบราณ หรือนครชัยศรีเท่านั้น ภายในเมือง และรอบๆ เมือง พบร่องรอยโบราณสถานวัตถุมากมาย นับตั้งแต่สมัยทวารวดี มาจนถึงลพบุรี ล้วนเป็นของที่มีคุณค่า ทางศิลปวัฒนธรรมที่สะท้อนให้เห็น ถึงฐานะและความสำคัญของเมือง ที่เป็นเมืองใหญ่ ของแคว้นใดแคว้นหนึ่ง อย่างชัดเจน

แต่ความโดดเด่นทาง ภูมิทัศน์ของเมือง ดูเหมือนอยู่ที่ภูเขาถมอรัตน์ ซึ่งอยู่ห่างจากเมือง ไปทางตะวันตกประมาณ ๑๒ กิโลเมตร เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้ผู้สัญจรไปมา แต่โบราณได้รู้ว่า ถ้าเห็นเขาลูกนี้ หรือเมื่อใกล้เขาลูกนี้แล้ว ก็เข้ามาถึงเขตเมืองศรีเทพแล้ว


พระบาทเวินปลานครพนมในฤดูน้ำ เห็นเป็นก้อนหินโผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมาเพียงเล็กน้อย

การเป็นสัญลักษณ์ทางภูมิทัศน์ ของเขาถมอรัตน์ กับเมืองศรีเทพนี้ เปรียบเทียบได้กับบรรดาภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ของพวกจามปาในประเทศเวียดนาม ซึ่งเคยเป็นอาณาจักรเก่าแก่ ตัวอย่างเช่น ความสัมพันธ์ระหว่างศาสนสถานบนเนินเขา ที่เรียกว่ามิซอน เมืองยาเกียวที่อยู่บนที่ราบลุ่ม และภูเขารังแมวที่เห็นได้แต่ไกล

ที่เมืองศรีเทพ ความสัมพันธ์ระหว่างเมือง กับภูเขาแลเห็นได้ชัดเจน จากที่เมื่อยืนอยู่กลางเมือง หันหน้าไปทางตะวันตก ซึ่งก็จะพบว่า มีภูเขาสูงตระหง่านอยู่เบื้องหน้า แต่ที่สำคัญก็คือ ศาสนสถานสำคัญสองแห่ง ของเมือง คือปรางค์ใหญ่ และปรางค์สองพี่น้อง ซึ่งเป็นปราสาทอิฐแบบขอม อายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ ลงมานั้น ล้วนแต่หันหน้าไปทางตะวันตก สู่เขาถมอรัตน์ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่แตกต่างจากปราสาทขอมทั่วไป ที่มักจะหันหน้า ไปทางตะวันออก

ในขณะเดียวกัน เขาถมอรัตน์ ก็มีสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ จากการที่มีถ้ำอยู่บนยอดเขา ภายในถ้ำเป็นศาสนสถาน ที่มีอายุตั้งแต่สมัยทวารวดี พบพระพุทธรูปประทับยืน แบบทวารวดีสลักนูนสูง บนโขดหินตรงหน้าถ้ำ และผนังถ้ำก็มีภาพสลัก ของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระเมตไตรยโพธิสัตว์ รวมทั้งลวดลายปูนปั้น ประดับมากมาย จากรูปแบบทางศิลปกรรม อาจคาดคะเนได้ว่า โบราณสถานวัตถุภายในถ้ำ ที่น่าจะมีอายุตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ ลงมา อันเป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนามหายาน แพร่หลายจากอาณาจักรศรีวิชัย เข้ามาผสมผสานกับพุทธศาสนา ของบ้านเมืองในวัฒนธรรมทวารวดี ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๒ ลงมาแล้ว

เพราะฉะนั้น การสร้างถ้ำศาสนสถาน และการให้ความสำคัญแก่เขาถมอรัตน์ ในฐานะเขาศักดิ์สิทธิ์ ที่เป็นสัญลักษณ์ทางภูมิทัศน์ และการคมนาคมนั้น คงเกิดขึ้นเมื่อมีการขยายเส้นทางการค้าขาย ที่มาจากศรีวิชัย และตัดข้ามไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะเวลานี้ ยังสัมพันธ์กันกับการเติบโต ของเมืองศรีเทพด้วย เพราะศาสนสถานกลางเมือง ซึ่งเรียกกันว่า คลังใน ที่มีอายุเก่าแก่ ก่อนพระปรางค์ใหญ่ และปรางค์สองพี่น้องนั้น เมื่อทางกรมศิลปากรขุดแต่งแล้ว หลักฐานที่พบก็ได้เผยให้เห็นอิทธิพล ของศาสนสถานวัดโขลง เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี อันเป็นเมืองที่มีอายุ ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๓ ลงมา อีกทั้งได้รับอิทธิพล ทางด้านศิลปวัฒนธรรม มาจากทางศรีวิชัยอยู่ไม่น้อย

เมื่อเปรียบเทียบกับ เขาหลวง ของเมืองสุโขทัย เขาถมอรัตน์ ก็คือที่สถิตแห่งอำนาจ ของเมืองศรีเทพ และบรรดาชุมชนบ้านเมืองในท้องถิ่น หรือถ้าหากเมืองศรีเทพ เป็นเมืองศูนย์กลางของอาณาจักร หรือแว่นแคว้นในลุ่มน้ำลพบุรี - ป่าสักแล้ว เขาถมอรัตน์ ก็คือที่สถิตของเทพเจ้า ผู้คุ้มครองแว่นแคว้นนี้ด้วย

เมืองศรีเทพเป็นเมืองใน สมัยทวารวดี ที่มีอายุเก่าแก่กว่าเมืองสุโขทัย การร้างไปของเมืองศรีเทพ ตั้งแต่สมัยลพบุรี คือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ นั้น นอกจากร่องรอยของโบราณสถานวัตถุแล้ว ก็ไม่มีตำนาน หรือประเพณีพิธีกรรม ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองศรีเทพ และเขาถมอรัตน์ เหลือให้เห็นอีก แต่ทว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเขาถมอรัตน์น่าจะยังสถิตอยู่ จึงแสดงอภินิหาร ให้ปรากฏแก่บรรดาคนใจร้าย ที่ทำลาย และลักขโมยของโบราณ อย่างที่ไม่มีใครเคยคาดคิดมาก่อน

เรื่องเกิดขึ้น เมื่อประมาณกว่า ๓๐ ปีมาแล้ว โดยได้มีคนร้ายบุกเข้าไปในถ้ำเขาถมอรัตน์ ลอบตัดพระเศียรพระพุทธรูป และเทวรูปพระโพธิสัตว์ ลงมาจนหมดสิ้น ทำให้เหลืออยู่แต่เพียงองค์พระพุทธรูป และเทวรูปเศียรขาดอยู่จนทุกวันนี้ ต่อมาไม่นาน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ และกรมศิลปากรสืบได้ว่า เศียรพระที่ถูกลอบตัดไปนั้น ตกไปอยู่ในความครอบครอง ของนายจิม ทอมป์สัน ราชาเจ้าของกิจการไหมไทยที่ร่ำรวย จึงได้ดำเนินการขอคืน ทำให้นายทอมป์สันโกรธมาก ถึงขนาดล้มเลิกเจตนารมณ์เดิมของเขา ที่ต้องการจะยกพิพิธภัณฑ์ส่วนตัว ให้แก่ทางรัฐบาลไทย

มีคนหลายคนเคยพูด หรืออย่างน้อยก็เชื่อว่านายจิม ทอมป์สัน มีส่วนรู้เห็น ในการจ้างคนขึ้นไปตัดเศียรพระพุทธรูป และเทวรูปในถ้ำศักดิ์สิทธิ์ บนเขาถมอรัตน์ แต่ทางราชการ ก็ไม่มีหลักฐานที่จะเอาความผิดได้ จึงเป็นเหตุให้ดูเหมือนว่า ครั้งนี้อำนาจนอกเหนือธรรมชาติ จะต้องเป็นฝ่ายจัดการลงโทษเสียเอง

เพราะปรากฏต่อมาอีก ไม่นานว่า นายจิม ทอมป์สัน ได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย ขณะอยู่ในระหว่างการท่องเที่ยวบนเขา ที่อยู่ใกล้เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย บ้างว่าถูกสัตว์ป่าคาบเอาไปกิน บ้างว่าถูกพวกผู้ก่อการร้ายลักตัวเอาไปฆ่า แต่ที่สำคัญก็คือ ความวิบัติที่เกิดขึ้นนั้น หาได้อยู่ที่ตัวนายทอมป์สัน แต่เพียงผู้เดียวไม่ หากเกินเลย ไปถึงการเสียชีวิต ลงด้วยสาเหตุอันประหลาด ของบรรดาญาติพี่น้อง ของนายจิม ทอมป์สัน ที่อยู่ในอเมริกาด้วย



ขอขอบพระคุณ : วารสารเมืองโบราณ


บทความจาก - อ.ส.ท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
ศูนย์รวมโบราณวัตถุ วัฒนธรรมภาคตะวันออก


- หุ่นละครเล็ก ฟื้นฟูชีวิตหุ่นละครเล็ก ณ โรงละครโจหลุยส์

- อรรธนารีศวร ศิลปะชิ้นเยี่ยม
ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี


- พระพิฆเนศทรงช้างเอราวัณ ที่บ้าน ๑๐๐ อัน ๑๐๐๐ อย่าง
ตำบลหารแก้ว อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่


- พระอิศวร มหาเทพนับพันชื่อ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร


- โขนชักรอก สมบัติศิลป์ที่เกือบจะสูญสิ้น

บทความจาก - วารสารเมืองโบราณ

- มหาภารตะในอารยธรรมเขมร
และภาพสลักที่ระเบียงคด ปราสาทนครวัด


- สุริยัน จันทรา และราหู ที่ปราสาทพนมรุ้ง
ข้อสังเกตทางโบราณดาราศาสตร์


- ตาควาย - ปราสาทร้างกลางความคลุมเครือ

- มัณฑละเชิงเขาหลวง :
หนึ่งในฐานเศรษฐกิจของรัฐตามพรลิงค์


- ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ กับความเป็นสากล

- บูชาดาวนพเคราะห์ที่ "วัดญวนบางโพ"

- ชุมชนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดทองนาปรัง
ย่านบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี


- วัดวิษณุ - พลิกปูมวัดวิษณุ สมาคมฮินดูธรรมสภา
ศูนย์กลางชุมชนชาวอุตตรประเทศในกรุงเทพมหานคร


- วัดวิษณุ - นวราตรี : ทุรคาบูชา ณ วัดวิษณุ ยานนาวา

- เขายักษ์ - แหล่งภาพสลักพระศิวะกลางป่าตาพระยา

- เทวาลัยไม้สมัยคุปตะที่หิมาจัลประเทศ

- ศาลาแก้วกู่ : มหัศจรรย์สถานแห่งหนองคาย


---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม ----------------
หน้าแรก-องค์เทพ (สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง

, พระศิวะ พระอิศวร , พระราม รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค

พระแม่อุมาเทวี เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี ,
พระแม่สรัสวตี พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี ,
พระขันทกุมาร การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน ,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

ท้าวจตุโลกบาล - เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ ,
ท้าวเวสสุวัณ ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี , พระแม่โพสพ

--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
,
ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก , เสาชิงช้า
,
พระพิฆเนศนครนายก พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
,
พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ

- พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
- พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
- พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
- รวมรูปองค์เทพ | - รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | - รวมความรู้การบูชาองค์เทพ

โครงการ "พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย

ศาลพระพิฆเณศวร์ เทวาลัยพระศิวะ วัดแขก โบสถ์พราหมณ์ เทวสถาน | เทวาลัยพระวิษณุ ศาลพระพรหม วัดแขก พระแม่อุมาเทวี

----------------- เทศกาล งานสำคัญต่างๆ -----------------
- "คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์ วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
- "นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
- "มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
- "ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
- "พระราชพิธีตรียัมปวาย" งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์ แผนที่โบสถ์พราห์ม
, พระราชพิธีแรกนาขวัญ งานแรกนาขวัญ

[ การบูชาเทพเจ้า ]
- รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ


- ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
- เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา | - เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ

- สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์ | - ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
- ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
- ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก | - ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
- พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้ | - พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
- พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี | - อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
- คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก

- การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
- บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ | - พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
- พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ | - พญานาค การบูชาองค์พญานาค | - ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
- รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี การบูชาพระแม่อุมาเทวี | - องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
- พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ ปางของพระวิษณุ | - องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี

- ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | - การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
- การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า | - พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
- ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
- พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ | - การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
- เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม พระแม่กวนอิมปางต่างๆ

[ เรื่องร่างทรง ]
เรื่องร่างทรง 1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 2 - คนมีองค์ กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 4 - การรับขันธ์ อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 5 - ตอบคำถามร่างทรง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 6 - ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง 7 - รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)

[ พระศิวะมหาเทพ ]
1. ตำนานพระศิวะ | 2. รูปลักษณ์ แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ  |  3. เมล็ดรุทรักษะ เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4. โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ สัตว์ศักดิ์สิทธิ์  |  5. ศิวะนาฏราช พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6. ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การบูชาศิวลึงค์  |  7. คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ

[ พระประจำวันเกิด , นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ (พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์ 
พระประจำวันเกิด พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร ,
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์  , พระประจำวันเสาร์ พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ

รวมโองการเชิญเทพ / บทไหว้ครู / กลอนไหว้ครูของไทย
สำหรับผู้ศรัทธาในเทพทุกระดับชั้น เพื่อการบวงสรวงบูชาเทพในพิธีอันเป็นสิริมงคลต่างๆ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ ขอพรพระคเณศ
โองการเชิญเทพ - พระราชนิพนธ์ บทเสมาสามัคคีเสวก
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 1
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 2
เชิญเทพ โดย ขุนสารประเสริฐ 3
นมัสการเทพ (สามัคคีประเภทคำฉันท์)
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 1
เชิญเทพ - กรมพระยาเดชาดิศรฯ 2
เชิญเทพ - ร.6 (เสื้อเมือง หลักเมือง)
เชิญเทพ - รัชกาลที่ 6 (ทวยเทพ)
โองการเชิญเทพ - บวงสรวงท้าวโลกบาล
บทอัญเชิญเทพประจำเมือง



อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ และ นักเขียนหนังสือองค์เทพ







อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย นักเขียนหนังสือการบูชาองค์เทพ
เจ้าของเว็บไซต์สยามคเณศ Siamganesh.com
ผู้เผยแพร่ความรู้ในการบูชาองค์เทพคนสำคัญของไทย

สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่




สั่งซื้อหนังสือ คลิกที่นี่









สั่งซื้อหนังสือ
ผลงาน อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
คลิกที่นี่



ติดต่อสยามคเณศได้ที่ siamganesh@gmail.com
Facebook : สยามคเณศดอทคอม
Facebook : มหาบูชา
ขออำนาจแห่งพระพิฆเนศวรโปรดดลบันดาลให้ท่านทั้งหลายล้วนประสบแต่ความสำเร็จในทุกๆประการด้วยเทอญ
สงวนลิขสิทธิ์ SiamGanesh.com, All Rights Reserved.