ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๐ ได้ปรากฏอิทธิพลศาสนาของอินเดีย
คือพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย ซึ่งนับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นเทพสูงสุดขึ้นในคาบสมุทรไทยแล้ว
ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ซึ่งเคารพนับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพสูงสุด
ก็ได้สถาปนาอย่างมั่นคงในรัฐตามพรลิงค์ อันมีเมืองโบราณนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลาง
โดยในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ คณะพราหมณ์ของพระอคัสตยะ ก็ได้อภิเษกผู้นำของรัฐตามพรลิงค์ขึ้นเป็นเทพ
- กษัตริย์ (God - King) แห่งรัฐ เรียกว่า "ตามพรลิงเคศวร"
ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖ ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายได้เป็นพลังผลักดันที่สำคัญ
แห่งพัฒนาการของรัฐตามพรลิงค์ โดยเทพ - กษัตริย์ แห่งรัฐทรงสถาปนาระบบมัณฑละ
(mndala) ขึ้น ด้วยการสถาปนาสภาพภูมิประเทศศักดิ์สิทธิ์ ให้เป็นตีรถะ
(Tirtha) จำนวนมากมาย รวมทั้งได้สร้างเทวาลัยขึ้นในตีรถะเหล่านั้น
เพื่อการจาริกแสวงบุญ ตามระบบความเชื่อในศาสนาด้วย ตีรถะแต่ละแห่งถูกสร้างขึ้น
ในรูปของภาพจำลองแผนภูมิจักรวาล หรือมัณฑละอันศักดิ์สิทธิ์ อันมีพระศิวะประทับอยู่
ณ จุดศูนย์กลางของมัณฑละ ในลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์รูปศิวลึงค์
รวมทั้งในลักษณะที่เป็นยอดเขา ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เรียกว่า
ลิงคบรรพต อาทิ ยอดเขาในมัณฑละ ณ เขาคา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช
ยอดเขาในมัณฑละ ณ หัวเขาบน (เขาศรีวิชัย) อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ยอดเขาในมัณฑละ ณ เขาคูหา อำเภอ สทิงพระ จังหวัดสงขลา และยอดเขาในมัณฑละ
ณ เขาพระเหนอ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นต้น
ในขณะเดียวกัน ตามระบบความเชื่อเกี่ยวกับแม่น้ำคงคา อันเป็นที่มาของน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งมวลของลัทธิไศวนิกาย
นอกจากจะมีการสถาปนาน้ำตกหลายแห่ง ซึ่งเป็นที่เกิดของแม่น้ำลำคลองภายในรัฐแห่งนี้
เป็นตีรถะแล้ว ยังมีการสลักร่องน้ำ และหน้าผาเชื่อมต่อออกมาจากยอดเขาที่เป็นลิงคบรรพต
ให้มีลักษณะเป็นหน้าผาน้ำตก เพื่อให้สอดคล้องกับระบบความเชื่อ
และเทพปกรณัมที่เกี่ยวกับแม่น้ำคงคาด้วย
การสร้างสรรค์ตาม ระบบความเชื่อดังกล่าว ได้ส่งผลให้แม่น้ำลำคลองที่สำคัญภายในรัฐ
มีฐานะเป็นพระแม่คงคาศักดิ์สิทธิ์ และศิลาจารึกบางหลักได้สะท้อนให้เห็นว่า
รัฐให้ความคุ้มครองอย่างเต็มที่ ตลอดแนวยาวของแม่น้ำลำคลองที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น
ล้วนมีตีรถะที่สำคัญตั้งอยู่อย่างหนาแน่น
ตีรถะเหล่านี้มีการเกาะ กันเข้าเป็นกลุ่ม หรือเป็นมัณฑละ แต่ละกลุ่มมีตีรถะขนาดใหญ่
หรือตีรถะที่สำคัญที่สุดเป็นจุดศูนย์กลาง กลุ่มมัณฑละเหล่านี้
กระจายอยู่ในอาณาบริเวณของรัฐตามพรลิงค์ และขึ้นตรงต่อมัณฑละแห่งราชธานี
ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เพราะเป็นที่ประทับของพระศิวะแห่งรัฐ
แม้ว่าระบบมัณฑละอัน ศักดิ์สิทธิ์ของรัฐตามพรลิงค์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่
๑๑ - ๑๖ จะเป็นระบบโครงสร้างทางสังคมอย่างหนึ่ง ที่ส่งผลให้วัฒนธรรมความเชื่อของชุมชนภายในรัฐ
มีความแข็งแกร่งและเป็นเอกภาพภายใต้อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของเทพ
- กษัตริย์ แต่ผลที่ตามมา ก็หาได้จำกัดอยู่แต่เพียงภายในขอบเขตความมั่นคงทางสังคมแห่งรัฐเท่านั้นไม่
เพราะผลที่แท้จริง กลับไปตกอยู่กับความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง
ในด้านเศรษฐกิจนั้น หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในขณะนี้แสดงให้เห็นว่า
ตีรถะทุกแห่ง และมัณฑละทุกกลุ่ม ได้กลายเป็นศูนย์กลางที่มีประชากรเข้ามาตั้งถิ่นฐาน
และทำมาหากินอยู่อย่างหนาแน่นรายรอบศาสนสถาน ประกอบกับตีรถะและมัณฑละเหล่านั้น
ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่ท่ามกลางสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมสำหรับการทำมาหากิน
ทั้งสิ้น เช่น บริเวณที่ราบลุ่มที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว
ที่ราบเชิงเขาที่เป็นแหล่งกำเนิดผลิตภัณฑ์ประเภทของป่า และบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นศูนย์กลางทางการค้า
เป็นต้น ทำให้ตีรถะและมัณฑละทั้งมวล กลายเป็นแหล่งผลผลิตที่สำคัญที่สุด
ที่เป็นพื้นฐานแห่งความมั่งคั่ง และมั่นคงในทางเศรษฐกิจของรัฐ
ส่วนในด้านการเมืองการ ปกครองนั้น ด้วยเหตุที่กษัตริย์ของรัฐตามพรลิงค์ทรงเป็นพระศิวะ
จึงทรงเป็นประมุขในทางศาสนาด้วย ผู้นำทางศาสนาทุกระดับ มัณฑละทุกแห่ง
และตีรถะทั้งมวลล้วนต้องขึ้นตรงต่อพระองค์ พระองค์จึงทรงใช้อำนาจปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผ่านไปทางองค์กรศาสนาทุกระดับ ลงไปสู่ผู้นำของกลุ่มมัณฑละ กระจายต่อไปยังตีรถะแต่ละแห่งภายในกลุ่มของตน
แล้วผู้นำตีรถะแต่ละแห่ง จะดูแลประชาชนในชุมชนต่างๆ ที่อยู่รายรอบ
โดยภารกิจสำคัญนั้นประกอบด้วยการพัฒนาชุมชน การสร้างเสริมอาชีพ
การหารายได้บำรุงตีรถะ บำรุงมัณฑละ และบำรุงรัฐ การประกอบพิธีกรรมของบุคคลและชุมชน
การส่งเสริมการปฏิบัติศาสนกิจ การบริหารจัดการทรัพยากรของท้องถิ่นและชุมชน
การรักษากฎหมายที่อาศัยหลักธรรมในศาสนาเป็นหลัก การไกล่เกลี่ย
แก้ปัญหา และตัดสินข้อขัดแย้งและกรณีพิพาทของบุคคล ท้องถิ่น
และชุมชน เป็นต้น
ดังนั้น โครงสร้างของระบบมัณฑละดังกล่าวนี้ จึงส่งผลให้หน่วยทางเศรษฐกิจ
สังคม และการปกครองของรัฐตามพรลิงค์ต่างเข้ามาร่วมกัน หรือบูรณาการเข้าเป็นหน่วยเดียวกันอย่างแท้จริง
ในบรรดากลุ่มมัณฑละของรัฐ ตามพรลิงค์ กลุ่มที่ตั้งอยู่เชิงเขาหลวง
จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นกลุ่มมัณฑละที่มีความสำคัญมาก มีชุมชนโบราณ
และเทวาลัยตั้งอยู่อย่างหนาแน่น ตีรถะกลายเป็นศูนย์รวมของชุมชนที่ได้รับการสร้างสรรค์
และทำนุบำรุงจากชุมชนรายรอบ รวมทั้งชุมชนก็ได้ขยายตัวขึ้นโดยลำดับ
ทั้งในบริเวณเชิงเขาและที่ราบ โดยบริเวณที่ราบอันอุดมสมบูรณ์นั้น
ได้กลายเป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญ ส่วนการเก็บรวบรวมและการค้าของป่า
ได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการคมนาคมขนส่งตามแม่น้ำลำคลองที่โยงใยกัน
ส่งผลให้การขนส่งผลิตผลของป่าจากเขตภูเขา ลงมาสู่ศูนย์กลางทางการค้าเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
ในที่สุด มัณฑละกลุ่มเชิงเขาหลวง จึงได้กลายเป็นฐานทางเศรษฐกิจกลุ่มหนึ่งของรัฐ
สินค้าของป่าจากมัณ ฑละกลุ่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าออก สำหรับป้อนตลาดการค้านานาชาติของรัฐ
จนตามพรลิงค์ได้รับการกล่าวขวัญถึงในประวัติศาสตร์การค้านานาชาติ
ในฐานะที่มีสินค้าของป่าที่ดี และหลายหลากมากที่สุดรัฐหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ขอขอบพระคุณ : วารสารเมืองโบราณ
---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม
----------------
หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
,
พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
,
พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
,
ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย
เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
-
พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
-
พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ
พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
-
พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย
อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
-
รวมรูปองค์เทพ | -
รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | -
รวมความรู้การบูชาองค์เทพ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
----------------- เทศกาล
งานสำคัญต่างๆ -----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์
วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี
เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า
]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
-
สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์
| -
ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
-
ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก |
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
-
พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้
| -
พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
-
พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี
| -
อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
-
คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี
เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก
-
การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
-
บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ
| -
พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
-
พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ
| -
พญานาค การบูชาองค์พญานาค | -
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
-
รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี
การบูชาพระแม่อุมาเทวี | -
องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
-
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ
ปางของพระวิษณุ | -
องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี
-
ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ
| -
พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | -
การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
-
การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า
| -
พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
-
ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
-
พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ
| -
การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
-
เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม
พระแม่กวนอิมปางต่างๆ
[ เรื่องร่างทรง
]
เรื่องร่างทรง
1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง
มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
2 - คนมีองค์
กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง
ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า
หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
4 - การรับขันธ์
อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์
คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
5 - ตอบคำถามร่างทรง
(รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า
องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
6 -
ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
7 -
รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)
[ พระศิวะมหาเทพ
]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์
แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช
พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด
, นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ
(พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร
,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู
พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|
|