รูปสลักพระศิวะ หรือไม่เช่นนั้นก็คงเป็นนักพรตแห่งไศวนิกาย
ต้นฤดูฝน พฤษภาคม ๒๕๓๓
ในปี ๒๕๓๓ การที่กองบรรณาธิการ วารสารเมืองโบราณ (นำโดยอาจารย์ศรีศักร
วัลลิโภดม) จะเดินทางเข้าไปสำรวจปราสาทหินตามแนวชายแดนไทย -
กัมพูชาประชาธิปไตยนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
ขั้นตอนเริ่มต้นตั้งแต่ที่กรุงเทพฯ คือให้ทางต้นสังกัดติดต่อประสานงานล่วงหน้ากับหน่วยทหารในพื้นที่เสียก่อน
เมื่อเข้าในพื้นที่ก็ต้องไปแสดงตัวกับฝ่ายกิจการพลเรือนของกองกำลังบูรพา
(ค่ายทับองค์ดำ) เพื่อติดต่อเรื่องรถนำขบวนและการคุ้มกัน และด้วยการประสานงานของคุณปิยะพร
กัญชนะ บรรณาธิการบริหาร (ขณะนั้น) ก็ทำให้ทีม เมืองโบราณ ได้รับการต้อนรับราวกับคณะวีไอพี
มีกำลังทหารคอยติดตามอารักขาอย่างใกล้ชิด
เช่นการจะเดินทางไปยังปราสาทสดกก๊อกธม ก็จะมีรถจี๊ปทหารมาดักรอรับที่ปากทางแยกไปอำเภอตาพระยา
เพื่อนำทางเข้าสู่เขตอำเภอตาพระยา แล้วรถตู้ของเมืองโบราณก็ต้องแล่นตามรถทหาร
ผ่านหมู่บ้านหลายแห่ง ทุ่งนา และค่ายทหาร ไปจนถึงทางแยกเข้าปราสาทสด๊กก๊อกธม
จากนั้นต้องแวะรับหน่วยคุ้มกันเพิ่มเติมจากกองร้อยทหารพรานที่
๑๑๐๕ ซึ่งมีฐานปฏิบัติการอยู่แถวนั้น แล้วเข้าสู่ตัวปราสาทสด๊กก๊อกธม
ซึ่งยังคงปกคลุมด้วยป่า
ภาพถ่ายเก่าของภาพสลักที่เขายักษ์ ราวปี พ.ศ. ๒๕๓๓
ก่อนหน้านี้ มีเพื่อนฝูงในกรมศิลปากรที่เคยเดินทางเข้าไปสำรวจในเขตตาพระยานำภาพถ่ายสิ่ง
ที่ดูเหมือนรอยสลักรูปฤาษี (หรือพระศิวะ ?) บนแผ่นหินมาให้ดู
และว่าชาวบ้านเรียกหินก้อนนั้นว่า "เขายักษ์"
การค้นพบนี้นับเป็นเรี่องแปลกใหม่ที่น่าสนใจยิ่ง ดังนั้น นอกจากปราสาทเขมรตามแนวชายแดน
ในการเดินทางหนนั้น จุดมุ่งหมายสำคัญอย่างหนึ่งของทีม เมืองโบราณ
ก็คือการเข้าไปถ่ายภาพรูปสลักหินที่เขายักษ์ ซึ่งจากการประสานงานล่วงหน้า
ก็ดูเหมือนจะไม่มีปัญหาใดๆ
หลังจากเสร็จสิ้นการถ่ายภาพปราสาทสด๊กก๊อกธมตอนบ่ายสามโมงกว่า
ทหารที่นำทางมาก็พาเราเดินทางต่อจนถึงบ้านใหม่ไทยถาวร ตำบลทัพราช
อำเภอตาพระยา มีทางลูกรังแยกเข้าไปทางซ้ายมือ
เข้าไปได้ราว ๗ กิโลเมตร เห็นเขายักษ์อยู่ทางด้านขวา รถเล่นเลยเข้าไปจนถึงค่ายฝึกทหารที่อยู่ในหุบเขาตอนห้าโมงเย็น
นายทหารที่นำเราไปเข้าไปประสานกับทหารในค่ายแห่งนั้นพักหนึ่ง
แล้วกลับออกมาแจ้งว่า ไม่สามารถอนุญาตให้เราเข้าไปยังบริเวณที่มีภาพสลักได้
เพราะเป็นเวลาเย็นแล้ว อาจไม่ปลอดภัย อีกทั้งในเขตนั้นเป็นบริเวณหวงห้าม
ซึ่งเราก็ไม่มีทางอื่น นอกจากยอมตามกลับออกมาโดยดี
หากแต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้สึกแปลกใจก็คือ ในค่ายแห่งนี้เต็มไปด้วยป้ายภาษาเขมร
ภาพขยายส่วนใบหน้าของรูปสลัก จะสังเกตเห็นมวยผม ดวงตาที่ปิดหนวดเครา
และติ่งหูที่ยานลงมาจนถึงไหล่
ปลายฤดูฝน กันยายน ๒๕๔๗
สิบสี่ปีให้หลัง สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง พื้นที่ครึ่งหนึ่งของปราจีนบุรีที่ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชาแยกตัวมาตั้ง
เป็นจังหวัดสระแก้วตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๖ สภาวะสงครามตามแนวชายแดนยุติลง
สระแก้วกลายเป็นจังหวัดชายแดนที่มีการค้าคึกคัก บริเวณเขายักษ์ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเขตหวงห้ามกลับกลายเป็นพื้นที่ของ
อุทยานแห่งชาติตาพระยา ในสังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
รวมทั้งภาพสลักที่เขายักษ์ก็เริ่มเป็นที่รู้จักกันผ่านสื่อต่างๆ
ทางกองบรรณาธิการ วารสารเมืองโบราณ จึงตั้งใจจะเดินทางเข้าไปสำรวจถ่ายภาพเขายักษ์อีกครั้งหนึ่ง
เพื่อชำระสะสางสิ่งที่เคยติดค้างคาใจ
เช่นเดียวกับครั้งที่แล้ว เราเข้าไปติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางไปเขายักษ์ยังที่ทำการของอุทยานแห่งชาติ
ตาพระยา ในตอนบ่ายแก่ๆ เนื่องจากได้ข้อมูลมาว่าภาพสลักที่นั่นหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
ดังนั้นจึงควรเข้าไปถึงในช่วงเวลาที่แสงส่องเข้าทางด้านหน้า
เพื่อสะดวกแก่การถ่ายภาพ บางคนในทีมจำได้ว่า ที่ตั้งของสำนักงานอุทยานแห่งชาติตาพระยานี้
ก็คือที่ตั้งกองบัญชาการค่ายทหารที่เราเคยมาติดต่อเมื่อสิบกว่าปีก่อนนั่น
เอง
ทางอุทยานฯ เอื้อเฟื้อรถขับกระบะเคลื่อนสี่ล้อให้หนึ่งคัน พร้อมเจ้าหน้าที่ในชุดลายพรางอีกสามนาย
คนหนึ่งเป็นคนขับ อีกสองตามไปอารักขา มีปืนกลอัตโนมัติ M -16
และ HK - 11 เป็นอาวุธประจำกาย
ทางเข้าไปเขายักษ์จะเป็นทางแยกที่อยู่ก่อนถึงตัวที่ทำการอุทยานฯ
(ถ้ามาตามเส้นทาง ๓๔๘ จากสระแก้วจะไปบุรีรัมย์) ปากทางมีป้ายทางเข้า
"หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติตาพระยาที่ ๔ (กลางดง)"
ทางช่วงแรกเป็นถนนลูกรัง สภาพดี เห็นป้ายปักบอกระยะทางว่า เขายักษ์
๖.๕ กม.
หลังจากผ่านด่านของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ไปอีกพักหนึ่ง จะมีทางแยกขวา
ปักป้ายว่า เขายักษ์ ๑ กม. ทางช่วงนี้ไม่มีถนน เป็นเพียงรอยล้อรถวิ่งคดเคี้ยวเข้าไปในป่า
บางช่วงเป็นแอ่งโคลน ต้องหยุดรถเอาท่อนไม้โยนลงไปถมร่องเสียก่อน
เจ้าหน้าที่อุทยานเสริมว่าเมื่อไม่นานมานี้เคยพาคณะถ่ายสารคดีเข้ามาติดหล่ม
ตรงนี้
ระยะทาง ๑ กิโลเมตรนั้นมาสิ้นสุดที่ลานโล่งเล็กๆ กลางป่า จากตรงนี้
ต้องเดินเท้าต่อเข้าไปอีกพักหนึ่ง จึงจะถึงเขายักษ์ อันเป็นจุดหมายปลายทางของเรา
ภาพสลักพระศิวะ กลางป่าตาพระยา
เมื่อเข้าไปถึง พบว่าโขดหินที่มีภาพสลัก มีความสูงประมาณ ๒ เมตร
ตั้งอยู่เพียงลำพัง ทางด้านหน้าเป็นแอ่งน้ำเล็กๆ บนโขดหินสลักภาพลายเส้นเป็นรูปบุคคลนั่งในท่ามหาราชลีลาสนะ
(คือชันเข่าข้างขวาขึ้น ขาซ้ายพับราบกับพื้น) มีหนวดมีเครา เกล้าผมมวย
(ชฎามกุฎ) พาดสายยัชโญปวีต (สายธุรำ) เป็นแถบกว้างจากบ่าซ้ายลงมาทางเอวด้านขวา
มือขวาถือวัตถุบางอย่าง (ลูกประคำ ?) มือซ้ายวางที่หัวเข่าซ้าย
เท้าเปล่า ติดกับไหล่ซ้ายมีตรีศูล (สามง่าม) ตั้งวางไว้
แม้หินที่มีภาพสลักนี้จะหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ใกล้เคียงกับข้อมูล
ที่ได้รับมา แต่เนื่องจากมีต้นไม้ขึ้นบังอยู่ในทิศนั้น จึงกลับกลายเป็นว่าแสงแดดส่องลงมาไม่ถึง
ทั้งยังมีไลเคนขึ้นทั่วไปบนผิวหน้าหิน เป็นปัญหาสำหรับช่างภาพพอสมควร
บริเวณที่ตั้งของโขดหินนี้เป็นพื้นราบ เจ้าหน้าที่อุทยานฯ อธิบายว่า
ที่เรียกว่า "เขายักษ์" นั้นอยู่ถัดไปทางทิศตะวันตก
ซึ่งเคยมีคนไปขุดหาของโบราณ เช่นถ้วยชามต่างๆ บนเขาด้วย รวมทั้งยังเล่าว่า
เคยมีพรานเก่าในแถบนี้กล่าวถึงโขดหินสลักภาพทำนองนี้อีกสามแห่ง
แต่ทางเจ้าหน้าที่เคยออกสำรวจดูก็ยังหาไม่พบ
เรื่องเล่านี้ยังมีไปจนถึงว่าในระหว่างที่บริเวณนี้เป็นค่ายฝึกทหารเขมร
เคยมีความพยายามนำเอาเฮลิคอปเตอร์มายกหินชิ้นนี้ไป แต่ก็ไม่สำเร็จ
จากการสังเกตเบื้องต้น สันนิษฐานว่าภาพสลักนี้อาจเป็นรูปพระศิวะ
โดยเหตุที่มีเพศเป็นฤาษี คือไว้ผมมวย ถือประคำ และปรากฏตรีศูลซึ่งเป็นอาวุธของพระศิวะด้วย
หรือไม่เช่นนั้น ก็อาจเป็นภาพของฤาษีผู้บำเพ็ญเพียรในศาสนาฮินดู
ลัทธิไศวนิกายที่นับถือพระศิวะก็เป็นได้
ส่วนชาวบ้านแถบนี้แต่เดิมแลดูว่าภาพนี้เป็นยักษ์ จึงเรียกกันต่อๆ
มาว่า "เขายักษ์"
ส่วนในด้านรูปแบบศิลปะหรืออายุสมัย ผู้รายงานยังไม่อาจกำหนดได้แน่นอนนัก
เพียงแต่ขอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ว่า แม้การภาพสลักที่เขายักษ์นี้อาจแลดูคล้ายกับภาพฤาษีในศิลปะจามรุ่นพุทธ
ศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๓ หรือการแสดงภาพบุคคลชั้นสูงในท่าประทับนั่งแบบมหาราชลีลานี้ค่อนข้างเป็นที่
นิยมกันในศิลปะจามรุ่นพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๕ แต่รูปพรรณของพระศิวะที่เขายักษ์นี้ก็ค่อนข้างเป็นแบบพื้นเมือง
(หรือ "แบบชาวบ้าน") มากกว่าที่จะสามารถเทียบเคียงกับศิลปะจามหรือศิลปะเขมรได้โดยตรง
ดังนั้น เรื่องนี้คงต้องฝากไว้ให้นักวิชาการด้านประติมานวิทยา
หรือนักประวัติศาสตร์ศิลปะให้ความเห็นเพิ่มเติมต่อไปด้วย
ประเพณีในการดัดแปลงสภาพภูมิประเทศตามธรรมชาติให้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
นี้ พบว่ามีต่อเนื่องมาอย่างยาวนานในดินแดนประเทศไทย นับตั้งแต่บรรดาภาพเขียนสีตามผนังถ้ำและเพิงผาที่มีพบทั่วไปในทุกภูมิภาค
มาจนในสมัยต่อๆ มา เช่นในวัฒนธรรมทวารวดีที่นับถือพระพุทธศาสนา
เราก็พบการสลักภาพพระพุทธรูปตามถ้ำหลายแห่ง เช่นกลุ่มถ้ำในเทือกเขางู
จังหวัดราชบุรี ภาพพระพุทธไสยาสน์ที่จังหวัดขอนแก่นและกาฬสินธุ์
หรือภาพสลักพระพุทธรูปในบริเวณพระพุทธบาทบัวบก - พระพุทธบาทบัวบาน
จังหวัดอุดรธานี
หรือตัวอย่างในสายวัฒนธรรมเขมร - ฮินดู ก็ได้แก่ภาพสลักรูปบุรุษและสตรี
ที่หน้าผามออีแดง จังหวัดศรีสะเกษ รูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ในลำโดมใหญ่
ที่น้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี หรือหากจะขยายขอบเขตต่อออกไปอีก
ก็เช่นภาพสลักศิวลึงค์พันองค์และเทพเจ้าฮินดูในธารน้ำที่กบาลสเปียน
และพนมกุเลน ใกล้เมืองเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา
บรรยากาศในการบันทึกภาพเขายักษ์
ภาพสลักพระศิวะในปางบำเพ็ญพรตที่มีผู้ศรัทธามาแกะสลักไว้บนโขดหินลูกนี้
คงมิได้เป็นธุดงคสถานที่อยู่ลำพังโดดเดี่ยว หากแต่ต้องเชื่อมโยงกับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ
เป็นเครือข่ายของการจาริกแสวงบุญที่สำคัญแห่งหนึ่งในย่านนี้นับแต่อดีต
เช่นที่มีการกล่าวกันว่าในเขตเทือกเขาบริเวณนี้ยังมีปราสาทหินตกสำรวจอยู่
อีกหลายแห่ง ซึ่งเรื่องนี้คงต้องมีการสำรวจทางโบราณคดีและภูมิศาสตร์ในบริเวณโดยรอบอย่าง
ละเอียดต่อไป
ขอขอบคุณ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ตาพระยา (กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) รวมถึงขอถือโอกาสนี้ขอบคุณในความเอื้อเฟื้อของทหารจากกองกำลังบูรพา
เมื่อครั้งปี ๒๕๓๓ ไว้อีกครั้งหนึ่ง ณ ที่นี้
ขอขอบพระคุณ : วารสารเมืองโบราณ
---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม
----------------
หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
,
พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
,
พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
,
ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย
เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
-
พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
-
พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ
พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
-
พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย
อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
-
รวมรูปองค์เทพ | -
รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | -
รวมความรู้การบูชาองค์เทพ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
----------------- เทศกาล
งานสำคัญต่างๆ -----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์
วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี
เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า
]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
-
สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์
| -
ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
-
ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก |
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
-
พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้
| -
พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
-
พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี
| -
อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
-
คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี
เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก
-
การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
-
บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ
| -
พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
-
พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ
| -
พญานาค การบูชาองค์พญานาค | -
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
-
รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี
การบูชาพระแม่อุมาเทวี | -
องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
-
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ
ปางของพระวิษณุ | -
องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี
-
ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ
| -
พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | -
การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
-
การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า
| -
พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
-
ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
-
พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ
| -
การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
-
เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม
พระแม่กวนอิมปางต่างๆ
[ เรื่องร่างทรง
]
เรื่องร่างทรง
1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง
มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
2 - คนมีองค์
กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง
ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า
หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
4 - การรับขันธ์
อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์
คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
5 - ตอบคำถามร่างทรง
(รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า
องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
6 -
ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
7 -
รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)
[ พระศิวะมหาเทพ
]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์
แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช
พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด
, นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ
(พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร
,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู
พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|
|