ปราสาทตาควาย แม้ถูกทิ้งร้างมาหลายศตวรรษ แต่ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์จนน่าประหลาดใจ
ตลอดแนวเทือกเขาพนมดงรัก (พนมดงเร็ก เขาไม้คาน ในภาษาเขมร)
อันเป็นส่วนหนึ่งของพรมแดนธรรมชาติระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา
มีช่องเขาอยู่เป็นระยะๆ ช่องเขาซึ่งมักมีชื่อเรียกขึ้นต้นว่า
ตา ต่างๆ เหล่านี้ เป็นหนทางที่ผู้คนทั้งสองฝั่งใช้เดินทางแสวงบุญ
ติดต่อซื้อขาย ขนส่งสินค้า ระหว่างแผ่นดินสูงกับเขมรต่ำมาแต่โบราณกาล
และตามช่องเขาเหล่านี้ มักพบว่ามีการสร้างปราสาทหินในวัฒนธรรมแบบเขมรอยู่หลายแห่ง
บางกลุ่ม เช่นกลุ่มปราสาทแห่งช่องตาเมือนนั้น (เดิมอยู่ในเขตอำเภอกาบเชิง
แต่ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองใหม่อยู่ในกิ่งอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์)
ประกอบไปด้วยปราสาทที่มีอายุสมัยและหน้าที่ใช้สอยแตกต่างกัน
อยู่ในอาณาบริเวณใกล้กัน คือปราสาทตาเมือนธม เป็นเทวพิมานในศาสนาฮินดู
ไศวนิกาย ปราสาทตาเมือนโต๊จ เป็นวิหารในศาสนาพุทธ ลัทธิวัชรยาน
ประจำอโรคยศาล (โรงพยาบาล) สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ส่วนปราสาทตาเมือน
ก็เป็นศาสนสถานประจำธรรมศาลา หรือ บ้านมีไฟ - ที่พักคนเดินทาง
สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ เช่นกัน
ทุกวันนี้ การเดินทางไปเยี่ยมชมกลุ่มปราสาทตาเมือน สามารถกระทำได้โดยสะดวก
มีถนนราดยางอย่างดีเข้าไปถึงได้ทุกแห่ง ทว่า ก่อนหน้านี้ไม่ถึงยี่สิบปี
บุคคลพลเรือนเช่นเราท่าน ย่อมไม่อาจเดินทางเข้าไปได้โดยเด็ดขาด
เนื่องจากตามแนวชายแดนยังมีการสู้รบรุนแรงระหว่างฝักฝ่ายต่างๆ
ในสงครามกลางเมืองกัมพูชา จนกระทั่งไม่นานมานี้เอง เมื่อสถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้านของเราเริ่มกลับเข้าสู่ความสงบอีกครั้ง
ทางฝ่ายไทย ทั้งโดยทางทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน ทางจังหวัด ตลอดจนถึงกรมศิลปากร
และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จึงสามารถเข้าไปทำการ อนุรักษ์
และ พัฒนา กลุ่มปราสาทตาเมือนให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นมาได้
ปราสาทนี้มีมุขอยู่สี่ทิศ ทิศตะวันออกมีมุขสั้นยื่นออกมา แต่ไม่มีมณฑป(ห้องโถง)
เชื่อมมาด้านหน้าเหมือนพิมายหรือพนมรุ้ง
ไม่นานมานี้ มีการค้นพบปราสาทหินแห่งใหม่ในป่าทึบของพนมดงเร็กที่ช่องตาควาย
เรียกกันตามชื่อช่องเขาว่า ปราสาทตาควาย แต่เนื่องจากการเก็บกู้กับระเบิดในบริเวณนั้นยังไม่เสร็จสิ้น
ทั้งยังเป็นเขตที่มิได้มีการปักปันพรมแดนกันอย่างชัดเจน การเดินทางเข้าไปยังปราสาทตาควาย
จึงจำเป็นต้องติดต่อประสานกับทางหน่วยทหารพรานของกองกำลังสุรนารีในพื้นที่
เพื่อขอกำลังอารักขาดูแลความปลอดภัย ทำนองเดียวกันกับการเข้าไปยังกลุ่มปราสาทตาเมือนในช่วงสิบกว่าปีก่อน
ในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖ ที่ผ่านมา กองบรรณาธิการ วารสารเมืองโบราณ
ได้รับความเอื้อเฟื้อจากอาจารย์สันธนะ ประสงค์สุข แห่งสถาบันราชภัฏสุรินทร์
จัดการติดต่อประสานงานกับหน่วยทหารในพื้นที่ให้เดินทางเข้าไปสำรวจและถ่ายภาพปราสาทตาควาย
คณะของเมืองโบราณเดินทางไปสมทบกับทีมสถาบันราชภัฏสุรินทร์ยังจุดนัดหมายที่บ้านบักได
กิ่งอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เมื่อเวลาประมาณ ๑๑ น. ของวันที่
๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๖ จากนั้นต้องเปลี่ยนยานพาหนะเป็นรถปิคอัพในพื้นที่
เนื่องจากสภาพถนนไม่ดี แล้วเดินทางต่อไปตามถนนลูกรัง ไปยังบ้านไทยสันติสุข
สองข้างถนนเป็นพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านที่เพิ่งเข้าไปตั้งถิ่นฐานในช่วงสิบปีมานี้
มีไร่มันสำปะหลัง ไร่ปอ สวนยางพารา สวนมะม่วงหิมพานต์ ทางราชการจัดแปลงจัดสรรให้ชาวบ้านที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่รายละ
๒๕ ไร่ แต่เนื่องจากยังมีกับระเบิดหลงเหลืออยู่ทั่วไป ชาวบ้านทั้งเด็กและผู้ใหญ่จำนวนมาก
จึงมักได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากกับระเบิดอยู่เนืองๆ
หน้าต่างที่มุขปราสาทตาควาย ใช้วิธีประกอบชิ้นหินเข้าเป็นช่องหน้าต่าง
จากบ้านไทยสันติสุขเข้าซอยแยกต่อไปยังฐานปฏิบัติการช่องตึ๊กเบ๊าะของทหารพราน
(กองร้อยทหารพรานที่ ๙๖๐) เพื่อประสานงานให้นำเข้าไปยังฐานฯ
อีกแห่งหนึ่งที่อยู่สูงขึ้นไปบนเขา จากฐานฯ ช่องตึ๊กเบ๊าะนี้
เพื่อนร่วมทางของคณะสำรวจก็คือทหารพรานหกนาย พร้อมอาวุธ (AK
- 47) ครบมือ สองนายขี่จักรยานยนต์นำหน้า อีกสองนายอยู่ท้ายกระบะหลัง
ที่เหลือขี่รถจักรยานยนต์ติดตามคุ้มกัน
ทางช่วงนี้ส่วนใหญ่เป็นบ่อลูกรัง ระยะทางประมาณ ๔ กิโลเมตร
รถยนต์จะต้องค่อยๆ ไต่เลาะขึ้นไปตามไหล่เขา สองข้างเป็นป่าทึบ
มีสะพานไม้ข้ามห้วยเล็กๆ สองสามแห่ง บางสะพานชำรุด รับน้ำหนักมากๆ
ไม่ได้ จึงต้องให้ผู้โดยสารลงเดินนำไปแล้วจึงให้รถเปล่าข้ามตามไป
ทหารพรานที่มาอารักขาเล่าว่าถนนสายนี้ ตัดขึ้นมาเพื่อใช้ส่งกำลังบำรุงให้กับฐานฯ
ที่อยู่บนเขา ซึ่งขาดแคลนน้ำ ต้องมีรถขึ้นไปส่งน้ำทุกๆ สองสามวัน
เมื่อเดินทางถึงฐานปฏิบัติการของทหารพรานแล้ว พ.ต.สุวัฒน์ วงษ์วาสน์
ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแลในวันนี้ ได้กล่าวต้อนรับ และย้ำว่าการปักปันเขตแดนบริเวณนี้ยังไม่ชัดเจนนัก
(ว่าปราสาทตาควายจะอยู่ในเขตไทยหรือกัมพูชากันแน่) แม้ว่าสัมพันธภาพระหว่างหน่วยทหารพรานของไทย
กับกำลังตำรวจของกัมพูชาจะเป็นไปด้วยดี มีการเยี่ยมเยียนไปมาหาสู่
และออกลาดตระเวนร่วมกันเสมอ ทว่า เนื่องจากบริเวณโดยรอบยังมีกับระเบิดอยู่ทั่วไป
ดังนั้น จึงขอให้คณะสำรวจอยู่ในเส้นทางเท่านั้น
จากนั้นจึงเริ่มออกเดินเท้าต่อไปยังปราสาทตาควาย โดยมีกำลังทหารพรานจากฐานฯ
อีกหนึ่งหมู่ ดูแลอารักขา เส้นทางเดินจากฐานฯ ไปยังปราสาทตาควาย
เป็นทางลาดลงเขา ผ่านป่าทึบ ใช้เวลาเดินอย่างเร็ว (ตามทหารพราน)
ประมาณ ๒๕ - ๓๐ นาที คาดว่าระยะทางคงประมาณ ๑,๕๐๐ เมตร ในท้ายที่สุด
เมื่อโผล่พ้นดงไม้ไปก็พบกับตัวปราสาทตาควายทันที ตัวปราสาทอยู่บนไหล่เขา
และเนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่ ด้านหลังจึงอยู่เกือบติดกับเพิงผาของภูเขาด้านหลัง
การเรียงหินส่วนหลังคามุข
ปราสาทตาควายเป็นปราสาทหลังเดียวโดดๆ ไม่ปรากฏว่ามีอาคารประกอบอื่นๆ
เช่นระเบียงคด บรรณาลัย หรือโคปุระ (สอบถามจากทหารพรานก็ว่าไม่พบ)
ตัวปราสาทก่อด้วยหินทราย คะเนด้วยสายตาว่าน่าจะมีความสูงประมาณ
๑๒ - ๑๕ เมตรจากพื้นดิน (ไม่รวมส่วนฐานที่คงยังฝังจมอยู่ในดิน)
มีประตูทางเข้าสี่ด้าน ทุกด้านเป็นช่องประตูจริง มีมุขยื่นออกมาทางด้านหน้า
(ตะวันออก) เป็นมุขสั้นๆ ปัจจุบันพังทลายลงมาบางส่วน
ที่น่าอัศจรรย์ใจก็คือสภาพของปราสาทตาควายนับว่าสมบูรณ์มาก
คือชั้นหลังคายังอยู่ทั้งหมดจนถึงบัวยอด แต่การก่อสร้างปราสาทแห่งนี้ยังไม่แล้วเสร็จ
เพียงก่อขึ้นรูปไว้เท่านั้น ยังมิได้ขัดแต่งผิวหิน หรือแกะสลักลวดลายใดๆ
ซึ่งนั่นเองอาจเป็นเหตุให้ปราสาทยังคงรูปอยู่ได้ โดยไม่ถูกทำลาย
หรือลักลอบกะเทาะชิ้นส่วนต่างๆ ไป เช่นที่เกิดขึ้นกับปราสาทอื่นๆ
ตามแนวชายแดน เช่นปราสาทตาเมือนธม
แท่นฐานรูปเคารพ (ศิวลึงค์?) ภายในปราสาทตาควาย
การที่ไม่ปรากฏลวดลายอย่างหนึ่งอย่างใดเลยนี้ ทำให้กำหนดอายุปราสาทตาควายได้แต่เพียงกว้างๆ
จากรูปทรงของตัวปราสาท ว่าน่าจะอยู่ในราวช่วงปลายสมัยนครวัด
ต่อตอนต้นสมัยบายน หรือรัชกาลพระเจ้าสุรยวรมันที่ ๒ ถึงรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่
๗
ส่วนลัทธิศาสนาของผู้สร้างปราสาทแห่งนี้นั้น เนื่องจากไม่ปรากฏรูปเคารพใดๆ
หลงเหลือให้เห็นชัดเจน จึงได้แต่เพียงตั้งข้อสังเกตว่าบริเวณกลางห้องโถงของปราสาทซึ่งควรเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือรูปเคารพนั้น
มีแท่งหินธรรมชาติลักษณะคล้ายศิวลึงค์ตั้งอยู่ (แต่จะใช่หรือไม่ยังไม่อาจระบุได้)
ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริง ที่นี่ก็อาจเป็นศาสนสถานในศาสนาฮินดู
ลัทธิไศวนิกาย ที่นับถือพระศิวะ เช่นเดียวกับที่ปราสาทตาเมือนธม
ซึ่งก็มีการสถาปนาโขดหินธรรมชาติให้เป็นศิวลึงค์ประธานของศาสนสถานด้วย
หลังจากใช้เวลานั่งพัก สำรวจ และถ่ายภาพประมาณหนึ่งชั่วโมง คณะสำรวจก็เดินเท้ากลับยังฐานฯ
ซึ่งขากลับนี้เป็นทางขึ้นเขา จึงสร้างความเหน็ดเหนื่อยไม่น้อย
ปราสาทตาควายนี้เพิ่งเป็นที่รู้จักกันในท้องถิ่น ในระยะไม่กี่วันก่อนหน้านี้
ทางหน่วยทหารพรานในพื้นที่ ก็ได้เคยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับคณะบุคคล
เช่น อบต. หรือองค์กรเอกชน (NGO) บางแห่งมาบ้างแล้ว สังเกตได้จากขยะที่เริ่มมีให้เห็นสองข้างทางเดิน
เช่นเปลือกลูกอม กระป๋องกาแฟ ขวดน้ำพลาสติก หรือแม้แต่ถ้วยโยเกิร์ต
เท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยในพื้นที่ ก็ได้พยายามรักษาสภาพปราสาทตาควายไว้
ด้วยการหมั่นถากถางต้นไม้ที่ขึ้นปกคลุม ทว่า เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้ยังมีความคลุมเครือในด้านเขตแดน
ดังนั้น แม้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทั้งสองฝ่ายจะมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกัน
หากแต่การจะพัฒนาปราสาทตาควายให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ
หรือแม้แต่การที่จะมีนักท่องเที่ยวไทยเข้าไปกันเป็นจำนวนมากนั้น
ย่อมไม่เป็นที่พอใจของฝ่ายกัมพูชานัก ดังปรากฏท่าทีว่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน
พ.ศ.๒๕๔๔ หนังสือพิมพ์ของกัมพูชา อย่างน้อยสองฉบับ ก็เคยลงข่าวว่ากองกำลังของไทยลักลอบนำสารเคมีมาโปรยที่ปราสาทกรอเบย
(กระบือ - ควาย) ในเขตเทือกเขาพนมดงรัก ทำให้ตัวปราสาทพังทลายลงมา
หนังสือพิมพ์ มนสิการเขมร เสริมด้วยว่า ประเทศไทยกำลังทำสงครามทำลายวัฒนธรรม
และทำสงครามช่วงชิงดินแดนของประเทศกัมพูชาแล้ว
ทับหลังและเสาประดับกรอบประตูชั้นใน ยังไม่มีการแกะสลักภาพใดๆ
แม้ว่าสำหรับเรา - กองบรรณาธิการ วารสารเมืองโบราณ จะเห็นว่าปราสาทตาควายนี้
ตลอดจนถึงปราสาทแห่งอื่นๆ ตามช่องเขาพนมดงเร็ก จะเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนของความสัมพันธ์อันดีระหว่างดินแดนทั้งสองฝั่งที่ยาวนานและยั่งยืนมานับพันปี
ทว่า นับตั้งแต่กรณีข่าวลือว่าดาราสาวชาวไทย ให้สัมภาษณ์ว่านครวัดเป็นของไทย
จนนำไปสู่การจลาจล เผาสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๔๖
ก็คงทำให้เราเห็นได้ว่ากรณีทำนองนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนยิ่งในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน
ดังนั้น กรณีปราสาทตาควายนี้จึงพึงได้รับความใส่ใจและความรอบคอบในการดำเนินการจากหน่วยงานรัฐบาลทั้งสองประเทศเป็นอย่างยิ่ง
ขอขอบคุณ พ.ต.สุวัฒน์ วงษ์วาสน์ และพี่น้องทหารพรานจากกองร้อยทหารพรานที่
๙๖๐ กองกำลังสุรนารี จังหวัดสุรินทร์ อาจารย์ สันธนะ ประสงค์สุข
(สถาบันราชภัฏสุรินทร์ ) และ คุณวิชชุ เวชชาชีวะ (กระทรวงการต่างประเทศ)
ขอขอบพระคุณ : วารสารเมืองโบราณ
---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม
----------------
หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
,
พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
,
พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
,
ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย
เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
-
พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
-
พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ
พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
-
พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย
อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
-
รวมรูปองค์เทพ | -
รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | -
รวมความรู้การบูชาองค์เทพ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
----------------- เทศกาล
งานสำคัญต่างๆ -----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์
วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี
เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า
]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
-
สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์
| -
ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
-
ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก |
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
-
พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้
| -
พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
-
พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี
| -
อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
-
คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี
เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก
-
การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
-
บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ
| -
พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
-
พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ
| -
พญานาค การบูชาองค์พญานาค | -
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
-
รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี
การบูชาพระแม่อุมาเทวี | -
องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
-
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ
ปางของพระวิษณุ | -
องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี
-
ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ
| -
พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | -
การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
-
การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า
| -
พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
-
ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
-
พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ
| -
การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
-
เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม
พระแม่กวนอิมปางต่างๆ
[ เรื่องร่างทรง
]
เรื่องร่างทรง
1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง
มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
2 - คนมีองค์
กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง
ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า
หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
4 - การรับขันธ์
อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์
คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
5 - ตอบคำถามร่างทรง
(รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า
องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
6 -
ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
7 -
รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)
[ พระศิวะมหาเทพ
]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์
แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช
พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด
, นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ
(พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร
,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู
พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|
|