เทวาลัยไม้สมัยคุปตะที่หิมาจัลประเทศ
|
รูปที่
๑ กลุ่มเทวาลัยจอราสี หรือกลุ่มเทวาลัย
๘๔ หลัง ที่ภรมอร์ |
ดังที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าสถาปัตยกรรมในศิลปะอินเดียนั้นมีพื้นฐานมาจาก
สถาปัตยกรรมไม้ อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยสภาพภูมิอากาศ
รวมถึงเหตุการณ์ทางการเมืองและศาสนา จึงทำให้หลักฐานเกี่ยวกับเทวาลัยไม้ในศิลปะอินเดียที่มีอายุอยู่ในสมัยคุปตะ
และสมัยกลางสูญหายไปจนเกือบหมดสิ้น เทวาลัยไม้ที่เหลืออยู่ในปัจจุบันส่วนมากมักจะเป็นศิลปะพื้นบ้านซึ่งสร้าง
ขึ้นในรุ่นหลัง
เทวาลัยสลักไม้ที่ภรมอร์ (Bharmaur) และฉัตราริ (Chatrari)
จึงเป็นตัวอย่างเทวาลัยไม้ในศิลปะคุปตะเพียงสองแห่งที่ยังคงรักษาไว้ได้
อย่างค่อนข้างสมบูรณ์
เมืองภรมอร์ (Bharmaur) และฉัตราริ (Chatrari) ตั้งอยู่ในหุบเขาจัมพา
(Chamba Valley) ของแม่น้ำรวี (Ravi) และสาขา ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐหิมาจัลประเทศ
(Himachal Pradesh)
หุบเขาจัมพามีลักษณะแคบและสูงชัน ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองและศาสนาจากภายนอก
เข้าถึงที่ตั้งของเทวาลัยดังกล่าวได้ค่อนข้างยาก
และภูมิอากาศก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เทวาลัยไม้ยังคงปรากฏอยู่จนปัจจุบัน
เมืองภรมอร์และฉัตราริ
เมืองภรมอร์มีชื่อเดิมว่าเมืองพรหมปุระ (Brahmapura) เคยเป็นเมืองหลวงโบราณของอาณาจักรในหุบเขาจัมพา
ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาอาณาจักรซึ่งกระจายตัวอยู่ในหุบเขาต่างๆ
ของรัฐหิมาจัลประเทศ
หลักฐานความเจริญรุ่งเรืองของเมืองพรหมปุระในอดีตนั้น
ปรากฏอยู่ ณ กลุ่มเทวาลัยกลางเมือง หรือที่เรียกกันในภาษาฮินดีว่า
“กลุ่มเทวาลัยจอราสี” (Chaurasi Temples)
หรือกลุ่มเทวาลัย ๘๔ หลัง (รูปที่ ๑) เทวาลัยสำคัญในกลุ่มนี้
ได้แก่เทวาลัยมณีมเหศ (Manimahesh) ที่สร้างอุทิศให้กับพระศิวะ
เทวาลัยนรสิงห์ อุทิศให้กับนรสิงหาวตาร และเทวาลัยลักษณาเทวี
อุทิศให้กับมหิษาสูรมรรทนี (รูปที่ ๒)
|
รูปที่
๒ เทวาลัยลักษณาเทวี ภรมอร์ สร้างอุทิศให้แก่
มหิษาสูรมรรทนี |
นอกจากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมแล้ว ยังปรากฏประติมากรรมสำริดขนาดใหญ่จำนวนมาก
เช่น ประติมากรรมรูปมหิษาสูรมรรทนี (รูปที่ ๓) โคนนทิ
(รูปที่ ๔) และนรสิงหาวตาร เป็นต้น ประติมากรรมสำริดเหล่านี้มีขนาดเกือบเท่าคนจริง
ซึ่งแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรืองของเทคนิคการหล่อสำริดในหุบเขาจัมพา
|
|
รูปที่ ๓
ประติมากรรมสำริดรูปมหิษาสูรมรรทนีภายในเทวาลัยลักษณาเทวี
ภรมอร์
(ที่มา : K.Deva, Temples of India, vol.2,fig.17.)
|
รูปที่ ๔
ประติมากรรมสำริดรูปโคนนทิ ซึ่งปรากฏจารึกระบุรัชกาลพระเจ้าเมรุวรมัน
|
ในบรรดาประติมากรรมสำริดเหล่านี้ ทั้งมหิษาสูรมรรทนี (รูปที่
๓) และโคนนทิ (รูปที่ ๔) ปรากฏจารึกของพระเจ้าเมรุวรมัน
ซึ่งมีระยะรัชกาลอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ กล่าวถึงการหล่อประติมากรรมเหล่านี้
รวมถึงการสร้างเทวาลัยอันประกอบด้วยครรภคฤหะและมณฑป และได้กล่าวถึงนายช่างนามคุคคะ
แม้จะไม่ปรากฏจารึกที่ตัวโบราณสถานโดยตรง แต่เนื่องจากเมื่อศึกษาลวดลายประดับของโบราณสถานในกลุ่มเทวาลัยจอราสีแล้ว
พบว่ามีเทวาลัยเพียงแห่งเดียวที่มีลวดลายพอจะเทียบเคียงได้กับลวดลายในยุค
พุทธศตวรรษที่ ๑๓ นั่นคือเทวาลัยลักษณาเทวี ดังนั้น นักวิชาการโดยส่วนมากจึงเชื่อว่าเทวาลัยแห่งนี้อาจสร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้า
เมรุวรมันด้วย
ส่วนฉัตรารินั้นเป็นหมู่บ้านซึ่งตั้งอยู่ระหว่างเมืองภรมอร์และเมืองจัมพา
(Chamba) อันเป็นเมืองหลวงใหม่ของอาณาจักร ในหมู่บ้านแห่งนี้ปรากฏเทวาลัยศักติเทวี
อันเป็นเทวาลัยไม้ที่มีลวดลายร่วมสมัยกับเทวาลัยลักษณาเทวีที่ภรมอร์
(รูปที่ ๕) ดังนั้น เทวาลัยแห่งนี้จึงได้รับการกำหนดอายุโดยนักวิชาการว่าควรอยู่ในราวรัชกาลพระ
เจ้าเมรุวรมันด้วยเช่นกัน ภายในเทวาลัยแห่งนี้ประดิษฐานประติมากรรมสำริดรูปนางปารวตี
|
รูปที่
๕ เทวาลัยศักติเทวี ที่ฉัตราริ |
ต่อไปนี้ ขอนำเสนอรายละเอียดการศึกษาด้านรูปแบบศิลปกรรมขององค์ประกอบต่างๆ
ของเทวาลัยทั้งสองแห่งนี้ โดยแยกเป็นส่วนๆ ดังนี้
แผนผัง
แผนผังของเทวาลัยลักษณาเทวีที่ภรมอร์ และเทวาลัยศักติเทวีที่ฉัตรารินั้น
มีลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย คือแม้เทวาลัยทั้งสองจะมีครรภคฤหะและทางประทักษิณรอบครรภคฤหะเช่นเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม เทวาลัยลักษณาเทวีมีมณฑปทางด้านหน้าของครรภคฤหะด้วย
(ดูแผนผัง)
อนึ่ง เทวาลัยแห่งแรกนั้นหันหน้าไปทางทิศเหนือ ส่วนเทวาลัยหลังที่สองหันหน้าไปทิศตะวันตก
เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมไม้โดยทั่วไปที่ได้รับการซ่อมแซมอยู่เสมอ
เทวาลัยทั้งสองแห่งนี้น่าจะผ่านการบูรณะหลายครั้ง ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจทราบได้ว่าแผนผังดั้งเดิมจะเป็นดังเช่นที่ปรากฏใน
ปัจจุบันหรือไม่ ซึ่งถ้าแผนผังดังกล่าวมีเค้าโครงคล้ายแผนผังดั้งเดิมแล้ว
ย่อมแสดงให้เห็นว่าเทวาลัยทั้งสองแห่งนี้อยู่ในระยะแรกของการพัฒนาทางเดิน
ประทักษิณรอบครรภคฤหะ และการเพิ่มเติมมณฑปขึ้นด้านหน้าครรภคฤหะ
ประตูเทวาลัย
ทั้งที่เทวาลัยลักษณาเทวี (รูปที่ ๖) และเทวาลัยศักติเทวี
(รูปที่ ๗) มีประตูทางเข้าเทวาลัยสลักไม้ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง
ประตูทั้งสองมีลักษณะร่วมกัน คือประกอบด้วยกรอบซ้อนหลายชั้น
หรือ “ทวารศาขา” ตามระบบประตูในศิลปะอินเดีย
|
|
รูปที่ ๖
ประตูภายนอกของเทวาลัยลักษณาเทวี ที่ภรมอร์
|
รูปที่ ๗
ประตูทางเข้าครรภคฤหะของเทวาลัยศักติเทวี ที่ฉัตราริ
|
ประตูของเทวาลัยลักษณาเทวีนั้น ประกอบศาขาลายพันธุ์พฤกษา
(ปัฏฏวลีศาขา) สลับกับศาขารูปบุคคล โดยมีกรอบนอกสุดเป็นศาขาลายพันธุ์พฤกษาที่นูนออกมาเป็นรูปครึ่งวงกลม
(วนมาลาศาขา) ส่วนประตูของเทวาลัยศักติเทวีนั้น มีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับประตูเทวาลัยลักษณาเทวี
กล่าวคือ จัดกรอบซ้อนสลับกันระหว่างศาขาลายพันธุ์พฤกษากับศาขารูปบุคคล
อย่างไรก็ตาม ปรากฏวนมาลาศาขาถึงสองแห่งในประตูที่ฉัตราริ
คือที่ศาขาลายพันธุ์พฤกษากรอบกลางและศาขาลายพันธุ์พฤกษากรอบนอก
การจัดองค์ประกอบของทวารศาขาโดยใช้ศาขารูปบุคคลสลับกับศาขาลายพันธุ์พฤกษา
นั้น เป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอตั้งแต่ในศิลปะสมัยราชวงศ์คุปตะจนถึงสมัยราชวงศ์ปรา
ตีหารตอนต้น เช่น ประตูของเทวาลัยเทวคฤหะในรัฐมัธยประเทศ
ศิลปะคุปตะ (รูปที่ ๘) และประตูของเทวาลัยเตลิกามณเฑียร
เมืองควาลิเออร์ รัฐมัธยประเทศ ศิลปะปราตีหารตอนต้น (รูปที่
๙)
|
|
รูปที่ ๘
ประตูของเทวาลัยเทวคฤหะ ศิลปะสมัยราชวงศ์คุปตะ
(ที่มา : K.Deva, Temples of India, vol.2,fig.17.)
|
รูปที่ ๙
ประตูเทวาลัยเตลิกามณเฑียร ศิลปะสมัยราชวงศ์ปราตีหารตอนต้น
|
ลักษณะเหล่านี้แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับประตูของบรรดาเทวาลัยในเมืองขชุรโห
ศิลปะสมัยราชวงศ์จันเทลละ อันสร้างขึ้นตั้งแต่พุทธศตวรรษที่
๑๕ ลงมา (รูปที่ ๑๐)
|
รูปที่
๑๐ ประตูเทวาลัยที่เมืองขชุรโห ศิลปะสมัยราชวงศ์จันเทลละ
|
ดังนั้น เทวาลัยแห่งนี้จึงไม่ควรสร้างขึ้นภายหลังจากพุทธศตวรรษที่
๑๕
อย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏศาขารูปเสา (สตัมภศาขา) ทั้งที่เทวาลัยลักษณาเทวีและเทวาลัยศักติเทวี
แตกต่างไปจากศิลปะสมัยราชวงศ์คุปตะจนถึงศิลปะสมัยราชวงศ์ปราตีหารตอนต้นใน
อินเดียภาคกลาง ซึ่งมักปรากฏสตัมภศาขารองรับหลังคาลาด
(กโปตะ) เสมอ
ประเด็นที่น่าสังเกตก็คือ กรอบนอกสุดของประตูทั้งที่เทวาลัยลักษณาเทวีและเทวาลัยศักติเทวีนั้น
มีลักษณะการจัดวางคล้ายรูปตัวที (T) ในภาษาอังกฤษ (รูปที่
๑๑) ประเด็นนี้ก็สามารถเชื่อมโยงได้กับส่วนเดียวกันของประตูเทวาลัยเทวคฤหะ
และประตูของเทวาลัยเตลิกามณเฑียร โดยส่วนที่ยื่นออกไปของประตูเทวาลัยเทวคฤหะนั้นมีประติมากรรมรูปพระคงคาและ
ยมุนาประดิษฐานอยู่ ซึ่งเป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอในศิลปะคุปตะ
ต่อมารูปพระคงคาและยมุนาได้เลื่อนลงมาอยู่ด้านล่าง ดังปรากฏที่เทวาลัยเตลิกามณเฑียร
(รูปที่ ๑๐) ทำให้การจัดวางกรอบรูปตัวทีนั้นไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป
ส่วนที่ยื่นออกไปของกรอบรูปตัวทีที่ประตูของเทวาลัยเตลิกามณเฑียรจึงมี
พื้นที่เล็กมากเมื่อเทียบกับส่วนเดียวกันของเทวาลัยเทวคฤหะ
เป็นส่วนยื่นที่ไม่สามารถจะบรรจุประติมากรรมใดๆ ลงไปได้อีกต่อไป
|
รูปที่
๑๑ ส่วนยื่นของกรอบรูปตัวที เทวาลัยศักติเทวี
ฉัตราริ ประดับด้วยรูปวยาล |
กรอบรูปตัวทีนี้ ต่อมาจะสูญหายไปอย่างสิ้นเชิงในศิลปะสมัยราชวงศ์จันเทลละที่เมืองขชุรโห
(ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ - ๑๖) (รูปที่ ๑๐)
การที่ส่วนยื่นของกรอบรูปตัวทีของเทวาลัยลักษณาเทวีและเทวาลัยศักติเทวียัง
คงมีพื้นที่ขนาดใหญ่ อันเทียบได้กับประตูเทวาลัยเทวคฤหะ
ในขณะเดียวกัน รูปพระคงคาและยมุนาได้เลื่อนลงมาอยู่ด้านล่างแล้ว
(รูปที่ ๑๒) ตามแบบประตูของเทวาลัยเตลิกามณเฑียร ทำให้อาจกำหนดอายุเทวาลัยแห่งนี้ได้ว่า
ควรมีอายุระหว่างเทวาลัยเทวคฤหะ ศิลปะคุปตะ (พุทธศตวรรษที่
๙ - ๑๑) และเทวาลัยเตลิกามณเฑียร ศิลปะปราตีหารตอนต้น
(พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๔)
|
รูปที่
๑๒ พระคงคา (?) ที่ด้านล่างกรอบประตูเทวาลัยศักติเทวีที่ฉัตราริ
|
ทั้งหมดนี้ จึงอาจเป็นไปได้ที่เทวาลัยดังกล่าวนี้สร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าเมรุวรมัน
อันมีระยะรัชกาลอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓
น่าสังเกตว่า เนื่องจากได้มีการย้ายตำแหน่งของพระคงคาและยมุนาลงไปไว้ด้านล่างของประตู
แล้ว ดังนั้น พื้นที่ว่างของส่วนยื่นของกรอบรูปตัวทีที่เทวาลัยลักษณาเทวีและเทวาลัยศักติ
เทวีจึงสลักภาพวยาล (สิงห์มีปีกและมีเขาแพะ) บรรจุลงไปภายในแทน
(รูปที่ ๑๑)
ลวดลายประดับก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ โดยเมื่อพิจารณาลวดลายพันธุ์พฤกษาของปัฏฏวลีศาขาของประตูเทวาลัยทั้งสองแห่ง
แล้ว พบว่ามีลักษณะเป็นกนกผักกูด อันประกอบด้วยกนกม้วนโค้งคล้ายเลข
๑ ไทย ที่ขอบกนกด้านหนึ่งปรากฏกนกรูปม้วนโค้งคล้ายรูปเลขหนึ่งไทยตัวเล็กๆ
จำนวนมากประดับอยู่ (รูปที่ ๑๓) ลักษณะทั้งหมดนี้ อาจเปรียบเทียบได้กับลวดลายกนกผักกูดในศิลปะคุปตะจนถึงศิลปะปราตีหารตอนต้น
โดยทั่วไป
|
รูปที่
๑๓ กนกผักกูดที่ปัฏฏวลีศาขา ประตูเทวาลัยลักษณาเทวี
ภรมอร์ |
ที่ศาขา รูปบุคคลของประตูทั้งสองแห่งนี้ประกอบไปด้วยเทพเจ้าจำนวนมาก
เช่น พระอินทร์ พระศิวะ (รูปที่ ๑๔) มหิษาสูรมรรทนี เป็นต้น
น่าสังเกตว่า ประติมากรรมทั้งหมดที่ประดับอยู่ ณ กรอบประตูของเทวาลัยทั้งสองแห่งนี้สวมเทริดขนนกซึ่งปรากฏเฉพาะแผ่นสาม
เหลี่ยมขนาดใหญ่สามแผ่นหน้า (รูปที่ ๑๒, ๑๔)
เทริดขนนกแบบนี้เป็นที่นิยมในศิลปะกัศมีร์ ในสมัยราชวงศ์การโกตะและอุตปาละ
อนึ่ง การที่พระศิวะ (รูปที่ ๑๔) ทรงผ้านุ่งสั้นข้างหนึ่งยาวข้างหนึ่งนั้น
ยังทำให้นึกถึงประติมากรรมหลายชิ้นในศิลปะกัศมีร์อีกด้วย
|
รูปที่
๑๔ พระศิวะ ประตูเทวาลัยศักติเทวีที่ฉัตราริ
|
ลวดลายประดับที่น่าสนใจนั้นรวมถึงลายพวงมาลัยพวงอุบะที่ปรากฏบุคคลอยู่ภายใน
(รูปที่ ๑๕) และลายวิทยาธรเชิญมกุฎ ซึ่งประดับอยู่บริเวณคานทับหลังของประตูเทวาลัยลักษณาเทวี
โดยที่ลวดลายแบบหลังนี้นิยมในศิลปะคุปตะเป็นอย่างยิ่ง
ดังปรากฏที่เทวาลัยเทวคฤหะ รวมถึงเทวาลัยภายในรัฐหิมาจัลประเทศเองซึ่งมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่
๑๓ - ๑๔ ด้วย เช่นเทวาลัยมัสรูร (Masrur) ในหุบเขากางครา
(รูปที่ ๑๖)
|
|
รูปที่ ๑๕
ลายพวงมาลัยพวงอุบะที่ปรากฏรูปบุคคลอยู่ภายใน
(ด้านล่าง) และลายวิทยาธรเชิญมกุฎ (ด้านบน)
ที่คานทับหลังของประตูเทวาลัยลักษณาเทวี ภรมอร์
|
รูปที่ ๑๖
ลายวิทยาธรเชิญมกุฎ ที่คานทับหลังของประตู (?)
เทวาลัยมัสรูร หุบเขากางครา |
หน้าบัน
หน้าบันทรงหน้าจั่วรูปสามเหลี่ยมนั้น ยังคงปรากฏอยู่ที่ด้านหน้าของเทวาลัยลักษณาเทวี
(รูปที่ ๑๗) ในตำแหน่งด้านบนของประตูเทวาลัย หน้าบันนี้มีลักษณะโดยรวมคือเป็นวงโค้งสามวง
บรรจุอยู่ในกรอบสามเหลี่ยม รองรับด้วยแถวของลายซุ้มขนาดเล็กที่รองรับด้วยเสา
เรียงกันเป็นแนวยาว ประติมากรรมภายในหน้าบันประธานนั้น
ได้รับการตีความแล้วว่าเป็นพระไวกูณฐวิษณุทรงครุฑ ส่วนประติมากรรมภายในแถวซุ้มขนาดเล็กนั้น
ได้แก่คนแคระในแถวบนและภาพเมถุนในแถวล่าง
|
รูปที่
๑๗ หน้าบันของเทวาลัยลักษณาเทวี
ภรมอร์ |
การที่หน้าบันประกอบไปด้วยวงโค้งสามวงบรรจุอยู่ในกรอบสามเหลี่ยมนั้น
แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงอิทธิพลศิลปะกัศมีร์ในเทวาลัยแห่งนี้
เนื่องจากหน้าบันแบบดังกล่าวเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะกัศมีร์
โดยปรากฏเสมอในทั้งในหน้าบันจริงของเทวาลัยหรือหน้าบันของซุ้มจระนำ
ตัวอย่างของหน้าบันแบบกัศมีร์ เช่น เทวาลัยปาณเฑรถัน (Pandrathan)
เมืองศรีนคร รัฐกัศมีร์ (รูปที่ ๑๘)
|
รูปที่
๑๘ เทวาลัยปาณเฑรถัน เมืองศรีนคร
ศิลปะกัศมีร์ ซึ่งปรากฏวงโค้งสามวงบรรจุในหน้าจั่วสามเหลี่ยม
(ที่มา : D.Mitra,Pandrethan Avantipur&Martand,pl.III.)
|
ส่วนลวดลายด้านล่างที่มีลักษณะเป็นแถวของลายซุ้มขนาดเล็กที่รองรับด้วยเสา
เรียงกันเป็นแนวยาวนั้นทำให้นึกถึงลวดลายประดับแบบเดียวกันซึ่งเป็นที่นิยม
ในศิลปะคันธาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณฐานสถูป (รูปที่
๑๙)
|
รูปที่
๑๙ แถวของลายซุ้มขนาดเล็กที่รองรับด้วยเสา
เรียงกันเป็นแนวยาว ในสถูปที่พิพิธภัณฑ์เมืองจัณฑีคัฒ
|
เสาและเพดาน
นอกจากประตูและหน้าบันด้านหน้าเทวาลัยแล้ว ภายในเทวาลัยทั้งสองแห่งก็ปรากฏลวดลายสลักไม้สมัยคุปตะที่น่าสนใจ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเสาและเพดาน
เสาของเทวาลัยทั้งสองนี้ (รูปที่ ๒๐) มีลักษณะที่อาจเปรียบเทียบได้กับศิลปะปราตีหารตอนต้นในอินเดียภาคกลางและภาค
ตะวันตกโดยทั่วไป กล่าวคือประกอบด้วยต้นเสาสี่เหลี่ยมสูงขึ้นมาเกินครึ่งหนึ่งของเสา
ถัดมาเสาอยู่ในผังกลม ประกอบด้วยดอกกลม ลายพวงมาลัย ลายอมลกะ
หัวเสารูปปูรณฆฏะ และเท้าแขน รูปแบบการจัดลำดับวงแหวนของเสาดังกล่าวคล้ายคลึงกับเสาของเทวาลัยที่เมืองโอ
เสียน รัฐราชสถาน ศิลปะปราตีหารตอนต้น เช่น เสาของเทวาลัยปีปลเทวี
(รูปที่ ๒๑)
|
|
รูปที่ ๒๐
เสาของเทวาลัยลักษณาเทวี ภรมอร์ |
รูปที่ ๒๑
เสาของเทวาลัยปิปลเทวี เมืองโอเสียน รัฐราชสถาน
ศิลปะสมัยราชวงศ์ปราตีหารตอนต้น |
ในส่วนของเพดาน เพดานของเทวาลัยทั้งที่ภรมอร์ (รูปที่
๒๒) และฉัตราริล้วนมีลักษณะที่เรียกกันในการศึกษาสถาปัตยกรรมอินเดียว่าเพดานแบบ
Lantern เพดานแบบนี้ประกอบด้วยกรอบสี่เหลี่ยมหลายกรอบซ้อนกัน
โดยที่กรอบสี่เหลี่ยมด้านในสุดถูกล้อมรอบด้วยกรอบสี่เหลี่ยมด้านนอกที่จัด
วางอยู่ในลักษณะตะแคง
|
รูปที่
๒๒ เพดานของเทวาลัยลักษณาเทวี ภรมอร์
|
ระบบการออกแบบเพดานดังกล่าวนี้ปรากฏมาก่อนแล้วในศิลปะเฮเลนิสติคในเอเชีย
ตะวันตก เช่น เพดานสุสานของมายลาซา (The Mausoleum of
Mylasa) ในประเทศตุรกี (รูปที่ ๒๓) ต่อมา ได้ปรากฏแพร่หลายในศิลปะอินเดียภาคเหนือ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศิลปะกัศมีร์ เช่นเพดานของเทวาลัยปาณเฑรถัน
เมืองศรีนคร (รูปที่ ๒๔)
|
|
รูปที่ ๒๓
เพดานสุสานของมายลาซา (The Mausoleum of Mylasa)
ประเทศตุรกี ศิลปะเฮเลนิสติค
(ที่มา : H.Stierlin, Hindu India: From Khajuraho
to the Temple City of Madurai,p.73.) |
รูปที่ ๒๔
เพดานเทวาลัยปาณเฑรถัน เมืองศรีนคร ศิลปะกัศมีร์
(ที่มา : D.Mitra,Pandrethan Avantipur&Martand,
pl.IV B.) |
การปรากฏเพดานดังกล่าวย่อมแสดงให้เห็นถึงการส่งผ่านอิทธิพลศิลปกรรมจากศิลปะเฮเลนิสติคมาสู่ศิลปะกัศมีร์และศิลปะในแถบเทือกเขาหิมาลัย
ทั้งนี้ น่าเชื่อว่ากระบวนการดังกล่าวคงเกิดขึ้นโดยผ่านศิลปะคันธาระ
โดยสรุปแล้ว เทวาลัยลักษณเทวีที่ภรมอร์ และเทวาลัยศักติเทวีที่ฉัตราริเป็นสถาปัตยกรรมไม้ในศิลปะคุปตะและหลังคุปตะ
ระยะแรกที่ทรงคุณค่าเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในด้านการศึกษาสถาปัตยกรรมไม้ในสมัยคุปตะซึ่งได้สูญหายไปหมดแล้วใน
ส่วนอื่นๆ ของประเทศอินเดีย
นอกจากนี้ การศึกษาเทวาลัยทั้งสองยังอาจมีประโยชน์ในการเพิ่มความกระจ่างขึ้นบ้าง
เกี่ยวกับเค้าโครงของสถาปัตยกรรมไม้ในศิลปะทวารวดีอันเป็นศิลปะร่วมสมัยที่
ได้รับอิทธิพลจากศิลปะคุปตะ
บรรณานุกรม
Deva, K. Temples of India .New Delhi: Aryans
Books International,1995.
Huntington, S.L. The Art of Ancient India.New
York: Whether Hill,1999.
Mitra, D. Pandrethan Avantipur&Martand.New
Delhi: Archaeological Survey of India,1993.
Stierlin, H. Hindu India: From Khajuraho to the Temple
City of Madurai.Italy:Taschan,1998.
Thakur, L.S. The Architectural Heritage of Himachal
Pradesh: Origin and Development of Temple Styles.New
Delhi: Munshiram Manoharlal Publisher,1996.
แผนผัง
แผนผังของเทวาลัยลักษณาเทวี ที่ภรมอร์ (ซ้าย) และ เทวาลัยศักติเทวี
ที่ฉัตราริ (ขวา)
(ที่มา : L.S.Thakur, The Architectural Heritage of Himachal
Pradesh: Origin and Development of Temple Styles,p.89,92.)
|
ขอขอบพระคุณ : วารสารเมืองโบราณ
---------------- อ่านเรื่ององค์เทพเพิ่มเติม
----------------
หน้าแรก-องค์เทพ
(สยามคเณศ)
ศาสนาพราหมณ์
ศาสนาฮินดู เทพเจ้าอินเดีย
พระพรหม
ท้าวมหาพรหม พระพรหมเอราวัณ ศาลพระพรหม
, พระวิษณุ
พระนารายณ์ พระนารายณ์ทรงครุฑ
นารายณ์ทรงสุบรรณ คาถาบูชาพระนารายณ์สิบปาง
, พระศิวะ
พระอิศวร , พระราม
รามเกียรติ์ รามายณะ ,
พระกฤษณะ
ภควัทคีตา มหาภารตะ ,
ครุฑ
พระยาครุฑ พญาครุฑ
วิธีไหว้พญาครุท ตำนานพญาครุท บทบูชาพญาครุท
,
พญานาค พระยานาค วิธีบูชาพญานาค การไหว้พญานาค
พระแม่อุมาเทวี
เจ้าแม่อุมาเทวี , พระแม่กาลี
เจ้าแม่กาลี ,
พระแม่ทุรคา
เจ้าแม่ทุรกา , พระตรีมูรติ
การบูชาพระตรีมูรติ
พระแม่ลักษมี
เจ้าแม่รัศมี พระนางลักษมี พระลักษมี
,
พระแม่สรัสวตี
พระสรัสวดี พระแม่สุรัสวตี พระสุรัสวดี
,
พระขันทกุมาร
การบูชาพระขันธกุมาร ,
หนุมาน
พระหนุมาน องค์หนุมาน การไหว้หนุมาน
,
พระอินทร์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
ท้าวจตุโลกบาล
- เทพผู้รักษาประจำทิศ เทพประจำทิศ
,
ท้าวเวสสุวัณ
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร
พระแม่คงคา
แม่น้ำคงคา เมืองพาราณสี ประเทศอินเดีย
, พระแม่ธรณี
, พระแม่โพสพ
--------- สถานที่ ศาล เทวาลัย
เพื่อกราบไหว้ขอพรองค์เทพ ---------
วัดเทพมณเฑียร
วัดเทพมณเทียร , เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
เสาชิงช้า
, วัดวิษณุ
ยานนาวา , พิพิธภัณฑ์พระพิฆเนศ
พิพิธภัณฑ์พระพิฆเณศวร์ เชียงใหม่
, ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง
พระพิฆเณศสี่แยกห้วยขวางรัชดาภิเษก
, เสาชิงช้า
, พระพิฆเนศนครนายก
พระพิฆเณศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางนั่ง-ปูนปั้น)
, พระพิฆเนศฉะเชิงเทรา
พระพิฆเนศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (ปางยืน-สำริด)
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี
สีลม วัดแขกสีลม นวราตรี งานนวราตรี
เมืองโบราณ
สมุทรปราการ , พิพิธภัณฑ์ช้างสามเศียร
ช้างเอราวัณ สมุทรปราการ
ช้าง
3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้าง 3 เศียร จังหวัดสมุทรปราการ
-
พระพิฆเนศ ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเณศ วัดสมาน จ.ฉะเชิงเทรา
-
พระพิฆเนศวร ฉะเชิงเทรา องค์พระพิฆเนศ พระพรหม พระวิษณุ
พระศิวะ ที่วัดสมานรัตนาราม จังหวัดฉะเชิงเทรา
-
ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ พระพรหมเอราวัณ แยกราชประสงค์
-
พระพิฆเนศที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่อินเดีย
อัสตะวินายัก พระพิฆเนศกำเนิดตามธรรมชาติ 8 แห่ง
-
รวมรูปองค์เทพ | -
รวมสถานที่บูชาองค์เทพ | -
รวมความรู้การบูชาองค์เทพ
โครงการ
"พันเทวาลัย ล้านศรัทธา"
รวมสถานที่สักการะเทพเจ้าของพราหมณ์ฮินดูทั่วประเทศไทย
----------------- เทศกาล
งานสำคัญต่างๆ -----------------
-
"คเณศจตุรถี" งานแห่พระพิฆเณศวร์
วันคเณศจตุรถี วันประสูติพระพิฆเนศวร์
-
"นวราตรี" งานวัดแขก งานแห่พระแม่อุมาเทวี
ร่างทรงพระแม่อุมา งานนวราตรี
-
"มหาศิวราตรี" เทศกาลมหาศิวาราตรี
วันบูชาพระศิวะในงานมหาศิวะราตรี
-
"ดีปาวลี" ดีวาลี่ ทีปาวาลี
เทศกาลดีปาวาลี งานบูชาพระแม่ลักษมีในงานดีปาวรี
-
"พระราชพิธีตรียัมปวาย"
งานตรียัมปวาย งานประจำปี เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
- โบสถ์พราหมณ์ การเดินทางไปโบสถ์พราหม์
แผนที่โบสถ์พราห์ม , พระราชพิธีแรกนาขวัญ
งานแรกนาขวัญ
[ การบูชาเทพเจ้า
]
-
รวมบทสวดมนต์บูชาพระพิฆเนศวร
คาถาบูชาพระพิฆเณศวร์ การไหว้องค์เทพ บูชาเทพ วิธีบูชาองค์เทพ
-
ความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับการบูชาเทพ การไหว้เทพฮินดู
-
เครื่องหมายโอม...สัญลักษณ์โอม และวิธีการสวดบูชา
| -
เครื่องหมายสวัสดิกะ...สัญลักษณ์สวัสติกะแห่งพระพิฆเนศ
-
สิ่งที่ควรรู้สั้นๆ เกี่ยวกับพระพิฆเนศ การบูชาพระพิฆเณศวร์
| -
ตำนานกำเนิดพระพิฆเนศ ประวัติพระพิฆเณศ
-
ตำนานว่าด้วยเศียรช้าง งาข้างเดียว และหนูบริวารของพระพิฆเนศ
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในเอเชียแปซิฟิก |
-
ตำนานองค์พระพิฆเนศในประเทศไทย
-
พระคเณศ ในฐานะเทพแห่งปัญญาและความรู้
| -
พระพิฆเณศในฐานะหัวหน้าบริวารของพระศิวะ
-
พรที่พระพิฆเนศได้รับจากมหาเทพ-มหาเทวี
| -
อานิสงค์จากการบูชาพระพิฆเนศ การขอพรพระพิฆเนศ
-
คเณศจตุรถี...วันประสูตรพระพิฆเนศ วันคเนศจตุรถี
เทศกาลพระพิฆเนศ งานแห่พระพิฆเณศวัดแขก
-
การบูชาพระแม่กาลี (ตามวิธีของ อ.พิทักษ์ โค้ววันชัย
สำนักพิมพ์สยามคเณศ)
-
บทสรรเสริญพระศิวะ ผู้คืออักขระ 5 ตัว บทสวดพระศิวะมหาเทพ
| -
พระแม่ลักษมี 8 ปาง การบูชาพระแม่ลักษมี
-
พญาครุฑ การบูชาพญาครุฑ องค์พญาครุฑ
| -
พญานาค การบูชาองค์พญานาค | -
ท้าวเวสสุวรรณ ท้าวเวสสุวัณ ท้าวจตุโลกบาล
-
รูปพระแม่อุมาเทวี องค์พระแม่อุมาเทวี พระศรีมหาอุมาเทวี
การบูชาพระแม่อุมาเทวี | -
องค์พระตรีมูรติ การบูชาพระตรีมูรติ
-
พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์ การบูชาพระวิษณุ องค์พระวิษณุ
ปางของพระวิษณุ | -
องค์พระแม่ลักษมี รูปพระแม่ลักษมี
-
ตำนานพระสีวลี ผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ
| -
พระสีวลีผู้เป็นเลิศในลาภสักการะ | -
การบูชาพระสีวลี การขอพรพระสีวลี
-
การกำเนิดพระสีวลี โดยการทรงประทานพรของพระพุทธเจ้า
| -
พระสีวลี หรือ พระสิวลีพระอรหันต์ผู้มีลาภสักการะเป็นที่สุด
-
ตำนานพระสีวลี พระสิวลี พระสีวะลี ตำนานกำเนิดพระสีวลี
-
พระเกจิ ประวัติพระสงฆ์ หลวงพ่อจรัญ
| -
การเดินทางไปวัด ขอพรหลวงพ่อ วัดในจังหวัดต่างๆ
-
เจ้าแม่กวนอิม องค์เจ้าแม่กวนอิม การบูชาเจ้าแม่กวนอิม
พระแม่กวนอิมปางต่างๆ
[ เรื่องร่างทรง
]
เรื่องร่างทรง
1 - เตือนใจเรื่องร่างทรง
มารสังคมที่ต้องระวัง (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
2 - คนมีองค์
กับ ร่างทรง ต่างกันอย่างไร ? (รับขันธ์ ร่างทรง
ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
3 - ร่างทรงกำลังทรงเจ้า
หรือกำลังโดนผีสิง ? (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
4 - การรับขันธ์
อันตรายถึงชีวิต! (รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์
คนมีองค์ องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
5 - ตอบคำถามร่างทรง
(รับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง มีองค์ คนมีองค์ การทรงเจ้า
องค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
6 -
ถอนขันธ์ ลาขันธ์ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้าองค์เทพ)
เรื่องร่างทรง
7 -
รวมข่าวร่างทรงถูกจับ (การรับขันธ์ ร่างทรง ตำหนักทรง
มีองค์ คนมีองค์ คนทรงเจ้า องค์เทพ)
[ พระศิวะมหาเทพ
]
1.
ตำนานพระศิวะ | 2.
รูปลักษณ์
แห่งพระศิวะ วิธีบูชาพระศิวะมหาเทพ
| 3.
เมล็ดรุทรักษะ
เมล็ดน้ำตาพระศิวะ
4.
โคนนทิ พาหนะแห่งพระศิวะ
สัตว์ศักดิ์สิทธิ์
| 5.
ศิวะนาฏราช
พระศิวะร่ายรำ ปางของพระศิวะ
6.
ศิวลึงก์ สัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
การบูชาศิวลึงค์
| 7.
คาถา บทสวดมนต์ การบูชาพระศิวะ
[ พระประจำวันเกิด
, นวนพเคราะห์ ]
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอาทิตย์ พระประจำคนเกิดวันอาทิตย์ พระสุริยะเทพ
(พระอาทิตย์)
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันจันทร์ พระประจำคนเกิดวันจันทร์ พระจันทร์
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันอังคาร พระประจำคนเกิดวันอังคาร พระอังคาร
,
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพุธ พระประจำคนเกิดวันพุธกลางวัน พระพุธ
พระราหู
การไหว้พระราหู วิธีบูชาพระราหู คาถาบูชาพระราหู
พระประจำวันเกิด พระประจำคนเกิดวันพุธกลางคืน
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันพฤหัสบดี พระประจำคนเกิดวันพฤหัสบดี
พระพฤหัสบดี
พระประจำวันเกิด
พระประจำวันศุกร์ พระศุกร์
, พระประจำวันเสาร์
พระประจำวันเกิด พระเสาร์ , พระเกตุ
|
|
|